ประวัติ National-Panasonic ตอน 5 (จบ)
|ประวัติ National-Panasonic ตอน 5 (จบ)
การเป็นผู้นำทางธุรกิจ
การที่เขาสามารถเอาชนะความลำบากของตัวเองและต่อสู้กับคู่แข่งทางการค้าที่มากมาย ความล้ำหน้าในการออกแบบ การเพิ่มคุณค่าโดยต้นทุนต่ำลง และระบบการขายปลีกที่แข็งแกร่งโดยคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลัก กลายเป็นจุดแข็งที่ยากต่อการโจมตีของมัตซึชิตะ อิเล็กทริค
นอกจากนี้โคโนสุเกะ มัตซึชิตะ ยังประกาศก้องถึงการที่เขาจะทำให้เขาเป็นผู้ผลิตสินค้าที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตในราคาที่แสนถูกให้ได้เพื่อให้โอกาสแก่คนจนด้วย โดยเขาไม่ได้มองที่ผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ทำเพื่อสังคมในระยะยาวโดยยึดถือหลัก รับใช้ส่วนรวม เป็นธรรมและซื่อ-สัตย์ ทำงานเป็นหมู่คณะ ถ่อมตนและกตัญญูต่อประชาชนเป็นหลักโดยเป็นการประยุกต์เอาศาสนามาเป็นตัวกลางเพื่อให้ลูกน้องทุกคนทำงานเพื่อสังคมอย่างจริงจังและเพื่อเพิ่มความแน่นแฟ้นแก่บุคคลากรในองค์กรอีกทางหนึ่งด้วย โดยที่เขาเริ่มที่ตัวเองเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก-น้อง ไม่นานองค์กรของเขาก็เป็นปึกแผ่นในด้านความคิดและการปฏิบัติ จากการที่เขาพยายามทำตัวเพื่อสังคมรวมไปถึงการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกน้องนั้น แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอัน
แรงกล้า รวมไปถึงการรู้จักตัวเองที่เป็นตัวเอง ไม่หลงทะนงตนว่าเป็นใหญ่แล้ว แต่ตรงข้ามเขาเป็นคนที่เข้าใจลึกซึ้งถึงจิตใจของลูกน้องด้วยซ้ำไป ( เช่นในกรณีที่มีวิกฤตการณ์ เขาไม่ปลดพนักงานเลยแม้แต่คนเดียวเพราะสงสารลูกน้องและครอบครัวของเขา )
เมื่อกิจการใหญ่โตขึ้น การจัดองค์กรให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมี ในปี 1933 เขาได้จัดระบบการบริหารใหม่ตามชนิดของผลิตภัณฑ์ โดยแต่ละส่วนจะคุมทั้งโรงงานและการขายโดยจะไม่มีการก้าวก่ายกันระหว่างฝ่าย แต่จะทุ่มเทในงานของฝ่ายตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อตอบสนองความ-ต้องการของลูกค้า การที่เขาแตกแยกบริษัทออกเป็นส่วนแล้วมอบอำนาจในการบริหารนั้น เป็น
ผลดีต่อการขยายตัวของบริษัทโดยอาศัยหลัก “ แตกให้เล็กเพื่อจะได้โต ” การบริหารงานเช่นนี้จะให้อำนาจทั้งหมดในการผลิตและขายสินค้านั้นแต่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทใหญ่ ทำให้ผู้บริหารสายผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาปรับปรุงสายของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลาและยังเป็นการให้โอกาสผู้บริหารรุ่นใหม่ได้ใช้ฝีมืออีกด้วย และด้วยเหตุนี้เองทำให้บริษัทได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วอีกครั้งรวมถึงการเปิดตลาดในต่างประเทศด้วย
ในปลายปี 1935 เขาได้ขยายกิจการจนมีโรงงาน 9 แห่งสินค้ากว่า 300 ชนิด และการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งทำให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาอีกมากมาย ทั้งเครื่องเล่นแผ่นเสียง ไมโครโฟน ลำโพง โดยมีคนงานในบริษัทถึง 9,336 คนในปี 1939
แน่นอนว่าการแบ่งงานของเขาต้องควบคู่ไปกับการฝึกอบรม ดังนั้นเขาจึงวางแผนสร้างบุคคลากรขึ้นมาอีกโดยให้ทุนการศึกษาแก่เด็กผลการเรียนดีเพื่อส่งเสียให้เรียนในสาขา วิศวกรรมไฟฟ้า และด้านการพาณิชย์ เพื่อสอนให้เข้าใจถึงเทคนิคการขายและการทำธุรกิจ โดยจะเป็นลักษณะทำงานไปพร้อมเรียน และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการฝึกอบรมคือ การให้เขาเข้าใจว่าทุกคนไม่ได้ทำงานให้บริษัท แต่ทำให้สังคมต่างหาก
ขณะที่การขยายตัวของบริษัทกำลังดีวันดีคืนอยู่นั้น ญี่ปุ่นก็เริ่มเกิดลัทธิชาตินิยมจนลามไปถึงอาการที่จะแสดงแสนยานุภาพขึ้นทุกที และในที่สุดสงครามก็เกิดจนได้ โดยในปี 1937 ญี่ปุ่นก็เข้ายึดปักกิ่ง (จีน)ไว้ได้ และขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ จนเป็นสงครามมหาเอเชียบูรพา และประกาศสงครามกับอเมริกาในปี 1941 ด้วยการโจมตีอ่าวเพิร์ล ฮาเบอร์ และขณะที่ญี่ปุ่นกำลังทำสงครามอยู่นั้นได้ถูกทางการข้อร้องเชิงบังคับให้มัตซึชิตะผลิตอาวุธให้กองทัพ จากเหตุผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้เขาต้องเพิ่มกำลังผลิตและมีการตั้งสาขาที่กรุงโซล ( ที่ญี่ปุ่นยึดครองได้ ) รวมไปถึงการก่อ-สร้างเรือบินและมีคนงานกว่า 26,000 คนรวมไปถึงห้องทดลองที่ทันสมัยเพียงพอที่จะทำให้มัตซึชิตะ กรุ๊ปสามารถเป็นยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียได้ทันทีหากญี่ปุ่นชนะสงราม การทำสงครามนี้แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้เปรียบในช่วงแรกๆ แต่ในที่สุด จากระเบิดปรมาณู 2 ลูกที่ลงที่ฮิโรชิมาและนางา-ซากิทำให้ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้พังทลายลงอีกครั้ง เมื่อญี่ปุ่นถูกยึดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร เขาได้รับสารจากทางการ ( ฝ่ายสัมพันธมิตร ) ให้หยุดการผลิตทั้งหมด ทำให้บริษัทที่เขาสร้างมาทั้งหมดต้องถูกปิดลงในพริบตา รวมไปถึงโรงงานนอกญี่ปุ่นอีก 30 แห่งก็พลอยถูกยึดไปด้วย คนงานที่มีมากกว่า 26,000 คนเหลือเพียง 7,926 คนเท่านั้น และต่อมาอีกไม่กี่เดือนโรงงานของเขา 5 แห่งก็ถูกยึดไปเป็นค่าชดเชยปฏิกรรมสงคราม ยิ่งไปกว่านั้นเขายังถูกบีบไม่ให้ทำงานในบริษัทที่เขาสร้างมากับมืออีกต่อไปด้วย
ในปีนั้นเองมัตซึชิตะ ได้เข้าออกโตเกียวกว่า 50 เที่ยวเพื่อวิ่งเต้นให้หลุดจากการถูกระงับการผลิต ในช่วงปี 1946 – 1947 จากการช่วยของหลายทางทั้งสหภาพแรงงาน และด้านอื่น ๆ ทำให้เขาสามารถเปิดการผลิตขึ้นได้อีกครั้งแต่อยู่ใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของกฎหมายพิเศษ และก็มาเจอกับสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและการประกาศแผนควบคุมค่าใช้จ่ายของรัฐบาล ทำให้เขาจำเป็นต้องทำการกู้เงินและปลดพนักงานออกเป็นครั้งแรกตั้งแต่ตั้งบริษัทมาเนื่องจากหมดทางเลือกและมีหนี้สินกว่าพันล้านเยนเลยทีเดียว
หลังจากเกิดวิกฤตการณ์นั้น อีก 4 ปีเขาก็ได้ปลด-ปล่อยให้ทำงานอย่างอิสระได้อีกครั้ง การเริ่มต้นใหม่อีกครั้งของเขามีจุดอ่อนมากมายเนื่องจากต้องเริ่มจากมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินแต่ยังยึดระบบการแบ่งส่วนงาน การฟื้นฟูกิจการครั้งนี้ได้ฟื้นฟูสภาพจิตในของคนงานให้มีแรงบันดาลใจที่จะทำเพื่อประโยชน์ให้สังคมและเพื่อฟื้นฟูญี่ปุ่นตามหลักการเดิมของเขา และเพื่อตามโลกให้ทันเขาได้เดินทางออกไปต่างประเทศเพื่อเปิดโลกเทคโนโลยีให้กับเขาและญี่ปุ่น เขาได้เดินทางไปอเมริกาและยุโรปเพื่อหาแหล่งเทคโนโลยีแห่งใหม่
ในปี 1952 เขาได้เจรจาร่วมทุนกับฟิลิปส์ แม้ว่าในช่วงแรกทางฟิลิปส์แสดงท่าทีไม่สนใจ
เนื่องจากข้อผูกพันด้านสัญญา แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ด้วยการตื้อและอ้อนวอนให้เห็นถึงโอกาสข้างหน้า การลงทุนร่วมครั้งนี้อาจจะไม่มากสำหรับยักษ์ใหญ่อย่างฟิลิปส์ แต่เป็นงานช้างสำหรับ
มัตซึชิตะเลยทีเดียว โดยโรงงานและแล็บทดลองได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1954 โดยจ่ายเงินเป็น %
ค่าเทคนิคให้ทางฟิลิปส์และได้ผลิตสินค้าใหม่ ๆ ได้เพิ่มอีกมากมายเช่นทีวี ตู้เย็น หม้อหุงข้าว เครื่องซักผ้า เป็นต้น ทำให้มัตซึชิตะเติบโตขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้สินค้าของเขายังได้รับการยอมรับในต่างประเทศด้วย โดยดูได้จากมูลค่าการส่งออกในปี 1954ที่ระดับ 500 ล้านเยน เป็น 32,000 ล้านเยนในปี 1958 การรักษาการเติบโตของตลาดต่างประเทศจำเป็นต้องมีการลงทุนไกลจากญี่ปุ่น ในช่วงทศวรรษที่60 สินค้าของเขาได้ตีตลาดตามเมืองใหญ่ ๆ ได้ทั่วโลก แต่อย่างไรก็ดีเขาก็จะเตือนพนักงานของเขาอย่างเสมอ ๆ ว่า “ อย่าเย่อหยิ่งลำพองใจ แต่ต้องทำให้ดีขึ้นไปอีกเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ” การเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้บริษัทมีประสิทธิภาพเสมอ และเขายังคงความกล้าที่จะเสี่ยงในการเพิ่มเงินเดือนพนักงานอย่างพรวดพราดในปี 1967 เพื่อกดดันให้พนักงานพยายามดิ้นรนให้ตัวเองมีประสิทธิภาพเพียงพอเพื่อรักษาระดับ Cost เพื่อความสามารถในการแข่งขัน และในที่สุดเขาก็ชนะ บริษัทของเขากลายเป็นบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในญี่ปุ่นเหนือกว่าโซนี่หรือโตโยต้าเสียอีก
บั้นปลายของชีวิต
ปี 1961 โคโนสุเกะได้ขยับออกห่างจากการบริหารงานประจำวันของบริษัท โดยแต่งตั้งมาซาฮารุบุตรเขยเขามาเป็นผู้จัดการใหญ่แทน โดยใช้ชีวิตที่เหลือในการเขียนหนังสือ ให้ทุนการ-ศึกษา และทำงานในสถาบัน PHP ซึ่งเป็นสถาบันที่เขาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมและให้ข่าวสารแก่ประชาชนเพื่อสันติภาพ โดยมีสมาคมที่เข้าร่วมเกี่ยวข้องกว่า 3,000 สมาคมเลยทีเดียว โดยมีปรัชญาที่ว่าเพื่อสร้างคนให้เป็นคนดี รับผิดชอบต่อสังคม และการเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลรวมไปถึงการเปิดใจเพื่อแก้ไขปัญหา สำหรับในการเขียนหนังสือนั้น เขาได้เขียนหนังสือที่ได้รับ
การตีพิมพ์กว่า 46 เล่มโดยผ่านทาง PHP และบริจาคแก่สังคมเป็นจำนวนมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์ และการที่คิดว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศชาติ เขาก็ได้จัดตั้งสถาบัน MIGM เพื่อส่งเสริมการศึกษาและสั่งสอนความดีให้นักการเมืองรุ่นใหม่ โดยจะรับผู้สำเร็จจากปริญญาตรีมาทำการฝึก โดยเน้นหนักที่การเติบโตและพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต และในวันที่ 27 เมษายน 1989 โคโนสุเกะก็ได้เสียชีวิตลง
เด็กหนุ่มที่มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า กล้าเสี่ยงที่จะพัฒนาสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ รวมไปถึงความมานะอดทนไม่ย่อท้อต่อความลำบาก โดยยึดถือหลักดีกว่าแต่ถูกกว่า การ
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้หลังจากเกษียณตัวเองแล้วยังทำงานเพื่อสังคมมาตลอด เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าเขาทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ทำให้เขาได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ชื่อของเขาคือโคโนสุเกะ มัตซึชิตะผู้จุดประกาย
ความหวังของคนทั้งโลกนั่นเอง