เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2)

เทคนิคที่ช่วยสนับสนุนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (2)

2. การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co-operative Learning) เป็นวิธีการเรียนที่ใช้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านองค์ความรู้ จิตใจและสังคม ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลในกลุ่มผู้เรียน เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตน ตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มผู้เรียน ซาลวิน (Slavin, 1990)

2.1 ลักษณะสำคัญของการเรียนแบบร่วมมือ
จอนห์สัน และ จอนห์สัน (Johnson and Johnson, 1997) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของการเรียนแบบร่วมมือที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จมีอยู่ 5 ประการ คือ
2.1.1 ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิก (Positive Interdependent)
2.1.2 การปฏิสัมพันธ์โดยตรงของสมาชิก (Face – to – Face Primitive Interaction)
2.1.3 ความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Individual Accountability)
2.1.4 ทักษะทางมนุษย์สัมพันธ์และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม (Inter – personal and Small – Group Skills)

2.2 กระบวนการทำงานกลุ่ม (Group Process)
คุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อการเรียนแบบร่วมมือ โดยทั่วไปการเรียนแบบร่วมมือมีคุณลักษณะดังนี้
2.2.1 ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางบวก สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญและจำเป็นในกลุ่มทุกคน
2.2.2 ผู้สอนผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด (Face – to- Face Interaction) สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นของตน
2.2.3 ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
2.2.4 ผู้เรียนจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะทางด้านมนุษย์สัมพันธ์และกระบวนการกลุ่ม

2.3 การประเมินผลการเรียนจะเน้นองค์ประกอบทั้ง 4 ข้อ
การปฏิบัติตัวของผู้สอนเพื่อการเรียนแบบร่วมมือของผู้เรียน ซาลวิน (Slavin, 1990)
2.3.1 ผู้สอนต้องเตรียมแหล่งค้นคว้าให้พร้อมสำหรับผู้เรียนค้นคว้า
2.3.2 ผู้สอนต้องเป็นแหล่งข้อมูลและต้องมีประสบการณ์และข้อมูลที่จะแลกเปลี่ยนกับผู้เรียนได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
2.3.3 ผู้สอนต้องมีภาษาท่าทางและคำพูดที่กระตุ้นผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2.3.4 ผู้สอนต้องมีการแสดงออกที่สะท้อนถึงการสอนแบบร่วมมือกับบุคลากรในสถาบัน
2.3.5 ผู้สอนเสนอตัวอย่างให้ผู้เรียนได้เห็นประจักษ์ว่า การเรียนแบบร่วมมือทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้และประสบผลสำเร็จในการทำงาน
2.3.6 ผู้สอนต้องมีวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากจำนวนครั้งของการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนมีความสัมพันธ์กับเพื่อเชิงบวก ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการค้นคว้าข้อมูลใหม่ ๆ อยู่เสมอ
2.3.7 ผู้สอนต้องให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อการปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.4 รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น
2.4.1 รูปแบบ Jigsaw เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ ผู้เสนอวิธีการนี้ คือ Aronson et.al (1978, pp.22-25) การสอนแบบนี้นักเรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาเพียงส่วนหนึ่งหรือหัวข้อย่อยของเนื้อหาทั้งหมด โดยการศึกษาเรื่องนั้นๆ จากเอกสารหรือกิจกรรมที่ครูจัดให้ ในตอนที่ศึกษาหัวข้อย่อยนั้น นักเรียนจะทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหัวข้อย่อยเดียวกัน และเตรียมพร้อมที่จะกลับไปอธิบายหรือสอนเพื่อนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานของตนเอง Jigsaw มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
2.4.1.1 การเตรียมสื่อการเรียนการสอน (Preparation Of Materials)
2.4.1.2 การจัดสมาชิกของกลุ่มและของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Teams and Expert Groups)
2.4.1.3 การรายงานและการทดสอบย่อย (Reports And Quizzes
ขั้นตอนการสอนแบบ Jigsaw มีดังนี้
ขั้นที่ 1 ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม
ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มนักเรียนให้มีสมาชิกที่มีความสามารถคละกัน
ขั้นที่ 3 เป็นการศึกษาในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups)
ขั้นที่ 4 นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับกลุ่มเดิมของตน
ขั้นที่ 5 นักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดทุกหัวข้อ แล้ว
ขั้นที่ 6 กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รับรางวัล หรือการชมเชย (http://www.jigsaw.org/overview.htm, 2548; http://www.jigsaw.org/steps.htm, 2548; http://www.cals.ncsu.edu:8050/agexed/leap/aee535/CooperativeLearningModels.htm, 2548; http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_1. htm.2548)
2.4.2 รูปแบบ STAD (Student Teams-Achievement Division)
Slavin ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม (Student Teams Learning Method) ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Student Teams-Achievement Divisions (STAD) และ Teams-Games-Tournaments (TGT) ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น Team Assisted Individualization (TAI) เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และ Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอนอ่านและ การเขียน
2.4.2.1 หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม ของSlavin ประกอบด้วย
1) การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards)
2) การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability)
3) การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal Opportunities For Success)
2.4.2.2 รูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งที่ Slavin ได้เสนอไว้ เมื่อปี ค. ศ.1980 นั้นมี องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1) การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (Class Presentation)
2) การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams)
3) การทดสอบย่อย (Quizzes)
4) คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (Individual Improvement Score)
5) การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition)
2.4.2.3 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสอน ครูดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ อาจเป็นกิจกรรมที่ครูบรรยาย สาธิต ใช้สื่อประกอบการสอน หรือให้นักเรียนทำกิจกรรม การทดลอง
ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4-5 คน ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจว่า สมาชิกทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย
ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบย่อย ครูจัดให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนและทบทวนเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด นักเรียนทำแบบทดสอบคนเดียวไม่มีการช่วยเหลือกัน
ขั้นที่ 4 ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการพิจารณาความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ต่ำสุดการทดสอบครั้งก่อนๆ กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งปัจจุบัน
ขั้นที่ 5 ขั้นให้รางวัลกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนปรับปรุงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคำชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน (http://www.pwcs.edu/curriculum/sol/stad.htm, 2548; http://www.cals.ncsu.edu:8050/agexed/leap/aee535/CooperativeLearningModels.htm; 2548; http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_1.htm, 2548; http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/it/ecollaborative.html, 2548)
2.4.3 รูปแบบ LT (Learning Together)
รูปแบบ LT (Learning Together) นี้ Johnson & Johnson เป็นผู้เสนอในปี ค. ศ.1975 ต่อมาในปี ค. ศ.1984 เขาเรียกรูปแบบนี้ว่า วัฏจักรการเรียนรู้ (Circles of Learning) รูปแบบนี้มีการกำหนดสถานการณ์และเงื่อนไขให้นักเรียนทำผลงานเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเอกสาร การแบ่งงานที่เหมาะสม และการให้รางวัลกลุ่ม
2.4.3.1 หลักการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ
จอห์นสันและจอห์นสันได้เสนอหลักการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ไว้ว่า
1) สร้างความรู้สึกพึ่งพากัน (Positive Interdependence)
2) จัดให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน (Face-To-Face Interaction)
3) จัดให้มีความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (Individual Accountability)
4) ให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะสังคม (Social Skills)
5) จัดให้มีกระบวนการกลุ่ม (Group Processing)
จากหลักการดังกล่าวทำให้ได้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน หรือ Learning together ที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ได้ผลงานกลุ่มในขณะทำงาน นักเรียนช่วยกันคิดและช่วยกันตอบคำถาม พยายามทำให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมและทุกคนเข้าใจที่มาของคำตอบ ให้นักเรียนขอความช่วยเหลือจากเพื่อนก่อนที่จะถามครู และครูชมเชยหรือให้รางวัลกลุ่มตามผลงานของกลุ่มเป็นหลัก
2.4.3.2 การนำรูปแบบนี้ไปใช้ควรดำเนินการดังนี้
1) กำหนดวัตถุประสงค์การสอนให้ชัดเจน
2) จัดกลุ่มให้มีขนาดไม่เกิน 6 คน
3) จัดให้มีนักเรียนนั่งหันหน้าเข้าหากันเป็นวง
4) จัดเอกสารหรือสื่อการสอนที่ทำให้นักเรียนต้องพึ่งพาอาศัยกัน
5) กำหนดบทบาทของสมาชิกในกลุ่มเพื่อให้เกิดการพึ่งพากัน
6) อธิบายงานที่มอบหมายให้นักเรียนทำ
7) แจ้งเงื่อนไขเพื่อจัดสภาพให้เกิดความเกี่ยวพันกันในเรื่องของเป้าหมายร่วม
8) จัดสภาพให้เกิดความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของแต่ละคน
9) จัดสภาพให้เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่ม
10) อธิบายเกณฑ์ของความสำเร็จ
11) ระบุพฤติกรรมที่คาดหวัง
2.4.3.3 ระหว่างที่นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม ครูมีบทบาท ดังนี้
1) สรุปบทเรียนโดยนักเรียนและครู
2) นักเรียนประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่มและหาแนวทาง แก้ไขปัญหา
3) ประเมินผล
2.4.3.4 ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบ LT
1) ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาเดิม หรือความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
2) ครูแจกแบบฝึกหรือใบงานให้ทุกกลุ่ม กลุ่มละ 1 ชุดเหมือนกัน นักเรียนช่วยทำงานโดยแบ่งหน้าที่แต่ละคน
3) แต่ละกลุ่มส่งกระดาษคำตอบหรือผลงานเพียงชุดเดียว ถือว่าเป็นผลงานที่สมาชิกทุกคนยอมรับ และเข้าใจแบบฝึกหรือการทำงานชิ้นนี้แล้ว
4) ตรวจคำตอบหรือผลงานให้คะแนนด้วยกลุ่มเองหรือครูก็ได้ กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รางวัลหรือติดประกาศไว้ในบอร์ด (http://www.scotland.gov.uk/learningtogether/leto-00. htm, 2548; http://school.obec.go.th/ sup_br3/cr_1. htm, 2548 ; http://www.ncsl.org.uk/media/f7b/96/randd-le-leaders-learning.pdf, 2548; http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/it/ecollaborative.html, 2548)
2.4.4 รูปแบบ TAI (Team Assisted Individualization)
TAI (Team Assisted Individualization) คือ วิธีการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ ลงมือทำกิจกรรมในการเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของตนและส่งเสริม ความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นที่ 1 จัดนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน
ขั้นที่ 2 ทดสอบจัดระดับ (Placement Test)
ขั้นที่ 3 นักเรียนศึกษาเอกสารแนะนำบทเรียน ทำกิจกรรมจากสื่อที่ได้รับ เสร็จแล้วส่งขั้นที่ 4 ให้เพื่อนในกลุ่มตรวจ
ขั้นที่ 5 เมื่อนักเรียนทำแบบฝึกหัดทักษะในสื่อที่ได้เรียนจบแล้ว
ขั้นที่ 6 ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบประจำหน่วย (Unit Test)
ขั้นที่ 7 ครูคิดคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม แล้วจัดอันดับ
(http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_1. htm, 2548; http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/ it/ecollaborative.html, 2548)
2.4.5 รูปแบบ TGT (Teams – Games -Tournaments)
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือตามรูปแบบ TGT เป็นการเรียนแบบร่วมมือกันแข่งขันทำกิจกรรม โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังนี้
ขั้นที่ 1 ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อน ด้วยการซักถามและอธิบาย ตอบข้อสงสัยของนักเรียน
ขั้นที่ 2 จัดกลุ่มแบบคละกัน (Home Team) กลุ่ม 3-4 คน
ขั้นที่ 3 แต่ละทีมศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (Worksheet And Answer Sheet)
ขั้นที่ 4 การแข่งขันตอบปัญหา (Academic Games Tournament)
ขั้นที่ 5 นักเรียนกลับมากลุ่มเดิม (Home Team) รวมแต้มโบนัสของทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุด จะให้รางวัล
(http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_1. htm, 2548; http://www.ku.ac.th/e-magazine/ may47/it/ecollaborative.html, 2548)
2.4.6 รูปแบบ GI (Group Investigation)
GI (Group Investigation) พัฒนาโดย Sharan และคณะ เป็นรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือที่มีความซับซ้อนและกว้างมาก ปรัชญาของรูปแบบ GI ก็คือต้องการปลูกฝังการร่วมมือกันอย่างมีประชาธิปไตย มีการกระจายภาระงานและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่เท่าเทียมกันของสมาชิกในกลุ่ม GI มีการกระตุ้นบทบาทที่แตกต่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม เป็นการส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยกลุ่ม
2.4.6.1 แนวคิดในการจัดการเรียนรู้
1) นักเรียนแต่ละคนจะได้แสดงความสามารถของตนในการแสวงหาความรู้
2) นักเรียนแต่ละคน ต้องถ่ายทอดความรู้หรือวิธีการทำงานให้เพื่อนนักเรียนเข้าใจด้วย
3) ทุกคนต้องร่วมแสดงความคิดเห็น อภิปรายซักถามจนเข้าใจในทุกเรื่อง
4) ทุกคนต้องร่วมมือกันสรุปความเข้าใจที่ได้นำส่งอาจารย์เพียง 1 ฉบับเท่านั้น
5) เหมาะกับการสอนความรู้ที่สามารถแยกเป็นอิสระได้เป็นส่วนๆ หรือแยกทำได้หลายวิธีหรือการทบทวนเรื่องใดที่แบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ได้ หรือการทำงานที่แยกออกเป็นชิ้นๆ ได้
2.4.6.2 GI มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน 6 ประการ คือ
1) การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา (Topic Selection)
2) การวางแผนร่วมมือกันในการทำงาน (Cooperative Planning)
3) การดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ (Implementation)
4) การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานที่ทำ (Analysis and Synthesis)
5) การนำเสนอผลงาน (Presentation of Final Report)
6) การประเมินผล (Evaluation)
GI เป็นการเรียนแบบร่วมมือที่มอบหมายความรับผิดชอบอย่างสูงให้กับนักเรียน ในการที่จะบ่งชี้ว่าเรียนอะไรและเรียนอย่างไร ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายของสิ่งที่ศึกษาโดยเน้นการสื่อความหมายและการแลกเปลี่ยนความคิดเป็นของกันและกันในการทำงาน
2.4.6.3 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
1) การทบทวนและชี้แจง (5-10 นาที)
2) การมอบหมายงานและปฏิบัติงาน (10-15 นาที)
3) สรุปผลงาน (15-20 นาที)
4) การประเมินผล ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเวลาที่เหลือ
(http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_1. htm, 2548; http://www.pwcs.edu/curriculum/sol/ groupinves.htm, 2548; http://wblrd.sk.ca/~bestpractice/coop/examples11. html, 2548; http://www.ied.edu.hk/apfslt/v5_issue1/tsoimf/tsoimf2. htm#two, 2548)
2.4.7 โปรแกรม CIRC (Cooperative Integrated Reading and Composition)
CIRC คือ โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียนและทักษะทางภาษา (Language arts) ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอนโดยการพยายามนำการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ โปรแกรม CIRC พัฒนาขึ้นโดย Madden, Slavin และStevensในปี 1986 เป็นโปรแกรมที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม เป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นำการเรียนแบบร่วมมือมาใช้กับการอ่านและการเขียนโดยตรง
CIRC-Reading สำหรับการอ่าน นักเรียนจะได้รับการสอนภายในกลุ่มการอ่าน หลังจากนั้นให้นักเรียนแยกออกเป็นทีม เพื่อทำงานตามกิจกรรมแบบร่วมมือโดยการจับคู่กันอ่าน การทำนายเรื่องที่อ่าน การสรุปเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง การเขียนตอบคำถามจากเรื่อง การฝึกสะกดคำศัพท์ การถอดรหัสและฝึกเรื่องคำศัพท์ นักเรียนทำงานร่วมกันในทีมเพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ และได้ทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการอ่าน
CIRC-Writing/Language Arts สำหรับการเขียน วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับ รูปแบบกระบวนการเขียน ซึ่งใช้รูปแบบทีมเหมือนกับโปรแกรม CIRC สำหรับการอ่านวิธีการนี้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อวางแผน ร่างต้นฉบับ ทบทวนแก้ไข รวบรวมและลำดับเรื่อง และพิมพ์หรือแสดงผลงาน เรื่องที่แต่งออกมาโดย ครูเป็นผู้เสนอเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทาง เนื้อหาและกลวิธีของการเขียน
CIRC สำหรับการอ่านและการเขียนนั้น โดยปกติแล้วจะใช้ควบคู่ไปด้วยกัน แต่กระนั้นก็สามารถใช้โปรแกรมนี้แยกในการสอนอ่าน หรือสอนการเขียนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้
2.4.7.1 โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ มีลักษณะกิจกรรมโดยรวมดังนี้คือ
1) การสอนเริ่มต้นจากครู (Teacher Instruction)
2) การฝึกปฏิบัติภายในทีม (Team Practice)
3) นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Individual Assessment)
4) คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน จะรวมเป็นคะแนนของทีม (Team Recognition)
2.4.7.2 การจัดกลุ่มนักเรียน
นักเรียนจะทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด ภายในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีนักเรียนซึ่งมีความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มการอ่าน (Reading Groups) นั้น นักเรียนจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม การอ่าน จำนวน 2-3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับระดับการอ่านของเขาโดยครูเป็นผู้กำหนดให้ว่า นักเรียน คนใดจัดว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง ปานกลางหรืออ่อน
2.4.7.3 ทีม (Teams)
หลังจากการแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มการอ่านแล้ว ครูจะกำหนดให้นักเรียนจับคู่กันแล้วแต่ละคู่จะถูกกำหนดให้เป็นทีม ที่ประกอบด้วยสมาชิกอีกคู่หนึ่งที่มาจากกลุ่มการอ่านอื่น ตัวอย่างเช่น ในทีมหนึ่งประกอบด้วยนักเรียนสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่เก่ง (Top Reading Group) และนักเรียนอีกสองคนที่มาจากกลุ่มการอ่านที่อ่อนกว่า (Low Reading Group) ส่วนนักเรียนที่จัดว่ามีปัญหาทางการอ่าน ก็ให้กระจายกันอยู่ในทีมต่างๆ มีกิจกรรมต่างๆ จำนวนหลายกิจกรรม ที่จะต้องทำงานร่วมกันแบบเป็นคู่ๆ แต่อย่างไรก็ตาม อีกคู่หนึ่งที่อยู่ในทีมเดียวกันสามารถช่วยเหลือกันได้ นักเรียนในทีมจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานที่เป็นอิสระจากครู
2.4.7.4 การให้คะแนน
คะแนนของนักเรียนได้จากการตอบคำถาม (Quizzes) การแต่งประโยค (Composition) และสมุดรายงาน (Book Reports) โดยนำมารวมกันเป็นคะแนนของทีม
1) ทีมที่ทำคะแนนในทุกกิจกรรมได้ถึงเกณฑ์ 90% ของกิจกรรมที่ได้รับในสัปดาห์หนึ่งๆ จะได้รับการประกาศว่าเป็น “Super Team” และได้รับประกาศนียบัตร
2) ทีมที่ทำคะแนนได้ 80-90% จะได้รับประกาศให้เป็น “Great Team” และได้รับ ใบประกาศนียบัตรในระดับรองลงมา
2.4.7.5 ขั้นตอนการดำเนินการ สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1) แจกเรื่องสำหรับอ่านให้นักเรียนทุกคน ครูแนะนำ คำศัพท์ใหม่ ทบทวนคำศัพท์เก่า ให้นักเรียนตั้ง จุดประสงค์ในการอ่าน
2) นักเรียนทุกคนอ่านเรื่องเองในใจครึ่งเรื่อง
3) จับคู่กันผลัดกันอ่านคนละ 1 วรรค ขณะที่คนหนึ่งอ่านอีกคนหนึ่งจะต้องคอยตามไปด้วยเพื่อตรวจดูว่าคู่ของตน อ่านผิดหรือไม่ จะได้ช่วยกันแก้ไข
4) เมื่ออ่านมาได้ครึ่งเรื่องให้นักเรียนหยุด เขียนบรรยาย ลักษณะของเรื่องทำนายเรื่องต่อไปว่าปัญหาจะถูกแก้ไข อย่างไรเขียนลงในกระดาษของตนเอง แล้วเขียนตอบเป็น ผลงานของทีมอีก 1 ชุด
5) นักเรียนอ่านเองในใจต่อจนจบ แล้วจับคู่ผลัดกันอ่านคนละวรรคจนจบเรื่อง ทีม 1 ชุด
6) แจกรายการคำศัพท์ใหม่หรือคำศัพท์ยากจากเรื่อง ให้นักเรียนจับคู่ กับสมาชิกในทีม ฝึกอ่านออกเสียงจน สามารถอ่านได้ถูกต้องและคล่องแคล่วจับคู่กันในทีม
7) แจกรายการคำจากเรื่องที่อ่านให้นักเรียนเขียนแสดงความหมายของคำ วลี หรือเขียนประโยคแสดงความหมายของ แต่ละคำ
8) นักเรียนอภิปรายเรื่องที่อ่านกันภายในกลุ่ม แล้วให้ นักเรียน สรุปประเด็นหรือจุดสำคัญของเรื่องกับคู่ของตนโดยให้ นักเรียนใช้คำพูดของตนเอง แล้วให้ช่วยกันเขียนสรุปเป็น ผลงานของทีม 1 ชุด
9) แจกรายการคำที่เขียนคำไม่สมบูรณ์ (Disappearing List) ให้นักเรียนผลัดกันถามเพื่อสะกดคำให้ถูกต้อง
10) ให้นักเรียนแต่ละคนประเมินสมาชิกทุกคนว่าประสบความสำเร็จหรือไม่
11) หลังจากเรียน 2 ครั้งแล้ว นักเรียนจะถูกทดสอบโดยให้เขียนประโยคจากคำศัพท์ที่กำหนดให้ ทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และอ่านรายการคำศัพท์แบบออกเสียงให้ครูฟัง ในขั้นนี้ นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือกันได้ (http://www.intime.uni.edu/ coop_learning/ch4/types.htm/2548; http://sps.k12. mo.us/coop/ecoopmain.html2548; )
2.5 การเรียนแบบร่วมมือสามารถแบ่งประเภทได้ 2 ประเภท ดังนี้
2.5.1 การเรียนแบบร่วมมือที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดคาบเรียน หรือ ตั้งแต่ 1 คาบเรียนขึ้นไป วิธีการหรือเทคนิคเหล่านี้มีลักษณะการจัดกิจกรรมแตกต่างกัน ซึ่ง แต่ละเทคนิคได้ออกแบบเหมาะสมกับเป้าหมายที่ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องเลือกใช้ให้ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ เทคนิคที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2.5.2 เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่ใช้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกิจกรรม การเรียนการสอนในแต่ละคาบ คือ ใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน โดยสอดแทรกในขั้นตอนใดๆ ของการสอน ขั้นทบทวน หรือขั้นวัดผลของคาบเรียนใดคาบเรียนหนึ่ง โดยมีลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นวิธีที่ใช้เวลาช่วงสั้นประมาณ 5-10 นาที จนถึง 1 คาบเรียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบที่พัฒนาโดย คาแกน (Kagan)
2.6 การสังเกตพฤติกรรมการร่วมมือในชั้นเรียน
การสังเกตเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เปิดโอกาสให้ผู้รวบรวมข้อมูลสัมผัสกับความเป็นจริงและสิ่งที่ต้องการจะรวบรวมด้วยตนเอง ทำให้มีโอกาสที่จะรวบรวมข้อมูลได้ตรงสภาพความเป็นจริงได้มากและสามารถที่จะรวบรวมรายละเอียดของข้อมูลในแนวลึกได้ การสังเกตพฤติกรรม การร่วมมือในชั้นเรียนของนักเรียนโดยใช้วิธีการสังเกต จะช่วยให้ได้รายละเอียดของพฤติกรรมที่แสดงถึงการร่วมมือของนักเรียนในชั้นเรียนได้ชัดเจนขึ้น
2.6.1 ลักษณะของผู้สังเกต
การสังเกตเป็นวิธีการพื้นฐานที่จะได้ข้อมูลมาตามความต้องการ ซึ่งการที่จะได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้นั้น ผู้สังเกตต้องมีลักษณะดังนี้
2.6.1.1 ความตั้งใจของผู้สังเกต (Attention)
2.6.1.2 ประสาทสัมผัส (Sensation)
2.6.1.3 การรับรู้ (Perception)
2.6.2 หลักการสังเกต
ผู้สังเกตที่ดี คือ ผู้ที่ทำการสังเกตแล้วได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด ซึ่งผู้สังเกตจะเป็นผู้สังเกตที่ดีได้นั้นต้องมีหลักในการสังเกต ดังนี้
2.6.2.1 กำหนดการสังเกตให้จำกัดเฉพาะเป็นเรื่องๆ ไป ไม่ใช่เห็นสิ่งใด มากระทบแล้วรับไว้หมด
2.6.2.2 สังเกตอย่างมีความมุ่งหมาย มิใช่ว่าสังเกตไปเรื่อยๆ คือ ต้องมีจุดมุ่งหมายที่จะดู เมื่อพบเห็นแล้วแปลความหมายออกมาว่าคืออะไร
2.6.2.3 สังเกตด้วยความพินิจพิเคราะห์จนสามารถมองเห็นรายละเอียดของเรื่องนั้นได้อย่างลึกซึ้ง มิใช่ว่ามองเห็นแต่ผิว หรือลักษณะของภายนอกเท่านั้น
2.6.2.4 เมื่อสังเกตแล้วต้องมีการบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ จะได้ไม่หลงลืมรายละเอียดที่ได้สังเกตมา
2.6.2.5 ผู้สังเกตควรใช้แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) หรือ เครื่องมือวัดอื่นๆ ประกอบในการสังเกตนี้ด้วย
2.6.3 ประเภทของการสังเกต
การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.6.3.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) หมายถึง การสังเกต ที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมอยู่ในกลุ่มที่ตนศึกษา และมีการทำกิจกรรมร่วมกัน
2.6.3.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participant Observation) หมายถึง การสังเกตที่ ผู้วิจัยกระทำตนเป็นบุคคลภายนอก ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่กลุ่มกำลังทำกันอยู่ การไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในความหมายนี้ หมายถึง ไม่เข้าไปร่วมในกิจกรรมของกลุ่มนั้นเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงการไม่เข้าไปอยู่ในบริเวณสถานที่ด้วย มักใช้ในกรณีที่ไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึก รบกวนจากตัวผู้สังเกต ผู้สังเกตเป็นเพียง ผู้สังเกตการณ์เท่านั้น
2.6.4 ระบบการบันทึกข้อมูล
ระบบการบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสังเกตนี้ ได้มีการแบ่งไว้หลายระบบ ดังนี้
2.6.4.1 ระบบเครื่องหมาย (Sign System)
2.6.4.2 ระบบจำแนกประเภท (Category System)
อีเวอร์ทสันและฮอลลีย์ (Evertson and Holley, 1982 pp.329) ได้เสนอระบบการบันทึกการสังเกตไว้ต่างออกไป โดยสรุปได้ คือ ระบบมาตราจัดอันดับ (Rating System) เป็นระบบที่ได้มีการระบุพฤติกรรมที่ต้องการศึกษาไว้แล้ว แต่ผู้สังเกตจะสังเกตพฤติกรรมตลอดคาบเรียนก่อนแล้วจึงบันทึกข้อมูลในภายหลัง ในการใช้ระบบการบันทึกนี้ ผู้สังเกตต้องอาศัยความรู้สึกรวมๆ ประเมินพฤติกรรมเฉพาะอย่างที่สังเกตมาตลอดคาบเรียน แล้วจึงบันทึกข้อมูลโดยจัดอันดับว่าพฤติกรรมที่ระบุไว้นั้นควรจัดอยู่ในระดับมากน้อยเพียงใด (http://www.sobkroo.com/cr_1. htm, 2548; http://www.budmgt.com/budman/bm01/learner.html, 2548; http://edtech.kennesaw.edu/intech/ cooperativelearning.htm, 2548; http://literacy.calumet.purdue.edu/STUDENT/clarkjs/circ.html, 2548; http://www.co-peration.org/2548; http://www.kaganonline.com2548; http://www.ericfacility.net/ericdigests/ed370881. html2548; http://www.newhorizons.org/strategies/ cooperative/front_cooperative.htm, 2548; http://www.lgu.ac.uk/deliberations/collab.learning/ panitz2. html2548; http://www.intime.uni.edu/coop_learning/ch4/types.htm/2548; http://sps.k12. mo.us/coop/ecoopmain.html2548; )

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *