สมุนไพร
- สมุนไพร ตามความหมายของพระราชบัญญัติ หมายถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งยังมิได้ผสมหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังคงเป็นส่วนต่างๆ ของพื้นนั้นๆ เช่น ราก ลำต้น ดอก ใบ ผล เป็นต้น ฉะนั้นการนำส่วนต่างๆ ของพืชนั้นมาประกอบอาหาร ก็จะทำให้เราได้รับประทานถึง 2 อย่าง คือ คุณค่าทางอาหาร และคุณค่าทางยาควบคู่กันไปเลยทีเดียว
พ.ศ. 2527 – 28 ได้กำหนดสมุนไพร 57 ชนิด รักษาอาการโรค 24 อาการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้ตัดอาการโรคบางอาการออก เช่น บิด ฯลฯ และเพิ่มบางอาการโรคเข้าไป เช่น ปวดฟัน ลมพิษ และโรคเริม งูสวัด ได้มีการปรับปรุงแก้ไข และใช้สมุนไพรรวมกันเป็น 61 ชนิด รักษาอาการโรค 21 อาการ ได้แก่
- โรคกระเพาะอาหาร
- โรคท้องเสีย ท้องเดิน
- โรคพยาธิลำไส้
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- รักษาอาการท้องผูก
- รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด
- รักษาอาการเบื่ออาหาร
- รักษาอาการปวดฟัน
- รักษาอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ
- รักษาอาการขัดเบา
- รักษาอาการกลากเกลื้อน
- รักษาชันนะตุ
- รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- รักษาฝี แผลพุพอง
- รักษาโรคเริม งูสวัด
- รักษาลมพิษ
- รักษาอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- รักษาอาการไข้
- รักษาเหา
- รักษาอาการเคล็ดขัดยอก
- รักษาอาการนอนไม่หลับ
การใช้ยาสมุนไพรรักษาโรค คือ การใช้ฤทธิ์ทางเคมีที่มีในเภสัชวัตถุทางธรรมชาติ เป็นสิ่งบำบัด คนไทยมีภูมิปัญยาในการเลือกสรรเภสัชวัตถุที่มีในธรรมชาติ เพื่อการรักษาโรคมาช้านาน ไม่ว่าจากสัตว์ พืช แร่ธาตุ ๆ มากกว่า 1,000 ชนิด โดยการสังเกต ศึกษาสืบต่อกันมา จนบัญญัติสรรพคุณสมุนไพร เพื่อรักษาโรคอย่างชัดเจน ตามรส 9 ประการคือ
- รสฝาด ใช้ในทางสมานแผล แก้ท้องร่วง บิด บำรุงธาตุ
- รสหวาน มีสรรพคุณ ซึมซาบไปตามเนื้อ แก้อ่อนเพลีย แก้หอบ ชุ่มคอ เจริญอาหาร
- รสเบื่อเมา ใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อย พิษน้ำร้อนลวก พิษดี พิษโลหิต แก้ปวดบาดแผล
- รสขม บำรุงโลหิต แก้ไข้ตัวร้อน ร้อนใน เจริญอาหาร
- รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุดเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม บำรุงธาตุ ย่อยอาหาร
- รสมัน แก้โรคทางเส้นเอ็น ปวดเมื่อย ไขข้อพิการ เอ็นพิการ
- รสหอมเย็น ทำให้ชื่นใจ บำรุงหัวใจ อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน บำรุงครรภ์
- รสเค็ม มีคุณสมบัติซึมซาบไปตามผิวหนัง รักษาบาดแผล แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร
- รสเปรี้ยว แก้ในทางเสมหะ ฟอกโลหิต แก้ไอ ระบายท้อง แก้เลือดออกตามไรฟัน
อาการที่ไม่ควรใช้สมุนไพร
- โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สุนัขกัด งูพิษกัด กระดูกหัก ฯ
- ถ้าอาการป่วยมีอาการรุนแรง ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรควรส่งโรงพยาบาล