ทฤษฏีขนมปังหน้าคว่ำ ความรู้สึกการจดจำและทฤษฏีสถิติ

ทฤษฏีขนมปังหน้าคว่ำ ความรู้สึกการจดจำและทฤษฏีสถิติ

1. ทฤษฏีขนมปังหน้าคว่ำ เกิดจากการที่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อไรที่ท่านเอาขนมปังแผ่น มาทาแยมไว้ด้านหนึ่ง เมื่อไรที่ขนมปังหล่นลงพื้น ขนมปังมักจะเอาหน้าที่ทาแยมลงพื้นเสมอ?
การถกเถียงเรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน
ยกตัวอย่างว่า ถ้าเป็นท่าน ท่านคิดว่าทฤษฏีนี้จริงหรือไม่??!!!

จริง!!!!… ถ้าท่านตอบแบบนี้ล่ะก็ ไปดูผลกัน

สุดท้ายทฤษฏีที่ถกเถียงกันมากนี้ ได้มีการพิสูจน์ โดยนำขนมปังทาแยม มาทดสอบโดยการโยนเป็นจำนวนกว่า 10,000 ครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลทางสถิติว่า ความเป็นจริงที่คนเข้าใจว่า ขนมปังมักเอาหน้าที่ทาแยมลงพื้นนั้น จริงหรือไม่

ผลจากการทดลองทางสถิติปรากฏว่า ด้านที่ทาแยมมีอัตราการคว่ำหน้าลงสู่พื้น พอๆกับด้านที่ไม่ได้ทาแยม

ข้อสรุปจากทฤษฏีขนมปังคว่ำ มีข้อสรุปว่า ทฤษฏีขนมปังหน้าคว่ำ โยงไปถึงเรื่องของความรู้สึก และการเลือกที่จะจดจำของมนุษย์อย่างชัดเจน นั่นหมายความว่า เมื่อใดที่ขนมปังคว่ำ โดยที่เอาหน้าแยมลงเพียง
ครั้งเดียว ท่านจะรู้สึกว่ามันเลวร้าย และเป็นที่น่าจดจำมากกว่าการที่ขนมปังเอาหน้าที่ไม่ได้ทาแยมลงพื้น!!!!

2. ทฤษฏีความรู้สึก และการเลือกจดจำ จากการตั้งสมมติฐาน และการทดลองในทฤษฏีขนมปังหน้าคว่ำ ทำให้เราพบว่า สิ่งที่แปลกไม่ได้อยู่ที่ขนมปัง แต่เป็นเรื่องของความรู้สึก และการเลือกจดจำของมนุษย์มากกว่า โดยเฉพาะ มนุษย์จะจดจำช่วงเวลาเลวร้ายได้เป็นอย่างดี และชัดเจนกว่าเรื่องอื่นๆ และช่วงเวลาดีๆรองลงมา และมักหลงลืมเรื่องธรรมดาที่แสนจะธรรมดาไปแทบจะสิ้นเชิง เพราะสิ่งเหล่านี้มีการกระทบต่อความรู้สึกแตกต่างกัน

3. ทฤฏีทางสถิติ สิ่งที่เกิดขึ้นจริงนั้นแตกต่างกันอย่างไร และพิสูจน์ทฤษฏีความรู้สึกไปด้วย เหมือนตัวอย่างขนมปังคว่ำ

เมื่อไรที่ สิ่งที่ท่านคิดขึ้น ต่างจากความเป็นจริง อาจกล่าวได้ว่า บางทีตัวแปรสำคัญไปอยู่กับ ทฤษฏีของความรู้สึก และการเลือกจดจำเป็นหลัก

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *