ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 2 การจัดที่ดินเพื่อประชาชน

ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 2 การจัดที่ดินเพื่อประชาชน

มาตรา 14 ให้มีกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการจัดที่ดิน แห่งชาติ”ประกอบด้วย รัฐมนตรี เป็นประธาน รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงกลาโหม อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมส่ง เสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรม พัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมธนารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนา ชนบทเป็นกรรมการ อธิบดีเป็นกรรมการ และเลขาธิการโดยตำแหน่ง และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกไม่เกินเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง
หมายเหตุมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 334) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515

มาตรา 15 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งมีกำหนดสี่ปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งให้ เป็นกรรมการอีกก็ได้
หมายเหตุมาตรา 15 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 334) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515

มาตรา 16 นอกจากการออกจากตำแหน่งตามวาระตามความใน มาตรา 15 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ต้องจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิด ที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีโทษชั้นลหุโทษ หรือความผิดอันได้ กระทำโดยประมาท
(4) คณะรัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่ง
ในกรณีที่มีการพ้นจากตำแหน่งตาม มาตรานี้ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการแทน กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้ ย่อมอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา 17 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมา ประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่งจึงเป็นองค์ประชุม

มาตรา 18 ในเมื่อประธานไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการเลือกตั้ง กันขึ้นเองเป็นประธาน

มาตรา 19 การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้นให้ถือเอาเสียงข้างมาก เป็นประมาณ
กรรมการคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีจำนวน เสียงลงคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีก เสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 20 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) วางนโยบายจัดที่ดิน เพื่อให้ประชาชนมีที่ดินสำหรับอยู่อาศัย และหาเลี้ยงชีพตามควรแก่อัตภาพ
(2) วางแผนการถือครองที่ดิน
(3) สงวนและพัฒนาที่ดินเพื่อจัดให้แก่ประชาชน
(4) สงวนหรือหวงห้ามที่ดินของรัฐ ซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีสิทธิ ครอบครองเพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
(5) อนุมัติโครงการการจัดที่ดินของทบวงการเมือง
(6) ควบคุมการจัดที่ดินตามประมวลกฎหมายนี้และกฎหมายอื่น
(7) ปฏิบัติการเกี่ยวกับที่ดินตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
(8) มอบหมายให้ทบวงการเมืองที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ใน มาตรานี้ แทนคณะกรรมการได้ ตามที่เห็นสมควร
(9) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น
(10) วางระเบียบหรือข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์หรือ เงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดที่ดินหรือเพื่อกิจการอื่นตามประมวลกฎหมายนี้
ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับประชาชนให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
หมายเหตุมาตรา 20 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2526

มาตรา 21 ให้รัฐมนตรีดำเนินการตามมติของคณะกรรมการ และมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการเมืองที่เกี่ยวข้องดำเนินการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดที่ดินได้และถ้าสามารถทำได้ให้ทบวงการเมืองที่ เกี่ยวข้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามที่ได้รับมอบอำนาจไปนั้นโดยไม่ ชักช้า และเพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ให้เจ้าพนักงานของทบวง การเมืองเช่นว่านั้นมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้
ในการมอบอำนาจให้ทบวงการเมืองดำเนินการดตามความใน วรรคก่อนรัฐมนตรีจะให้ทบวงการเมืองเช่นว่านั้นเบิกเงินในงบ ประมาณของกรมที่ดินไปใช้จ่ายตามรายการในงบประมาณแทนกรมที่ดินก็ได้

มาตรา 22 ให้รัฐมนตรีและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รัฐมนตรีมอบ หมายมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดที่ดิน และให้ส่งเอกสารหลักฐานหรือ สิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ
(2) เข้าไปยังสถานที่หรือที่ดินของทบวงการเมือง องค์การของ รัฐหรือเอกชนเพื่อตรวจสอบเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดที่ดิน และ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริง เรียกเอกสารหลักฐานหรือสิ่งอื่นที่ เกี่ยวข้อง จากบุคคลที่อยู่ในสถานที่ หรือที่ดินเช่นว่านั้น มาตรวจ พิจารณาได้ตามความจำเป็น ในการนี้บุคคลเช่นว่านั้น ต้องให้ความ สะดวกแก่คณะกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามสมควร

มาตรา 23 ในการใช้อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายนี้ พนักงาน เจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานทบวงการเมืองซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียว กับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความใน มาตรา 21 ต้องมีบัตรประจำตัว และแสดงแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 24 ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติ หน้าที่ตามความในประมวลกฎหมายนี้ เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในกฎหมายลักษณะอาญา

มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการจัดที่ดิน หรือการสำรวจความ อุดมสมบูรณ์ของดินคณะกรรมการจะจัดให้มีการสำรวจที่ดินก็ได้
เมื่อเป็นการสมควรจะสำรวจที่ดินในท้องที่ใด ให้คณะกรรมการ ประกาศท้องที่นั้นเป็นเขตสำรวจที่ดินในราชกิจจานุเบกษา และให้ ปิดประกาศนั้น ณ ที่ว่าการอำเภอ และบ้านกำนันในตำบลลที่อยู่ใน เขตสำรวจ ประกาศของคณะกรรมการดังกล่าวให้มีแผนที่ประเมิน เขตที่ดิน ที่กำหนดให้เป็นเขตสำรวจที่ดินไว้ท้ายประกาศด้วย แผนที่ ดังกล่าวนี้ให้ถือว่าเป็นส่วนแห่งประกาศ
หมายเหตุมาตรา 25 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 334) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515

มาตรา 26 ภายในเขตสำรวจที่ดินตามความใน มาตรา 25 ให้ ผู้มีสิทธิในที่ดิน หรือผู้ครอบครองที่ดินซึ่งอยู่ในเขตสำรวจที่ดิน มีหน้าที่
(1) แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ภายในระยะ เวลาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด ตามแบบ และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีเช่นนี้จะจัดให้บุคคลอื่นแจ้งแทนก็ได้
(2) นำ หรือจัดให้บุคคลอื่นนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปชี้เขตที่ดิน ซึ่งตนมีสิทธิหรือครอบครองอยู่ ในเมื่อได้รับคำบอกกล่าวจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ล่วงหน้าเป็นเวลาอันสมควร
(3) ลงชื่อรับรองการสำรวจที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ เป็นจริง ในกรณีที่จัดให้บุคคลอื่น นำชี้เขตที่ดินให้บุคคลซึ่งนำชี้เขต ที่ดินเป็นผู้ลงชื่อรับรองการสำรวจที่ดินแทน

มาตรา 27 นอกจากที่ดินที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐนำไป จัดตามกฎหมายอื่นแล้ว อธิบดีมีอำนาจจัดที่ดินของรัฐซึ่งมิได้มีบุคคลใด มีสิทธิครอบครองให้ราษฎรเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ ข้อกำหนด และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการกำหนดซึ่งให้รวมถึงรายการดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) จำนวนที่ดินที่จะแบ่งให้ครอบครอง
(2) หลักเกณฑ์สอบสวนคัดเลือกผู้เข้าครอบครอง
(3) วิธีที่ผู้เข้าครอบครองพึงปฏิบัติ
(4) หลักเกณฑ์การชดใช้ทุนที่ได้ลงไปในที่ดินนั้น และการเรียก ค่าธรรมเนียมบางอย่าง
(5) กิจการที่จำเป็นสำหรับการจัดแบ่งที่ดิน
ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด และเงื่อนไขของคณะกรรมการให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 27ทวิ ในกรณีที่ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน หรือผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบุคคล ดังกล่าว ได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันการแจ้งการครอบครอง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ก่อนวันที่ประกาศ ของคณะปฎิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่ได้มีคำสั่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินนั้น ที่จะใช้สิทธิตาม มาตรา 27ตรี แห่งประมวลกฎหมายนี้
หมายเหตุมาตรา 27ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 96) ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515

มาตรา 27ตรี เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดท้องที่ และวันเริ่มต้นของการสำรวจตาม มาตรา 58 วรรคสอง ผู้ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และมิได้แจ้งการครอบครอง ตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หรือผู้ซึ่งรอคำสั่งผ่อนผันจากผู้ว่าราชการจังหวัดตาม มาตรา 27ทวิ แต่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินนั้นติดต่อมาจนถึง วันทำการสำรวจรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวน ถ้าประสงค์จะได้สิทธิใน ที่ดินนั้นให้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ ที่ดินนั้น ตั้งอยู่ ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ ถ้ามิได้ แจ้งการครอบครองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว แต่ได้มานำ หรือส่ง ตัวแทนมานำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัด และเวลาที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศกำหนดให้ถือว่ายังประสงค์จะได้สิทธิใน ที่ดินนั้น
เพื่อประโยชน์แห่ง มาตรานี้ ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ใน ที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำ ประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องมาจากบุคคลดังกล่าวด้วย
หมายเหตุมาตรา 27ตรี แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528

มาตรา 28 ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือในการดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วรายงาน คณะกรรมการ
ให้นำความใน มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 29 ในการดำเนินการตามความใน มาตรา 27 ที่ดินที่ได้รับมา โดยบทแห่งประมวลกฎหมายนี้ตั้งอยู่ในท้องที่ใด ให้จัดให้บุคคล ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่นั้นได้รับ ได้ซื้อ ได้แลกเปลี่ยน หรือได้เช่าซื้ ก่อน ต่อเมื่อมีที่ดินเหลืออยู่ จึงให้จัดให้บุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้อง ที่อื่นได้รับ ได้ซื้อ ได้แลกเปลี่ยน หรือได้เช่าซื้อต่อไป

มาตรา 30 เมื่อได้จัดให้บุคคลเข้าครอบครองในที่ดินรายใดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบจอง ให้ไว้เป็นหลักฐานก่อน และเมื่อ ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่า บุคคลที่ได้จัดให้เข้าครอบครองที่ดิน ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน และทั้งได้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อ กำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยครบถ้วนแล้วก็ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้โดยเร็ว
หมายเหตุมาตรา 30 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ (ฉบับที่ 334) ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2515

มาตรา 31 โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ได้ ออกสืบเนื่องมาจากใบจองตาม มาตรา 30 และ มาตรา 33 ห้ามมิให้ ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินดังกล่าวโอนที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ถ้าเป็นกรณีที่ได้ออกใบจองในหรือหลังวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ห้ามโอนภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์
(2) ถ้าเป็นกรณีที่ได้ออกใบจองก่อนวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 เฉพาะที่รัฐให้การช่วยเหลือในด้านสาธารณูปโภคและอื่น ๆ เนื่องจากการจัดที่ดิน ห้ามโอนภายในกำหนดห้าปี นับแต่วันได้รับ โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ที่ดินนั้นตกทอดทางมรดก หรือโอนให้แก่ทบวงการเมือง องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่า ด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราช บัญญัติ หรือโอนให้แก่สหกรณ์เพื่อชำระหนี้โดยได้รับอนุมัติจาก นายทะเบียนสหกรณ์
ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามวรรคหนึ่ง ที่ดินนั้นไม่อยู่ในข่าย แห่งการบังคับคดี
หมายเหตุมาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528

มาตรา 32 บุคคลใดเข้าครอบครองที่ดินตามนัยแห่งบทบัญญัติ มาตรา 30 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือเงื่อนไข ของคณะกรรมการ อธิบดีมีอำนาจสั่งให้บุคคลนั้นออกไปจากที่ดินนั้น ได้ และนับตั้งแต่วันได้รับคำสั่งให้บุคคลนั้นขาดสิทธิอันจะพึงได้ตาม ระเบียบข้อบังคับทั้งหลายทันที
ถ้าบุคคลนั้นไม่พอใจคำสั่งดั่งกล่าวในวรรคก่อน ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ ต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง แต่ถ้า รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยสั่งการภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันได้รับ อุทธรณ์ให้ถือว่ารัฐมนตรีสั่งให้มีสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นต่อไปแต่ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดและเงื่อนไขของ คณะกรรมการตามเดิม
คำสั่งของรัฐมนตรีให้ถือเป็นที่สุด

มาตรา 33 ในเขตท้องที่ใดที่คณะกรรมการยังมิได้ประกาศเขต สำรวจที่ดินตามความในหมวดนี้ก็ดี หรือในกรณีที่สภาพของที่ดิน เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยก็ดี ราษฎรจะขออนุญาตจับจองที่ดินได้โดย ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ กำหนด และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตแล้วก็ให้ออกใบจองให้ต่อไป

ที่มา : http://www.kodmhai.com/m2/m2-1/m1-14-33.html

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *