ฮาร์วาร์ด เชื่อมความร่วมมือระหว่างคณะ
|ฮาร์วาร์ด เชื่อมความร่วมมือระหว่างคณะ
วันที่ : 13 สิงหาคม 2552 นิตยสาร/หนังสือพิมพ์ : การศึกษาอัพเกรด
ศ.ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด kriengsak@kriengsak.com, http:// www.kriengsak.com มหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ต่างมีการขยายและเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ อย่างมาก ตัวอย่างหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งมหาวิทยาลัยนี้ที่ถูกจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 4 ปี ซ้อน โดยการจัดอันดับของนิตยสารไทม์ ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีบุคลากรกว่า 12,000 คน มี 9 คณะ แบ่งเป็น 11 โรงเรียน และ มี10 สำนักงาน โดยแต่ละสำนักงานแยกเป็นส่วนงานย่อยอีกเป็นจำนวนมาก โดยลงลึกเจาะจงในศาสตร์สาขาต่าง ๆ มากขึ้น แต่ละคณะและโรงเรียนส่วนใหญ่ มีการดำเนินงานแบบแทบจะเบ็ดเสร็จในตัวเอง มีการพัฒนาองค์ความรู้และการวิจัยที่ลงลึกเจาะจงในแต่ละศาสตร์และสาขา จนแทบจะทำให้การดำเนินงานของแต่ละคณะและโรงเรียนแยกส่วนออกจากกัน สิ่งเหล่านี้ เรียกร้องให้ฮาร์วาร์ดเร่งหามาตรการและวิธีการตอบสนองต่อสถานการณ์ดังกล่าว แนวทางหนึ่งที่ฮาร์วาร์ดมีแนวคิดและเริ่มดำเนินการเป็นรูปธรรม คือ การสร้างความร่วมมือกันระหว่างคณะและส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากร และเพื่อรองรับการขยายตัวของปัญหาที่นับวันจะซับซ้อนมากขึ้น เนื่องด้วยเข้าไปเกี่ยวข้องกับหลากหลายศาสตร์สาขาวิชา ในขณะที่ปัญหาและความต้องการบางอย่างต้องการทางออกที่เฉพาะเจาะจง โดยฮาร์วาร์ดได้ กำหนดมาตรการและแนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างคณะและส่วนงานต่าง ๆ ไว้อย่างเป็นระบบ อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างคณะ ฮาร์วาร์ดได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างคณะ หรือที่เรียกว่า คณะกรรมการวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (The Harvard University Science and Engineering Committee; HUSEC) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้อำนวยการและผู้นำคณะจากทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ศาสตร์ โรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงประยุกต์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ด โรงเรียนสาธารณสุขศาสตร์ และส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนการแสวงหาแนวทางพัฒนางานวิจัยและจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งผลจากการประชุมของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ก่อให้เกิดแผนงานและการจัดตั้งคณะทำงานระหว่างคณะร่วมกันในเวลาต่อมาอีกหลายคณะ การจัดตั้งงบประมาณดำเนินงานความร่วมมือระหว่างคณะ เป็นความร่วมมือที่จัดทำผ่านสำนักงานที่เรียกว่า The Provost’s Office ซึ่งเป็นหน่วยงานโดยเฉพาะที่ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านความร่วมมือกันระหว่างคณะต่าง ๆ ในฮาร์วาร์ด ภายใต้การบริหารงานกองทุนที่เรียกว่า The Provost’s Fund for Interfaculty Collaboration (PEIC) ซึ่งเป็นกองทุนสนับสนุนเงินทุนให้กลุ่มคนที่ทำงานข้ามคณะ ทั้งนี้ ต้องเป็นโครงการความร่วมมือที่ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะหรือหน่วยงานที่เป็นต้นสังกัด เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 คณะขึ้นไป โดยสามารถทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกได้ โดยผู้ที่ต้องการสามารถยื่นใบสมัครได้ตลอดทั้งปี พร้อมทั้งจดหมายรับรองจากผู้บริหารคณะ สำหรับเงินทุนที่ได้รับจะเป็นเงินทุนในรายปีประมาณ 25,000 เหรียญ เงินทุนนี้จะไม่ครอบคลุมถึงเงินเดือนและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยเป็นการสนับสนุนเงินงบประมาณเริ่มต้น มากกว่าการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทั้