สมองส่วนไหนกัน..ที่ทำให้ลูกเคลื่อนไหว

สมองส่วนไหนกัน..ที่ทำให้ลูกเคลื่อนไหว
การมองเห็น ช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรก สมองและสายตาของหนูเริ่มทำงานร่วมกันในการจับภาพและจ ดจำสิ่งที่เห็น สำคัญมากกับพัฒนาการด้านอื่นๆ ไม่ว่าการหยิบจับ คลาน นั่ง และเดิน ของลูกน้อย

ลูกน้อยมองเห็นได้อย่างไร
สมองอาศัยการมองเห็นภาพ ด้วยเส้นประสาทตา จากนั้นสมองส่วนการมองเห็น หรือออกซิปิทอลโลบ (Occipital lobe ) ซึ่งอยู่ด้านหลังของสมองจะพัฒนาโครงสร้างที่จะตอบรับ ภาพ และแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัยนีโอคอร์เท็กซ์และสมองส่วนหน้า การมองเห็นมีการทำงานที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากประสาทตามีเส้นใยประสาท 1 ล้านเส้นใย เมื่อเทียบกับประสาทหูซึ่งมีเส้นใยเพียง 50,000 เส้นใยเท่านั้น

นักวิจัยอธิบายเรื่องการมองเห็นว่า เริ่มด้วยข้อมูล แสงไฟหรือภาพต่างๆ เข้าสู่สายตา ผ่านไปยังจอภาพข้างหลังตา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาท ต่อจากนั้นเซลล์ประสาทจะส่งข้อมูลไปยังสมองที่เกี่ยว กับการเห็น โดยผ่านทางเส้นใยประสาท ผ่านซีนแนปส์หรือจุดเชื่อมต่อ ทำให้เกิดปฏิกิริยาสร้างสารเคมีและเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้ น การมองเห็นภาพจึงเป็นส่วนหนึ่งของความคิด แม้กระทั่งคนตาบอดตั้งแต่กำเนิด ก็สามารถคิด จินตนาการรูปภาพได้ ดังนั้น การมองเห็นจึงขึ้นอยู่กับการทำงานของสมอง ขณะเดียวกันสมองก็ตอบสนองต่อการมองเห็น เพราะว่า ดวงตากำลังทำงานอยู่
สมองจะสร้างแผนที่เกี่ยวกับการมองเห็นขึ้นมาโดยเฉพาะ หากว่ามีส่วนใดส่วนหนึ่งขาดไป เช่น หากมองรูปภาพวงกลมที่มีเส้นโค้งขาดเป็นช่วงๆ สมองจะนำข้อมูลมาใส่ตรงช่องว่างที่หายไป ทำให้เกิดภาพของวงกลม การเห็นภาพต่างๆ จึงเกิดจากตาประมาณ 20 % ในขณะที่อีก 80 % เกิดจากการทำงานของสมองส่วนต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็น ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับการเห็นจะรวมกันที่ศูนย์กลางของการมอ งเห็น อยู่ตรงส่วนกลางของสมองที่เรียกว่า แลทเทอรอล เจนนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus-LGN) เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเห็น

พัฒนาการด้านการมองเห็น แรกเกิด – 3 เดือน
เซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นยังพัฒ นาได้ไม่เต็มที่ การมองเห็นของทารกช่วงแรกเกิดแทบไม่เห็นอะไร จนระทั่งอายุได้ประมาณ 1-2 เดือน จะสามารถมองเห็นหน้าพ่อแม่ แต่การมองเห็นเลือนรางและพร่ามัว พอย่างสู่เดือนที่ 3 การมองเห็นจะเริ่มเห็นได้ชัดขึ้น โดยเฉพาะใบหน้าพ่อกับแม่ ที่อยู่ใกล้ จะยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

3-6 เดือน
เซลล์สมองส่วนการมองเห็นพัฒนาดีขึ้นกว่าช่วงเดือนก่อ น สามารถปรับระยะการมองเห็นภาพใกล้และไกลได้พอสมควร จนเข้าสู่เดือนที่ 4 จะสามารถกะระยะความลึกของวัตถุได้บ้างเล็กน้อย จนเดือนที่ 5-6 การมองเห็นสิ่งของชิ้นเล็กๆ ก็จะทำได้ดีขึ้นตามลำดับ

6-9 เดือน
จากเดิมที่เห็นได้ไกลแค่ 12 นิ้ว และพร่ามัวในช่วงแรกเกิด ถึงตอนนี้การมองเห็นวัตถุ สามารถมองเห็นได้ไกลมากขึ้นและชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง ทั้งในด้านความชัดเจนและความลึกของวัตถุ

9-12 เดือน
การมองเห็นในช่วงนี้ มีพัฒนาการเกือบเท่ากับการมองเห็นของผู้ใหญ่ การทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตามีความสัมพันธ์ กันมากขึ้น ที่สำคัญ การมองเห็นของลูกน้อยยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสมบูรณ ์ เมื่ออายุประมาณ 9-10 ขวบ การมองเห็นของหนูจะพัฒนาเท่ากับสายตาผู้ใหญ่

รู้ได้อย่างไรว่าการมองเห็นผิดปกติ
ในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงขวบปีแรก การประเมินความสามารถในการมองเห็นทำได้ยาก ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมในการมองเห็นของลูก น้อยตามช่วงอายุต่างๆ ดังนี้
– เดือนแรก ลูกสามารถมองตามไฟ มองจ้องหน้าแม่
– 2-3 เดือน สนใจวัตถุสีสดใสและการเคลื่อนไหว
– 3-6 จ้องมือของตัวเอง เอื้อมมือหยิบของได้ และกวาดตาจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง
– 7-10 เดือน สามารถใช้นิ้วหยิบจับสิ่งของ สนใจรูปภาพ
– 11-12 เดือน สามารถจำผู้คน จำภาพต่างๆ ได้

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *