ชิน โสภณพานิช ตอน 2 (จบ)

ชิน โสภณพานิช ตอน 2 ก่อตั้งธนาคาร

การก่อตั้งธนาคาร
ในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพนั้น ก่อนหน้าประเทศไทยมีธนาคารอยู่ 12 แห่ง
โดยแบ่งแยกได้ดังนี้ คือ

ธนาคารของชาวต่างประเทศ ธนาคารของคนไทย
1. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้
2. ธนาคารชาร์เตอร์
3. ธนาคารเมอร์แคนไตล์
4. ธนาคารแห่งอินโดจีน
5. ธนาคารซีไฮทง
6. ธนาคารกวางตุ้ง
7. ธนาคารโยโกฮามาสเปซี่ 1. ธนาคารไทยพาณิชย์
2. ธนาคารหวั่งหลีจั่น
3. ธนาคารตันเป็งชุน
4. ธนาคารเอเชียเพื่อการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม
5. ธนาคารนครหลวงไทย

เมื่อญี่ปุ่นเข้ามายึดประเทศไทยใช้เป็นฐานทัพนั้น ก็ได้ให้รัฐบาลทำการยึดธนาคารของประเทศศัตรูทั้งหมด จนทำให้เหลือเพียง ธนาคารโยโกฮามาสเปซี่ ซึ่งเป็นของญี่ปุ่น และธนาคารของคนไทย เท่านั้น
สำหรับพ่อค้าแล้วมองว่านี่เป็นโอกาสอันดียิ่งที่จะเข้ามาสู่ธุรกิจธนาคาร ดังนั้นจะพบว่าหลังจากธนาคารต่างชาติอื่นๆหยุดกิจการลงเมื่อพ.ศ. 2485 จะพบว่าหลังจากนี้ก็มีธนาคารของคนไทยก่อตั้งขึ้นอีกหลายแห่งดังนี้ คือ
1. ธนาคารมณฑล จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2485
2. ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2487
3. ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2487
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2488
5. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2488

ในปี 2487 แม้กิจการบริษัทเอเชีย จำกัด จะเจริญก้าวหน้าไปด้วยดี เขาก็ยังเข้าร่วมหุ้นและเป็นกรรมการชุดแรกของ ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด การที่เขาสามารถเข้ามาเป็นกรรมการคนหนึ่งของ ธนาคารกรุงเทพฯ จำกัดได้นั้น เนื่องจากในระหว่างสงครามเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเสรีไทย จึงทำให้มีโอกาสรู้จักคนที่สำคัญหลายๆคน
ในยุคต้นทีเดียวนั้น นาย ชิน ไม่ได้มีตำแหน่งอะไร หรือหน้าที่อะไรเลยในธนาคารกรุงเทพฯ จำกัด เป็นแต่เพียงผู้ก่อตั้งธนาคารเท่านั้น แต่เมื่อเปิดธนาคารมาได้สักระยะหนึ่ง นายก๊วยซ่งปู ซึ่งเป็นกัมปะโดคนแรกของธนาคารได้มองเห็นแววของนายชิน ประกอบกับ นายก๊วยซ่งปู ประสงค์ที่จะไปประกอบธุรกิจการค้าด้านอื่น ดังนั้นจึงได้ทำการเชิญชวนนาย ชิน ให้เข้าร่วมงานบริหาร โดยเขาจะมอบตำแหน่งกัมปะโดให้นายชินแทน
แต่นาย ชินใช่ว่าจะสามารถเข้ามาเป็นกัมประโดได้ในทันที เพราะกัมประโดธนาคาร จะทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติและฐานะของลูกค้า หรือฐานะของผู้แนะนำมาอีกทีหนึ่งว่าเชื่อถือได้หรือไม่ และที่สำคัญคือ จะต้องเป็นผู้พิจารณาว่า ตลาดขณะนั้นเป็นอย่างไร เมื่อผ่านการพิจารณาเครดิตแล้ว กัมประโดจะค้ำประกันให้ลูกค้า ลูกค้าจึงจะสามารถรับเงินไปได้
ดังนั้นคนที่จะเป็นกัมประโดได้จะต้องเป็นคนที่มีทรัพย์สินหรือฐานะดีคนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็จะต้องเป็นคนที่รู้จักหรือเป็นที่นับหน้าถือตาในหมู่พ่อค้าและสามารถติดต่อกับผู้จัดการธนาคาร ซึ่งเป็นชาวยุโรป
แต่การที่นาย ชิน สามรถเข้ามาเป็นกัมประโดได้นั้น เนื่องจากพระยานลราชสุวัจน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพฯ ได้นำเอาที่ดินมูลค่าประมาณ 2 ล้านบาท นำมาการันตี นาย ชิน และการที่พระยานลราชสุวัจน์ ยอมนำที่ดินมาการันตีให้นั้น เนื่องจากแม่ของนาย ชินเคยเป็นคนครัวที่บ้านท่าน ดังนั้นนาย ชินกับพระยานลราชสุวัจน์ จึงรู้จักกันมาก่อนหน้านี้แล้ว
นับตั้งแต่ นาย ชิน เข้ามาเป็นกัมประโดนั้น กิจการของธนาคารก็รุ่งเรืองขึ้นเรื่อย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากยอดเงินฝากและยอดปล่อยกู้ระยะสั้นที่พุ่งทะยานขึ้น และความแม่นยำในการมองคนของ นาย ชิน ทำให้การปล่อยกู้นั้นแทบจะไม่มีหนี้สูญเลย
แต่ในเวลาต่อมานาย ชิน ก็เปิดเผยวิธีการหาลูกค้าของเขาดังนี้คือ นาย ชิน มองว่าในสมัยที่ธนาคารยังเป็นของคนยุโรปนั้น คนจีนหรือคนไทยต่างเข้าไปใช้บริการได้ยาก ดังนั้นนาย ชินจึงเล็งกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้เป็นพิเศษ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนักธุรกิจชาวต่างประเทศ ซึ่งแนวคิดนี้บวกกับความ-สามารถในการคาดการเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงความสามารถในการมองคนของนาย ชิน นี้เองเป็น
ส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารกรุงเทพฯเติบโตอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา จนสามารถล้ำหน้าธนาคารที่ก่อตั้งมาก่อนได้
ในระหว่างที่ นาย ชิน ทำหน้าที่เป็นกัมปะโดให้กับธนาคารกรุงเทพฯ นั้น เมื่อนาย ชินทราบว่า นายกิมซ้งได้ลาออกจากกรมโยธาเทศบาลแล้ว เขาก็ได้ทำการชักชวนนายกิมซ้งให้มาร่วมลงทุนตั้งบริษัทก่อสร้าง เนื่องจากเขามองว่าอีกไม่นานสงครามก็คงจะใกล้สิ้นสุดแล้ว เมื่อสงครามสิ้นสุดลง
งานก่อสร้างก็จะต้องมีเยอะแยะแน่ๆ ด้วยเหตุนี้นาย ชินกับนายกิมซ้ง และเพื่อนพ่อค้าคนอื่นๆ จึงร่วมกันจัดตั้งบริษัท มหกิจก่อสร้าง จำกัดขึ้น ซึ่งบริษัทนี้ที่ก่อตั้งขึ้นนี้ นาย ชินได้ดึง นายประสิทธ์ กาญจน-วัฒน์ นักกฎหมายแห่งสำนัก มนู เข้าร่วมเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทด้วย ซึ่งต่อมา นายประสิทธ์ กาญจนวัฒน์ ก็เป็นกำลังสำคัญคนหนึ่งของธนาคารกรุงเทพฯ คนหนึ่งด้วย
ไม่เพียงนาย ชิน จะตั้งบริษัทก่อสร้าง เนื่องจากมองเห็นงานที่จะมีมากในอนาคตแล้ว นาย ชิน ยังได้ตั้งบริษัท กรุงเทพสุวรรณพาณิชย์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการค้าทองคำ เงิน นาก เพชร พลอย ,ให้กู้ยืม , แลกเปลี่ยนเงิน ,และดำเนินธุรกิจโพยก๊วน ซึ่งธุรกิจของบริษัทนี้เจริญเติบโตอย่างมากเพียงแค่ 2-3 ปี บริษัทได้ทำการเพิ่มทุนจาก เงินทุนจดทะเบียน 2ล้านบาท เพิ่มทุนเป็น 4 ล้านบาท การที่บริษัทนี้เติบโตอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถทางด้านการเก็งกำไรทองคำของนาย ชิน ซึ่งในสมัยนั้นถึงกับมีคนพูดว่า ถ้าราคาทองคำจะเปลี่ยนสูงขึ้นหรือต่ำลงโดยนาย ชิน ไม่รู้ไม่ได้ ซึ่งการที่นายชิน สามารถรู้ข่าวล่วงหน้าได้นั้น เนื่องจากนายชินมีลูกน้องที่ทำหน้าที่คอยติดตามข่าวสารทองคำ และด้วยการทุ่มไม่อั้นในการซื้อข่าวสารด้วยราคาที่แพงที่สุด แม้แต่ข่าวที่เป็นความลับระหว่างประเทศไทยกับอังกฤษ นาย ชินก็ยังทราบด้วยเหตุนี้บริษัทจึงประสบความสำเร็จอย่างงดงาม
ในปี 2489 นายชิน ร่วมกับ นายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพฯ
เขาทั้ง 2 ได้ก่อตั้งบริษัท ค้าข้าวไทยทวีผล จำกัด ซึ่งตอนนั้นนาย ชินมองว่าหลังสงครามข้าวจะเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นอย่างมาก และนาย ชิน ก็คาดการณ์ถูก ดังนั้นต่อมาบริษัทนี้จึงเป็นบริษัทหนึ่งที่มีบทบาทอย่างสูงในตลาดค้าข้าวของโลก
ในช่วงหลังสงครามนั้น นาย ชินได้ร่วมลงทุนกับพ่อค้าต่างๆเปิดบริษัทขึ้นหลายแห่ง เพื่อทำ
การค้า ในขณะที่ความต้องการในสินค้ามีสูง แต่คู่แข่งมีน้อย ซึ่งช่วงนี้ธุรกิจของนาย ชินต่างก็ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกประจำการ ทำการรัฐประหาร ซึ่งทำให้จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้หวนคืนอำนาจอีกครั้ง และการหวนคืนอำนาจครั้งนี้ของ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นั้นได้มีการวางนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมบนหลักการแห่งคำขวัญ “ประเทศไทย เพื่อคนไทยเท่านั้น” ซึ่งผลจากการรื้อฟื้นคำขวัญนี้ขึ้นมา ทำให้ธุรกิจของคนจีนต้องโดนมรสุมอย่างหนัก เช่นถูกจับกุม จ่ายค่าปรับ หรือถูกรัฐบาลบังคับให้โอนกิจการ เรียกได้ว่าถูกบีบทุกวิถีทางทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุนโยบาย “ประเทศไทย เพื่อคนไทยเท่านั้น”
ดังนั้นพ่อค้าจีนจึงทำการคุ้มครองกิจการของตนเองโดยการเชิญผู้มีอำนาจเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือประธานกรรมการ สำหรับธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้เชิญ พล.ต. ศิริ สิริโยธิน เข้ามาเป็นประธานกรรมการบริษัท
แต่หลังจากที่คณะรัฐประหารทำรัฐประหารสำเร็จ ก็ได้แตกแยกออกเป็น 2 ขั้วอำนาจ คือ

กลุ่มซอยราชครู
ประกอบด้วยบุคคลที่สำคัญดังนี้ กลุ่มสี่เสาเทเวศร์
ประกอบด้วยบุคคลที่สำคัญดังนี้
1. จอมพลผิน ชุณหะวัณ
2. พล.ต.เผ่า ศรียานนท์
3. พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร
4. พล.ต.ศิริ สิริโยธิน
5. พล.ต.ชาติชาย ชุณหะวัณ ฯลฯ 1. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
2. พล.ท.ถนอม กิตติขจร
3. พล.ท.ประภาส จารุเสถียร
4. พล.ต.ประเสริฐ รุจิรวงค์
5. พล.ต.กฤช ปุณณกันต์

ซึ่งนายชิน นั้นก็ถือว่าอยู่ฝ่ายซอยราชครู ดังจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่สำคัญของนายชิน เช่น บริษัท
เอเชีนทรัสต์ นายชิน ก็ได้เชิญ พล.ต.เผ่า ศรียานนท์ เข้ามาเป็นประธานกรรมการ หรือธนาคารกรุงเทพ ก็เชิญ พล.ต.ศิริ สิริโยธิน เข้ามาเป็นประธานกรรมการ ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างนายตำรวจใจนักเลง(พล.ต.เผ่า ศรียานนท์)กับพ่อค้าผู้อ่อนน้อม(นาย ชิน) ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้ง 2 แนบแน่นยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ
และในช่วงครึ่งปีหลังของพ.ศ.2490 นั้น รัฐบาลได้มีการอนุญาตให้ธนาคารจากต่างประเทศกลับเข้ามาลงทุนได้ จึงส่งผลให้การแข่งขันกันดุเดือด ซึ่งผลของการแข่งขันกันอย่างหนักนั้น ส่งผลให้มีการสร้างข่าวลือขึ้น คือ มีข่าวลือว่า ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จะล้มละลาย ซึ่งส่งผลให้ผู้คนต่างแห่กันมาถอนเงินกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากยอดฝากประมาณ 46.8 ล้านบาท ประชาชนแห่มาถอนจนเหลือเพียง 19.4 ล้านบาท ซึ่งทางธนาคารก็พยายามแก้ปัญหานี้โดยการเข้าพบลูกค้ารายใหญ่ๆที่สำคัญๆ อธิบายสถานการณ์ให้ฟัง และทำการนำเงินมากองไว้ที่ counter service จนสูงเป็นกองพะเนินเต็มทั้ง counter เพื่อทำให้ประชาชนหายตกอกตกใจ ซึ่งผลของข่าวลือครั้งนี้ส่งผลให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง ซึ่งนาย ชิน ในฐานะกัมปะโด ก็พยายามคลี่คลายสถานการณ์โดยการพยายามผูกมัดใจพ่อค้าและนักธุรกิจส่วนใหญ่ จนทำให้ธนาคารมีเงินฝากเพิ่มขึ้นเป็น 28.2 ล้านบาท
แต่ปัญหาของธนาคารยังไม่จบเพียงเท่านี้ ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีธนาคารกรุงเทพแทนที่จะปล่อยกู้ให้กับภาคเกษตรเพื่อทำการผลิตสินค้าไปขายในต่างประเทศ แต่กลับไปปล่อยกู้ในธุรกิจที่ดิน ซึ่งในยุคนั้นการซื้อขายที่ดินยังขาดสภาพคล่องส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพเกิดปัญหาสภาพคล่องอย่างหนัก ผลของการบริหารงานผิดพลาดครั้งนี้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารครั้งใหญ่ของธนาคารกรุงเทพฯ จนนำไปสู่การเสนอชื่อนาย ชิน ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนที่ 2 ของธนาคารกรุงเทพฯ
นับจากนาย ชินก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ 3 เดือน ธนาคารกรุงเทพ ก็ได้มีการเพิ่มทุนจากเงินทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านบาท เพื่อทำการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของบริษัท แต่การเพิ่มทุนครั้งนี้ก็ยังไม่เพียงพอ จนต้องมีการเพิ่มทุนครั้งที่ 2 โดยการดึงเอากระทรวงเศรษฐ-การเข้ามาถือหุ้น ซึ่งทำให้ธนาคารกรุงเทพมีทางที่หาเงินกู้เพิ่มได้ ซึ่งทำให้ธนาคารกรุงเทพรอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้ แต่เบื้องหลังของการดึงกระทรวงเศษรฐการเข้ามาถือหุ้นไม่เพียงแต่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องเท่านั้น แต่ยังเป็นดึงเพื่อทำให้ธนาคารกรุงเทพใหญ่มากพอที่จะต่อสู้กับธนาคารจากต่างประเทศได้ด้วย และการที่นาย ชิน สามารถดึงกระทรวงเศรษฐการได้สำเร็จนั้น เนื่องจากเป็นความ-ประจวบเหมาะที่ในตอนนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีความต้องการที่จะตั้งธนาคารทหารไทยขึ้นมา แต่ผู้รับคำสั่งได้มาขอคำปรึกษานายชิน ซึ่งนาย ชินก็แนะนำไปว่า การจะตั้งธนาคารนั้นทำได้ยาก สู้มารวมกับธนาคารกรุงเทพไม่ดีกว่าหรือ ซึ่งเหตุผลนี้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ได้รับประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่จึงเป็นอันตกลงกัน โดยกระทรวงเศรษฐการจะถือหุ้น 60% และการที่ นายชินยอมนั้น เนื่องจากมองว่าหากจะสู้กับธนาคารจากต่างประเทศต้องมีเงินทุนสูง หากได้รัฐบาลเข้ามาถือหุ้นไม่เพียงแต่ประชาชนจะมีความมั่นใจในธนาคารมากขึ้นแล้ว ธนาคารกรุงเทพก็จะได้รับเงินฝากจากรัฐวิสาหกิจต่างๆในประเทศด้วย และในอนาคตค่อยหาทางซื้อหุ้นคืนจากรัฐบาลก็ได้
วันที่ 16 กันยายน 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์นำกำลังทหารทำการรัฐประหาร ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ก็สามารถทำการได้สำเร็จ จอมพลแปลก พิบูลสงครามต้องลี้ภัยไปยังกัมพูชา
ส่วน พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พร้อมทหารคู่ใจของเขาถูกเนรเทศไปอยู่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และผลของการรัฐประหารครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดธนาคารกรุงเทพต้องเกิดความเปลี่ยนแปลง เนื่องจากแต่เดิม ธนาคารกรุงเทพ อิงขั้วอำนาจกลุ่มซอยราชครู เมื่อกลุ่มซอยราชครูหมดอำนาจลง การที่จะนำพาธนาคารกรุงเทพให้อยู่รอดได้ จำเป็นที่จะต้องอิงขั้วอำนาจใหม่ ดังนั้นคณะกรรมการจึงทำ
การแต่งตั้ง พล.ท. ประภาส จารุเสถียร เข้ามาเป็นประธานกรรมการ แต่การที่นายชิน สนิทสนมกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ จึงทำให้นายชินต้องออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนายชินเลือกที่จะออกไปพำนักที่ฮ่องกง เพื่อหลบหลีกสถานการณ์อันไม่แน่นอนทางการเมือง ส่วนงานบริหารธนาคารนั้น ก็มอบหมายให้ขุนพลของเขาดูแล ได้แก่ วิระ รมยะรูป, นายปิติ สิทธิอำนวย, นายดำรง กฤษณามระ ,
นายชัยรัตน์ คำนวณ ฯลฯ
ก่อนที่จะเกิดรัฐประหารในปี 2500นั้น นายชินมองว่ากลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล เช่น พวกที่อยู่ใน
ฮ่องกง ,สิงคโปร์ ,มาเลเซีย และรวมถึงในประเทศไทยด้วย จะเล็งเห็นโอกาสที่เกิดจากการขาดแคลนและความจำเป็นที่จะต้องบูรณะประเทศ สิ่งเหล่านี้เองได้นำไปสู่การขยายตัวทางการผลิตและทางการค้าขนานใหญ่ ดังนั้นหากเราสร้างฐานก่อน เราก็จะได้ลูกค้าที่ดีก่อน ด้วยเหตุนี้ ในปี 2498 ธนาคารกรุงเทพจึงทำการเปิดสาขาที่ฮ่องกงเป็นสาขาแรก และเมื่อนายชิน เนรเทศตัวเองไปอยู่ที่ฮ่องกงนั้น
กลับกลายเป็นผลดีที่นายชิน ได้มีโอกาสดูแลสาขาต่างๆในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
วันที่ 22 ตุลาคม 2516 จอมพลประภาส จารุเสถียร ส่งจดหมายลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ ทำให้คณะกรรมการทำการแต่งตั้งนายชิน เข้าดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *