ศีล สมาธิ ปัญญา ของสองสำนัก
ศีล สมาธิ ปัญญา ของสองสำนัก
หลังจากที่สังฆปรินายกองค์ที่ห้า ยกบาตรและจีวรให้แก่ท่านเว่ยหล่างแล้ว
ท่านชินเชาและศิษย์ร่วมสำนักกลุ่มหนึ่งมุ่งไปทางทิศเหนือสร้างสำนักขึ้นมาใหม่
หลังจากที่ท่านเว่ยหล่างหลบหนีจากการไล่ล่าผ่านไปถึง 15 ปีก็กลับมา
ตั้งสำนักใหม่อยู่ทางใต้
ครั้งหนึ่งท่านชินเชาได้ให้ภิกษุรูปหนึ่งมาฟังการบรรยายธรรมของท่านเว่ยหล่าง
เมื่อท่านเว่ยหล่างทราบแล้วจึงถามภิกษุรูปนั้นว่า
“อาจารย์ของท่านสอนลูกศิษย์ว่าอย่างไรบ้าง?”
“ท่านอาจารย์มักจะสอนเสมอว่า ขณะที่นั่งสมาธิต้องประสานพลังรวมเป็นหนึ่ง
วิปัสสนาสภาวะที่สะอาดและสงบ ต้องหมั่นนั่งสมาธิวิปัสสนา อย่านอนและพักผ่อน
ท่านเว่ยหล่างฟังแล้วพูดต่อว่า “การประสานพลังรวมเป็นหนึ่ง แล้ววิปัสสนา
ไม่ใช่การภาวนาที่แท้จริงของเซน แต่กลับเป็นจุดเสียของการภาวนาแบบเซน
เป็นการทรมานร่างกาย การนั่งสมาธิตลอดเวลาไม่นอน จะช่วยให้รู้จักหลักธรรม
ได้อย่างไร?”
แล้วท่านเว่ยหล่างก็ถามต่อว่า “ได้ยินมาว่า ท่านอาจารย์ของเจ้าสอนเรื่อง
ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่รู้ว่าเขาอธิบายความหมายของคำเหล่านั้นว่าอย่างไร?”
“การละเว้นจากการกระทำชั่วทั้งปวงคือ ศีล
การปฏิบัติแต่ความดีคือปัญญา การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียกว่า สมาธิ
แล้วไม่ทราบว่าท่านสอนลูกศิษย์ของท่านว่าอย่างไรบ้าง?
“ข้าไม่ได้มีวิธีการใดที่แน่นอนในการสอน แต่จะดูตามจริตและความสามารถ
แล้วก็ชี้แนะจุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ศีลสมาธิและปัญญาในการสอนของข้า
แตกต่างจากอาจารย์ของเจ้า” ท่านเว่ยหล่างตอบ
“คำสอนของอาจารย์เจ้าใช้สำหรับสั่งสอนแนะนำสานุศิษย์แห่งสำนักมหายาน
ส่วนคำสอนของข้าใช้สำหรับสอนสานุศิษย์แห่งสำนักสูงเลิศ
ความสามารถในการเรียนรู้ของคนเราต่างกัน ความไวในการรู้แจ้งก็ต่างกัน
การแสดงธรรมของข้าไม่เคยเหออกไปจากภาวะที่แท้แห่งจิต
รูปธรรมและสภาวธรรมทั้งหลายย่อมก่อเกิดมาจากภาวะที่แท้แห่งจิต
และทั้งหมดนั้นก็เป็นผลพวงมาจากการกระทำของจิตทั้งนั้น
นี่คือศีล สมาธิ ปัญญา ที่แท้จริง”