ระวังพิษสุนัขบ้า ระบาดหน้าร้อน
ระวังพิษสุนัขบ้า ระบาดหน้าร้อน
• คุณภาพชีวิต
แนะควรนำสุนัข แมว ไปฉีดวัคซีน
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากเชื้อไวรัส รูปร่างคล้ายกระสุนปืนถูกทำลายได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ความแห้ง แสงแดด ยาฆ่าเชื้อพวกคลอรีน แอลกอฮอล์ กรด หรือ ด่าง อย่างแรง เกิดในสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ หมี หนู ค้างคาว รวมทั้งคน แต่ในประเทศไทยพบมากที่สุดในสุนัข (96% ของจำนวนที่พบเชื้อจากการวินิจฉัยในห้องปฏิบัติการ) รองลงมา คือ แมว
การติดต่อ โดยถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผล
ระยะฟักตัวในสุนัข 7 วัน ถึง 6 เดือน ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับเชื้อ ความรุนแรงของเชื้อ โดยเฉลี่ยประมาณ 2-6 สัปดาห์
อาการในสุนัข มี 2 ชนิด คือ ชนิดซึม และ ชนิดดุร้าย
ชนิดซึม สุนัขจะแปลกไปจากเดิม ชอบซุกตามมุมมืด กินอาหาร น้ำน้อยลง ถ้าถูกรบกวนจะดุร้าย กัด ต่อมาจะเป็นอัมพาตและตาย
ชนิดดุร้าย จะมีอาการทางประสาท กระวนกระวาย หงุดหงิด ดุร้าย ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย วิ่งโดยไม่มีจุดหมาย ต่อมาจะมีอาการอัมพาต เรื่มจากกล้ามเนื้อคอทำให้กลืนน้ำไม่ได้ (บางครั้งจึงเรียกว่า โรคกลัวน้ำ) ระบบหายใจล้มเหลว และตาย รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน
จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด
จะส่งซากสัตว์วินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร
เมื่อสงสัยว่าสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้า ควรกักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการประมาณ 15 วัน ไม่ควรทำลายสัตว์โดยไม่จำเป็น ควรปล่อยให้สัตว์ตายเอง ซึ่งจะตรวจพบเชื้อได้ง่าย และแน่นอน ในการส่งซากควรส่งให้เร็วที่สุดโดยปฏิบัติอย่างระมัดระวัง เรื่องความสะอาดและระลึกไว้เสมอว่า สัตว์อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ จึงควรสวมถุงมือขณะเก็บซาก และล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก ควรส่งเฉพาะส่วนหัว
จะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร
แจ้งสัตวแพทย์กรมปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีที่พบเห็นสุนัขหรือสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
ขั้นตอนของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า
เชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำลายของสัตว์ป่วย เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลโดยการ กัด ข่วน หรือเลียผิวหนังที่มีบาดแผล เพิ่มจำนวนระยะแรกในบริเวณที่ได้รับเชื้อ
เชื้อเข้าสู่แขนงประสาท และ ระบบประสาทส่วนกลาง ในเส้นประสาทเชื้อจะไม่เพิ่มจำนวน
เชื้อเข้าสู่สมองและเริ่มเพิ่มจำนวนเชื้อ จะมีอาการ คลุ้มคลั่ง ดุร้าย กระวนกระวาย
เชื้อเข้าสู่ไขสันหลังเชื้อจะเพิ่มจำนวนมากทำให้สมองและไขสันหลังทำงานผิดปกติ จะมีอาการอัมพาตและตายในที่สุด ถ้าเชื้อเดินทางมาถึงสมองแล้วภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากฉีดวัคซีนก็จะป้องกันไม่ได้
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า
อาการของผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้า มี 2 แบบ คือ แบบก้าวร้าว ดุร้าย และแบบอัมพาต อาการของโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะอาการเริ่มแรก อาจมีอาการไม่สบาย ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอคล้ายเป็นหวัด อาจมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง และที่พบบ่อยคืออาการคัน เสียว หรือ ชา บริเวณแผลที่ถูกกัด
ระยะอาการทางระบบประสาท อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ กลัวลม ความรู้สึกไวกว่าปรกติ ทุรนทุราย หรือมีอาการซึม เป็นอัมพาต น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง กลืนน้ำไม่ได้
ระยะสุดท้าย ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก ผู้ป่วยส่วนมาก มักจะตาย ภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มแสดงอาการ
ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนในสมองมากก็จะแสดงอาการแบบ คลั่ง ดุร้าย แต่ถ้าเชื้อไวรัสเพิ่มจำนวนมากในไขสันหลังจะแสดงอาการอัมพาต
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัข แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบดุร้าย แสดงอาการชัดเจน และพบบ่อย และแบบซึมซึ่งอาการไม่ชัดเจน อาการของโรคมี 3 ระยะ คือ
ระยะอาการเริ่มแรก สุนัขจะมีนิสัยแปลกไปจากเดิม ตัวที่เคยขลาดกลัวจะเข้ามาคลอเคลีย ตัวที่เคยเชื่องชอบเล่นจะหงุดหงิดหลบไปตามมุมมือ เงียบ กินอาหารและน้ำน้อยลง ระยะนี้มีอาการ 2-3 วัน จะเข้าสู่ระยะที่สอง
ระยะตื่นเต้น จะมีอาการทางประสาท มีความรู้สึกไวกว่าปรกติ กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ ตัวแข็ง ขากรรไกรแข็ง ปากอ้า ลิ้นห้อย น้ำลายไหล ม่านตาขยาย บางตัววิ่งพล่านไปทั่ว เมื่อพบสัตว์หรือคนขวางหน้าจะกัด ส่งเสียงเห่าหอน ในระยะที่แสดงอาการแบบซึมอาจไม่แสดงอาการเช่นนี้ แต่เมื่อถูกรบกวนอาจกัด ต่อมากล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแรงลง ทรงตัวไม่ได้ ล้มแล้วลุกไม่ได้ บางตัวชักกระตุก อาการระยะนี้พบได้ 1-7 วัน จึงจะเข้าสู่ระยะสุดท้าย
ระยะอัมพาต เกิดอาการอัมพาตลามทั้งตัว เริ่มจากขาหลังต่อมากล้ามเนื้อคอจะเป็นอัมพาต กลืนน้ำกลืนอาหารไม่ได้ ระบบหายใจล้มเหลวและตายในที่สุด รวมระยะเวลาเริ่มแสดงอาการจนตายประมาณ 10 วัน
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว ในระยะที่มีอาการชัดเจน แบ่งได้เป็น 3 ระยะเช่นกัน คือ
ระยะอาการนำ มีอาการหงุดหงิด นิสัยเปลี่ยนไป ชอบหลบซุกในที่มือ ระยะนี้มักสั้น ไม่เกิน 1 วัน
ระยะตื่นเต้น แสดงอาการดุร้าย กัด หรือข่วนคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้ กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล กลืนลำบาก ระยะนี้กินเวลาประมาณ 2-4 วัน
ระยะอัมพาต เริ่มเป็นอัมพาตจากขาหลัง แล้วลามมายังลำตัว ขาหน้าและหัว จนทั่วตัวอย่างรวดเร็ว แล้วถึงแก่ความตาย
อาการในแมวมักไม่ชัดเจน อาจเป็นแบบซึม มีระยะตื่นเต้นสั้นมากหรือไม่แสดงอาการเลย อาจพบว่ากินอาหารและน้ำลำบาก แล้วเป็นอัมพาตลามไปทั่วตัวตายในเวลา 3-4 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในวัว มีไข้ ไม่กินหญ้า ซึม ดุกว่าปกติ ส่งเสียงร้องอย่างผิดปรกติดต่อกัน กระวนกระวาย กระทืบเท้าหลัง เบ่ง เกร็ง มีอาการหาว กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน เดินไม่ตรงทางอาจวิ่งชนคอกเป็นระยะ ๆ น้ำลายไหลเป็นฟอง ท่าทางแปลก ๆ หัวซุก หัวซุนต่อมาเป็นอัมพาต ตาเหลือก ม่านตาขยาย ลิ้นห้อยออกจากปาก คอเหยียด และตายในที่สุด
อาการโรคพิษสุนัขบ้าในสุกร มักแสดงอาการอย่างเฉียบพลันหลังจากแสดงอาการ จะตายภายใน 3-4 วัน นิสัยเปลี่ยนไปบางรายดุร้ายขึ้น ตื่นเต้น ส่งเสียงร้อง เจ็บปวด น้ำลายไหลมาก กระวนกระวาย ไวต่อการตอบสนองสิ่งแวดล้อม
ที่มา : กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์