การเรียนรู้แบบ Brain-Based Learning (BBL)-2
ตารางเปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างโครงสร้างการทำงาน
ของสมองกับการจัดระบบการศึกษาที่ดำเนินการอยู่
การค้นพบเรื่องการทำงานของสมอง |
การจัดการศึกษาในโรงเรียน |
1.วัยเด็กเล็กเป็นวัยที่สมองพัฒนาและเรียนรู้ได้มากที่สุด ทั้งยังสำคัญในแง่การสะสมข้อมูล
ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงกับข้อมูลประสบการณ์เก่าได้ดีขึ้น ในระดับที่สูงขึ้น 2.การที่เซลล์ใยประสาทของสมองของคนจะเชื่อมโยงได้ดี (ความพร้อมในการเรียนรู้) จะต้องมีสภาพแวดล้อมแบบปฏิกิริยาโต้ตอบ เช่น เด็กเล็กได้รับการอุ้มกอด ฟังเพลง ฟังภาษาพูดคุย ได้เห็นภาพที่หลากหลายได้สัมผัส ได้ชิม ได้เคลื่อนไหวได้สำรวจทดลองฯลฯ เด็กที่ได้รับแรงกระตุ้นภายนอกที่เหมาะสมอย่างหลากหลาย สมองจะยิ่งพัฒนามากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากไม่มีการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ในทางใด การเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทส่วนนั้น จะเหี่ยวแห้งตายไป (Use It Or Lose It) 3.ความฉลาดของมนุษย์เรามีหลายด้าน เช่น Howard Gardner เสนอว่ามีอย่างน้อย 8ด้าน คือ1.ภาษา2.ตรรกคณิตศาสตร์3.ความเข้าใจด้านสถานที่หรือระยะ/มิติของสิ่งต่างๆ 4.การเคลื่อนไหวทาง |
1.การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมได้รับความสนใจน้อยที่สุด เช่น ไม่ถือเป็นภาคบังคับ
ได้งบประมาณน้อย จัดได้ไม่ทั่วถึง ใช้ครูที่ขาดความรู้ด้านการกระตุ้นเพื่อช่วยพัฒนาสมองเด็กเล็ก 2.การเลี้ยงเด็กเล็ก เน้นแต่เพียงการกินอิ่มนอนหลับ ปลอดภัยทางกายภาพ โดยผู้เลี้ยงที่ไม่มีความรู้เรื่องการพัฒนาของสมอง เด็กบางคนถูกเลี้ยงในศูนย์เลี้ยงเด็ก ที่คนดูแลมีความรู้น้อย เงินเดือนต่ำ ต้องดูแลเด็กจำนวนมาก แม้แต่การเรียนในระดับอนุบาล ส่วนใหญ่ครูก็มีความรู้น้อย สอนแต่ภาษาและคณิตศาสตร์เบื้องต้น มีส่วนน้อยที่เป็นโรงเรียนเตรียมความพร้อม สร้างบรรยากาศเรียนรู้ที่ดีและฝึกให้เด็กเล็กใช้สมองทุกด้าน 3.โรงเรียนส่วนใหญ่ เน้นการสอนและวัดผลเพียง2ด้าน คือ ภาษาและตรรกคณิตศาสตร์ ไม่ค่อยสนับสนุนให้นักเรียนมีความฉลาดอีก 6 ด้าน ที่สำคัญต่อการพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม |
การค้นพบเรื่องการทำงานของสมอง |
การจัดการศึกษาในโรงเรียน |
ร่างกาย5.ดนตรี6.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล7.ความสามารถในการเข้าใจและพัฒนาตนเอง8.การเข้าถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งความฉลาด
ทุกด้านมีความสัมพันธ์และช่วยส่งเสริมเป็นประโยชน์ต่อกันและกัน 4.(สมอง)นักเรียนแต่ละคนมีท่วงทำนอง(สไตล์)การเรียนรู้ที่แตกต่างกัน มีความพร้อมในเรื่องการเรียนรู้ในแต่ละด้านในแต่ละช่วงอายุ ที่แตกต่างกัน หากได้รับการสังเกตและส่งเสริมอย่างเหมาะสม พวกเขาก็จะเรียนรู้ได้ดี |
นักเรียนที่เรียนรู้2ด้านแรกได้ไม่ดี จะถูกมองว่าเป็นคนไม่ฉลาด ความฉลาดด้านอื่น ๆของนักเรียนจำนวนมากไม่ได้รับการสังเกตและส่งเสริมพัฒนา โดยเฉพาะสิ่งที่อาจจะเรียกรวมได้ว่าเป็นความฉลาดทางอารมณ์(EQ)และความฉลาดทางด้านจิตสำนึก(SQ)การสอนในระดับมัธยมปลาย และมหาวิทยาลัยของไทยเน้นความชำนาญเฉพาะด้าน แทนที่จะเปิดโอกาสให้สมองได้เรียนรู้สาขาวิชาอย่างหลากหลาย เหมือนในสถาบันการศึกษาที่ก้าวหน้าทางการศึกษามากกว่า
4.การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนจัดแบบเดียวกันสำหรับทุกคนในห้องเรียน โดยใช้อายุและการสอบเลื่อนชั้นเป็นเกณฑ์ ห้องเรียนมักใหญ่ มีนักเรียนมาก(30-50คน)ครูไม่อาจสังเกตลักษณะเฉพาะของแต่ละคนได้ หรือครูที่ไม่เข้าใจว่านักเรียนมีสไตล์การเรียนรู้และความพร้อมที่ต่างกัน ก็จะตัดสินแบบหยาบ ๆ ว่าคนที่เรียนตามไม่ทันเพื่อน ทำคะแนนสู้เพื่อนไม่ได้คือ คนโง่ นักเรียนคนนั้นก็จะถูกทำลายความภาคภูมิใจในตัวเอง(Self Esteem)ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง |
การค้นพบเรื่องการทำงานของสมอง |
การจัดการศึกษาในโรงเรียน |
5.การเรียนรู้ของสมองเชื่อมโยงกับอารมณ์
สมองจะเรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมทางอารมณ์ที่อบอุ่นเป็นมิตร ไม่รู้สึกว่าน่ากลัว มีการท้าทายให้อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่ถึงกับเป็นความเครียด การบรรยายหรือการสื่อสารที่มีลักษณะเชื่อมโยงกับอารมณ์ความรู้สึก ทำให้ผู้เรียนจดจำและเรียนรู้ได้ดีกว่าการบรรยายที่ไร้ความรู้สึก 6.สมองจะเรียนรู้ได้ดีหากผู้เรียนคิดว่าสิ่งนั้นสำคัญสำหรับการอยู่รอดของเขา(ทั้งทางกายภาพ อารมณ์ สังคมและทางเศรษฐกิจ)และอยู่ที่การสะสมประสบการณ์ข้อมูลความรู้มาตามลำดับ รวมทั้งการป้อนข้อมูล ที่ช่วยให้สมองสามารถเชื่อมโยงความหมายของความรู้ใหม่ กับความรู้เก่าที่มีอยู่หรือจากประสบการณ์ได้ 7.สมองคนเราเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา ทั้งจากครอบครัว ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด ชุมชน สื่อวิทยุโทรทัศน์ฯลฯทั้งสมองคนเรา เรียนรู้ได้ตลอดชีวิตรวมทั้งผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
|
5.ครูแบบเก่า ยังสอนแบบเน้นวินัยแบบทหาร
มีการประณาม ดุด่า ลงโทษ เฆี่ยนตี การสร้างบรรยากาศแข่งขัน แบบทำให้นักเรียนเครียด การสอนมักเคร่งเครียดหรือแห้งแล้ง 6.การสอนในระบบโรงเรียน จะสอนตามหลักสูตรตำรา ความรู้ความเข้าใจของผู้สอนมากกว่าที่จะเชื่อมโยงกับความสนใจ ความรู้เดิมของนักเรียน มักเป็นการสอนแบบบรรยายและสอนให้ท่องจำเป็นส่วน ๆ แบบไม่เชื่อมโยงกับความสนใจ ความรู้เดิม ไม่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตจริง ทำให้การสอนเป็นเรื่องน่าเบื่อ จดจำและเข้าใจได้ยาก 7.การจัดการศึกษากว่าร้อยละ90 ของงบประมาณและบุคลากร เน้นแต่เรื่องการศึกษาในระบบโรงเรียนส่วนการพัฒนานอกระบบโรงเรียนและตามอัธยาศัยยังมีน้อยทั้งปริมาณและคุณภาพ บางครั้งก็พยายามลอกแบบการศึกษาในระบบ คือ เพื่อการสอบเทียบวุฒิตามระบบโรงเรียน ส่วนวิทยุโทรทัศน์ สื่อต่างๆ ใช้เพื่อความ |
การค้นพบเรื่องการทำงานของสมอง |
การจัดการศึกษาในโรงเรียน |
8.การดูแลและพัฒนาสมองของคนทั้งประเทศโดยเฉพาะวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ถึงวัย11ขวบและการให้การศึกษาแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ทุกคนในสังคมให้ช่วยดูแลเด็กและเยาวชน จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการมาตาม แก้ปัญหาเด็กมีปัญหาในภายหลังมาก 9.สมองของนักเรียนรุ่นปัจจุบันเป็นสมองที่แตกต่างไปจากสมองของคนรุ่นที่เป็นนักเรียนเมื่อ15-20 ปีที่แล้ว ชีวิตของพวกเขาเคลื่อนไหวเร็ว และอยู่ในวัฒนธรรมของสื่อ โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต ที่มีภาพและเสียงเข้ามาในสมองของเขาอย่างรวดเร็ว และมากมายด้านอารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้ พวกเขาพัฒนาการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาท ที่เข้ากับการรับรู้สื่อแบบมัลติมีเดีย ที่เร้าอารมณ์ มากกว่าการบอกเล่า อ่านและจินตนาการ แบบเก่า |
บันเทิง(สำหรับคนระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ)และการค้า ซึ่งนอกจากจะไม่ช่วยการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทำให้เกิดผลลบ ในการสร้างค่านิยมบริโภค เสพสุขสุด เห็นแก่ตัวรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วย
8.การจัดระบบการศึกษา รอให้คนมีปัญหาแล้วถึงมาตามแก้ เช่น เด็กที่เรียนได้ช้าก็มาสอนเสริม สอนกวดวิชา เด็กที่มีปัญหาเฉพาะทาง เช่น ปัญญาอ่อน ออทิสติก ก็ต้องลงทุนสร้างครูพิเศษเฉพาะทาง เด็กเกเร ก็ต้องลงทุนสร้างนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ตำรวจ ฯลฯ มาตามแก้ไข แทนที่จะลงทุนป้องกัน ตั้งแต่ต้นทาง 9.การสอนที่เน้นการบรรยาย เพื่อจำข้อมูลไปสอบโดยไม่มีสื่อภาพ ที่ช่วยให้เข้าใจและจำได้ง่ายและไม่มีการออกไปสัมผัสของจริง กลายเป็นวิธีการเรียนรู้ที่แห้งแล้งน่าเบื่อจำได้ยาก เชื่อมโยงทำความเข้าใจยาก |
ลัดดาวัลย์ แก้ววรรณ
ศึกษานิเทศก์ สพท.ตาก เขต 1