ออกกำลังสมอง….. ต้านอัลไซเมอร์
ออกกำลังสมอง….. ต้านอัลไซเมอร์
{ 08:37, 7/10/2009 } { 0 comments } { Link }
รศ.พ.ญ.วรพรรณ เสนาณรงค์
ภาค ภาควิชาวิชาอายุรศาสตร์
Faclty of Medicine Siriraj Hospital
คณะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ความกังวล ของลูกหลานที่มีต่อคุณตา คุณยาย หรือผู้สูงอายุที่บ้านมักมาจากโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคที่สัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้นอย่างอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อม (DEMENTIA ) ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย ซึ่งเกิดจากสารหลั่งในสมองที่เกี่ยวกับความจำลดลงและมีการตายของเซลล์สมองพบ ว่ามีสารผิดปกติ อมัยลอยด์ในสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ ป่วย ในช่วง 8 -10 ปี หลังจากเริ่มมีอาการและไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการสมองเสื่อมรุนแรงยิ่งขึ้นจนกระทั่งไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตร ประจำวันตามปกติแม้กระทั่งการแปรงฟัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักพบในผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป แต่อาจพบในผู้ที่อายุน้อยกว่าก็ได้ซึ่งมักจะมีประวัติสมองเสื่อมในครอบครัว ด้วย โรคนี้ต่างจากอาการสมองเสื่อมที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ตรงที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากเพียงแต่ประคับประคองไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว การดูแลรักษาประคับประคอง เช่น การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูง และรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด เข้าร่วมสังคมสม่ำเสมอ
และที่สำคัญคือ ออกกำลังสมอง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองทำงาน ไม่เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
การออกกำลังสมอง
การออกกำลังสมอง หรือนิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์ (Neurobics Exercise) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยไม่ให้สมองเสื่อมเร็วกว่าวัย ทั้งนี้การออกกำลังสมองเปรียบได้กับการออกกำลังของร่างกายที่จะต้องเคลื่อน ไหวเพื่อใช้กล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนให้ทำงานเชื่อมโยงกัน ส่งผลให้ร่างกายเราแข็งแรงขึ้น ดังนั้นการออกกำลังสมองจึงเป็นเสมือนการฝึกให้สมองส่วนต่าง ๆ มีการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กัน ทำให้ระบบการทำงานของสมองแข็งแรงและมีพลังขึ้น เพราะเมื่อฝึกออก กำลังสมองบ่อย ๆ สมองจะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า นิวโรโทรฟินส์ เปรียบเหมือน “อาหารสมอง” ที่ทำให้เซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ “เดนไดรต์” ที่เชื่อมระหว่างเซลล์ประสาททำงานดีขึ้น จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เนื้อเซลล์เจริญเติบโตและเซลล์สมองแข็งแรง
เมื่อเซลล์สมองส่วนใหญ่แข็งแรง ก็จะทำให้เกิด “พุทธิปัญญา” อันหมายถึง ความจำ สมาธิ การรับรู้ ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการแสดงออกรวมไปถึง “การทำงานของสมองระดับสูง” คือ การคิด แก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ และการวางแผนที่ดีขึ้น ทำให้การทำงานของสมองยังคงประสิทธิภาพดี แข็งแรง และชะลอความเสื่อม เรียกง่าย ๆ ว่า “สมองแข็งแรง” เหมือนการออกกำลังให้ร่างกายนั่นเอง
สำหรับหลักการออกกำลังสมองนั้น สามารถทำโดยส่งเสริมให้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การได้ยิน มองเห็น การได้กลิ่น ลิ้มรส และการสัมผัส ได้ทำงานประสานเชื่อมโยงกับความพึงพอใจ หรือที่เกี่ยวข้องกับ “อารมณ์” (Emotional Sense) ได้ทำงานเชื่อมโยงกัน โดยใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันเดิมของเราเป็นตัวช่วย เพียงแต่ต้องเปลี่ยนวิธีการไปจากเดิม
ยกตัวอย่างเช่น มีการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง ทำงานประสานกัน เช่น การพรวนดิน การเย็บผ้า เนื่องจากพฤติกรรมและการรับรู้ต่าง ๆ เกิดจากการทำงานประสานกันระหว่างสมองซีกซ้ายและขวา การใช้มือข้างขวา สมองด้านซ้ายซึ่งบังคับมือขวาจะได้รับการกระตุ้น ขณะที่สมองด้านขวาบังคับการทำงานมือซ้าย ดังนั้นเมื่อเราฝึกทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้ร่างกายซีกซ้ายและขวาทำงานเข้าด้วยกัน ก็เท่ากับช่วยให้สมองทั้งสองซีกได้รับการกระตุ้นและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นด้วย
การออกกำลังสมองนั้น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าอยู่บ้านสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ที่บ้านได้ เช่น ในขณะฟังเพลงอาจหลับตา เพื่อจะได้มีสมาธิจดจ่อกับดนตรีได้ดีขึ้น การปั้นตุ๊กตาด้วยดินน้ำมัน หรือประดิษฐ์ดอกไม้จากแป้ง ก็จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทางผิวหนังให้ได้รับรู้มากขึ้น
ในระหว่างเดินทางก็ฝึกสมองได้ อย่างเมื่อต้องขับรถไปทำงานทุกวันก็ลองเปลี่ยนเส้นทางที่ใช้อยู่เดิมบ้าง อาจเป็นเส้นทางใหม่ที่รู้อยู่แล้ว หรือเส้นทางทดลองขับก็ได้ เพราะทั้งวิวทิวทัศน์ กลิ่น และเสียงของเส้นทางใหม่จะช่วยกระตุ้นทั้งสมองชั้นนอกและฮิปโปแคมปัสให้สร้าง แผนที่เส้นทางชุดใหม่ขึ้นในสมอง หรืออาจเปลี่ยนวิธีการเดินทางบ้าง เช่น จากที่เคยขับรถก็อาจนั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้ามาทำงานแทน ส่วนความเคยชินที่เปิดแอร์ระหว่างขับรถทุกวันก็ลองเปิดกระจกขับรถบ้าง แต่ก็ควรเลือกเส้นทางที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อเชื่อมโยงประสาทรับกลิ่นและเสียงภายนอกให้ทำงานประสานกันมากขึ้น
ขณะทำงานก็อาจฝึกสมองไปด้วย เช่น เมื่อพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานใหม่หรือคนที่ไม่ค่อยคุยด้วย เพื่อเติมข้อมูลใหม่ ๆ ให้กับสมอง ทั้งการจำลักษณะใบหน้า เสียงพูดหรืออุปนิสัยส่วนตัวของเพื่อนร่วมงานคนนั้น หรืออาจจะชวนเพื่อนร่วมงานถกเถียง อภิปรายหรือพูดคุยในประเด็นที่ไม่เคยพูด เพื่อเปิดรับข้อมูลใหม่ ๆ น่าดีใจที่คนไทยตื่นตัวกับความผิดปกติที่เกี่ยวกับความจำมากกว่าแต่ก่อน ถือเป็นเรื่องดีที่ผู้ป่วยหรือญาติจะเอาใจใส่ สังเกตอาการผิดปกติมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการรักษา เพราะหากพบอาการผิดปกติเร็ว ยังไม่ร้ายแรง ก็จะสามารถรักษาได้ผลมากกว่าปล่อยทิ้งไว้นาน
ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (http://www.si.mahidol.ac.th)