ผลกระทบจากการไม่มีระบบความคิดแบบ Logical Thinking
ผลกระทบจากการไม่มีระบบความคิดแบบ Logical Thinking
คัตสึมิ (2549: 7) ได้กล่าวไว้ว่า ลักษณะที่มีการทำงานแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นั้นเกิดจากการขาดระบบการคิดแบบ Logical Thinking สิ่งที่จะสังเกตได้อย่างง่ายๆ คือ เราไม่สามารถมองภาพรวมของงานที่เราทำออก และรู้สึกว่ายิ่งทำยิ่งไม่รู้ว่าจะจบสิ้นเมื่อไร เป็นสภาพที่ไม่เห็นทางหน้าของการทำงาน ไม่เกิดความรู้สึกว่าทำงานแล้วได้บรรลุเป้าหมายเลย และเกิดสภาพความผิดพลาดซ้ำๆอยู่เสมอ
สิ่งที่สำคัญ คือ หากไม่พยายามแสวงหาสาเหตุอย่างจริงจังตามแบบตรรกะว่า “ทำไมจึงล้มเหลว” ก็จะทำให้ประสบการณ์ หรือ “Know-How” ที่มีอยู่ ไม่เกิดการสะสมขึ้นเลย
เมื่อล้มเหลวแล้วไม่ค้นหาสาเหตุที่แ้ท้จริง สิ่งที่คงเหลือก็มีแต่ข้อเท็จจริงที่เป็นความล้มเหลวนั้น แล้วก็จะมีแต่การสร้างกฎข้อห้ามต่างๆมากขึ้น เป็นต้นว่าในอดีต เมื่อเริ่มกระทำสิ่งใดๆบางอย่างแล้วล้มเหลวเป็นอย่างมาก เวลาจะคิดอะไรใหม่ๆคนเรามักจะยกเอาตัวอย่างความล้มเหลวในอดีต มาสรุปเป็นกฎเกณฑ์ว่า “การกระทำสิ่งใหม่ๆต่อไปมักจะไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นต่อไปก็คิดจะไม่ทำสิ่งใดๆที่ต้องพยายามอีกต่อไป”
ในสภาวะที่กล่าวมานี้ จะไม่สามารถเอาความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาเป็นประโยชน์ ในการสร้างความสำเร็จได้เลย ดังนั้นเราควรจะต้องหาสาเหตุที่แท้จริงว่า ทำไมจึงล้มเหลว
จากตรงนี้ทำให้ผู้อ่านเห็นว่า ในบทความนี้จะมีคน 2 ประเภท
– ประเภทยอมเจ็บ ยอมรับสภาพตัวเอง เพื่อ มีโอกาสที่จะเรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตนเองในประสบการณ์ต่างๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ผิดพลาดน้อยลง กับ
– ประเภทวิตกกังวล กลัวว่าจะเจ็บปวดซ้ำอีก และ ไม่ยอมรับสภาพตนเองกับการผิดพลาดที่ผ่านมา ทำให้ไม่เกิดสภาพการเรียนรู้ความผิดพลาดของตนเอง ทำให้ไม่กล้าที่จะทำอะไรเลย และ สร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นเหตุผล ปลอบประโลมจิตใจตนเอง ด้วยคำพูดที่สวยงามต่างๆนาๆ ในการชดเชยจิตใจตนเองว่าไม่ได้ด้อยกว่าคนอื่นๆ
คน 2 ประเภทนี้ มักจะมีการพยายามสร้างสมดุลซึ่งกันเสมอ จากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human behavior) และพฤติกรรมองค์กร (Organization behavior) จากสังเกตได้อย่างง่ายๆ คือ การพยายามสร้างอิทธิพลที่มีอำนาจในการควบคุมกลุ่ม และระบบการทำงานจาก พวกประเภทวิตกกังวล เสมอ
จากประโยคข้างต้น ผู้เขียนข้อทิ้งท้ายไว้ว่า ผู้่อ่านอยากจะเป็นคนประเภทไหน และถ้าสังคมที่เราอยู่มีลักษณะอย่าง Paragraph ข้างต้น สังคมของเรานั้นจะมีลักษณะอย่างไรครับ
สิ่งสำคัญที่น่าคิดอยู่ที่ สิทธิมนุษยชน, หน้าที่, อำนาจ, กฎหมาย, การรักษากฎกติการ่วมกัน, กระบวนการประชาธิปไตยทางการเมือง และโครงสร้างของระบบสังคม
ซึ่งตัวแปรที่ผู้เขียนพยายามกล่าวมาเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น เพียงเท่านั้น มิใช่การสรุปตัวแปรอิสระทั้งหมดจากการทบทวนวรรณกรรม สงสัยอย่างไร หรือต้องการวิพากษ์ ผู้อ่านสามารถเมล์มาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ที่ e-mail: sarit_t@hotmail.com
เอกสารอ้างอิง
คัตสึมิ, นิชิมูระ. 2549. Logical Thinking คิดอย่างมีตรรกะ ชนะทุกเงื่อนไข. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
เขียนโดย S.Tiyawongsuwan ที่ 6:31 หลังเที่ยง 0 ความคิดเห็น
ป้ายกำกับ: Logical Thinking