ดีเอสไอ’ โรดโชว์รู้เท่าทัน กลโกง 18 มงกุฎแชร์ลูกโซ่ ดึงภาครัฐ/เอกชนแนวร่วม

ดีเอสไอ’ โรดโชว์รู้เท่าทัน กลโกง 18 มงกุฎแชร์ลูกโซ่ ดึงภาครัฐ/เอกชนแนวร่วม

นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านอำนวยความยุติธรรม ปลัดกระทรวงยุติ ธรรม เปิดเผยว่า กิจกรรมการเผย แพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับอาชญา กรรมคดีพิเศษ
ในหัวข้อเรื่อง “ทำอย่างไร…ไม่ตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแผนธุรกรรมของผู้กระทำความผิดตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกง พ.ศ. 2547 ในลักษณะแชร์ลูกโซ่ และแนวทางการป้องกันตนเอง รวมถึงบุคคลในครอบครัว ชุมชน สังคม ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแชร์ลูกโซ่
ตลอดจนการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับช่องทางการติดต่อสื่อสารกับพนักงานเจ้าหน้าที่ หากพบเห็นการกระทำผิด ตลอดจนวิธีการสังเกต และการเก็บพยาน หลักฐาน ในเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีการ เผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนทั่วประเทศ
ในปัจจุบัน ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ มีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง ให้เข้าร่วมกิจการธุรกิจที่ผิดกฎหมายได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้าม การจัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ ความรู้ เกี่ยวกับการกระทำผิดตามพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ในลักษณะแชร์ลูกโซ่นับว่าเป็น การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเชื่อได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม และเข้าร่วมกิจกรรม ในครั้งนี้ ได้นำสิ่งที่ได้รับไปเผยแพร่อย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมาชิกเครือข่าย ยุติธรรมที่มีอยู่ทั่วประเทศ สามารถนำไปขยายผล ช่วยกันเฝ้าระวังไม่ให้บุคคลที่ตน รู้จัก หรือ คนในสังคม หลงเชื่อในพฤติกรรม ของผู้กระทำผิด และหากมีการพบเจอ สิ่งผิดสังเกต ขอให้แจ้งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป
พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดี ดีเอสไอ เผยว่า การฉ้อโกงประชาชนในลักษณะแชร์ลูกโซ่ มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนารูปแบบการกระทำความผิดอย่างรวดเร็ว และมีการวางแผนที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2550-2552 ดีเอสไอไดมีการรับคดีแชร์ลูกโซ่ไว้เป็นคดีพิเศษ 20 คดี มีผู้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 1.5 พันล้านบาท ไม่รวมผู้ที่ได้รับความเสียหายแต่ไม่กล้าแสดงตัวร้องทุกข์ อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงขอแจ้งข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อสังเกตไปยังประชาชนถึงรูปแบบทั่วไปของแชร์ลูกโซ่ ที่มักจะใช้วิธีจูงใจให้ร่วมลงทุน โดยเสนอผลตอบแทนสูงภายในระยะเวลาอันสั้น และใช้เทคนิคแอบอ้างบุคคลสำคัญ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในการขยายเครือข่าย ซึ่งประชาชนควรระมัดระวัง
นายพงศ์พสุ อุณาพรหม ตัวแทน บริษัท กิฟฟารีนฯ เผยว่า ข้อสังเกตถึงความ แตกต่าง ระหว่างธุรกิจขายตรงกับแชร์ลูกโซ่ คือ ธุรกิจขายตรงจะเน้นการแนะนำ สินค้า เพื่อนำไปอุปโภคบริโภค มีการซื้อขายสินค้าจริง ส่วนแชร์ลูกโซ่เน้นการระดมเงินและขยายสมาชิก จูงใจว่าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนสูงในระยะเวลาเพียง ไม่นาน ที่สำคัญแชร์ลูกโซ่มักจะไม่กระจาย สาขาไปยังจังหวัดต่างๆ มีเพียงสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ ทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ผ่านสถาบัน การเงิน ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ และมีหน้าร้านเพียงในหน้าจออินเตอร์เน็ต เพื่อให้การปิดสำนักงานหนีทำได้ง่ายขึ้น
ด้านดร.สุดาวดี กิตติโพวานนท์ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแชร์ลูกโซ่ เปิดเผยว่า แชร์ยางพาราใน จ.ขอนแก่น ทำให้มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งยังขยายวงกว้างไปกว่า 17 จังหวัด ไม่เพียงตนเท่านั้น ที่หลงเชื่อ แม้แต่ผู้การจังหวัด ภรรยาทนาย ความ นักธุรกิจชื่อดัง ต่างสูญเงินจำนวนมาก ยังมีพระสงฆ์ใน จ.อุดรธานี ก็ยังสูญเงินกว่า 5 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงเงินทอดกฐินให้กับแชร์ลูกโซ่ชื่อดังของภาคอีสานอีกด้วย ซึ่งการขยายเครือข่ายสมาชิก กลุ่มไฮโซจะหาสมาชิกผ่านคนใกล้ชิด และ การพูดในลักษณะปากต่อปาก ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกได้ผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 6 ต่อเดือน ต่อมาบริษัทจะเสนอจ่ายผลตอบแทนเพิ่มเป็นร้อยละ 8 ต่อเดือน ทำให้มีคนหลงเชื่อนำเงินมาลงทุน เป็นจำนวนมาก โดยบางรายถึงกับขายเครื่องเพชรของมีค่า เพื่อนำเงินมาลงทุนกว่า 10 ล้านบาท บางรายนำเงินสินสอดที่เตรียมไว้ไปแต่งงานมาลงทุนกว่า 8 แสนบาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1034 ประจำวันที่ 23-9-2009 ถึง 25-9-2009

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *