ประวัติ National-Panasonic ตอน 4
|ประวัติ National-Panasonic ตอน 4 : อุปสรรคในการทำงาน
อุปสรรคในการทำงาน
การขยายโรงงานในปี 1928 ทำให้มัตซึชิตะ อิเล็กทริคต้องเข้าสู่ความลำบากอีกครั้ง
ความถดถอยทางเศรษฐกิจรวมไปถึงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงญี่ปุ่นทำให้อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้หดตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรง ผลกระทบเช่นนี้ส่งผลถึงมัตซึชิตะด้วย ยอดขายของบริษัทตกลงไปกว่าครึ่ง วิกฤตทางการเงินได้คืบคลานมาหาเขาอีกครั้งหนึ่ง การที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดได้ก็คือต้องปลดพนักงานออกครึ่งหนึ่ง ( เช่นเดียวกับบริษัทใหญ่ ๆ ในโลก ) แม้ว่าในความเป็นจริงควรเป็นเช่นนั้นแต่โคโนสุเกะได้เลือกวิธี “ ลดการผลิตลงครึ่งหนึ่งโดยไม่ปลดคนงาน “ โดยที่เขาให้ทำงานครึ่งวันและอีกครึ่งวันให้นำเอาสินค้าในสต็อกไปขาย แต่ให้ทำงานทุกวัน ของที่ขายนั้นเป็นของที่มีคุณภาพดีนำไปขายในราคาที่ถูกโดยการขายโดยตรงของคนงาน ไม่นานของในสต็อกก็ขายหมดเกลี้ยง และในที่สุดโรงงานเขาก็ผ่ายพ้นวิกฤตการณ์มาได้และ
คนงานก็ได้ทำงานโดยปกติในปีต่อมา นอกจากจะไม่ปลดคนงานแล้วเขายังได้รับเด็กมัธยมหรือวิทยาลัยมาฝึกอบรมเป็นเด็กฝึกงานอีกด้วย
ต่อมาในช่วงระหว่างปี 1925 – 1930 เขาได้ทำการร่วมทุนกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องรับวิทยุรายเก่าที่มีปัญหาด้านการเงินโดยมัตซึชิตะ อิเล็กทริคเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ การผลิตเครื่องรับวิทยุเครื่องแรกของบริษัทในปี 1930 แต่มีปัญหาเรื่องสินค้าโดยมีการส่งคืนเป็นจำนวนมาก เมื่อมี
การสำรวจแล้วพบว่าผู้ขายปลีกไม่มีความรู้เรื่องวิทยุเลย ( ญี่ปุ่นเริ่มมีวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในปี 1925 ) เมื่อลูกค้ามีปัญหาก็ส่งคืนร้านและตำหนิโดยทันทีทั้ง ๆ ที่เป็นเพียงแค่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เช่นไขน็อตไม่แน่นเท่านั้น แม้ว่าการขายผ่านทางร้านที่มีช่างชำนาญเท่านั้นจะเป็นทางเลือกที่ดีและเร็ว แต่โคโนสุเกะกลับเลือกที่จะออกแบบเครื่องรับวิทยุที่ดีกว่าในท้องตลาด ภายใน 3 เดือนเขาก็ได้ผลิตเครื่องรับวิทยุที่ได้รับการยอมรับว่าดีกว่าออกมาได้ และได้รับรางวัลชนะเลิศใน
การประกวดเครื่องรับวิทยุอีกด้วย การที่เขาได้รางวัลชนะเลิศเป็นการพิสูจน์ว่าหัวใจของ
มัตซึชิตะอิเล็กทริคไม่ได้อยู่ที่ประสบการณ์หรือทุนวิจัยมหาศาล แต่อยู่ที่ความเชื่อมั่นในตัวเองและการเอาลูกค้าเป็นเป้าหมายสูงสุดต่างหาก แน่นอนว่าการชนะเลิศครั้งนี้ทำให้
มัตซึชิตะอิเล็กทริคสามารถขายเครื่องได้อย่างมากมายแม้ว่าราคาจะสูงในช่วงแรก และเมื่อ
การผลิตมากขึ้นต้นทุนการผลิตต่ำลงก็สามารถขายให้ประชาชนทั่วไปได้โดยคนทั่วไปเรียกมันว่า
“ วิทยุเนชั่นแนล “ มียอดขายเดือนละกว่าหมื่นเครื่อง