อารมณ์ กับ ความเครียด

ความเครียด เป็นสภาวะจิตใจและร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นผลจากการที่บุคคลต้องปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่กดดันหรือคุกคามให้เกิด ความทุกข์ ความไม่สบายใจ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความเครียด
ปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพและการเจ็บป่วย ทั้งรุนแรงและไม่รุนแรงทำให้เกิดความเครียดได้
บุคลิกภาพ ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ชอบแข่งขัน เร่งรีบ ต้องการเอาชนะไม่อดทน จะมีความเครียดมาก
ครอบครัว ความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาเรื่องลูก ความยุ่งยาก เรื่องเพศ ฯลฯ
การงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน ภาระงาน ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานระดับต่างๆ ค่าตอบแทน ฯลฯ
สิ่งแวดล้อม อากาศ แสง เสียง ฝุ่น ความร้อน ฯลฯ
ผลกระทบของอารมณ์และความเครียด
1. ผลกระทบต่อตนเอง
– ทางกาย อาทิ ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือเท้าเย็น ท้องอืด คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ฯลฯ
– ทางอารมณ์ อาทิ หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ฯลฯ
– ทางด้านความคิด อาทิ หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำบาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก เห็นตัวเองไม่มีคุณค่า สิ้นหวัง ฯลฯ
– ทางพฤติกรรม อาทิ ดื่มจัดมากเกินไป สูบบุหรี่จัด ไม่เจริญอาหาร ก้าวร้าว นอนไม่เต็มที่ ฯลฯ
2. ผลกระทบของความเครียดต่อครอบครัว
ครอบครัวขาดการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันไม่ยอมรับและไม่มีความเข้าใจกันเกิดความขัดแย้งทะเลาะวิวาท เกิดการหย่าร้าง หรือแยกกันอยู่ระหว่างสามีภรรยา ลูกไม่ได้รับความรักความอบอุ่นและความเอาใจใส่จากพ่อแม่

วิธีการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียด สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ความเครียดระดับปกติและความเครียดระดับสูง ซึ่งวิธีจัดการจะมีความเข้มข้นต่างกัน ดังนี้
1. วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดระดับปกติ
1.1ทำกิจกรรมนันทนาการที่ตนเองชอบ เช่น ฟังเพลง เดินเล่นตามศูนย์การค่า ดูโทรทัศน์ เล่นกีฬา เป็นต้น
1.2เล่าเรื่องราวหรือปรึกษาพูดคุยกับเพื่อน พ่อแม่ คนที่เราสนิทด้วย จะเป็นการระบายความในใจหรือความทุกข์ให้ผู้อื่นได้รับทราบบ้าง จะทำให้เรารู้สึกสบายใจขึ้น
1.3หยุดพักอ่านหนังสือหรือจดบันทึกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เปลี่ยนอิริบถบ้างแล้วจึงกลับไปทำกิจกรรมนั้นใหม่
1.4ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้สดชื่นขึ้น เช่น จัดสิ่งของให้เป็นระเบียบ จัดตกแตกหรือ ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นสบายตาทำความสะอาดบริเวณบ้าน โรงเรียน เป็นต้น
1.5ไปเที่ยวชมธรรมชาติ ตาทะเล ภูเขา น้ำตก ให้เกิดความเพลิดเพลิน
1.6พักผ่อนให้เพียงพอ ถ้านอนน้อยหรืออดนอน ควรนอนหลับให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ปกติควรนอนประมาณวันละ 6-8ชั่วโมงในเวลากลางคืน
1.7หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อม หรืสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
1.8ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา ควบคุมสติและอารมณ์ให้ได้ ไม่ควรหนีปัญหาหรือแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ปัญญาและเหตุผล
1.9หัดเป็นคนที่มีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดีเสมอ
1.10ใช้หลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนามาชโลมจิตใจให้ชุ่มชื่น เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงและความไม่เที่ยง
2. วิธีจัดการกับอารมณ์และความเครียดระดับสูง
2.1การฝึกเกร็งและการคลายกล้ามเนื้อ ด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ค้างไว้10วินาทีแล้วคลายออก สลับกันไปประมาณ10ครั้ง โดยให้เวลาที่ผ่อนคลายมากกว่าเวลาที่เกร็งซึ่งกล้ามเนื้อที่จะฝึกเกร็งและ คลายมีดังนี้
1) การกำมือและกำแขน แล้วปล่อยคลาย
2) การเลิกคิ้วสูง หรือขมวดคิ้ว แล้วคลาย
3) การหลับตา ย่นจมูกแล้วคลาย
4) การกัดฟัน เม้มปากแม่น ใช้ลิ้นดันเพดาน แล้วคลาย
5) การก้มหน้าให้มากที่สุด แล้วเงยหน้าขึ้นให้มากที่สุด แล้วกลับสู่ท่าปกติ
6) หายใจเข้าลึกๆ ยกไหล่ให้สูงที่สุด แล้วเกร็งไว้ หายใจออกช้าๆ แล้วคลาย เอาไหล่ลงสู่ท่าปกติ
7) แขม่วท้องพร้อมขมิบก้น แล้วคลาย
8) งอนิ้วเท้าเข้าหากัน กระดกปลายเท้าขึ้นสูง เกร็งขา แล้วคลาย
เมื่อฝึกบ่อยๆ จะช่วยให้สามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อย่างรวดเร็วในเวลาที่เกิดความเครียด
2.2 การหายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่ แล้วจึงผ่อนลมหายใจออกเป็นจังหวะช้าติดต่อกัน10-15นาที และอยู่ในความเงียบสงบสักระยะหนึ่งให้มีความเป็นส่วนตัวอย่าให้ใครมารบกวน
2.3 การอยู่ในความเงียบสงบสักระยะหนึ่ง ให้มีความเป็นส่วนตัว อย่างให้ใครมารบกวน
2.4 อาจพักผ่อนในท่านั่ง ยืน เดิน หรือนอน ให้รู้สึกสบายที่สุด ทำจิตใจให้สงบด้วย
2.5 การจินตนาการถึงสิ่งที่ดีๆ ที่ผ่านมา เช่น ไปทำบุญที่วัด ไปเที่ยวธรรมชาติ
2.6 ใช้อิริยาบถที่สบายที่สุดขณะจินตนาการ และสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *