ธนาคารต้นไม้: เปลี่ยนต้นไม้เป็นเม็ดเงิน

ธนาคารต้นไม้: เปลี่ยนต้นไม้เป็นเม็ดเงิน
“ต้นไม้” ถือเป็นสินทรัพย์ที่รัฐรับรองว่ามีมูลค่าเป็นตัวเงิน และผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ อันเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ และภาคประชาชนที่ต้องการแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ช่วยปรับเปลี่ยนค่านิยมและสร้างมูลค่าให้กับไม้ที่ มีชีวิต เกิดประโยชน์ที่แตกยอดต่อสาขาจากระดับชุมชนไปถึงระดับโลก
ธนาคารต้นไม้ เกิดจากความร่วมมือกันของอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาพะโต๊ะ-หลังสวน และหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ ที่ต้องการช่วยเหลือเกษตรกรมากกว่าครึ่งที่ประสบปัญหาความยากจนและปัญหา หนี้สิน ทำให้ที่ดินติดจำนองและถูกยึดในที่สุด เกิดปัญหาเกษตรกรขาดแคลนที่ดินทำกิน พื้นที่เพาะปลูกของประเทศไทยจะกลายเป็นของนายทุนชาวต่างชาติ ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมตามมา
ธนาคารต้นไม้จะตี มูลค่าต้นไม้ที่ประชาชนนำมาลงทะเบียนให้เป็นเงิน แปรเป็นทรัพย์สิน สามารถนำไปทดแทนเงิน ใช้เพื่อประกันหนี้สิน ชำระหนี้ ประกันตัว รับรองเครดิตเงินกู้ ฯลฯ ได้ถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าของต้นไม้ได้รับการรับรองสิทธิเป็นเจ้าของทั้งต้นไม้และที่ดิน สามารถคิดมูลค่า รวมถึงตัดต้นไม้มาใช้สอยและทำการค้าได้

ขั้นตอน คือ เจ้าของนำต้นไม้ไปขึ้นทะเบียนต้นไม้ประเภทที่ใช้เนื้อไม้ได้กับธนาคารต้นไม้ ในรูปแบบบัญชีธนาคาร หากต้นไม้ที่ปลูกมีสภาพเหมาะสมตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ รัฐจะจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ปลูกต้นละ 100 บาท และราคาจะเพิ่มขึ้นปีละ 100 บาททุกๆ ปี หากไม้อายุ 11-20 ปี ราคาจะขึ้นแบบเท่าตัว ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะตีมูลค่าตามประเภทไม้ ความสูง อายุ การดูแลรักษา มูลค่าเพิ่มของไม้ในอนาคต การดูดซับคาร์บอนฯ การเกื้อกูลระบบนิเวศ และคุณค่าของต้นไม้ที่ช่วยป้องกันความเสียหายจากภัยพิบัติตามธรรมชาติต่าง ๆ
ถือว่าได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย เพราะหากรัฐจะปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าเอง รัฐจะต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 100 บาทต่อต้น การปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนเองนอกจากเป็นการป้องกันการสูญเสียที่ดินทำกิน แล้ว ยังเป็นการขยายพื้นที่ป่าไปด้วยในตัว รวมทั้งช่วยสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศ ปรับปรุงสภาพดิน และช่วยลดปัญหาโลกร้อนอีกด้วย
ธนาคารต้นไม้ยังคงมุ่งขยายสาขา ต่อไปเพื่อเผยแพร่แนวความคิดและค่านิยมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สี เขียว โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายสาขาให้มากกว่า 80 สาขา ภายในปี 2555 ด้วยจำนวนต้นไม้อย่างน้อย 9,999,999 ต้น เริ่มจากจังหวัดชุมพรแล้วขยายเครือข่ายไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันเฉพาะในจังหวัดชุมพรที่เป็นจังหวัดนำร่องและพื้นที่ใกล้เคียงมี ธนาคารต้นไม้กว่า 60 สาขา สร้างมูลค่าได้หลายสิบล้านบาท
สิ่งตอบ แทนที่สำคัญอีกอย่างที่ได้รับจากธนาคารต้นไม้คือ เกิดการสร้างงานและความสามัคคีในชุมชน เจ้าของที่ดินจ้างเพื่อนบ้านมาช่วยกันปลูกและดูแลต้นไม้ บ้างก็ช่วยกันปลูกโดยไม่คิดค่าตอบแทน มีการฝากขายจ่ายแจก และแลกเปลี่ยนพันธุ์ต้นไม้กันในหมู่สมาชิก
ธนาคารต้นไม้ถือ เป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมในการจัดการกับทั้งปัญหาโลกร้อนและความยากจนอย่าง สร้างสรรค์ เพราะถ้าปลูกต้นไม้แล้วมีแต่ได้กับได้สำหรับทุกฝ่ายแบบนี้ คงไม่ใช่เพียงความฝันที่เราจะได้เห็นเมืองไทยกลับมาเขียวชอุ่มอีกครั้ง
ข้อมูลจาก www.treebankthai.com, treebank.multiply.com และ www.tvburabha.com

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *