รู้หรือไม่รู้
รู้หรือไม่รู้
ลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามพระอาจารย์ด้วยความนบนอบว่า
ลูกศิษย์ : ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อรู้แจ้งแล้ว สภาพจิตและความรู้สึกสามารถ
บรรยายออกมาได้หรือไม่?
อาจารย์ : หากรู้แจ้งแล้ว ไม่สามารถบรรยายออกมาได้
ลูกศิษย์ : เมื่อพูดออกมาไม่ได้ เปรียบเหมือนกับอะไร?
อาจารย์ : เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง
ลูกศิษย์ : เมื่อผู้ปฏิบัติที่ยังไม่รู้แจ้ง ถ้าบรรยายธรรมและเขียนคัมภีร์
นับว่าเป็นผู้เข้าใจ “เซน” หรือเปล่า?
อาจารย์ : เมื่อยังไม่รู้แจ้ง สิ่งที่พูด จะนับว่าเป็นการเข้าใจ”เซน”ได้อย่างไร?
ลูกศิษย์ : เพราะเขาสามารถบรรยายธรรมได้อย่างลึกซึ้ง และแจ่มแจ้ง
ถ้าหากไม่นับว่าเขาเข้าใจ”เซน”แล้วจะเหมือนอะไร?
อาจารย์ : เหมือนนกแก้วหัดพูดภาษาคน
ลูกศิษย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้งกับนกแก้วหัดพูด แตกต่างกันอย่างไร?
อาจารย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้ง คือ “รู้”อุปมาดั่งคนดื่มน้ำ น้ำจะเย็นหรือร้อน
ผู้ดื่มย่อมจะรู้อยู่แก่ใจดี นกแก้วหัดพูดเป็นการไม่ “รู้”
เหมือนเด็กหัดพูด ย่อมจะไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูด
ลูกศิษย์ : เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อยังไม่รู้แจ้ง จะบรรยายธรรมฉุดช่วย
ผู้คนได้อย่างไร?
อาจารย์ : พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้ ไม่พูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้
ลูกศิษย์ : ตอนนี้พระอาจารย์รู้แล้วหรือยัง?
อาจารย์ : อาจารย์เหมือนคนใบ้กินยาขม รู้รสขมแต่พูดออกมาไม่ได้
แล้วก็เหมือนนกแก้วหัดพูด พูดได้เหมือนมาก