ดร. อัน หวาง ตอน 4 (จบ)
|ดร. อัน หวาง ตอน 4 : จุดพลิกผันธุรกิจ
จุดพลิกผันของธุรกิจ
ในช่วงแรก หวาง แลบอราทอรีส์ ได้ผลิตและจำหน่ายเครื่องคิดเลขที่ใช้งานง่าย สามารถขยายและยกระดับได้ โดยไม่จำเป็นต้องมาเผชิญปัญหาเกี่ยวกับความล้าสมัยและความไม่สามารถสนองความต้องการของเทคโนโลยีได้ แม้ว่ามันจะทำให้ หวาง แลบอราทอรีส์ เป็นที่รู้จักอย่างที่
แพร่หลายในตลาดหุ้นวอลล์สตรีทและประชาคมทางธุรกิจโดยทั่วไป แต่ดร. อัน หวาง ก็เห็นว่าต่อไปแนวโน้มราคาของเครื่องคิดเลขจะต่ำลงและจะมีการแข่งขันทางด้านราคาอย่างมาก ผู้ชนะได้จะต้องทุ่มเทรุนแรงมากและกำไรที่ได้ก็จะมีเพียงนิดเดียว เนื่องจากมีสัญญาณจากการปรากฎตัวของ
เซมิคอนดักเตอร์ ชิป ซึ่งสามารถบรรจุเอาวงจรของเครื่องคิดเลขไว้ได้ทั้งหมดเป็นแผงวงจรที่มีลักษณะเป็นหน่วยสมบูรณ์ขนาดใหญ่
ดังนั้นดร. อัน หวางจึงตัดสินใจหนีออกมาจากธุรกิจเครื่องคิดเลขและได้ให้ความสนใจกับการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์แทน ต่อมาเมื่อ หวาง แลบอราทอรีส์ ได้ผลิตและจำหน่ายคอมพิวเตอร์ระบบประมวลผลถ้อยคำด้วยเครื่องออกสู่ตลาด ก็ได้มีความต้องการจากตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หวาง แลบอราทอรีส์ ได้ผลิต WPS และขายไปให้ 1,000 บริษัทยักษ์ใหญ่ตามการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูน ซึ่งทำให้หวาง แลบอราทอรีส์ มียอดขายที่สูงอย่างมาก และ ส่งผลให้หวาง แลบอราทอรีส์ ได้เติบโตขึ้นอย่างมโหฬารทำให้เป็นผู้นำด้าน WPS ในตลาดแซงหน้าไอบีเอ็มไปอีก
การขยายธุรกิจ
แม้ว่า หวาง แลบอราทอรีส์ จะมั่นคงแล้ว แต่ ดร. อัน หวาง ก็ยังต้องการเงินสดอีกเป็นจำนวนมากในการขยาย หวาง แลบอราทอรีส์ ให้เติบโตใหญ่ขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของบริษัทจะได้ไม่ชะงัก โดยจะทุ่มตัวผลิตเครื่องระบบใหม่อย่างเต็มที่ และ ใช้ในการค้นคว้าและพัฒนามากขึ้นเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะสืบต่อวงจรจากผลิตภัณฑ์ตัวที่มีอยู่เดิม
เมื่อ หวาง แลบอราทอรีส์ เป็นบริษัทมหาชนแล้ว ดังนั้นดร. อัน หวางจึงตัดสินใจที่จะออกขายหุ้นมากเพื่อระดมเงินทุนให้กับบริษัทขึ้น แต่เขาก็ไม่ต้องการให้สิทธิ์ในการออกเสียงควบคุมบริษัทของเขาหายไป ดังนั้นดร. อัน หวาง จึงได้ใช้การออกหุ้นสามัญเกรดบีซึ่งจะกำหนดไว้สำหรับการนำหุ้นออกเสนอขายในอนาคตทุกครั้ง หุ้นรุ่นใหม่นี้จะมีอัตราเงินปันผลที่สูงกว่าหุ้นสามัญ แต่สิทธิ์ในการออกเสียงจะมีเพียงหนึ่งในสิบเท่านั้น ซึ่งจะหมายถึงการสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการได้ถึง 1 ใน 4 ของจำนวนคณะกรรมการทั้งหมด
แต่ก็ต้องดร. อัน หวาง พบกับปัญหาคือ ตลาดหุ้นเดิมคือ ตลาดหุ้นนิวยอร์กจะทำการปลดหุ้นของบริษัทที่ออกหุ้นรุ่นใหม่ที่ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงจากบอร์ด ซึ่งทำให้ดร. อัน หวาง ตัดสินใจปลดหุ้นจากตลาดหุ้นนิวยอร์กแล้วย้ายไปอยู่กับตลาดหุ้นอเมริกาซึ่งจะไม่ทำให้บริษัทถูกปลดหุ้นออกจากบอร์ด แทน แม้จะมีเสียงโต้แย้งจากผู้จัดการและคณะกรรมการบริษัทอย่างมาก แต่ในท้ายสุดแล้ว ก็ไม่มีความเสียหายจากการย้ายตลาดหุ้นนิวยอร์กมาสู่ตลาดหุ้นอเมริกาเลย ตรงกันข้าม เมื่อมาอยู่ตลาดค้าหุ้นอเมริกัน หวาง แลบอราทอรีส์ ได้กลายเป็นบริษัทที่มีความสำคัญขึ้นมา ดังนั้น หุ้นของหวางจึงอยู่ในหุ้นที่ขายได้มากขึ้นอยู่เสมอ หวาง แลบอราทอรีส์ ได้รับความสนใจมากกว่าเมื่อตอนอยู่ตลาดค้าหุ้นนิวยอร์กเสียอีก พวกผู้เชี่ยวชาญที่ตลาดหุ้นอเมริกันก็ปฏิบัติต่อหวาง แลบอราทอรีส์ อย่างดี