ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 11 ค่าธรรมเนียม
|ประมวลกฎหมายที่ดิน – หมวด 11 ค่าธรรมเนียม
มาตรา 103 ในการดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน การ รังวัดการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือการทำธุระอื่นๆ เกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายคามที่กำหนด ในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้
ในกรณี ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม มาตรา 58 ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมเป็นค่าออกโฉนดที่ดิน ค่าออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ค่าหลักเขตที่ดิน และค่ามอบ อำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจแล้วแต่กรณี โดยผู้มีสิทธิในที่ดิน จะขอรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปก่อนแต่ยัง ไม่ชำเงินค่าธรรมเนียมก็ได้ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่จดแจ้งการค้าง ชำระเงินค่าธรรมเนียม ให้ปรากฏในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง การทำประโยชน์นั้น ถ้าได้ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมครั้ง แรกให้ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ในกรณี ออกโฉนดที่ดินตาม มาตรา 58ตรี ให้ได้รับยกเว้นค่า ธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย
หมายเหตุมาตรา 103 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2521
มาตรา 103 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528
มาตรา 103 วรรคสาม เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2528
มาตรา 103ทวิ การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริม ทรัพย์ที่บริจาคให้แก่ทางราชการ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
หมายเหตุมาตรา 103ทวิ เพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2520
มาตรา 104 ในกรณีการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้ ผู้ขอจดทะเบียนเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโดย คำนวณตามราคาประเมินทุนทรัพย์ตาม
มาตรา 105เบญจ
การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ใน กรณีอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอจดทะเบียนเสียค่า ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม โดยคำนวณตามจำนวน ทุนทรัพย์ที่ผู้ขอจดทะเบียนแสดงตามความเป็นจริง
หมายเหตุมาตรา 104 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2543
มาตรา 105 ให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ อธิบดี กรมการปกครองหรือผู้แทน อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน อธิบดี กรมโยธาธิการหรือผู้แทน อธิบดีกรมที่ดินหรือผู้แทน ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสี่คน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการและให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลาง ประเมินราคาทรัพย์สิน เป็นกรรมการและเลขานุการ
หมายเหตุมาตรา 105 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105ทวิ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง มีวาระอยู่ใน ตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการอีกได้
หมายเหตุมาตรา 105ทวิ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105ตรี นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม มาตรา 105ทวิ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออก
(4) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือ เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือคำสั่ง ที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้อื่นเป็นกรรมการแทน
กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคสอง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่า กับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
หมายเหตุมาตรา 105ตรี เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105จัตวา การประชุมของคณะกรรมการกำหนดราคา ประเมินทุนทรัพย์ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของ จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียง เท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียง ชี้ขาด
หมายเหตุมาตรา 105จัตวา เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105เบญจ ให้คณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายนี้
(2) ให้ความเห็นชอบต่อการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ ที่ คณะกรรมการประจำจังหวัดเสนอเพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขต จังหวัดนั้น หรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น
(3) วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียน สิทธิและนิติกรรมตามที่กรมที่ดินขอความเห็น
(4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่ง
อย่างใดตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์มอบหมาย ก็ได้ แล้วรายงานต่อคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
(5) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น
ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์ ได้ให้ความเห็นชอบตาม (2) แล้วให้ปิดประกาศไว้ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขาและสำนักงานเขตหรือ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่
หมายเหตุมาตรา 105เบญจ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105ฉ ให้มีคณะอนุกรรมการประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด ประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ ปลัดจังหวัด สรรพากรจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินสามคน ซึ่งคณะกรรมการ กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ และให้เจ้า พนักงานที่ดินจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
อนุกรรมการประจำจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นอนุกรรม ผู้แทนกรมการปกครอง ผู้แทน กรมสรรพากร เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร และผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่เกินสามคน ซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ แต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานกลางประเมิน ราคาทรัพย์สินเป็นอนุกรรมการ และเลขานุการ
ให้นำ มาตรา 105ทวิ มาตรา 105ตรี และ มาตรา 105จัตวา มาใช้บังคับแก่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดโดยอนุโลม
หมายเหตุมาตรา 105ฉ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 105สัตต ให้คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดมีหน้าที่ พิจารณากำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อใช้ในการเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้ง อยู่ในเขตจังหวัดนั้น หรือในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมิน ทุนทรัพย์
หมายเหตุมาตรา 105สัตต เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 534
มาตรา 105อัฏฐ เมื่อได้มีการประกาศกำหนดราคาประเมิณ ทุนทรัพย์สำหรับเขตจังหวัดใดไว้แล้ว ถ้าต่อมาปรากฏว่าราคาที่ ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่หนึ่ง ท้องที่ใดในเขตจังหวัดนั้นแตกต่างจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ได้ ประกาศกำหนดไว้มากพอสมควร ให้คณะอนุกรรมการประจำ จังหวัดนั้น พิจารณาปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์สำหรับท้องที่ นั้น เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์โดยเร็ว
หมายเหตุมาตรา 105อัฏฐ เพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
มาตรา 106 (ยกเลิก)
หมายเหตุมาตรา 106 ยกเลิกโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2534
ที่มา : http://www.kodmhai.com/m2/m2-1/m1-103-106.html