นม นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต
นม นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต
นมเป็นอาหารธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุอาหารครบทุกหมู่ คือ โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาลนมหรือแล็กโทส (lactose) และโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (casein) จะพบในธรรมชาติคือในนมหรือน้ำนมเท่านั้น นมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชน
• ส่วนประกอบของนม
1. น้ำ เป็นสื่อกลางให้สารอาหารหลายชนิดละลาย ทำให้สะดวกในการบริโภค โดยเฉพาะเด็กอ่อนหรือทารกที่ยังไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร
2. ไขมัน ตามปกติเรียกไขมันจากน้ำนมว่า มันเนย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางโภชนาการและเศรษฐกิจ ให้พลังงาน ตลอดจนสารอาหารและวิตามินเอ ดี อี และเค นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยที่สำคัญใช้ในการกำหนดราคาซื้อขายน้ำนมดิบ เพราะสามารถนำไปใช้อุตสาหกรรมนมได้ นมให้ไขมันเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับขนมปัง นมผงถั่วเหลือง หรือเนื้อ การดื่มนมจึงไม่ทำให้อ้วน
3. โปรตีน ในน้ำนมเกือบทั้งหมดประกอบด้วยสารอาหารโปรตีน ที่เรียกว่า เคซีน โกลบุลิน (globulin) อัลบูมิน (albumin) ในปริมาณค่อนข้างสูง และมีกรดอะมิโน (amio acid) อยู่ 19 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเนื้อเยื่อ เลือด และกระดูก นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ อีกด้วย
4. สารประกอบที่มีไนโตรเจน ตามปกตินมจะมีแร่ธาตุไนโตรเจนอยู่ประมาณร้อยละ 0.5
5. แล็กโทส เมื่อถูกย่อยแล้วจะกลายเป็นกลูโคส (glucose) และกาแล็กโทส (galactose) น้ำตาลกาแล็กโทสนี้เป็นส่วนประกอบของซีรีโบรไซด์ (cerebroside) ซึ่งพบมากในเยื่อหุ้มสมองและเยื้อหุ้มประสาท ดังนั้นทารกและเด็กจึงมีความต้องการแล็กโทสเพื่อนำไปใช้ในการเจริญเติบโตของสมอง
6. วิตามิน ในนมมีวิตามินเอ บี 1 (ไทอามีน-thaiamine) บี 2 บีรวม บี 6 บี 12 ซี ดี และดี 3 ซึ่งช่วยป้องกันโรคลักปิดลักเปิด อัมพาต โรคผิวหนัง โรคลำไส้ โรคฟันผุ เป็นต้น
7. แร่ธาตุในน้ำนม มีลักษณะเป็นเถ้า ประกอบด้วยโพแทสเซียม แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คลอไรด์ ซิเทรต เหล็ก ทองแดง และไอโอดีน
• นมดิบ (raw milk) หมายถึง นมโคที่รีดมาจากเต้านมโคแล้วยังไม่ได้ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ ดังนั้นจึงห้ามดื่มนมดิบ
o การผลิตนมดิบคุณภาพดี
นมดิบที่จะมีคุณภาพดีนั้นจะต้องเป็นนมที่สะอาดปราศจากสิ่งปลอมปน การที่จะได้นมสะอาดนั้นจะต้องยึดหลัก 3 ประการของการผลิตนมสะอาดดังต่อไปนี้
1. ความสะอาด เป็นหัวใจของการผลิตนม ตามปกตินมที่อยู่ในเต้านมโคนั้น เป็นนมที่สะอาด บริสุทธิ์ ตราบใดที่ไม่รีดนมออกมาจากเต้านม นมนั้นก็ยังคงเป็นนมที่สะอาดอยู่นั่นเอง นั่นเอง แต่พอรีดออกมาและใส่ลง ไปในถังรีดนม นมนั้นจะสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ เช่น มือคนรีดนมหรือเครื่องรีดนม หัวนมของโค อากาศที่นม พุ่งผ่าน และถังรีดนม จุลินทรีย์ที่คอยจังหวะอยู่ตามจุดต่าง ๆ เหล่านี้จะเข้าสู่นมทันที จุลินทรีย์จะเข้าสู่นมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสกปรกของสิ่งต่าง ๆ ที่นมสัมผัส
2. ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับนม ในช่วงที่รีดนมออกมาและยังไม่ทันทำนมให้เย็นนี้ จะต้องปฏิบัติการให้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องการให้จุลินทรีย์ ขยายพันธุ์ เรียกว่าหนีเวลาการขยายพันธุ์ (generation time) พึงระลึกไว้เสมอว่า ถ้าทำงานช้าไปทุก ๆ ๓๐ นาที จุลินทรีย์ในนมจะเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น ๒ เท่าเสมอ ซึ่งหมายถึงราคานมจะถูกตัดลงด้วย และยิ่งมีจุลินทรีย์มากขึ้นเท่าใด อายุของนมก็สั้นลงเท่านั้น เมื่อรีดนมเสร็จแล้วต้องรีบนำนมไปส่งที่ศูนย์รวมนม ก่อนที่จะพัก ผ่อนหรือทำความสะอาดคอก และเจ้าหน้าที่ศูนย์รวมนมเองเมื่อรับนมเกษตรกรไว้แล้ว ภายหลังการเก็บตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบแล้ว ก็รีบทำให้นมเย็นถึงอุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส (หรือต่ำกว่า) ทันที
3. การทำนมให้เย็น จากการศึกษาเรื่องอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญ พันธุ์ของจุลินทรีย์ในนมนั้น พบว่าที่อุณหภูมิประมาณ ๓๗ องศาเซลเซียสนั้นจุลินทรีย์ส่วนมากเจริญได้ดีที่ สุดส่วนอุณหภูมิเย็นนั้นเจริญได้ช้าที่สุด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๒๖ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ให้เก็บนมพลาสเจอร์ไรส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพราะที่อุณหภูมิ ๕ องศาเซลเซียสนี้ จุลินทรีย์ขยายพันธุ์ได้ในอัตราที่ต่ำมาก ดังนั้นนมโคดิบก็ควรที่จะเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียสเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ของศูนย์รวมนมรับซื้อนมจากเกษตรกรแล้ว จึงต้องทำให้นมเย็นประมาณ ๕ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า แล้วก็เก็บนมที่ความเย็นนี้ (ในทางปฏิบัตินิยมเก็บนมที่อุณหภูมิ 2 – 3 องศาเซลเซียส) จนกว่าจะขนส่งไปสู่โรงงานนม
o การแบ่งชั้นของนมดิบ
การแบ่งชั้นนมดิบ คือ การจัดชั้นคุณภาพของนมดิบว่าดีเลวเพียงใด นมชั้นใดสมควรจะนำไปทำผลิตภัณฑ์ นมชนิดใด ปัจจุบันนมดิบที่ผลิตในประเทศไทยไม่ได้แบ่งชั้นเอาไว้ ส่วนในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้จัชั้นนมดิบออกเป็นชั้นต่าง ๆ เช่น
1. เซอร์ติไฟร์มิลด์ (Certified Milk) คือนมรับรองคุณภาพ คือ นมดิบที่สมาคมออกใบรับรองคุณภาพให้
2. นมดิบเกรด เอ (Grade A Raw Milk) คือนมที่รีดได้จากแม่โคที่ปราศจากโรควัณโรค และโรคแท้งติดต่อ นมที่รีดแล้วต้องรีบทำให้เย็นทันทีที่อุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส และต้องเก็บนมที่อุณหภูมิเย็นนี้จนถึงเวลาจำหน่าย และเมื่อนำออกจำหน่ายต้องมีจุลินทรีย์ไม่เกิน 50,000 โคโลนี/นม 1 มิลลิลิตร หรือมีชั่วโมงการเปลี่ยนสีเมทีลินบูลไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
3. นมดิบเกรกด เอ เพื่อพาสเจอร์ไรส์ (Grade A Raw Milk for Pasteurization) คือ นมดิบที่ได้จากฟาร์มที่ปฏิบัติตามระเบียบของประกาศกระทรวงสาธารณสุขก่อนการพาสเจอร์ไรส์ต้องมีจุลินทรีย์ไม่เกิน 200,000 โคโลนี/นม 1 มิลลิลิตร
4. นมดิบเกรด บี เพื่อพาสเจอร์ไรส์ (Grade B raw milk for pasteurization) คือ นมดิบที่ได้จากฟาร์มที่ปฏิบัติตามระเบียบของประกาศกระทรวงสาธารณสุขก่อนการพาสเจอร์ไรส์ต้องมีจุลินทรีย์ไม่เกิน 1,000,000 โคโลนี/นม 1 มิลลิลิตร
5. นมดิบเกรด ซี (Grade C raw milk) คือ นมที่ผลิตจากฟาร์มที่ไม่สะอาดปราศจากสุขลักษณะ มีจุลินทรีย์ไม่จำกัดจำนวนนม (นมเกรด ซี มักไม่นิยมนำไปผลิตเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ แต่อาจเอาไปทำผลิตภัณฑ์อื่นหรือนำไปเลี้ยงสัตว์)
• นมสด คือ นมที่รีดจากแม่วัวโดยตรงซึ่งหาดื่มได้ยากส่วนใหญ่มักเป็นนมสดที่นำมาผ่านกรรมวิธีให้ความร้อนแบบต่าง ๆ เรียกว่า ” นมพร้อมดื่ม ” แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
o นมพาสเจอร์ไรซ์ ไรซ์ คือ น้ำนมสดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที หรือใช้ความร้อน 73 องศาเซลเซียสเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 16 วินาที นมพาสเจอร์ไรซ์มีรสและคุณสมบัติเหมือนน้ำนมสดตามธรรมชาติมากที่สุด มีคุณค่าทางอาหารดีที่สุดแต่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และเก็บได้นานเพียงสามวันเพราะเชื้อจุลินทรีย์สามารถทำลายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
o นมสเตอริไลซ์ คือ นมสดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานเพียงพอ ทำลายจุลินทรีย์และเอนไซม์ในน้ำนมทุกชนิด เก็บรักษาได้นาน 6 เดือนในอุณหภูมิห้องปกติ โดยไม่ต้องแช่เย็นเชื้อจุลินทรีย์ถูกทำลายหมดโดยที่ไม่ทำให้คุณภาพของนำนมเปลี่ยนแปลงมากนัก ดังนั้นนมสเตอริไรส์จึงไม่เหมาะกับเด็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโต และห้ามใช้เลี้ยงเด็กทารก เพราะจะทำให้เด็กเป็นโรคขาดอาหารได้ โดยทั่วไปนมชนิดนี้มักบรรจุในกระป๋องโลหะที่ปิดสนิท จึงสามารถเก็บได้นาน 1-2 ปีทีเดียว เวลาซื้อควรสังเกตดูวันที่ผลิตและวันหมดอายุของนมที่ก้นกระป๋องด้วย แบ่งออกเป็น
– นมสดพร้อมดื่ม ซึ่งเป็นนมสด 100 % และที่ข้างกล่องหรือกระป๋องจะเขียนว่า “นมสดสเตอร์ริไรส์” ดื่มได้ทันที
– นมข้นไม่หวาน ซึ่งเป็นนมสดที่ระเหยเอาน้ำออกร้อยละ 60 จึงทำให้นมข้นขึ้น และไม่ได้เติมน้ำตาลลงไป นมชนิดนี้นิยมใช้สำหรับเติมใส่เครื่องดื่มพวกน้ำชาหรือกาแฟ ซึ่งหากผสมน้ำลงไป 1 เท่าตัวก็จะได้นมสดที่ดื่มได้ทันทีเช่นกัน ในบางยี่ห้อจะมีการเติมน้ำมันปาล์มลงไปเรียกว่า “นมข้นแปลงไขมันชนิดไม่หวาน” ดังนั้นก่อนเลือกซื้อ อย่าลืมดูที่ฉลากข้างกระป๋องด้วยนะคะ และแนะนำว่าท่านควรซื้อชนิดที่เติมไขมันจะดีกว่าค่ะ เพราะจะมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่านมที่ไม่เติมไขมัน
– นมข้นหวาน คือนมสดที่มีการระเหยเอาน้ำออกไปบางส่วน จึงทำให้นมมีลักษณะข้นขึ้น แล้วเติมน้ำตาลลงไปร้อยละ 40 หรืออาจจะใช้วิธีละลายนมผงขาดมันเนย ผสมกับไขมันเนยหรือน้ำมันปาล์มเข้าไป แล้วเติมน้ำตาลลงไปประมาณ 45-55 % แล้วแต่ยี่ห้อของนมค่ะ ดังนั้นนมข้นหวานจึงเป็นนมที่มีน้ำตาลสูงมากจึงห้ามใช้เลี้ยงทารก หรือใช้เพื่อเสริมคุณค่าทางอาหารแทนนมกับเด็ก ซึ่งปัจจุบันทางคณะกรรมการอาหารและยาหรืออย. ได้บังคับให้ผู้ผลิตทุกรายเขียนข้างกระป๋องด้วยอักษรสีแดงว่า “ห้ามใช้เลี้ยงทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี” ขณะเดียวกันก็บังคับให้ผู้ผลิตเติมวิตามินที่สำคัญอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินดี และวิตามินบีหนึ่งลงไปด้วย เพื่อให้นมข้นหวานมีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีพ่อแม่บางคนที่ไม่ทราบ และยังนำเอานมข้นหวานไปใช้เลี้ยงลูก จนทำให้เด็กถึงกับพิการตาบอด เนื่องมาจากขาดวิตามิน A ก็มีแล้ว
o นมยูเอชที (มาจากศัพท์ Ultra -High Temperature แปลว่าอุณหภูมิสูงอย่างยิ่ง) คือ นมสดที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนไม่ต่ำกว่า 133 องศาเซลเซียสเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 วินาที การผลิตนมยู เอช ที ใช้ความร้อนสูงจึงทำลายจุลินทรีย์ทุกชนิด เก็บรักษาได้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน นมยู เอช ที มีรสและคุณสมบัติใกล้เคียงกับนมสด เนื่องจากผ่านความร้อนในเวลาอันสั้น โภชนะที่สำคัญจึงสูญเสียน้อยมากสามารถเก็บไว้ได้ ณ อุณหภูมิห้องได้นานกว่า 6 เดือนโดยไม่เน่าเสีย
• นมผงธรรมดา คือ นมที่ผ่านกรรมวิธีระเหยนำออกเกือบหมดเหลือน้ำอยู่เพียงม่เกินร้อยละ 3-4 การระเหยน้ำออกยิ่งมากยิ่งเก็บไว้ได้นาน นมประเภทนี้จะสูญเสียวิตามินบี 1 และวิตามินซีไป
• นมผงขาดมันเนย หรือ นมพร่องมันเนยเป้นนมผงที่สกัดไขมันออกบางส่วนราคาถูกกว่านมผงธรรมดามีไขมันและวิตามินน้อยกว่านมผงธรรมดา แต่มีโปรตีน แคลเซียม และสารอาหารอื่นเท่ากัน ไม่เหมาะสำหรับเด็ก
• นมผงดัดแปลงสำหรับทารก หรือนมที่มีลักษณะคล้ายนมมารดามีการเติมวิตามินดี เหล็ก วิตามินซีที่มีน้อยในนมมารดาลงไป
• นมคืนรูป คือ นมที่ได้จากการนำส่วนประกอบของนมสดที่แยกออกแล้วผสมขึ้นใหม่มีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับนมผง
• นมแปลงไขมัน คือ นมที่ได้จากนมวัว นมผง น้ำนมข้น หรือนมคืนรูปใช้ไขมันอื่นแทนมันเนยนิยมใช้ชงกับชา กาแฟ ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันปาล์มในการผลิตนมชนิดนี้
• นมปรุงแต่ง คือ นมสด นมคืนรูป หรือนมผง ที่ปรุงแต่งด้วยสี กลิ่น รส นมชนิดนี้เหมาะสำหรับด็กและคนทั่วไป แต่ไม่เหมาะสำหรับทารก
• นมเปรี้ยว ได้จากการนำนมวัวมาเติมเชื้อ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ไม่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเชื้อ จุลินทรีย์ที่ใช้นี้เป็นเชื้อที่พบได้ปกติในทางเดิน อาหารของเราแล้ว จึงนำนมเติมเชื้อจุลินทรีย์ แล้วไปบ่มที่อุณหภูมิ 45 – 50 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน 4-5 ชั่วโมง ระหว่างที่บ่มนี้เชื้อ จุลินทรีย์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และใช้น้ำตาล แลคโตส (แลคโตสเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติในนม) การที่จุลินทรีย์ใช้ น้ำตาลแลคโตส จะทำให้เกิดการสร้างกรดแล็คติคขึ้นมาเป็นผลให้นมมีรสเปรี้ยวเชื้อจุลินทรีย์ที่โรงงานผลิตนมเปรี้ยวนิยมใช้กัน ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียแล็คโตบาซิลัส และบิพีโดแบคทีเรีย บิพีดัม
o ประเภทของนมเปรี้ยว
1. นมเปรี้ยวชนิดผง ดัดแปลงมาจากน้ำนมวัวธรรมดา และคงคุณค่าของสารอาหารในน้ำนมได้ ทั้งด้านดปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และเกลือแร่ต่างๆ แต่ผ่านกระบวนการหมัก จนเกิดกรดที่มีรสเปรี้ยวเสียก่อน จึงนำมาทำให้แห้งเป็นผง นมเปรี้ยวชนิดนี้ใช้สำหรับเด็ก โดยใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารของเด็ก
2. โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากการหมักและตกตะกอนจับเป็นก้อนวุ้นข้นๆ ด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำได้ทั้งจากนมวัว แพะ แกะ อูฐ และควาย มีแหล่งกำเนิดในกลุ่มประเทศตะวันออกบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน แล้วไปนิยมแพร่หลายในยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง โดยความเปรี้ยวของนมเกิดจากจุลินทรีย์ที่เปลี่ยนน้ำตาลแลกโตสเป็นกรดแลกติกโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 3.8-4.6 มีกลิ่นเนย (buttery, diacetyl) และกลิ่นนัท (nutty, acetaldehyde) โดยมีการใช้เชื้อผสมระหว่าง Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus และ Streptococcus salivarius subsp. Thermophilus
โยเกิร์ตสามารถแบ่งได้ดังนี้
o แบ่งตามวิธีการผลิต คือ การผลิตโยเกิร์ตชนิดคงตัว (set yoghurt) โดยจะเพาะเชื้อในนมแล้วบรรจุลงในภาชนะบ่มจนกระทั่งนมมีลักษณะแข็งเป็นก้อนและการผลิตโยเกิร์ตชนิดคน (stirred yoghurt) จะเติมเชื้อในน้ำนมแล้วบ่มในถังหมัก เมื่อนมแข็งตัวเป็นก้อนแล้วจะปั่นเพื่อทำลายโครงสร้างตะกอนนม แล้วจึงบรรจุลงในภาชนะ
o แบ่งตามลักษณะกลิ่นรส คือ โยเกิร์ตชนิดธรรมดา (plain yoghurt) โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยผลไม้ (fruit yoghurt) และ โยเกิร์ตที่ปรุงแต่งด้วยสารสังเคราะห์ (flavoured yoghurt) ซึ่งโยเกิร์ตทั้ง 3 กลุ่มนี้อาจจะผลิตเป็นแบบชนิดคงตัวหรือแบบคนก็ได้
ขั้นตอนการผลิต
1. การเตรียมโยเกิร์ต โดยใช้นมสดปราศจากไขมันผสมกับนมสดนำมาฆ่า เชื้อที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส 15 นาที จากนั้นทำให้เย็นลงที่ 40 องศาเซลเซียส จึงใส่เชื้อโยเกิร์ต ลงไป ทิ้งไว้ 1 คืน จะเกิดเป็นโยเกิร์ต
2. การผสม ผสมกับน้ำเชื่อม และเติม สี กลิ่น รส
3. การทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenize)
4. การฆ่าเชื้อ (Pasteurize) ที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส
5. การทำให้เย็น
6. การบรรจุ
คุณประโยชน์ของโยเกิร์ต
1. โยเกิร์ตรักษาอาการท้องเสีย จุลินทรีย์ในโยเกิร์ตจะช่วยปรับสมดุล อาการท้องเสียจะหายไป จากงานวิจัยในญี่ปุ่น อเมริกา และประเทศแถบอาหรับหลายชิ้น แสดงให้เห็นว่าโยเกิร์ตสามารถป้องกันท้องเดินได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กทารก
– อิตาลีและรัสเซียจ่ายโยเกิร์ตในหอผู้ป่วยเด็ก สำหรับอาการท้องเสีย
– การศึกษาในปี 1963 ที่โรงพยาบาลนิวยอร์กพบว่าโยเกิร์ต 3 ออนซ์ หรือประมาณ 6 ช้อนโต๊ะต่อวัน ช่วยระงับอาการท้องเสียในทารกเร็วกว่ายาแก้ท้องเสียเคโอเพคติน-นีโอมัยซินถึงสองเท่า
– ในญี่ปุ่น ได้มีการทดลองให้ยาคูลท์ซึ่งเป็นโยเกิร์ตชนิดหนึ่งแก่เจ้าหน้าที่ 500 นายทุกวันเป็นเวลา 6 เดือน เทียบกับอีกกลุ่มที่ไม่ได้ทานโยเกิร์ต พบว่ากลุ่มที่ทานโยเกิร์ตไม่มีใครท้องเสียเลย ขณะที่อีกกลุ่มท้องเสียร้อยละ 10
– การทดลองในโปแลนด์พบว่าเด็กที่ทานโยเกิร์ตเป็นหวัดน้อยกว่าเด็กทั่วไป
– ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารสองนายของสถาบันวิจัยทางการแพทย์ โรงพยาบาลไมเคลิ รีส ในชิคาโก ทดลองให้เชื้อแลคโตบาซิลลัสในโยเกิร์ตแก่ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดินรุนแรงจำนวน 59 ราย พบว่า 57 ราย หายจากท้องเสียอย่างรวดเร็วเกือบทันที ขณะที่บางรายเคยรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมาแล้ว แต่ไม่ได้ผล
2. โยเกิร์ตยกระดับภูมิคุ้มกันโรค
การทดลองในปี 1985 พบว่า โยเกิร์ตช่วยกระตุ้นการสร้างสารแอนติบอดี้ และสารต้านโรคอื่นๆ เพิ่มปริมาณอินเตอร์เฟอรอนเป็นสามเท่า (อินเตอร์เฟอรอนเป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างโดยธรรมชาติ มันช่วยต่อสู้กับโรคติดเชื้อหลายชนิด) โยเกิร์ตมีฤทธิ์แรงพอกับยาสังเคราะห์ในท้องตลาดปัจจุบันคือ Lavaesole
3. โยเกิร์ตกับแผลในกระเพาะอาหาร
โยเกิร์ตอุดมด้วยสารไขมันธรรมชาติที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนที่เรียก พรอสตาแกนดิน อี 3 (Prostaglandin E3) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องผนังกระเพาะจากสารกระตุ้นหลายตัว เช่น แอลกอฮอล์และบุหรี่ ทุกวันนี้พรอสตาแกลนดิน อี ถูกสังเคราะห์จำหน่ายเป็นยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
แต่ ดร.ซามูเอล มันนีย์ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ค้นพบสารพรอสตาแกลนดินกล่าวว่า โยเกิร์ตมีสารตัวนี้น้อยกว่ายาที่ขายตามท้องตลาด ยิ่งโยเกิร์ตที่ทำจากนมพร่องมันเนยยิ่งมีพรอสตาแกลนดินต่ำมาก อย่างไรก็ตาม โยเกิร์ตสักถ้วยขณะท้องว่างย่อมเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีแผลในกระเพาะกว่าการไม่ทานอะไรเลย
4. เป็นแหล่งวิตามิน บี
โดยเฉพาะวิตามิน บี 1 (ไรโบฟลาวิน) แบคทีเรียในโยเกิร์ตยังช่วยสังเคราะห์วิตามิน บี และวิตามิน เค ในลำไส้
5. ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น
กรดแลคติคในโยเกิร์ตช่วยทำให้การย่อยแคลเซียมในนมดีขึ้น และทำให้ร่งกายดูดซึมแคลเซียมง่ายขึ้น
6. ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
แลคโตบาซิลัสช่วยควบคุมปริมาณคลอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรต์ในเลือดได้
7. ช่วยป้องกันมะเร็ง
แลคโตบาซิลัสสามารถจับสารก่อมะเร็ง สามารถจับกับโลหะหนัก และกรดน้ำดีซึ่งมัพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้
3. นมเปรี้ยวที่เป็นของเหลว มักจะทำมาจากนมขาดมันเนย และมีการเติมน้ำตาลลงไปเพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์เจริยเติบโตได้ดี เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้มักจะเป็น แลกโต บาซิลลัส แล้วปล่อยให้เกิดการหมักและย่อยนมบางส่วนจนกระทั่งมีรสเปรี้ยว จึงนำออกมาจำหน่าย
4. นมเปรี้ยวเทียม คือ น้ำนม ที่นำมาเติมกรดแลคติก หรือกรดอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดรสเปรี้ยว โดยไม่ผ่านการหมัก หรือเติมจุลินทรีย์ใดๆ แล้วปรุงแต่งสี กลิ่น รส แล้วนำออกมาจำหน่าย ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บในที่ที่เย็น และสามารถเก็บได้นานกว่านมเปรี้ยวธรรมดา
สารอาหารที่ได้รับจากการบริโภคนมเปรี้ยวจะแตกต่างกันออกไปตามนมที่นำมาใช้ในการทำ โดยแยกตามปริมาณของไขมัน มี 3 ระดับคือ นมเปรี้ยวที่มีไขมันสูง จะมีไขมันประมาณ 3% ขึ้นไป นมเปรี้ยวไขมันต่ำ จะมีไขมันปริมาณ 1.5 – 3% และชนิดที่มีไขมันน้อยมาก นอกจากนี้จะมีปริมาณโปรตีนประมาณ 12 – 18% ส่วนปริมาณคาร์โบไฮเดรทจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการปรุงแต่งรส และมีปริมาณเหล็กและทองแดงต่ำมาก คุณค่าทางโภชนาการของนมเปรี้ยว จึงขึ้นอยู่กับชนิดของนมที่นำมาใช้ และปรุงแต่งลงไป ถ้าทำมาจากนมสด คุณค่าจะเท่ากับนมสด ถ้าทำมาจากหางนมที่ได้สกัดไขมันออกจะมีคุณค่าทางโภชนาการน้อยลงไป จึงไม่ควรรับประทานนมเปรี้ยวเป็นอาหารหลัก
o การเลือกซื้อนมเปรี้ยว
การเลือกซื้อนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ควบคุม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนซื้อ ควรพิจารณาอ่านฉลาก ซึ่งต้องมีรายละเอียด คือ ชื่ออาหาร, เลขทะเบียน, ตำรับอาหาร, ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต, ปริมาณสุทธิ, ส่วนประกอบที่สำคัญ, วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุ, คำแนะนำในการเก็บรักษา และสิ่งเจือปน หรือเติมแต่งลงไป
o คำแนะนำในการบริโภคนมเปรี้ยว
เนื่องจากนมเปรี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่เติมสารจุลินทรีย์เข้าไป จึงจำเป็นต้องเก็บในที่ๆมีอุณหภูมิที่ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส และเก็บไว้ไม่เกิน 7 วัน และควรบริโภคให้หมดก่อนวันหมดอายุ หากเปิดภาชนะบรรจุแล้วบริโภคไม่หมดภายในวันเดียวควรเก็บไว้ในตู้เย็น และปิดผาให้มิดชิด การสังเกตลักษณะของนมเปรี้ยวที่ดี คือ ถ้าเป็นนมเปรี้ยวที่เป็นน้ำ ต้องไม่มีตะกอนหรือลักษณะเป็นก้อนๆ ที่ก้นขวด หรือภาชนะบรรจุ ถ้าเป็นโยเกิร์ต จะต้องอยู่ในลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว กลิ่นและรสไม่ผิดไปจากปกติ (ยกเว้นกลิ่นและรสที่ปรุงแต่งลงไป)
การบริโภคนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต จะได้รับกรดแลคติก ที่เกิดจากการหมักตัวของจุลินทรีย์ในนมเปรี้ยว ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสได้ดียิ่งขึ้น ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ที่กระเพาะมีปริมาณความเป็นกรดลดลง ทำให้อาหารไม่สามารถย่อยได้ดี การบริโภคนมเปรี้ยวจะช่วยปรับสภาพของกระเพาะอาหารให้เป็นกรดขึ้น และทำให้การดูดซึมอาหารดีขึ้น รวมทั้งป้องกันไม่ให้เชื้อโรคตัวอื่นๆรุกล้ำเข้าไปในระบบย่อยอาหาร และนอกจากนี้จุลินทรีย์ที่เติมในนมเปรี้ยวยังมีส่วนช่วยในการขับถ่ายอีกด้วยและจากที่นมเปรี้ยวบางชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมสด และนำมาสกัดไขมันออก จึงมีบางคนเข้าใจว่า เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ จึงใช้เป็นอาหารหลักในการลดน้ำหนัก ดังนั้นก่อนเลือกซื้อให้พิจารณาก่อนว่า การเลือกซื้อที่ปรุงแต่งเติมน้ำตาล และผลไม้ลงไป ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มพลังงานให้มากขึ้นด้วย แทนที่จะเป็นการลดน้ำหนัก ก้อาจจะเป็น การเพิ่มน้ำหนักโดยไม่ตั้งใจ การบริโภคนมเป็นสิ่งที่ดี ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน ดังนั้นการบริโภคนมเปรี้ยวจึงต้องพิจารณาวัตถุดิบที่นำมาผลิต รวมทั้งราคาเมื่อเทียบกับปริมาณของอาหาร และสารอาหารที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์อื่นๆในลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ถ้าท่านคิดจะบริโภคเป็นอาหารว่าง เพื่อเป็นการเปลี่ยนรสชาติบ้าง