สรุปสาระสำคัญการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒

สรุปสาระสำคัญการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์                 เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.ศ. ๒๕๔๒

  ทางปฏิบัติในการจดทะเบียนการเช่า  การจำนองสิทธิการเช่า  และ

การโอนมรดกสิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

………………………………………

สาระสำคัญ

               ๑. การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม   และการต่อระยะเวลาการเช่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

               ๒. การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วง  การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การโอนสิทธิการเช่า   หรือการตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิการเช่าดังกล่าว   ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  มิฉะนั้นจะยกขึ้นเป็น   ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกมิได้

               ๓. ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์   (มาตรา  ๕)

               ๔. กำหนดระยะเวลาการเช่า  ต้องเกินสามสิบปี  แต่ไม่เกินห้าสิบปี  (มาตรา  ๓)

               ๕. การต่อระยะเวลาการเช่า  เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว  ผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้มีกำหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่วันที่ตกลงกัน (มาตรา ๔ วรรคท้าย)

               ๖. ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะขอจดทะเบียนการเช่า ต้องอยู่ภายในบริเวณหนึ่งบริเวณใด  ดังนี้

                  ๖.๑  บริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมตามกฎหมาย   ว่าด้วยการผังเมือง

                   ๖.๒  เขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ ๔)

               ๗. ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้จดทะเบียนการเช่า

                   ๗.๑  กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นผู้เช่า  ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้จดทะเบียนการเช่าต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด  ดังต่อไปนี้ 

                        ๗.๑.๑  พาณิชยกรรมที่มีการลงทุนไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท

                        ๗.๑.๒ อุตสาหกรรมที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

                        ๗.๑.๓  พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา ๕ วรรคสาม  และกฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๕)

                   ๗.๒ กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้เช่า  ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ขอจดทะเบียนการเช่า  นอกจากต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตาม  ๗.๑.๑ – ๗.๑.๓  แล้วยังต้องเป็นพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่คนต่างด้าว สามารถประกอบธุรกิจได้ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวด้วย  (มาตรา  ๕  วรรคสาม  และกฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๖)

               ๘. การยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วงหรือการรับโอนสิทธิการเช่า

                   ๘.๑ กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้ขอจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วง  หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  ให้คู่กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  และแสดงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                        ๘.๑.๑  แผนงาน  โครงการเกี่ยวกับการลงทุนในกิจการพาณิชยกรรม   หรืออุตสาหกรรมที่จะทำการเช่าโดยอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการใช้ที่ดิน  แหล่งที่มาและจำนวนของเงินทุน  ระยะเวลาดำเนินการตามขั้นตอนของการประกอบกิจการและรายละเอียดของการจ้างแรงงาน

                        ๘.๑.๒  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                        ๘.๑.๓  หนังสือรับรองจากผังเมืองจังหวัดหรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ว่าที่ดินที่จะขอเช่าอยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นประเภทพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง  หรืออยู่ภายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  แล้วแต่กรณี

                        ๘.๑.๔  หลักฐานการยื่นคำขอหรือการได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบจาก  หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์การของรัฐที่เกี่ยวข้อง

                        ๘.๑.๕  กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ที่เคยได้มาซึ่งสิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้แสดงหลักฐานการได้มาซึ่งสิทธิดังกล่าวด้วย  (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๒)

                   ๘.๒  กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้ขอจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วง  หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  นอกจากคู่กรณีต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและเอกสารหลักฐานตาม  ๘.๑.๑ – ๘.๑.๕  แล้ว  ยังต้องแสดงหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร  หรือหลักฐานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  หรือหลักฐานบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ  พร้อมคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๒(๕)  และศึกษาข้อ ๑๘ ถึงข้อ  ๒๐ ในแบบตรวจสอบหลักฐานฯ ที่แนบไว้กับหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๗๒๘/ว ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕  ประกอบด้วย)

               ๙. การรับคำขอจดทะเบียนการเช่า   การต่อระยะเวลาการเช่า  การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า  การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การให้เช่าช่วง  การโอนสิทธิการเช่าหรือการตกทอดทางมรดก            

                   ๙.๑   ให้นำแบบคำขอจดทะเบียนการเช่า  หนังสือสัญญา  บันทึกข้อตกลง  บันทึกถ้อยคำหรือแบบพิมพ์อื่นๆ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้โดยอนุโลม (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ ๒  วรรคท้าย)

                   ๙.๒  ให้นำบทบัญญัติการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้บังคับโดยอนุโลม  (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๓  วรรคหนึ่ง)

                   ๙.๓   ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้  (มาตรา  ๙)

                   ๙.๔   ในการจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ขอทราบถึงเงื่อนไขที่ผู้ขอจะต้องถือปฏิบัติ  ตลอดจนผลของการฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น  (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๓)

               ๑๐.  เมื่อได้จดทะเบียนการเช่าไว้แล้ว  การขอจดทะเบียนต่อระยะเวลาการเช่า  การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า    การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การตกทอดทางมรดกให้คู่กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  (กฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓  ข้อ  ๒ วรรคแรก)

               ๑๑. การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่

                    ๑๑.๑   ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน   (มาตรา  ๕  วรรคสอง)  (ปัจจุบันอธิบดีกรมที่ดินได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัดปฏิบัติราชการแทน  ตามคำสั่งกรมที่ดิน  ที่  ๑๔๔๑/๒๕๔๖  ลงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๖)

                   ๑๑.๒   กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน เป็นผู้เช่า ผู้เช่าช่วง หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า นอกจากที่ตั้งของที่ดิน ประเภทของพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว การประกอบพาณิชยกรรม  หรืออุตสาหกรรมยังต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

                            ๑๑.๒.๑  เป็นการประกอบกิจการที่เพิ่มมูลค่าการส่งออกหรือสนับสนุนการจ้าง  แรงงาน      ภายในประเทศ

                            ๑๑.๒.๒ เป็นการประกอบกิจการที่ยังไม่มีในราชอาณาจักรหรือมีแต่ไม่เพียงพอ

                            ๑๑.๒.๓  เป็นการประกอบกิจการที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยหรือเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยี

                            ๑๑.๒.๔  เป็นการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างสูงตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (กฎกระทรวงฉบับที่ ๒  พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒)

                              กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง  หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า  นอกจากที่ตั้งของที่ดินประเภทของพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม   เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียน  ตลอดจนการประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดข้างต้นแล้ว  ยังต้องปรากฏว่าการประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท  ทั้งนี้ไม่รวมถึงจำนวนเงินค่าเช่า  โดยต้องนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร  หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  หรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามจำนวนเงินลงทุนทั้งหมด  (ศึกษาข้อ  ๑๘  ถึงข้อ  ๒๐ ในแบบตรวจสอบหลักฐานฯ  ที่แนบไว้กับหนังสือกรมที่ดิน ที่  มท  ๐๗๒๘/ว ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕  ประกอบด้วย)

                    ๑๑.๓   ขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วง หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  ที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ข้อ ๓  ข้อ ๔ และข้อ ๕  กำหนดไว้ดังนี้

                              ๑๑.๓.๑  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วงหรือการรับโอนสิทธิการเช่าแล้ว  ให้ส่งสำเนาเอกสารเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้  สภาท้องถิ่นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่พิจารณาให้ความเห็นก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

                              ๑๑.๓.๒  การพิจารณาให้ความเห็นของสภาท้องถิ่น  ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารตาม  ๑๑.๓.๑  ถ้าสภาท้องถิ่นมิได้แจ้งผลการพิจารณาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ถือว่าสภาท้องถิ่นนั้นไม่ประสงค์จะให้ความเห็นในการเช่าที่ดินดังกล่าว และให้พนักงาน  เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาคำขอพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังอธิบดีกรมที่ดินเพื่อพิจารณาต่อไป

                              ๑๑.๓.๓  เมื่ออธิบดีกรมที่ดินได้รับเอกสารตาม  ๑๑.๓.๒  และพิจารณาแล้วเห็นว่า  การเช่าที่ดินนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ผู้ขอจะทำการเช่าที่ดินเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ได้ ก็ให้อนุมัติการเช่าที่ดินนั้นไปตามที่เห็นสมควรและอาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ  ได้เท่าที่จำเป็น

                              ๑๑.๓.๔  ให้อธิบดีกรมที่ดินแจ้งผลการพิจารณาไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารตาม  ๑๑.๓.๓

               ๑๒. เงื่อนไขในการจดทะเบียนการเช่า  ตามมาตรา  ๕  แห่งพระราชบัญญัติฯ และกฎกระทรวง  พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๗  และ ข้อ  ๘  ได้กำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนการเช่าไว้ดังนี้

                    ๑๒.๑  การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน

                    ๑๒.๒  ผู้เช่าต้องใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามประเภทของพาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                    ๑๒.๓  การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่    ผู้เช่าต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับการขอจดทะเบียนการเช่า

                     ๑๒.๔ ผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า  ต้องดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน

                     ๑๒.๕  ผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง  หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า   ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการจดทะเบียนทุกประการ

               ๑๓. ผลของการฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามมาตรา ๕  บัญญัติให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าได้

               ๑๔. การตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิการเช่า   ตามมาตรา  ๗  กำหนดให้สิทธิและหน้าที่

การเช่า ตามพระราชบัญญัตินี้ตกทอดแก่ทายาทได้ และผู้เช่าจะให้เช่าช่วง หรือโอนสิทธิการเช่า  ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้  เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
            ๑๕. การจำนองสิทธิการเช่า ตามมาตรา  ๖  กำหนดให้สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนองได้  โดยนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำนองอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

               ๑๖.  ตามมาตรา  ๑๐  กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินในหมวด  ๔

การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  และหมวด ๖  การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  มาใช้บังคับแก่การสอบสวน  การจดทะเบียน  และการเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมและให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินโดยอนุโลม

แนวทางปฏิบัติ

               ๑. หนังสือกรมที่ดิน  ที่ มท  ๐๗๒๘/ว ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕     วางทางปฏิบัติในการจดทะเบียนการเช่า  การจำนองสิทธิการเช่า  การโอนมรดกสิทธิการเช่าไว้ดังนี้

                  ๑.๑  การจดทะเบียนเช่า   ในการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม   พ.ศ. ๒๕๔๒  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำ  คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมฯ  (ท.ด. ๑)  หนังสือสัญญาเช่าและสารบัญจดทะเบียนโดยอนุโลมปฏิบัติตามตัวอย่างที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือกรมที่ดินข้างต้น   ส่วนแนวทางการดำเนินการให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒   รวมทั้งกฎกระทรวงที่ออกตามความ  ในพระราชบัญญัติดังกล่าว  โดยนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าทรัพย์และ  แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนเช่าที่กรมที่ดินวางไว้  มาใช้โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงดังกล่าว  สำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเช่าให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ  ๑  ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้าย  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (พ.ศ. ๒๕๔๑)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗  ข้อ ๒ (๗)(ฐ)

                  ๑.๒  การจำนองสิทธิการเช่า   กรณีมีผู้ขอจดทะเบียนจำนองสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้แล้วตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยอนุโลม  ตามตัวอย่างที่ส่งไปพร้อมหนังสือกรมที่ดินข้างต้น  และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจำนองในอัตราร้อยละ  ๑  ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (พ.ศ. ๒๕๔๑)  ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗  ข้อ  ๒ (๗)(ฉ)

                  ๑.๓  การโอนมรดกสิทธิการเช่า  กรณีผู้ขอได้จดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไว้ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.ศ. ๒๕๔๒  และผู้เช่าถึงแก่ความตายในระหว่างอายุสัญญาเช่า  หากสัญญาเช่ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น  และทายาทของผู้เช่าประสงค์ขอรับมรดกสิทธิการเช่า  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนประเภท  “โอนมรดกสิทธิการเช่า”  โดยดำเนินการตามมาตรา  ๘๑  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และอนุโลมปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก   พ.ศ. ๒๕๑๖  ลงวันที่  ๒๙  มีนาคม  ๒๕๑๖   และระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก  (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๓๙   ลงวันที่  ๒๕  พฤศจิกายน  ๒๕๓๙  (ปัจจุบันระเบียบสองฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว  และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดิน  ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.ศ. ๒๕๔๘  ลงวันที่  ๙  สิงหาคม  ๒๕๔๘   และระเบียบฯ  (ฉบับที่  ๒)  ลงวันที่  ๑๙  พฤษภาคม  ๒๕๔๙)  โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนในอัตราร้อยละ  ๑  จากจำนวนเงินค่าเช่าที่เหลืออยู่ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (พ.ศ. ๒๕๔๑)   ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.ศ. ๒๔๙๗  ข้อ  ๒ (๗) (ฐ)

                  ๑.๔  การจัดทำแบบตรวจสอบหลักฐาน   กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินขอจดทะเบียนการเช่า   การเช่าช่วง    หรือการรับโอนสิทธิการเช่าให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำแบบตรวจสอบหลักฐานตามที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือกรมที่ดินแนบไว้กับคำขอเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ    สำหรับหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือ     หลักฐานบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือหลักฐานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  ได้แก่  หลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบตรวจสอบหลักฐานข้อ  ๑๘ – ข้อ ๒๐  ท้ายหนังสือกรมที่ดิน

      ๒. มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในการพิจารณาอนุมัติการเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  คำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๑๔๔๑/๒๕๔๖  ลงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๖  เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๕๑๕/ว ๑๘๐๘๕  ลงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๖ ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในการพิจารณาอนุมัติการเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  ตามมาตรา  ๕ วรรคสอง  แห่งพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.ศ. ๒๕๔๒  สำหรับที่ดินที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น 

      ๓.  การรายงานข้อมูล  หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท  ๐๕๑๕/ว  ๑๑๑๗๔  ลงวันที่ ๑๙  เมษายน  ๒๕๔๗  กำหนดให้สำนักงานที่ดินทุกแห่งถือปฏิบัติว่า  เมื่อได้มีการจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่ว่าเนื้อที่จะเกินหรือไม่เกินหนึ่งร้อยไร่     และการเช่าอสังหาริมทรัพย์อื่น    ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อ   พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.ศ. ๒๕๔๒  แล้ว  ให้รายงานข้อมูลการจดทะเบียนลงในแบบรายงานที่ส่งไปตามหนังสือกรมที่ดินดังกล่าวให้กรมที่ดินทราบด้วย

………………………………………..

กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน

ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนฯ  สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน

พฤศจิกายน  ๒๕๔๙

สรุปสาระสำคัญการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์                 เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.. ๒๕๔๒

  ทางปฏิบัติในการจดทะเบียนการเช่า  การจำนองสิทธิการเช่า  และ

การโอนมรดกสิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

………………………………………

 

สาระสำคัญ

               . การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม   และการต่อระยะเวลาการเช่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

               . การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วง  การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การโอนสิทธิการเช่า   หรือการตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิการเช่าดังกล่าว   ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  มิฉะนั้นจะยกขึ้นเป็น   ข้อต่อสู้บุคคลภายนอกมิได้

               . ผู้ให้เช่าต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์   (มาตรา  )

               . กำหนดระยะเวลาการเช่า  ต้องเกินสามสิบปี  แต่ไม่เกินห้าสิบปี  (มาตรา  )

               . ารต่อระยะเวลาการเช่า  เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้ว  ผู้เช่าและผู้ให้เช่าอาจตกลงกันต่อระยะเวลาการเช่าออกไปอีกได้มีกำหนดไม่เกินห้าสิบปีนับแต่วันที่ตกลงกัน (มาตรา วรรคท้าย)

               . ที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่จะขอจดทะเบียนการเช่า ต้องอยู่ภายในบริเวณหนึ่งบริเวณใด  ดังนี้

                  .  บริเวณที่กำหนดให้เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมตามกฎหมาย   ว่าด้วยการผังเมือง

                   .  เขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย   (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ )

               . ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้จดทะเบียนการเช่า

                   .  กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นผู้เช่า  ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ให้จดทะเบียนการเช่าต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด  ดังต่อไปนี้ 

                        ..  พาณิชยกรรมที่มีการลงทุนไม่ต่ำกว่ายี่สิบล้านบาท

                        .. อุตสาหกรรมที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

                        ..  พาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (มาตรา ๕ วรรคสาม  และกฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  )

                   . กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้เช่า  ประเภทของพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่ขอจดทะเบียนการเช่า  นอกจากต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตาม  ....  แล้วยังต้องเป็นพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมที่คนต่างด้าว สามารถประกอบธุรกิจได้ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวด้วย  (มาตรา    วรรคสาม  และกฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  )

               . ารยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วงหรือการรับโอนสิทธิการเช่า

                   . กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้ขอจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วง  หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  ให้คู่กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  และแสดงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้พร้อมคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                        ..  แผนงาน  โครงการเกี่ยวกับการลงทุนในกิจการพาณิชยกรรม   หรืออุตสาหกรรมที่จะทำการเช่าโดยอย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการใช้ที่ดิน  แหล่งที่มาและจำนวนของเงินทุน  ระยะเวลาดำเนินการตามขั้นตอนของการประกอบกิจการและรายละเอียดของการจ้างแรงงาน

                        ..  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                        ..  นังสือรับรองจากผังเมืองจังหวัดหรือการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ว่าที่ดินที่จะขอเช่าอยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นประเภทพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง  หรืออยู่ภายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  แล้วแต่กรณี

                        ..  หลักฐานการยื่นคำขอหรือการได้รับอนุญาตหรือได้รับความเห็นชอบจาก  หน่วยงานของรัฐ  หรือองค์การของรัฐที่เกี่ยวข้อง

                        ..  กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ที่เคยได้มาซึ่งสิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้แสดงหลักฐานการได้มาซึ่งสิทธิดังกล่าวด้วย  (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  )

                   .  รณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้ขอจดทะเบียนการเช่า  การเช่าช่วง  หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  นอกจากคู่กรณีต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและเอกสารหลักฐานตาม  .. ..  แล้ว  ยังต้องแสดงหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร  หรือหลักฐานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  หรือหลักฐานบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ  พร้อมคำขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย  (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  (และศึกษาข้อ ๑๘ ถึงข้อ  ๒๐ ในแบบตรวจสอบหลักฐานฯ ที่แนบไว้กับหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๗๒๘/ ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕  ประกอบด้วย)

               . การรับคำขอจดทะเบียนการเช่า   การต่อระยะเวลาการเช่า  การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า  การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การให้เช่าช่วง  การโอนสิทธิการเช่าหรือการตกทอดทางมรดก            

                   .   ให้นำแบบคำขอจดทะเบียนการเช่า  หนังสือสัญญา  บันทึกข้อตกลง  บันทึกถ้อยคำหรือแบบพิมพ์อื่น ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้โดยอนุโลม (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ   วรรคท้าย)

                   .  ให้นำบทบัญญัติการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินมาใช้บังคับโดยอนุโลม  (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ    วรรคหนึ่ง)

                   .   ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้  (มาตรา  )

                   .   ในการจดทะเบียนพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งให้ผู้ขอทราบถึงเงื่อนไขที่ผู้ขอจะต้องถือปฏิบัติ  ตลอดจนผลของการฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้น  (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  )

               ๑๐มื่อได้จดทะเบียนการเช่าไว้แล้ว  การขอจดทะเบียนต่อระยะเวลาการเช่า  การแก้ไขรายการที่จดทะเบียนการเช่า    การนำสิทธิการเช่าเป็นหลักประกันการชำระหนี้  การตกทอดทางมรดกให้คู่กรณียื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  (กฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓  ข้อ  วรรคแรก)

               ๑๑. การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่

                    ๑๑.   ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน   (มาตรา    วรรคสอง)  (ปัจจุบันอธิบดีกรมที่ดินได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในแต่ละจังหวัดปฏิบัติราชการแทน  ตามคำสั่งกรมที่ดิน  ที่  ๑๔๔๑/๒๕๔๖  ลงวันที่    กรกฎาคม  ๒๕๔๖)

                   ๑๑.   กรณีคนไทยหรือนิติบุคคลที่ไม่ต้องด้วยมาตรา  ๙๗  แห่งประมวล กฎหมายที่ดิน เป็นผู้เช่า ผู้เช่าช่วง หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า นอกจากที่ตั้งของที่ดิน ประเภทของพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  ตลอดจนเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องเป็นไปตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว การประกอบพาณิชยกรรม  หรืออุตสาหกรรมยังต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

                            ๑๑..  เป็นการประกอบกิจการที่เพิ่มมูลค่าการส่งออกหรือสนับสนุนการจ้าง  แรงงาน      ภายในประเทศ

                            ๑๑.. ป็นการประกอบกิจการที่ยังไม่มีในราชอาณาจักรหรือมีแต่ไม่เพียงพอ

                            ๑๑..  เป็นการประกอบกิจการที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยหรือเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยี

                            ๑๑..  เป็นการประกอบกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างสูงตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (กฎกระทรวงฉบับที่   .. ๒๕๔๓ ข้อ )

                              กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  เป็นผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง  หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า  นอกจากที่ตั้งของที่ดินประเภทของพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม   เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียน  ตลอดจนการประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดข้างต้นแล้ว  ยังต้องปรากฏว่าการประกอบพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมนั้นจะต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท  ทั้งนี้ไม่รวมถึงจำนวนเงินค่าเช่า  โดยต้องนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร  หรือถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  หรือถอนเงินจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามจำนวนเงินลงทุนทั้งหมด  (ศึกษาข้อ  ๑๘  ถึงข้อ  ๒๐ ในแบบตรวจสอบหลักฐานฯ  ที่แนบไว้กับหนังสือกรมที่ดิน ที่  มท  ๐๗๒๘/ว ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕  ประกอบด้วย)

                    ๑๑.   ขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วง หรือการรับโอนสิทธิการเช่า  ที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  ตามกฎกระทรวง  ฉบับที่  (.. ๒๕๔๓) ข้อ   ข้อ และข้อ   กำหนดไว้ดังนี้

                              ๑๑..  เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนการเช่า  การให้เช่าช่วงหรือการรับโอนสิทธิการเช่าแล้ว  ให้ส่งสำเนาเอกสารเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้  สภาท้องถิ่นที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่พิจารณาให้ความเห็นก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

                              ๑๑..  การพิจารณาให้ความเห็นของสภาท้องถิ่น  ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารตาม  ๑๑..  ถ้าสภาท้องถิ่นมิได้แจ้งผลการพิจารณาภายในกำหนดเวลาดังกล่าว  ให้ถือว่าสภาท้องถิ่นนั้นไม่ประสงค์จะให้ความเห็นในการเช่าที่ดินดังกล่าว และให้พนักงาน  เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาคำขอพร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังอธิบดีกรมที่ดินเพื่อพิจารณาต่อไป

                              ๑๑..  มื่ออธิบดีกรมที่ดินได้รับเอกสารตาม  ๑๑..  และพิจารณาแล้วเห็นว่า  การเช่าที่ดินนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ผู้ขอจะทำการเช่าที่ดินเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ได้ ก็ให้อนุมัติการเช่าที่ดินนั้นไปตามที่เห็นสมควรและอาจกำหนดเงื่อนไขใด   ได้เท่าที่จำเป็น

                              ๑๑..  ให้อธิบดีกรมที่ดินแจ้งผลการพิจารณาไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเอกสารตาม  ๑๑..

               ๑๒. งื่อนไขในการจดทะเบียนการเช่า  ตามมาตรา    แห่งพระราชบัญญัติฯ และกฎกระทรวง  .. ๒๕๔๓ ข้อ   และ ข้อ    ได้กำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนการเช่าไว้ดังนี้

                    ๑๒.  การเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมที่ดิน

                    ๑๒.  ผู้เช่าต้องใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามประเภทของพาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมที่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

                    ๑๒.  การเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่    ผู้เช่าต้องยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานเช่นเดียวกับการขอจดทะเบียนการเช่า

                     ๑๒. ผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า  ต้องดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน

                     ๑๒.  ผู้เช่า  ผู้เช่าช่วง  หรือผู้รับโอนสิทธิการเช่า   ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการจดทะเบียนทุกประการ

               ๑๓. ผลของการฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตามมาตรา   บัญญัติให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าได้

               ๑๔. ารตกทอดทางมรดกซึ่งสิทธิการเช่า   ตามมาตรา    กำหนดให้สิทธิและหน้าที่

การเช่า ตามพระราชบัญญัตินี้ตกทอดแก่ทายาทได้ และผู้เช่าจะให้เช่าช่วง หรือโอนสิทธิการเช่า  ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้  เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
            ๑๕. การจำนองสิทธิการเช่า ตามมาตรา  ๖  กำหนดให้สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้สามารถนำไปใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้โดยการจำนองได้ 
โดยนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการจำนองอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม

               ๑๖ามมาตรา  ๑๐  กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินในหมวด 

การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน  และหมวด  การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม  มาใช้บังคับแก่การสอบสวน  การจดทะเบียน  และการเพิกถอนการจดทะเบียนการเช่าตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลมและให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินโดยอนุโลม

แนวทางปฏิบัติ

               ๑. หนังสือกรมที่ดิน  ที่ มท  ๐๗๒๘/ว ๑๓๐๐๖  ลงวันที่  ๒๕  เมษายน  ๒๕๔๕     วางทางปฏิบัติในการจดทะเบียนการเช่า  การจำนองสิทธิการเช่า  การโอนมรดกสิทธิการเช่าไว้ดังนี้

                  ๑.๑  ารจดทะเบียนเช่า   ในการจดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม   พ.. ๒๕๔๒  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำ  คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมฯ  (.. หนังสือสัญญาเช่าและสารบัญจดทะเบียนโดยอนุโลมปฏิบัติตามตัวอย่างที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือกรมที่ดินข้างต้น   ส่วนแนวทางการดำเนินการให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.. ๒๕๔๒   รวมทั้งกฎกระทรวงที่ออกตามความ  ในพระราชบัญญัติดังกล่าว  โดยนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าทรัพย์และ  แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนเช่าที่กรมที่ดินวางไว้  มาใช้โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติและกฎกระทรวงดังกล่าว  สำหรับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเช่าให้เรียกเก็บในอัตราร้อยละ  ๑  ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้าย  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (.. ๒๕๔๑ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.. ๒๔๙๗  ข้อ ๒ ()()

                  ๑.๒  การจำนองสิทธิการเช่า   กรณีมีผู้ขอจดทะเบียนจำนองสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนการเช่าไว้แล้วตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.. ๒๕๔๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยอนุโลม  ตามตัวอย่างที่ส่งไปพร้อมหนังสือกรมที่ดินข้างต้น  และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจำนองในอัตราร้อยละ  ๑  ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (.. ๒๕๔๑ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน  พ.. ๒๔๙๗  ข้อ  ๒ ()()

                  ๑.๓  การโอนมรดกสิทธิการเช่า  กรณีผู้ขอได้จดทะเบียนการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไว้ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.. ๒๕๔๒  และผู้เช่าถึงแก่ความตายในระหว่างอายุสัญญาเช่า  หากสัญญาเช่ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น  และทายาทของผู้เช่าประสงค์ขอรับมรดกสิทธิการเช่า  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนประเภท  โอนมรดกสิทธิการเช่า”  โดยดำเนินการตามมาตรา  ๘๑  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และอนุโลมปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก   พ.. ๒๕๑๖  ลงวันที่  ๒๙  มีนาคม  ๒๕๑๖   และระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก  (ฉบับที่ ๒.. ๒๕๓๙   ลงวันที่  ๒๕  พฤศจิกายน  ๒๕๓๙  (ปัจจุบันระเบียบสองฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกแล้ว  และให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกรมที่ดิน  ว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พ.. ๒๕๔๘  ลงวันที่  ๙  สิงหาคม  ๒๕๔๘   และระเบียบฯ  (ฉบับที่  ๒ลงวันที่  ๑๙  พฤษภาคม  ๒๕๔๙โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนในอัตราร้อยละ  ๑  จากจำนวนเงินค่าเช่าที่เหลืออยู่ตามมาตรา  ๑๐๔  วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  และกฎกระทรวง  ฉบับที่  ๔๗  (.. ๒๕๔๑)   ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน  พ.. ๒๔๙๗  ข้อ  ๒ () ()

                  ๑.๔  การจัดทำแบบตรวจสอบหลักฐาน   กรณีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามมาตรา  ๙๗  แห่งประมวลกฎหมายที่ดินขอจดทะเบียนการเช่า   การเช่าช่วง    หรือการรับโอนสิทธิการเช่าให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำแบบตรวจสอบหลักฐานตามที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือกรมที่ดินแนบไว้กับคำขอเพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินการ    สำหรับหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหรือ     หลักฐานบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หรือหลักฐานบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ  ได้แก่  หลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบตรวจสอบหลักฐานข้อ  ๑๘ – ข้อ ๒๐  ท้ายหนังสือกรมที่ดิน

      ๒. มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในการพิจารณาอนุมัติการเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  คำสั่งกรมที่ดิน ที่ ๑๔๔๑/๒๕๔๖  ลงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๖  เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน  ที่  มท  ๐๕๑๕/ว ๑๘๐๘๕  ลงวันที่  ๗  กรกฎาคม  ๒๕๔๖ ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนในการพิจารณาอนุมัติการเช่าที่ดินที่มีเนื้อที่เกินกว่าหนึ่งร้อยไร่  ตามมาตรา  ๕ วรรคสอง  แห่งพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.. ๒๕๔๒  สำหรับที่ดินที่อยู่ในเขตจังหวัดนั้น 

      ๓การรายงานข้อมูล  หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท  ๐๕๑๕/ว  ๑๑๑๗๔  ลงวันที่ ๑๙  เมษายน  ๒๕๔๗  กำหนดให้สำนักงานที่ดินทุกแห่งถือปฏิบัติว่า  เมื่อได้มีการจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่ว่าเนื้อที่จะเกินหรือไม่เกินหนึ่งร้อยไร่     และการเช่าอสังหาริมทรัพย์อื่น    ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อ   พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  พ.. ๒๕๔๒  แล้ว  ให้รายงานข้อมูลการจดทะเบียนลงในแบบรายงานที่ส่งไปตามหนังสือกรมที่ดินดังกล่าวให้กรมที่ดินทราบด้วย

………………………………………..

กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน

ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนฯ  สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน

พฤศจิกายน  ๒๕๔๙

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *