เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (6)

เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (6)

6. เทคนิคกระบวนการคิดของสมอง 6 กระบวน (6 Motions)
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีการประยุกต์ทฤษฎีและหลักการสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติออกแบบ คือ กระบวน 6 M โดยยึดหลักการคือ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2545)

6.1 การรู้คิดของสมองซีกซ้ายและขวา (Neo – cortex)
กระบวนการคิดและเรียนรู้ รวมทั้งจินตนาการเป็นผลของการคิดเฉพาะด้านและร่วมกันของสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวา สมองซีกซ้ายเจริญรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงอายุ 7 – 12 ปี สมองส่วนนี้คิดเชิงวิเคราะห์ สร้างมโนทัศน์และภาษา ส่วนสมองซีกขวาเจริญในอัตราสูงและเด่นชัดในช่วงอายุ 3 – 6 ปี ทำหน้าที่คิดเชิงจินตนาการ สร้างสรรค์ สังเคราะห์และความคิดเชิงเทียบเคียง
รูปแบบของการจัดกิจกรรม
ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นการรับรู้โดยผ่านระบบประสาทสัมผัสทุกระบบ กระตุ้นการคิดของสมองทั้งการคิดพื้นฐานทุกกระบวนการคิด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ความจำและภาษา หรือความคิดเชิงพหุปัญญาของสมองทั้งรายคนและแบบกลุ่ม จัดกิจกรรมที่ยั่วยุ ท้าทายการคิดค้น ของระบบประสาทและสมอง ทุกวิธีและการเรียนรู้แบบอุปนัยซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กอย่างมีความหมาย และให้แสดงออกด้วยความคิดเชิงพหุปัญญาทุกด้าน
บทบาทของครู
เตรียมกิจกรรมการสอนอย่างหลากหลายต่อกันเป็นกระบวนการเตรียมคำถาม คำสั่ง ข้อกำหนด เงื่อนไขที่กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้สมองคิด เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้เพียงพอ เรียนร่วมกับเด็ก เพื่อศึกษาแบบการเรียนรู้ของเด็ก ครูคิดหาเทคนิคการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ เสมอ
6.2 การคิดและเรียนรู้ของสมองส่วนกลาง (Limbic Brain)
ในด้านจิตพิสัย จิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ และการย่อยข้อมูลต่าง ๆ เป็นการทำงานของสมองส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ทั้งปวง การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ทางบวกทั้งในและนอกกระบวนการ จะทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ราบรื่น เนื่องจากจิตใจ อารมณ์ผสมผสานกับความคิดในบรรยากาศที่รับฟัง ตอบรับ การฟัง เกื้อหนุนให้กำลังใจ ใช้เหตุใช้ผล ให้โอกาส และในทางตรงข้ามการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์แบบลบ ตำหนิ ประเมิน ประณาม ใช้ความรุนแรง ทำให้จิตใจเครียด กดดัน โกรธแค้น ต่อต้าน ดื้อ ส่งผลให้สมองส่วนกลาง Limbic brain กลั่นสารเคมีมาปิดกั้น การเรียนรู้ของสมอง Neo – cortex ทั้งมวล ทำให้การเรียนรู้ทั้งเนื้อหาวิชาและจริยธรรมเต็มไปความลำบากยากยิ่ง ไม่ว่าจะใช้วิธีสอนแบบใดก็ตาม
รูปแบบการจัดกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างจิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ จะเป็นกิจกรรมแบบผ่อนคลายความกดดัน ความเครียดในการเรียน ได้แก่ ดนตรี เพลง การเคลื่อนไหวและจังหวะ เกม นิทาน การฝึกสมาธิ ในการทำงาน และการประเมินตนเอง โดยจัดเป็นกิจกรรมเฉพาะและแทรกเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนตลอดเวลา

บทบาทของครู
สื่อสารปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในทางบวก รับฟัง ตอบรับการฟัง เกื้อหนุน ให้กำลังใจ เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคง ชุ่มชื่น เบิกบาน มีอิสระ สร้างบรรยากาศห้องเรียนแบบประชาธิปไตย ยืดหยุ่นให้โอกาสประสบความสำเร็จ ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดกำลังใจ ที่จะปรับปรุงตัวเอง ให้ดีมีคุณธรรมแทนการประพฤติผิด
6.3 การรู้คิดและเรียนรู้ส่วนแรก (Reptilian Brain)
สมอง Reptilian ทำหน้าที่ด้านสัมผัส รับรู้ข้อมูลทั้งหมด การเคลื่อนไหว และสัญชาติญาณ ประสาทสัมผัสทุกระบบร่วมกับผิวหนัง ข้อต่อเป็นประตูสำคัญของการรับรู้ข้อมูล รับกระตุ้นและประสบการณ์ใหม่ที่ท้าทาย และเมื่อลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้ผู้เรียนทุกวัยเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้
รูปแบบ ของการจัดกิจกรรม
ในการจัดกิจกรรมจะใช้ประสาทสัมผัสทุกระบบ เพื่อฝึกให้รับข้อมูลอย่างเร็วแม่นยำ คมและลึกซึ้งครบถ้วน รูปแบบของการเรียนจะยั่วยุ ท้าทายให้คิดและแสดงออก โดยใช้ร่างกายข้อต่อ และเคลื่อนไหวอย่างปกติและสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดทักษะในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นระบวนการเรียนรู้ที่ให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้แก่ผู้เรียนทุกวัย โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรมด้วยการปฏิบัติคือใช้การสัมผัสข้อต่อและร่างกาย จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างราบรื่นอย่างยิ่ง
บทบาทของครู
จัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้เด็กรับรู้ สำรวจ สัมผัส พิจารณาด้วยตนเองตลอดเวลา การใช้ประสาทสัมผัสและข้อต่อปฏิบัติอย่างปกติและอย่างสร้างสรรค์ จะทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ครูต้องตระหนักว่าสมอง Reptilian เรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติจนเป็นทักษะ ชี้แนะ และเสริมความคิดให้ทดลองปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
6.4 การคิดการเรียนรู้ด้านสมอง (Pre – Frontal Cortex)
สมองส่วนหน้าซ้าย Pre – Frontal Cortex ทำหน้าที่คิดเชิงญาณปัญญาซึ่งเป็นวิธีคิดเชิงสังเคราะห์ได้คำตอบจากการครุ่นคิดเป็นเวลานานเพื่อแก้ปัญหา เป็นวิธีคิดที่ไม่เป็นขั้นเป็นตอน ความคิดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกาย อยู่ในภาวะผ่อนคลาย ไม่เครียด เมื่อผสมผสานกับจินตนาการอันเป็นการคิดของสมองซีกขวา ทำให้เกิดผลงานที่สร้างสรรค์ รวมทั้งอาจเป็นความคิดที่แวบขึ้นมาในขณะที่ไม่รู้ตัว
รูปแบบการจัดกิจกรรม
กระตุ้นด้วยคำถามและกิจกรรมที่ใช้จินตนาการ การคิด การคาดคะเน เกม และกิจกรรมผ่อนคลายร่างกายและสมอง การกระตุ้นให้คิดในแง่มุมใหม่ การคิดหลากหลายวิธี จินตนาการแบบเพ้อฝัน การผ่อนคลาย เพื่อให้ร่างกายกับสมองทำงานร่วมกัน

บทบาทของครู
จัดกิจกรรมยั่วยุให้คิดแปลก ๆ ใหม่ ๆ ใช้จินตนาการ การคาดคะเน นิทาน การเพ้อฝัน และยอมรับความคิดแปลก ๆ เพื่อสร้างกำลังใจให้กล่าคิดแปลกๆ ใหม่ๆ ต่อไปเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในระยะเริ่มต้น ควรเรียงลำดับจาก M1 ถึง M4 ซึ่งจะช่วยให้ ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดและมีทักษะทางสังคมอย่างเป็นระบบ เมื่อนักเรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์แล้วช่วง M 1 – M4 อาจไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามนี้ หรือไม่จำเป็นต้องสอนให้ครบทุกกระบวนในการสอนครั้งเดียว
สำหรับ M5 และ M6 ครูผู้สอนต้องแสดงบทบาทตั้งแต่บทบาทนักเรียนเข้ามาสู่โรงเรียนจนกลับไปสู่บ้าน
7. วัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 ส่วน (4 MAT) วัฏจักรแห่งการเรียนรู้ (4 MAT) สร้างขึ้นโดยใช้วงกลมเป็นสัญลักษณ์แทนการเคลื่อนไหวของกิจกรรมการเรียนรู้ พื้นที่ของวงกลมถูกแบ่งออกโดยเส้นแห่งการเรียนรู้ และเส้นแห่งกระบวนการจัดข้อมูลรับรู้เป็น 4 ส่วนกำหนดให้แต่ละส่วนใช้แทนกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 4 ลักษณะโดยนิยามว่า (กรมวิชาการ, 2544)

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *