ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 12 บทกำหนดโทษ

ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 12 บทกำหนดโทษ

มาตรา 107 ผู้ใดไม่นำพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสำรวจรังวัดทำ แผนที่หรือพิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดินของตน หรือไม่ตั้ง ตัวแทนเพื่อการดังกล่าว ตาม มาตรา 58 มาตรา 69 หรือผู้ใด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 26 มาตรา 70 ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หมายเหตุมาตรา 107 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515

มาตรา 108 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 อยู่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตาม ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ถ้าผู้ฝ่าฝืนเพิกเฉยหรือไม่ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามระเบียบ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือ ให้ผู้ฝ่าฝืนออกจากที่ดินและหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้น ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าพัน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในการกำหนดระเบียบตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะกำหนด ให้ผู้ฝ่าฝืนต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ที่ดินนั้น ให้แก่รัฐหรือราชการ บริหารส่วนท้องถิ่นด้วยก็ได้
หมายเหตุมาตรา 108 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515

มาตรา 108ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฎิวัติฉบับใช้บังคับ ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน ห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำแก่ที่ดิน ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน หรือที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าความผิดตามวรรคสองได้กระทำเป็นเนื้อที่เกินกว่าห้าสิบไร่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีที่คำพิพากษาว่าผู้ใดกระทำความผิดตาม มาตรานี้ ศาลมี อำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิดคนงาน ผู้รับจ้าง ผู้แทน และบริวารของผู้กระทำความผิดออกไปจากที่ดินนั้นด้วย
บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่อง จักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็น อุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดดังกล่าวให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่
หมายเหตุมาตรา 108ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515

มาตรา 108ตรี ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 66 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท
หมายเหตุมาตรา 108ตรี เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515

มาตรา 109 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 38 มาตรา 67 มาตรา 74 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 110 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 89 มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามพันบาทหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 111 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 86 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
หมายเหตุมาตรา 111 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2551

มาตรา 112 นิติบุคคลใด
(1) ได้มาซึ่งที่ดินเป็นการฝ่าฝืนบทแห่งประมวลกฎหมายนี้
(2) ใช้ที่ดินนั้นเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ได้รับอนุญาต
(3) ใช้ที่ดินผิดเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามความใน มาตรา 99 ประกอบด้วย มาตรา 87 วรรคสอง
(4) ไม่แจ้งการไม่ใช้ที่ดินตามความใน มาตรา 99 ประกอบด้วย มาตรา 89 หรือ
(5) (ยกเลิก)
หมายเหตุมาตรา 112 (5) ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2551

มาตรา 113 ผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินในฐานะเป็นตัวแทนของคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลตามความใน มาตรา 97 มาตรา 98 มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน
1. ค่าธรรมเนียมในการขอสัมปทาน รายละ 500 บาท
2. ค่าสัมปทานปีหนึ่ง ไร่ละ 20 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
3. ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(1) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 30 บาท
(2) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน ไร่ละ 2 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
4. ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรอง
การทำประโยชน์
(1) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท
(2) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 30 บาท
(3) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท
(4) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท
(5) ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท
5. ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน
(1) ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท
(2) ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินไร่ละ 2 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
6. ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน
(1) ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 40 บาท
(2) ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 40 บาท
(3) ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท
(4) ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท
(5) ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท
7. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
(1) มีทุนทรัพย์ให้เรียกเก็บร้อยละ 2 ของราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับ การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ส่วนกรณีอื่นให้เรียกเก็บร้อยละ 2 ของจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้ขอจดทะเบียนแสดงตามความเป็นจริง เศษของร้อยให้คิดเป็นหนึ่งร้อย
(2) ไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 1,000 บาท
8. ค่าธรรมเนียมการขอให้ได้มาซึ่งที่ดินของคน ต่างด้าวรายละ 500 บาท ค่าอนุญาต ไร่ละ 100 บาท เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่
9. (ยกเลิก)
10. ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด
(1) ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
(2) ค่าคัดสำเนาเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งค่าคัดสำเนา เอกสารเป็นพยานในคดีแพ่งโดยเจ้าหน้าที่ เป็นผู้คัด ร้อยคำแรกหรือไม่ถึงร้อยคำ 10 บาท
ร้อยคำต่อไป ร้อยละ 5 บาท เศษของร้อยให้คิดเป็นหนึ่งร้อย
(3) ค่ารับรองเอกสารที่คัด ฉบับละ 10 บาท
(4) ค่าตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(5) ค่ารับอายัดที่ดิน แปลงละ 10 บาท
(6) ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
(7) ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินหรือหนังสือ แสดงสิทธิในที่ดินอย่างอื่น ฉบับละ 50 บาท
(8) ค่าประกาศ แปลงละ 10 บาท
(9) ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท
ถ้าเป็นการเดินสำรวจหรือสอบเขต ทั้งตำบลสำหรับกรณีออกโฉนด คิดเป็นรายแปลง แปลงละ 60 บาท
(10) ค่าตรวจสอบข้อมูลด้านงานรังวัด ด้านทะเบียนที่ดิน ด้านประเมินราคาหรือข้อมูลอื่นครั้งละ 100 บาท
(11) ค่าสำเนาจากสื่อบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นหรือสำเนาข้อมูลอื่น แผ่นละ 50 บาท
11. ค่าใช้จ่าย
(1) ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน ให้จ่ายในลักษณะ
พนักงานเจ้าหน้าที่ และคนงานที่จ้างไป เหมาจ่ายตาม ทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือ ระเบียบกระทรวง พิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่ มหาดไทยด้วยความ เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เห็นชอบของ ตามคำขอ กระทรวงการคลัง
(2) ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงาน ให้จ่ายในลักษณะ
เจ้าหน้าที่ และค่าจ้างคนงานที่จ้างไป เหมาจ่ายตาม ทำการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือ ระเบียบกระทรวง พิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่ มหาดไทยด้วยความ เกี่ยวกับหนังสือรับรองการ เห็นชอบของ ทำประโยชน์ตามคำขอ กระทรวงการคลัง
(3) ค่าป่วยการให้แก่เจ้าพนักงาน ผู้ปกครองท้องที่หรือผู้แทนที่ไป ในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบ เนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ คนหนึ่ง วันละ 100 บาท
(4) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะ
เกี่ยวกับโฉนดที่ดิน หรือพิสูจน์สอบสวน เหมาจ่ายตาม หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือ ระเบียบกระทรวง รับรองการทำประโยชน์ มหาดไทย ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(5) ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 20 บาท
(6) ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 20 บาท
หมายเหตุข้อ 9. แห่งบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน ยกเลิกโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2551

บัญชีค่าตอบแทนท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน
ค่าตอบแทนในการอนุญาต
(1) ตามมาตรา 9 (1) ไร่ละ 1,000 บาทต่อปี
(2) ตามมาตรา 9 (2) หรือมาตรา 9 (3)
(ก) การขุดหรือดูดทราย ลูกบาศก์เมตรละ 28 บาท
(ข) การขุดดินหรือลูกรัง หรืออื่น ๆ ไร่ละ 10,000 บาทต่อปี หรือ ลูกบาศก์เมตรละ 10 บาท

พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ โดยที่บทบัญญัติเกี่ยวกับการทำ การรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดินและการรังวัดแบ่งแยกที่ดินยังไม่เหมาะสม เนื่องจากในการรังวัด ถ้า ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่ได้รับรองแนวเขตครบถ้วนแล้วก็ไม่อาจทำการรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดิน หรือรังวัดแบ่งแยกที่ดินได้ เพื่อขจัดข้อขัดข้องดังกล่าวเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการทำการรังวัดสอบเขตโฉนดที่ดิน และการรังวัดแบ่งแยกที่ดินเสียใหม่ จึงจำเป็นต้อง ตราพรบ.นี้ขึ้น
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.นี้ คือ เนื่องจากข้อจำกัดการห้ามโอน สิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินยังไม่รัดกุมและมีบทบัญญัติบางมาตราในประมวล กฎหมายที่ดินไม่เหมาะสม ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการอำนวยความ สะดวกแก่ประชาชน สมควรแก้ไขปรับปรุงเสียใหม่ กับทั้งจำเป็นต้องปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดินให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2526

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรโอน อำนาจหน้าที่ในการพัฒนาที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ในส่วนที่เกี่ยวกับการสำรวจ จำแนก และทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติและความเหมาะสมแก่การใช้ ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และการวางแผนการใช้ที่ดิน การพัฒนาที่ดิน การกำหนดบริเวณ การใช้ที่ดินและการกำหนดมาตรการเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินและกรมพัฒนาที่ดินตามกฎหมาย ว่าด้วยการพัฒนาที่ดินจึงจำเป็นต้อง ตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528
มาตรา 19 การปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ หัวหน้าเขต นายอำเภอ หรือปลัดอำ เภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำ เภอ อยู่ก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวปฏิบัติต่อไปพลางก่อนจนกว่ารัฐมนตรีจะได้ ประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษาเป็นท้องที่ไป
มาตรา 20 ให้นายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง การออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน และการรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการรวมอำนาจหน้าที่ในการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน และการรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และการทำกิจการอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องกับที่ดินซึ่งแต่เดิมให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ มีอำนาจกระทำการดังกล่าวด้วย มาให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดิน แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้การบริหารงานเกี่ยวกับที่ดินมีเอกภาพและสะดวกแก่ประชาชนมากขึ้น โดยแก้ไขบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว และในขณะเดียวกันสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินในส่วนที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของกรมที่ดินให้เหมาะสมรัดกุม เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น นอกจากนี้ได้เพิ่มเติมกรณีของการออกโฉนด ที่ดินสำหรับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งใช้ระวางรูปถ่ายทางอากาศขึ้นเป็นพิเศษ เพราะรัฐมีนโยบายที่จะเร่งรัดให้มีการออกโฉนดที่ดินในกรณีนี้ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534
มาตรา 7 ให้คณะกรรมการประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติ กรรมและคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์และ คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดขึ้นใหม่ตามมาตรา 105 และมาตรา 105 ฉ แห่งประมวล กฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้
มาตรา 8 ในระหว่างที่ยังมิได้มีการประกาศใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ตาม มาตรา 105 เบญจ สำหรับเขตจังหวัดหรือเขตท้องที่ใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติ กรรมที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดได้กำหนดไว้แล้วสำหรับเขตจังหวัดหรือเขตท้องที่นั้นก่อน วันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามมาตรา 105 เบญจ
มาตรา 9 คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะอนุกรรมการประจำ จังหวัดหรือคณะกรรมการประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ให้เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตามมาตรา 105 เบญจ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือตามมาตรา 8 แห่งพรบ.นี้ แล้วแต่กรณี
มาตรา 10 ในระหว่างที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ยังมิได้ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำ หนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ให้นำ ระเบียบ กระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เกี่ยวกับที่ดิน พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับกับการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โดยอนุโลมเพียง เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้
มาตรา 11 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุง บทบัญญัติว่าด้วยการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมาย ที่ดิน เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนผู้ขอจดทะเบียนมากยิ่งขึ้น โดยการเปลี่ยน วิธีการคิดค่าธรรมเนียมจากเดิมที่คิดจากจำนวนทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์ที่ขอจดทะเบียน ตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการคิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ทางราชการได้ ประกาศกำหนดไว้แล้ว และเป็นการสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำ นาจหน้าที่ของ คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์และของอนุกรรมการประจำจังหวัดให้เหมาะสมและ ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับนิติ บุคคลซึ่งมีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าวในประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีของบริษัทจำกัด และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำกัดได้ก่อให้เกิดปัญหาว่า ทุนของคนต่างด้าวที่มีในบริษัทจำกัดหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำกัดจะต้องพิจารณารวมไปถึงทุนของคนต่างด้าวในนิติบุคคลอื่นที่เข้าถือ หุ้นหรือลงหุ้นในบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจำกัดด้วยหรือไม่ เพื่อมิให้เกิดปัญหาใน การพิจารณาความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับนิติ บุคคลดังกล่าวให้ชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สมควรเพิ่มเติมให้เงื่อนไขดังกล่าวใช้ บังคับกับบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดและแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 98 ให้สอดคล้องกับการแก้ไขข้างต้นด้วย จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2541
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน และบัญชีค่าตอบแทนท้ายประมวลกฎหมายที่ดินได้ใช้ บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย รวมทั้งค่าตอบแทนต่างๆ ไม่ เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตรา ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย และบัญชี ค่าตอบแทนท้ายประมวลกฎหมายที่ดิน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2542
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรให้คนต่าง ด้าวซึ่งได้เข้ามาลงทุนในกิจการที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ อาจได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการ อำนวยความสะดวกแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบกิจการในราชอาณาจักร รวมทั้งเป็นปัจจัยเสริม ในการตัดสินใจที่จะเข้ามาลงทุนของคนต่างด้าว ตลอดจนเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ของประเทศที่กำลังประสบปัญหาสภาวะซบเซา ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการฟื้นฟู เศรษฐกิจของประเทศโดยรวม จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2543
มาตรา 9 ให้การสอบสวนเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์หรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือการจดแจ้งเอกสาร รายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 61 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2528 ที่ได้ดำเนินการมาก่อนวันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ เป็นการสอบสวนตามมาตรา 61 แห่ง ประมวลกฎหมายที่ดินซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.นี้
การสอบสวนตามความในวรรคหนึ่งที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของผู้ว่าราชการ จังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสำนวนการสอบสวนให้อธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรบ.นี้ใช้บังคับ
มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพรบ.นี้
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไข เพิ่มเติมผู้มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ ประโยชน์โดยให้อธิบดีกรมที่ดินหรือรองอธิบดีซึ่งอธิบดีมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการสั่ง เพิกถอนหรือแก้ไขโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้การ ดำเนินการสั่งเพิกถอนหรือแก้ไข ในกรณีดังกล่าวเป็นไปด้วยความรวดเร็ว นอกจากนี้ เห็นสมควร แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการจดทะเบียนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก การอายัด ที่ดิน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนบัญชีอัตราค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายท้ายประมวลกฎหมายที่ดินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรฎ. แก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้ เป็นไปตามพรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545
มาตรา 4 ในประมวลกฎหมายที่ดิน
(1) ในมาตรา 14 ให้แก้ไขคำว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย” เป็น”รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” คำ ว่า “อธิบดีกรม ประชาสงเคราะห์” เป็น “อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ” และคำว่า “อธิบดีกรมที่ดิน” เป็น “ผู้อำนวยการนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”
(2) ในมาตรา 105 ให้แก้ไขคำว่า “อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดี กรมธนารักษ์หรือผู้แทน” และคำว่า “อธิบดีกรมโยธาธิการหรือผู้แทน” เป็น “อธิบดีกรมโยธาธิ การและผังเมืองหรือผู้แทน”
(3) ในมาตรา 105 ฉ ให้แก้ไขคำว่า “เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด” เป็น “ธนา รักษ์จังหวัด”
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรฎ.ฉบับนี้ คือ โดยที่พรบ. ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติให้จัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยมีภารกิจใหม่ ซึ่งได้ มีการตราพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตาม พรบ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้นแล้ว และเนื่องจากพรบ.ดังกล่าวได้ บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐมนตรีผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วน ราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่ โดยให้มีการแก้ไขบทบัญญัติต่างๆ ให้สอดคล้องกับ อำนาจหน้าที่ที่โอนไปด้วย ฉะนั้น เพื่ออนุวัติให้เป็นไปตามหลักการที่ปรากฏในพรบ.และพรฎ.ดังกล่าว จึงสมควรแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้สอดคล้องกับการโอน ส่วนราชการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความชัดเจนในการใช้กฎหมายโดยไม่ต้องไปค้นหาในกฎหมาย โอนอำนาจหน้าที่ว่าตามกฎหมายใดได้มีการโอนภารกิจของส่วนราชการหรือผู้รับผิดชอบตาม กฎหมายนั้นไปเป็นของหน่วยงานใดหรือผู้ใดแล้ว โดยแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้มีการ เปลี่ยนชื่อส่วนราชการ รัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการให้ตรงกับ การโอนอำนาจหน้าที่ และเพิ่มผู้แทนส่วนราชการในคณะกรรมการให้ตรงตามภารกิจที่มีการตัด โอนจากส่วนราชการเดิมมาเป็นของส่วนราชการใหม่รวมทั้งตัดส่วนราชการเดิมที่มีการยุบเลิกแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขให้ตรงตามพรบ.และพรฎ. ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพรฎ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2550
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่อเป็นการรองรับวิธีการดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมวิธีการในการจัดเก็บในโฉนดที่ดิน และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ให้สามารถจัดเก็บโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ด้วย รวมทั้งกำหนดให้เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่ในเขตท้องที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขาอื่น ที่ได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วในการให้บริการแก่ประชาชน จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด และจัดเก็บค่าตอบแทนตาม มาตรา 9ทวิ บทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์โดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันกับสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ที่มีกฎหมายจัดตั้งที่ที่ดินที่ได้รับอนุญาตตาม มาตรา 9 ตั้งอยู่ มีอำนาจกำหนดและจัดเก็บค่าตอบแทนดังกล่าว เพื่อเป็นการกระจายรายได้ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นแหล่งรายได้นั้น รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยให้มีมาตรการเร่งรัดผู้มีหลักฐานการแจ้งการครอบครองที่ดินมาดำเนินการเพื่อขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมให้อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินมอบหมายซึ่งดำรงตำแหน่งรองอธิบดี หรือผู้ตรวจราชการกรมที่ดินเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขตาม มาตรา 61 เพื่อให้การดำเนินการในกรณีดังกล่าวเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสอดคล้องกับหลักการปฏิรูประบบราชการที่มุ่งเน้นให้มีการกระจายภารกิจและกระจายอำนาจการตัดสินใจ จึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้
พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2551
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พรบ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้าที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นบทบัญญัติที่มีเจตนารมณ์ เพื่อยกเว้นการจำกัดจำนวนการถือครองที่ดินและป้องกันการหลีกเลี่ยงการกำหนดสิทธิในที่ดิน และโดยที่บทบัญญัติในเรื่องการจำกัดจำนวนการถือครองที่ดินนั้นได้ถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2502 แต่บทบัญญัติเกี่ยวกับการค้าที่ดินซึ่งเป็นกรณีที่เกี่ยวเนื่องกันยังไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกัน ประกอบกับการค้าที่ดินได้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินควบคุมอยู่แล้ว สมควรยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการค้าที่ดินจึงจำเป็นต้องตราพรบ.นี้

ที่มา : http://www.kodmhai.com/m2/m2-1/m1-107-113.html

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *