ที่ดิน นส.3ก แตกต่างกับโฉนดอย่างไร

ที่ดิน นส.3ก แตกต่างกับโฉนดอย่างไร

โฉนด เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ส่วน นส.3 ก เป็นหนังสือสำคัญแสดงสิทธิครอบครอง ในความหมายของคนทั่วไป ไม่ว่าจะกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองก็เป็นเจ้าของทั้งคู่

แต่ในทาง “กฎหมาย” นั้นการมีกรรมสิทธิ์กับสิทธิครอบครองจะแตกต่างกันนะครับ ที่ดินที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน) ตามมาตรา 2 ป.ที่ดินถือว่าเป็นของรัฐ

ข้อแตกต่างอีกเรื่องคือเรื่องการสูญเสีย ถ้าที่ดินมีกรรมสิทธิ์การสูญเสียจะยาก เพราะว่ากรรมสิทธิ์จะมั่นคงใครมาแย่งกรรมสิทธิ์
ต้องใช้อายุความถึง 10 ปี (ครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382)

แต่ถ้าที่ดินนั้นมีเพียงสิทธิครอบครอง การสูญเสียจะง่ายกว่า เพราะสิทธิครอบครองจะเบากว่าหากมีคนมาแย่งการครอบครองจะใช้อายุความ 1 ปี (เขาไม่เรียกว่าการครอบครองปรปักษ์ เพราะจะครอบครองปรปักษ์ได้จะต้องเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น)

นส.3 ก ก็เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกประเภทก็คือ นส.3 กับ นส.3 ข ทั้งสองประเภทนี้ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ

นส.3ก ไม่มีหลักเขตที่ดิน เวลาซื้อขายที่ดินต้องประกาศ30วัน ถ้าไม่ใครคัดค้านก็ซื้อขายได้ นส.3ก ถ้าโดนบุกรุก 1ปีอาจเสียสิทธิ์การคลอบครอง โฉนดโดนบุกรุก7 ปีถึงเสียสิทธิ์ครับ ในเรื่องการโอนเช่นการซื้อขายที่ดินไม่ว่าจะเป็นที่ดินมีโฉนดหรือ นส. 3 ก นั้นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบ มาตรา 4 ทวิ ป.ที่ดิน

แต่ นส. 3 ก นั้น ถึงแม้ไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันทำให้นิติกรรมการโอนเป็น “โมฆะ” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่เนื่องจากมันเป็นที่ดินมีสิทธิครอบครองจึงสามารถโอนกันได้ด้วยการส่งมอบการครอบครอง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597/2542) เป็นการนำเอามาตรา 174 ป.พ.พ. มาปรับใช้

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *