ธุรกิจสอนการใช้คอมพิวเตอร์

ธุรกิจสอนการใช้คอมพิวเตอร์

 

ลักษณะธุรกิจ 

        ธุรกิจสอนการใช้คอมพิวเตอร์ คือ การให้บริการสอนวิธีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่การเปิด-ปิดเครื่องให้ถูกวิธี การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คีย์บอร์ด การใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ

 

วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ 

การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ 

ประเภทบุคคลธรรมดา

มีลักษณะเป็นกิจการที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา คนเดียวหรือหลายคน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ประเภทไม่จดทะเบียน

ผู้ประกอบธุรกิจสอนการใช้คอมพิวเตอร์ประเภทบุคคลธรรมดาไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

                ประเภทนิติบุคคล  บริษัทจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 

                   ผู้ประกอบการธุรกิจต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน

                                    กรุงเทพฯ  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 

และส่งจดทะเบียนธุรกิจกลาง 

                         สำนักทะเบียนธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์

                                    ต่างจังหวัด  ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด 

ที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่

ค่าธรรมเนียม

                                    จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

                        –  ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินสามคน                                     1,000     บาท

–  ผู้เป็นหุ้นส่วนเกินสามคน  ชำระเพิ่มสำหรับจำนวนในที่เกินอีก  คนละ 200     บาท

                                    จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

–  จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ                 500 – 25,000        บาท

–  จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด                                5,000 – 250,000      บาท

 

ภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม

                ผู้ประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525

จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ และ ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีป้าย

                ผู้ประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525

จะได้รับการยกเว้นภาษีป้ายที่ติดตั้งไว้หน้าสถานประกอบการ

               

กฎหมายและระเบียบเฉพาะธุรกิจ     

การขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน  และใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ  ครูใหญ่ และครู หากธุรกิจให้บริการสอนคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโรงเรียนตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 4 กล่าวคือ เป็นโรงเรียนเอกชน อันได้แก่สถานศึกษาหรือสถานที่ที่บุคคลจัดการให้การศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าขั้นปริญญาตรีแก่นักเรียนทุกผลัดรวมกันเกินเจ็ดคนขึ้นไป  ต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน และขออนุญาตการเป็นบุคคลากรประจำโรงเรียน

สถานที่ขออนุญาต      

กรุงเทพฯ   ยื่นขอต่อ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  กระทรวงศึกษาธิการ

ต่างจังหวัด ยื่นขอ ณ  สำนักงานศึกษาธิการอำเภอ/กิ่งอำเภอ แห่งท้องที่นั้น

                        ค่าธรรมเนียม           

ใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน                 ฉบับละ   1,000   บาท

                                           ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ            ฉบับละ        50   บาท

                                           ใบอนุญาตให้เป็นครูใหญ่             ฉบับละ        25   บาท

                                           ใบอนุญาตให้เป็นผู้จัดการ            ฉบับละ        15   บาท

นอกจากนี้ยังมีกฎและระเบียบด้านลิขสิทธิ์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม สวัสดิการและการคุ้มครองแรงงานที่ต้องถือปฏิบัติ

 

รายละเอียดการลงทุน

        ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเริ่มต้น

        จะแตกต่างกันตามขนาดและลักษณะของกิจการจากข้อมูลเฉลี่ยของการสำรวจการลงทุนเริ่มต้น

ของผู้ประกอบธุรกิจ จำแนกดังนี้

  • ค่าตกแต่งอาคาร เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน คิดเป็นร้อยละ 33
  • ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์การเรียน การสอน คิดเป็นร้อยละ 44 ประกอบด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์  พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จำเป็น  เป็นต้น
  • เงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนร้อยละ 23 ส่วนใหญ่เป็นค่าเช่าสถานที่  เงินเดือนครูผู้สอน เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปาและไฟฟ้า เป็นต้น 

                   

        อัตราผลตอบแทนทางการเงิน

        อัตราผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ และความสามารถในการบริหารธุรกิจของแต่ละผู้ประกอบกิจการ จากการสำรวจ พบว่า ผลตอบแทนที่ได้รับจากรายได้ทั้งปี ประมาณ ร้อยละ 3   ส่วนผลตอบแทนที่ได้จากเงินลงทุนทั้งหมด  ประมาณร้อยละ 4 ต่อปี   โดยจะได้รับเงินลงทุนทั้งหมดคืน ภายในระยะเวลาประมาณ 5  ปี

                       

 

การตั้งราคาและโครงสร้างราคาที่เป็นธรรม

           ปัจจัยการตั้งราคา

           ประกอบด้วย

  • ต้นทุน
  • ทำเลที่ตั้ง
  • ชื่อเสียงของโรงเรียน
  • ปริมาณผู้เรียน และระยะเวลาการสอน  ในแต่ละหลักสูตร
  • ค่าบริการของสถาบันสอนใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเดียวกันในท้องตลาดทั้งนี้ต้องไม่เกินกว่าราคาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

           โครงสร้างราคา

      คำนวณโดย ต้นทุนผันแปร  บวก  ต้นทุนคงที่จัดสรร  บวก กำไรที่ต้องการ

  • ต้นทุนผันแปร ประกอบด้วย ค่าจ้างอาจารย์พิเศษ เป็นต้น
  • ต้นทุนคงที่จัดสรร ประกอบด้วย  ค่าเช่าสถานที่   เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าเสื่อมราคาสิ่งปลูกสร้าง เครื่องมืออุปกรณ์

                 

 

การบริหาร/การจัดการ

           โครงสร้างองค์กร

           ประกอบด้วยงานหลักดังนี้

1.   ด้านการบริหาร รับผิดชอบด้านการเงิน บัญชี จัดซื้อ บุคคล ธุรการ ดูแลความสะอาดของร้าน ต้อนรับลูกค้า และบริหารงานทั่วไป

2.     ด้านการสอน คือ การจัดหลักสูตร สอน จัดหาอาจารย์ผู้สอน ดูแลด้านการเรียนการสอน และการออกใบรับรองเมื่อจบหลักสูตร

         พนักงานและการอบรมพนักงาน

        พนักงาน

            1. พนักงานประจำ เพื่อทำงานทั่วไปด้านการเก็บเงิน ต้อนรับลูกค้า ทำความสะอาด และสอน เป็นต้น โดยจำนวนจะขึ้นไปขนาดของสถาบัน

            2. สถาบันสอนใช้คอมพิวเตอร์ จะมีทั้งพนักงานประจำและพนักงานรายวัน โดยแบ่งเปอร์เซ็นจากค่าบริการที่เรียกเก็บกับลูกค้า

การอบรมพนักงาน

                        จะไม่มีการฝึกอบรมพนักงานใหม่ แต่จะคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ และจะให้เรียนรู้ระบบ หรือเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ตลอดเวลา   เพื่อสามารถปรับหลักสูตรได้สอดคล้องกันสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา                 

วิเคราะห์ข้อดี ข้อด้อย โอกาส และอุปสรรค

           ข้อดีและข้อด้อย

        ข้อดี

1.       เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน ใช้พนักงานน้อย

2.       ลงทุนต่ำ เครื่องมืออุปกรณ์ไม่แพง สามารถหาซื้อง่าย

3.       ธุรกิจค่อนข้างมั่นคง มีรายได้ประจำอย่างต่อเนื่อง

        ข้อด้อย

1.     ทำเลในย่านที่มีคนสัญจรไปมามาก ย่านการค้า ย่านธุรกิจ หรือย่านสถานศึกษาต่างๆ หายากและอัตราค่าเช่าสูง

2.     ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยากเล็กน้อยเนื่องจากต้องขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการ

3.     ต้องคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสอนพอสมควร

4.     ต้องลงทุนค่าเครื่องคอมพิวเตอร์สูงในช่วงแรกและเครื่องคอมพิวเตอร์ล้าสมัยเร็ว  

        โอกาสและอุปสรรค

        โอกาส

1.       คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

2.       สามารถให้บริการแก่กลุ่มผู้ใช้บริการทั่วไปและหน่วยงานธุรกิจ ตลอดจนลูกค้าชาวต่างประเทศ

3.       มีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ทำให้ต้องมีการฝึกอบรมการใช้งาน

4. ยังมีบุคลากรขององค์กรต่าง ๆ ที่ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกมาก และจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถใช้งานได้

        อุปสรรค

1.   ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้ใช้บริการขาดกำลังซื้อ

2.   ค่านิยมของคนไทยจะมีความมั่นใจและเชื่อถือสถาบันฝึกอบรมรายใหญ่ที่มีชื่อเสียงดี ทำให้ธุรกิจรายย่อยประสบความสำเร็จได้ยาก

3.   สถาบันการศึกษาทุกแห่งมีการเปิดสอนคอมพิวเตอร์ในขณะที่ตลาดมีการแข่งขันสูง ทำให้ต้องกำหนดค่าเล่าเรียนในอัตราต่ำ

4.    โปรแกรมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ใช้งานได้ง่าย ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

 

ข้อเสนอแนะ

   ด้านการบริหารจัดการ

1.      เจ้าของหรือผู้ประกอบกิจการจะต้องให้ความสำคัญและให้เวลากับการบริหารธุรกิจอย่างใกล้ต้องมีความรู้พื้นฐานในธุรกิจให้บริการของตนเอง และติดตามความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

2.       ต้องมีความเป็นผู้นำและพื้นฐานความรู้ด้านการบริหารจัดการ

3.         ส่งเสริมและให้โอกาสพนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจในลักษณะแบ่งปันผลประโยชน์จากรายได้

4.       ให้ความสำคัญกับการสรรหาและฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากร

5.       ให้ผลตอบแทนและสิ่งจูงใจที่เหมาะสมเพื่อให้แรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานของพนักงาน

6.       ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารหรือเสนอความคิดเห็น มีความรักและภักดีต่อองค์กร

7.       ดำเนินการให้ถูกต้องต่อกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

8.       จัดทำแผนธุรกิจที่เหมาะสม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

9.       ต้องให้ความสำคัญและเวลากับการบริหารอย่างใกล้ชิด

        ด้านการตลาด

                        การบริการและสถานที่ให้บริการ

                การบริการ

1.   ให้บริการที่ดีและเป็นกันเองกับผู้มาใช้บริการ

2.   สร้างตราหรือเครื่องหมายเพื่อให้ลูกค้าระลึกถึงและจดจำได้ง่าย

3.   สร้างมาตรฐานด้านการให้บริการและอัตราค่าบริการ

                        สถานที่ให้บริการ

1.   ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย, สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.   เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม สะดวกต่อการติดต่อ  เดินทางสะดวก

        การส่งเสริมการขาย

1.   ทำป้ายโฆษณาหน้าสถานบริการให้สะดุดตา

2.   ทำโบว์ชัว แผ่นพับ แนะนำบริการ แจกแก่กลุ่มเป้าหมาย

3.     ลงโฆษณาในสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและมีต้นทุนต่ำ

        ด้านบัญชีและการเงิน

1.       ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายประจำมากเกินไป

2.       มีโครงสร้างเงินลงทุนที่เหมาะสม ไม่ก่อภาระหนี้มากเกินไป

3.       บริหารการเงินอย่างเหมาะสมให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินสูง

4.       นำกำไรจากการดำเนินงานเป็นเงินทุนสำรองหรือสำหรับการขยายธุรกิจ

5.      แยกบัญชีระหว่างธุรกิจและส่วนตัวเพื่อสามารถควบคุมและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ถูกต้อง

6.       ควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง

7.      นำระบบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีมาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน

 

ขอรายละเอียดข้อมูลผ่านเครื่องโทรสาร หรือติดต่อสำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ

โทร 0-2547-5954-5  โทรสาร 0-2547-5954

 


ตัวอย่าง    รายละเอียดเงินลงทุนของธุรกิจสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

กด 1           รายการ                                                                                 จำนวน(บาท)

ค่าตกแต่งอาคารสำนักงาน                                                                                       74,000

เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน                                                

   – ชุดรับแขก                                                                                                                4,500

   – โต๊ะ/เก้าอี้                                                                                                                  6,000

   – ตู้เอกสาร/ตู้โชว์                                                                                                       5,000

   – เครื่องปรับอากาศ                                                                                                  84,000

   – โทรทัศน์                                                                                                                 12,000

   – ตู้เย็น                                                                                                                          6,200

   – เครื่องโทรสาร                                                                                                         8,000

   – เครื่องโทรศัพท์                                                                                                     13,600

   – เครื่องคิดเลข                                                                                                               700

   – เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ                                                                                                     7,000

             รวม                                                                                                                 147,000

ค่าเครื่องมือสำหรับการให้บริการ                                                     

   – เครื่องคอมพิวเตอร์                                                                                             245,000

   – เครื่องพิมพ์(Printer)                                                                                             16,000

   – โต๊ะคอมพิวเตอร์                                                                                                   16,000

   – เครื่องสแกนเนอร์(Scanner)                                                                                8,000

   – อื่นๆ                                                                                                                          5,000

                  รวม                                                                                                            290,000

   เงินทุนหมุนเวียน                                                                                                  150,000

          รวมเงินลงทุนทั้งหมด                                                                                   661,000

ที่มา  ประมาณการจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย ในช่วงเดือนธันวาคม

          พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544 และปรับรายการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนและ

          มีความจำเป็นต่ำออก

 

 

 

 

ตัวอย่าง  รายละเอียดรายรับ – รายจ่าย ของธุรกิจสอนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

รายการ                                                                                                    จำนวนเงิน(บาท)

รายรับ                                                                                                                          739,200

รายจ่าย                                                                                                    

   – เงินเดือนพนักงาน                                                                                               178,800

   – ค่าจ้างรายวัน                                                                                                            64,500

   – ค่าเช่าสถานที่                                                                                                        139,200

   – ค่าเช่ายานพาหนะ                                                                                                  12,000

   – ค่าเช่าเครื่องมืออุปกรณ์                                                                                         31,200

   – ค่าวัสดุสิ้นเปลือง                                                                                                    14,900

   – ค่าน้ำมัน                                                                                                                   12,000

   – ค่าน้ำประปา                                                                                                              5,076

   – ค่าไฟฟ้า                                                                                                                    61,800

   – ค่าโทรศัพท์                                                                                                              36,720

   – ค่าประกันภัย                                                                                                             2,420

   – ค่าภาษีต่างๆ                                                                                                                  520

   – ค่าต่อทะเบียน                                                                                                               210

   – ค่าทำบัญชี                                                                                                                  8,300

   – ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด                                                                                                 33,600

   – ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย                                                                    103,752

                รวม                                                                                                               704,998

กำไร(ขาดทุน)ก่อนหักภาษีเงินได้                                                                           34,202

หัก ภาษีเงินได้(30%)                                                                                                 10,261

กำไร(ขาดทุน)สุทธิ                                                                                                     23,941

ที่มา  ค่าเฉลี่ยจากผลประกอบกิจการปี พ.ศ.2543 ของผู้ประกอบกิจการจำนวน 10 ราย

          ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2543-มกราคม พ.ศ.2544

 

 

 

ตัวอย่าง การคำนวณราคา ผู้ประกอบกิจการสอนใช้คอมพิวเตอร์รายหนึ่งลงทุนเช่าอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 1 คูหา อายุสัญญา 5 ปี ค่าเช่าเดือนละ 22,000 บาท มีพนักงานประจำ 3 คน และมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

 

1.     ต้นทุนคงที่

1.1  ต้นทุนคงที่ที่เป็นตัวเงิน (ต่อปี)

(1) ค่าเช่าอาคารสถานที่                                                     =             264,000                 บาท

(2) เงินเดือนพนักงาน                                                       =             150,000                 บาท

(3) ค่าไฟฟ้า                                                                          =               48,000                 บาท

(4) ค่าน้ำประปา                                                                  =                 1,200                  บาท

(5) ค่าโทรศัพท์                                                                    =              84,000                 บาท

                รวม                                                                         =             547,200                 บาท

1.2  1.2    ต้นทุนคงที่ที่ไม่เป็นตัวเงิน

(1)     ค่าตกแต่งภายใน 60,000 บาท

คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                         =            12,000                     บาท

                                (2) ค่าเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้สำนักงาน 180,000 บาท

                                      คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                           =             36,000                   บาท

(3)     ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ 219,000 บาท

คิดค่าเสื่อมราคาร้อยละ 20                                         =           43,800                      บาท

                                                 รวม                                                                        =           91,800                      บาท

                                                รวมต้นทุนคงที่ทั้งหมด                                      =          639,000                    บาท

 

2.     ประมาณการจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการต่อปี

2.1 ในเวลา 1 เดือนสามารถให้บริการได้                               =                  50                      คน

2.2 ในเวลา 12 เดือนสามารถให้บริการได้                             =               600                       คน

2.3 ประมาณการมีลูกค้ามาใช้บริการร้อยละ 80                     =               480                       คน

     

                3.  ต้นทุนคงที่จัดสรรต่อคน                              =  639,000            = 1,331.25                            บาท

                                                                                        480

 

                4.  ต้นทุนผันแปรต่อคนต่อหลักสูตร (1 หลักสูตรมีผู้เรียน 10 คน)

                                4.1 ค่าอาจารย์พิเศษ 12 ชั่วโมง ๆ ละ 200 บาท              =             2,400                      บาท

                                4.2 ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อคน                                          =                 240                     บาท

 

                5.  ต้นทุนทั้งหมดต่อคน                     =   1,331.25 + 240               =             1,571.25                บาท

 

                6.  ผู้ประกอบกิจการต้องการมีกำไรร้อยละ 30 ของต้นทุนทั้งหมด            =   471.37              บาท

 

                7.  ผู้ประกอบกิจการตั้งราคาให้บริการหลักสูตรนี้ต่อคน            = 1,571.25+471.37  = 2,042.62       บาท

                                                                                                หรือประมาณ       =           2,100                        บาท

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *