คลับของคนคิดบวก

คลับของคนคิดบวก
โดย : ชฎาพร นาวัลย์

• ภาพประกอบข่าว
TOOLS
• ขนาดตัวอักษร
• พิมพ์ข่าวนี้
• ส่งต่อให้เพื่อน
• share
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• โปโล โบว์ชมพู
• เปลี่ยนมะเร็งเป็นพลัง
• ภูมิรู้ สู้มะเร็ง ภูสิต เพ็ญศิริ
• เสียงที่เพราะที่สุดในโลก
• สธ.แนะกินผักพื้นบ้านต้านมะเร็ง ลดพุง
คอลัมน์อื่นๆ
• ท่องเที่ยว
o วันทูโก ตลุยเมืองตรัง
o หลบร้อนจับจิต ไปบริติช โคลัมเบีย
o
• สุขภาพ
o มนุษย์สองหน้า
o บุ๋ม-ปนัดดา ‘เป็นอย่างนี้ตั้งแต่เกิด’
o
• ภาพยนตร์/ดนตรี
o พราว คืนบันลังก์ วอร์มเสียงให้พร้อม วันนี้ สี่โมงเย็น
o คอนเสิร์ตริมชายหาด เที่ยงวันยันเที่ยงคืน โดยฮอนด้าประเทศไทย
o
มะเร็งทรวงอกด้านซ้ายที่คุกคามชีวิตแสนสุข ทำให้คนหนึ่งอยู่กรุงเทพ และอีกคนอยู่สุพรรณบุรี โคจรมาพบและกลายเป็นเพื่อนซี้ที่พร้อมสู้เจ้าเนื้อร้า
บี – ปาริชาติ ตัณชวณิชย์ นักธุรกิจขายน้ำแข็งเมืองกรุง และปุ๊ก – ฌานิศา จงอาสาชาติ คุณแม่ลูกสองเจ้าของร้านเสริมสวยเมืองสุพรรณ รับรู้ว่าในเวลาต่างกันว่าตนเองเป็นมะเร็งทรวงอกฝั่งซ้ายบริเวณท่อน้ำนมเหมือนกัน
ทั้งคู่จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวัฒโนสถ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง และดำเนินการรักษาตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำ ระหว่างรอผ่าตัดสงวนเต้านมนั้น สภาพจิตใจย่ำแย่และความหวาดระแวง ทำให้พวกเธอสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก “Think Positive Club”
คลับคนคิดบวกก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างเมื่อปลายปี 2549 เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรแพทย์และพยาบาลในโรงพยาบาล กับคนป่วยและญาติผู้ป่วย โดยจัดภารกิจให้ผู้ป่วยมีโอกาสเข้ากลุ่มในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความใกล้เคียงกันและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเป็นองค์รวมอย่างแท้จริง
ลักษมี ชาญเวชช์ ผู้ก่อตั้ง Think Positive Club เล่าว่าเมื่อผู้ป่วยรู้ว่าตนเองเป็นมะเร็ง มักคิดว่าชีวิตส่วนหนึ่งขาดหายไป จึงไม่อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบปกติ
ฉะนั้นหน้าที่ของคลับจึงต้องพยายามส่งผู้ป่วยกลับสู่สังคมปกติให้มากที่สุด เพื่อพวกเขาจะได้ดำเนินชีวิตได้เหมือนเดิม ไม่ใช่แค่บอกว่าอย่าคิดมาก แต่จะพยายามทำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้
“เราต้องปรับจิตใจผู้ป่วยให้ได้ โดยเรียกส่วนที่หายไปกลับคืนมา จากความหดหู่ ท้อแท้ เปลี่ยนไม่ให้เป็นทุกข์ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใส่ความคิดดีๆ เพื่อให้เขามั่นใจในการใช้ชีวิต เน้นสร้างความคิดเชิงบวกที่แท้จริง แล้วฝึกให้เข้าใจชีวิต ปรับทัศนคติ กระตุ้นความกระชุ่มกระชวยให้ชีวิตอีกครั้ง”
หลังจากสร้างกรอบความคิดแล้ว คลับจะต้องกระตุ้นจิตใจและอารมณ์ให้สมดุลกับร่างกาย มุ่งสร้างสุขด้วยตัวผู้ป่วยเอง ลดความเครียด อยู่กับชีวิตประจำวันและมีความสุข ด้วยการฝึกดูแลกาย ฝึกจิต คิดดี รวมทั้งสร้างความรู้สึกมีความสุข ปลอดภัย และคุ้นเคยกับสัมพันธภาพที่ดี
เพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น “คลับคิดบวก” ก็กลายเป็นสโมสรก๊วนเพื่อนที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน
ทุก 2 เดือนจะมีเสียงโทรศัพท์ชักชวนจากคลับให้ร่วมกิจกรรมหลากหลายในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงบ่ายวันทำงาน (จันทร์-ศุกร์) ทั้งการฝึกสมาธิ ฝึกหายใจอย่างถูกวิธี (Meditation) จี้กงอย่างง่าย ดนตรีบำบัด (Music Therapy) ศิลปะบำบัด (Art Therapy) คริสตัลบำบัด กลิ่นบำบัด (Aromatherapy) กิจกรรมโภชนาการ อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารต้านมะเร็ง หรือจะเป็นกิจกรรมสันทนาการ อย่างหน้ากากแฟนซี ร้อยลูกปัด หรือการสอนโพกผ้า ซึ่งทั้งสองสาวไม่พลาดที่จะกรี๊งกร๊างหากัน เพื่อเดินทางมาร่วมงาน
ไม่เพียงแต่เข้ามา “จอย” กิจกรรมที่คลับจัดขึ้น บีและปุ๊กเปลี่ยนคลับแห่งนี้ให้กลายเป็น “สภากาแฟ” สำหรับแลกเปลี่ยนความเห็นกันและกันด้วย
ทั้งคู่ประสานเสียงเล่าให้ฟังว่า คนที่รู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็ง ก็จะกลัวกังวลว่าจะลุกลามไปที่อื่น พวกเธอก็จะศึกษามากขึ้นว่าเป็นมะเร็งตัวไหน และมีทางเลือกรักษาอะไรบ้าง แต่ความรู้ท่วมหัวมักเอาตัวไม่รอด เพราะมันไม่สามารถเอาชนะความกลัวในจิตใจได้
“ช่วงแรกไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไรเลย กลัวจะทรมาน ตอนที่รู้ว่าเป็น พวกเราอยากคุยกับคนที่เป็นเหมือนกัน มากกว่าคุยกับแพทย์เสียอีก ในเรื่องความรู้สึก เพื่อจะได้ปรับตัวได้ เมื่อเรามาเจอคนที่เป็นเหมือนกัน ได้เรียนรู้จากคนที่เป็นมาก่อนเราว่า เขายังอยู่ได้เลย เราก็ต้องอยู่ได้ เขาหายได้ เราก็หายได้เช่นกัน และเมื่อเราได้แชร์ประสบการณ์กัน เราก็จะคอยเตือนกัน เติมกำลังใจให้กัน และผูกพันกัน”
ทั้งสองสาว อธิบายต่อว่า การพูดคุยทำให้ความเครียดหายไป พวกเธอจะแนะนำข้อมูลวิธีการดูแลตัวเอง วิธีการพักผ่อน ออกกำลังกาย การบริโภคที่ถูกวิธี คอยกระตุ้นให้กินผักผลไม้ให้มาก และไม่ประมาทในการใช้ชีวิต เพราะในช่วง 5 ปีแรก ทุกคนมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็งได้อีก
นอกจากความผูกพันของทั้งคู่แล้ว เพื่อนๆหลายคนก็เช่นกัน แถมยังผันตัวเองเป็นครู คัดสรรกิจกรรมที่ตนเองโปรดปราน สำหรับเผยแพร่ในคลับ ทำให้ทุกคนรู้สึกเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ถึงแม้จะมีไลฟ์สไตล์ชีวิตไม่เหมือนกัน ต่างวัฒนธรรม หรือต่างศาสนาก็ตาม
ทางคลับจะจัดกิจกรรมตักบาตรร่วมขัน เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยสูงอายุ และบางรายที่มีอาการหนักปานกลางอาจต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน สิ่งยึดเหนี่ยวที่สำคัญ คือศาสนา โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาบิณฑบาตที่ตึกผู้ป่วยทุกเช้าวันพฤหัส และยังมีการพัฒนาผู้ป่วยต่างชาติ เช่น เปิดห้องละหมาดแก่ผู้ป่วยอิสลาม สวดมนต์ในโบสถ์คริสต์ เป็นต้น
“คลับคิดบวก” เสมือนแหล่งรวมเพื่อนกลุ่มใหม่ที่พร้อมเข้าใจความรู้สึกอย่างแท้จริง แถมยังเชิญเหล่าสมาชิกเป็นนักเขียนร่วมกันใส่ไอเดียของทุกๆ คนลงไปในหนังสือเล่มใหญ่ได้เสมอ

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *