ตัวชี้วัดความสำเร็จของเด็ก คือ เอคิว /AQ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของเด็กตั้งแต่ ปี 2000 คือความสามารถในการต่อสู้ ความยากลำบากหรือเอคิว AQ เพราะปัจจุบันความสามารถทางสติปัญญาและอารมณ์ ไม่เพียงพอแล้ว ในช่วงปีเศษที่ผ่านมา เอคิว (AQ) ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ในแวดวงจิตวิทยาและ เป็นสิ่งที่จะมาแทนไอคิวและอีคิวที่เคยเป็นที่รู้จักกันจนกล่าว ได้ว่าเอคิวเป็นแนวโน้มของสหัสวรรษ ใหม่ที่กำลังจะมาถึง ผู้ที่บัญญัติศัพท์นี้ขึ้นมาคือ ดร. พอล จี. สตอยต์ซ นักบริหารบุคคล ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง ทั้งนี้ดร.สตอ ยต์ซเห็นว่า ที่ผ่านมามีเครื่องมือวัดความสามารถของบุคคล ซึ่งรู้จักกัน แพร่หลาย 2 อย่างคือ ไอคิว หรือ Intelligence Quotient หรือ ความสามารถทาง สติปัญญา ซึ่งได้รับการบัญญัติขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 แต่ต่อมาพบว่า คนที่มีไอคิวสูงไม่ได้หมายความว่า จะประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไป เพราะเคยมีงานวิจัยพบว่า ไอคิวมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิตเพียง 20 % จึงมีผู้คิดค้นปัจจัยแห่งความสำเร็จขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือ
อีคิว หรือ Emotion Quotient หรือ ความสามารถทางอารมณ์ ซึ่งประกอบไปด้วย ความสามารถในควบคุมอารมณ์ตัวเองไว้ได้อย่างหนักแน่น และคงเส้นคงวา รวมทั้งรับรู้ อารมณ์คนอื่นและอารมณ์ตัวเอง ที่จะก่อให้เกิดความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจสู่ความ สำเร็จ แต่ในเวลาต่อมาก็มีการค้นพบอีกว่าคนที่มีอีคิวสูงใช่ว่าจะประสบ ความสำเร็จในชีวิตเสมอไป จึงเป็นเหตุจูงใจให้ ดร.สตอยต์ซคิดค้นเอคิวขึ้นมาใหม่
“เราพบว่าคนรุ่นใหม่ เจอปัญหาอะไรนิดหน่อยก็โวยวาย เนื่องจาก โลกยุคใหม่ โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ให้แก่มนุษย์ มากมาย ชีวิตไม่เคยประสบความยากลำบาก เมื่อเจอปัญหาก็แก้ไม่เป็น” และ ขณะนี้คนไทยก็กำลังก้าวไป ในแนวทางเดียวกับคนในประเทศ ตะวันตก โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่เคยเผชิญกับความยากลำบากในชีวิต ขณะที่ในอดีตนั้น คนไทยส่วนใหญ่ต้องอยู่ในสภาพปากกัดตีนถีบ ทำมาหากินกันเต็มที่ เด็กๆ แม้ต้องเรียนหนังสือ แต่ก็ต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน ทั้งงานบ้านและทำมาหากิน เมื่อเด็กกลุ่มนี้ เติบโตและทำงานมีรายได้สูงกว่าคนในรุ่นพ่อแม่ ก็อยากให้ตัวเองและลูกหลานสบาย มีเงิน ทองก็ซื้อหาวัตถุมาปรนเปรอลูกหลาน นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่มีการคิดค้นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกขึ้นมา มากมาย ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยรุ่นใหม่เติบโตขึ้น ท่ามกลางความสะดวกสบาย และทำอะไรไม่เป็น และเมื่อเจอความยากลำบาก นอกจากจะแก้ไม่เป็นแล้ว ยังต้องการให้ปัญหาหายไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย หลายคนจึงหันไปหายาเสพย์ติดเพื่อลืมความทุกข์ หลังจากที่สังคมตะวันตก พบความสะดวกสบายกันมานาน ขณะนี้ก็เริ่มที่จะโหยหาความ ยากลำบาก ในชีวิตมากขึ้น เพราะมองว่าจะช่วยแก้ไขและกระตุ้นให้คนของเขา ประสบความสำเร็จในชีวิต ขณะที่ความยากลำบากต่างๆ ในบ้านเรา ยังมีอีกมากแต่เราพยายามลืมไป ดังนั้นเราจึงควรมาคิดกันว่า ทำอย่างไรจึงสามารถส่งผ่านความลำบากที่คนรุ่นเก่าเคย ประสบ ไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานได้
“ดร.สตอยต์ซมองว่า ชีวิตเหมือนกับการปีนเขา ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความยากลำบาก มากมาย จึงจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นสิ่งท้าทาย หรือเป็น โอกาสในการก้าวไปข้างหน้าหรือขึ้นไปให้สูงยิ่งขึ้น” ดังนั้น พ่อแม่ซึ่งเคยผ่านความยากลำบากมาก่อน จึงต้องพยายามผลักดันให้ลูกได้เรียนรู้ ความยากลำบากบ้าง โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำงานด้านต่างๆ แทนที่จะปล่อยให้เที่ยวเล่น อย่างไร้สาระ
“น่าสังเกตว่า ขณะนี้มีคนที่มีไอคิวสูงและอีคิวสูงมากอยู่แล้ว แต่คนที่มีเอคิวสูง หรือเป็นคน สู้ชีวิตยังมีน้อยเกินไป”
ที่มาของเอคิวว่า มาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นก็จะก่อให้เกิด การตอบสนอง เมื่อมีสิ่งกระตุ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาต่างๆ อยู่เรื่อย ก็จะฝังแน่นอยู่ในจิตใต้สำนึก กลายเป็นนิสัยหรือสันดานของการสู้ไม่ถอย
“มีผลการวิจัยทางการแพทย์รับรองว่า คนที่มีเอคิวสูง หรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงไม่ค่อยเจ็บป่วย ถึงเจ็บป่วยก็จะฟื้นตัวเร็วแม้จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคเอดส์หรือมะเร็ง หากมีกำลังใจที่ดีและมีจิตใจแห่งการต่อสู้ ก็มีโอกาสยืดชีวิตให้ยืนยาว มากขึ้น ส่วนคนที่ขาดเอคิวหรือคนที่ต่อสู้กับความยกลำบากไม่ได้ มักรู้สึกพ่ายแพ้อยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นมากๆ ขึ้นก็จะกลายเป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตายในที่สุด”

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bbznet.com/scripts2/view.php

Tags:

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *