ตะแกรงสามอัน
ตะแกรงสามอัน
มีคนคนหนึ่งกระหืดกระหอบไปหานักปรัชญาท่านหนึ่ง
แล้วพูดขึ้นมาว่า “ข้ามีข่าวจะมาบอกกับท่าน”
นักปรัชญาชิงพูดขึ้นมาก่อนว่า
“เรื่องที่ท่านจะเล่าร่อนผ่านตะแกรงมาสามครั้งแล้วหรือยัง?”
ชายคนนั้นไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร? จึงถามขึ้นว่า
“ตะแกรงสามอัน ตะแกรงสามอันไหน?”
“ตะแกรงอันแรกคือ ความจริง ข่าวที่ท่านจะเล่าเป็นความจริงหรือเปล่า?”
ชายนั้นตอบว่า “ไม่รู้เหมือนกัน ข้าฟังมาจากที่เขาเล่า”
นักปรัชญาพูดต่อว่า “ตอนนี้เจ้าไปลองใช้ตะแกรงอันที่สองไปตรวจสอบดู
ข่าวที่ท่านจะบอกข้า แม้จะไม่ใช่ความจริง แต่ก็ควรจะเป็นข่าวที่มีเจตนาดี”
ชายนั้นลังเลสักครู่แล้วพูดว่า “ไม่ เป็นเจตนาตรงข้ามกันเลย”
นักปรัชญาพูดต่อว่า “ถ้าอย่างนั้นเราใช้ตะแกรงอันที่สาม
ข้าจะถามเจ้าอีกครั้ง ข่าวที่ทำให้เจ้าเร่งรีบอย่างนี้เป็นข่าวสำคัญหรือเปล่า?”
ชายคนนั้นรู้สึกเขินนิดๆ แล้วตอบว่า “ไม่ได้สำคัญอะไร?”
นักปรัชญานั้นพูดต่อว่า “เรื่องที่เจ้าจะเล่าให้ข้าฟัง ไม่ใช่เรื่องจริงแล้วก็
ไม่ได้มีเจตนาดี แล้วก็ไม่สำคัญ งั้นก็อย่าเล่าเลย ข่าวนั้นจะได้ไม่รบกวนจิตใจ
ทั้งของเจ้าและของข้า”
อย่าได้เชื่ออะไรง่ายๆต่อคำพูดที่มีผู้พูดให้ร้ายคนอื่น
นอกจากเจ้าจะรู้จริงๆว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง
และไหนๆถ้าเจ้ารู้ความจริงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องนี้ไปเล่าให้คนอื่นฟัง
นอกจากเจ้าจะคิดว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องบอกให้ผู้อื่นรับรู้
และขณะที่เจ้าพูด พึงนึกไว้เสมอว่า เบื้องบนก็กำลังฟังเรื่องราว
จากปากของเจ้าเหมือนกัน
มีคำพังเพยบทหนึ่งกล่าวว่า
“คำพูดดีๆหนึ่งคำอาจทำให้คนหัวเราะได้
คำพูดร้ายๆหนึ่งคำก็อาจทำให้คนกระโดดขึ้นมาได้เหมือนกัน”
บ่อยครั้งที่คำพูดของเราทำให้ผู้อื่นได้รับผลประโยชน์หรือเปล่า?
หรือทำความเสียหายให้ผู้อื่น? หากก่อนจะพูดได้ผ่านการไตร่ตรอง
มาครั้งหนึ่งก่อนแล้วเจ้าจะรู้ว่า มีหลายๆคำพูดที่ไม่มีความจำเป็นต้องพูดออกมา
การฝึกฝนเช่นนี้บ่อยๆจะทำให้เราสามารถควบคุมลิ้นของเรา
ไม่ให้พูดเพ้อเจ้อออกมา
แล้วไปทำร้ายผู้อื่น เมื่อคนเราสามารถควบคุมลิ้นได้
ก็สามารถควบคุมทุกอย่างในตัวได้
ในคัมภีร์ก็มักพูดว่า
“พูดมากอาจผิดพลาดได้ง่าย รู้จักสงบวาจาคือการมีปัญญา
ต่อแต่นี้ไป ขอให้เจ้าระวังสิ่งที่เจ้าจะพูดออกมา
ก็จะทำให้นาวาชีวิตของเจ้ามุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ต่างจากเดิม