การพูดในที่สาธารณะ

การพูดในที่สาธารณะ
ประมวลจากกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ
วันที่ 10 มิถุนายน 2551
1. การในการพูด สร้างบุคลิกภาพที่ดี :
ไม่ว่าจะเป็นวิทยากร พิธีกร ต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมตามบทบาท หน้าที่ที่ได้รับ
1.1 ด้านภาพลักษณ์
แต่งกายถูกกาลเทศะ อากับกริยากระตือรือร้น ไม่ลุกลี้ลุกลน ใบหน้าเบิกบานแจ่มใส มองผู้อื่นอย่างเป็นมิตร มีอัธยาศัยอี ต้อนรับขับสู้ มีความทรงจำดี
1.2 ด้านการพูด
– มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด เช่น การทักทายที่ประชุม
– พูดให้สละสลวย มีความเชื่อมโยง แต่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
– ไม่พูดวกวน
– ไม่พูดด้วยท่าทีเคร่งเครียด
– อาจมีมุกตลก / ลูกเล่นแทรก
– ไม่เพ้อเจอเกินไป
– พูดให้น้ำเสียงเป็นธรรมชาติ
1.3 ด้านปฏิภาณไหวพริบและด้านจิตใจ
– มีปฏิภาณไหวพริบและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
– จิตใจสุขุมเยือกเย็น
– ควบคุมอารมณ์ได้ดี มีสมาธิดี
1. การเตรียมตัวก่อนการพูด :
2.1 เตรียมเนื้อหา
ต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดอย่างดี โดยการค้นคว้าและการเตรียมเนื้อหาให้แม่นยำ ครบถ้วน
2.2 ฝึกซ้อม
ต้องซ้อมหน้ากระจกในการวางท่าทาง การพูดในเนื้อหานั้นจนคล่องปาก ไม่มีลักษณะ เป็นการท่องจำ พร้อมนับเวลาให้พอดี
2.3 การเตรียมใจ
สร้างความมั่นใจ ถ้าประหม่าให้สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ

3. การใช้ไมโครโฟน (ไมค์)
3.1 การจัดเตรียมไมค์
เป็นหน้าที่ของผู้จัดการประชุมหรือผู้ฝึกอบรม ซึ่งมีหน้าที่ต้องทดสอบว่าไมค์ ใช้การ ได้ดีมีเสียงดัง ไม่ควรเคาะไมค์ ถ้าไม่พร้อมผู้จัดต้องขอโทษวิทยากร
3.2 วิธีการจัดไมค์ที่ถูกต้องในการพูด
– ถ้าเป็นไมค์ขาตั้ง ต้องปรับระดับไมค์ให้พอดีกับความสูงของผู้พูดเอง ไม่สูงจนต้องยืด หรือต่ำจนต้องก้ม ถ้าปรับระดับไม่ได้ถอดออกมาถือเลย
– การถือไมค์ใช้มือข้างเดียว ให้กำที่ตำแหน่งด้ามมือ ไม่ใช่หัวไมค์ ไม่เดาะ ไม่เกา ไม่ขูดไมค์ จะเกิดเสียงน่ารำคาญ ถ้าหอนให้หันหัวไมค์ออกห่างจากลำโพง
– ระยะจากปากถึงหัวไมค์ โดยปกติประมาณ 1 ฝ่ามือ ขึ้นอยู่กับระดับความดังของไมค์ด้วย ขณะพูดอาจขยับให้ใกล้เข้า หรือไกลออกเพื่อให้ระดับเสียงที่ออกมาอยู่ในระดับพอดี โดยพูดจ่อใส่หัวไมค์
4. การวางท่าทางขณะพูด
4.1 กรณีที่ยืนตรง ไม่ก้างขามากเกินไปปลายเท้าแบะออกนิดหน่อย ให้อยู่ในท่าที่มั่นคง เก็บพุง ไม่กุมเข็มขัด ไม่กุมเป้า ไม่กอดหน้าอก ตำแหน่งที่ยืนตรงกลางเวที อย่าหลบมุม หันหน้าเข้าหาผู้ฟัง ไม่มองเพดาน ไม่เกา ไม่หาว ไม่ชี้หน้าผู้ฟัง (ใช้การผายมือแทน)
4.2 การวางมือ กรณีไมค์มีขาตั้ง ไม่ต้องใช้มือกุมไมค์อีก ไม่ล้วงกระเป๋า ถ้านั่งให้วางมือ
บนหน้าตัก ปล่อยแขนลงธรรมดา หรือวางมือประสานกัน
4.3 กวาดสายตาไปทั่วห้อง สบตาผู้ฟัง แต่อย่าจ้อง เพื่อไม่ให้เสียสมาธิ ใบหน้า ยิ้มละไมตลอดเวลา
5. เทคนิคการสร้างความสนใจจากผู้ฟัง
5.1 การสร้างความคุ้นเคยกับผู้ฟัง โดยการทักทายผู้ฟังที่เรารู้จัก หรือพูดถึงเหตุการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับตัวผู้ฟัง พูดให้เห็นความสำคัญของผู้ฟังที่เชื่อมโยงกับหัวข้อที่จะพูด
5.2 การตั้งคำถามกับผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดการตื่นตัว ไม่กล้าหลับโดยอาจจะตั้งคำถาม
กว้าง ๆ ไว้ ถ้าบรรยากาศมีคนหลับหรือไม่สนใจจริง ๆ ก็ต้องสุ่มถาม ถามเฉียด ๆ
คนที่หลับ แต่อย่าไล่จี้จนเกิดความกดดันแก่ผู้ฟัง อาจมีการให้รางวัลกับผู้ที่ตอบคำถาม ถูก หรืออาจถามความคิดเห็น
5.3 ควรมีการยกตัวอย่าง เล่าเรื่องรวมประกอบการบรรยาย ให้แต่ละข้อหลักเสมอ เพราะ คนฟังจะสนใจ
5.4 พูดด้วยน้ำเสียงสูง – ต่ำ แล้วแต่จังหวะ เช่น คำพูด / คำถามที่ต้องการเน้น ต้องใช้ เสียงสูง
5.5 มีการสอดแทรกมุกตลก อารมณ์ขันด้วย
5.6 มีการนำเสนอแบบหักมุม ในสิ่งที่คนคาดไม่ถึงในคำตอบ
5.7 การใช้กิจกรรมที่ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม เช่น การใช้บทบาทสมมุติ การแบ่งกลุ่มระดม ความคิดเห็น
6. เทคนิคการแนะนำประวัติวิทยากร
กรณีการเป็นพิธีกร ต้องแนะนำประวัติวิทยากรก่อนการบรรยาย ในหัวข้อดังนี้
6.1 กล่าวถึงความสำคัญของเนื้อหา เชื่อมโยงกับวิทยากรในเชิงที่ว่าหัวข้อเรื่องนี้ต้องเป็น วิทยากรท่านนี้เท่านั้น
6.2 กล่าวถึงความสำคัญของวิทยากร ว่าท่านมีภารกิจมาก กว่าจะเชิญท่านมาบรรยายได้ ลำบากมาก
6.3 กล่าวถึงลักษณะเด่น ผลงานเด่น / กล่าวสรรเสริญวิทยากร
6.4 กล่าวถึงประวัติการณ์ศึกษา และประสบการณ์การทำงานของท่าน
6.5 กล่าวถึงตำแหน่งและชื่อสกุลของวิทยากร และพูดให้คนฟังแสดงการปรบมือ โดยห้าม พูดตรง ๆ ว่า “ขอเสียงปรบมือ”
6.6 เมื่อวิทยากรบรรยายจบ การกล่าวขอบคุณวิทยากรให้กล่าวว่า เราได้รับประโยชน์จาก หัวข้อที่พูดอย่างไร ให้คนฟังรู้สึกทราบซึ้งและอยากปรบมือให้วิทยากรเอง
7. ขั้นตอนการทำหน้าที่พิธีกรในช่วงพิธีการเปิดประชุม / ฝึกอบรม
7.1 ไหว้แนะนำตัว และทักทรายผู้เข้าร่วมประชุม / ฝึกอบรม
7.2 กล่าวถึงความเป็นมา กำหนดการของงาน ชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ กล่าวเชิญชวน ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าห้อง และนั่งด้านหน้า
7.3 เมื่อประธานมาถึง ให้ประธานพักประมาณ 5 นาที
7.4 เมื่อประธานพร้อม หาจังหวะตรึงใจเริ่มพิธีการ
ขอเชิญประธาน “จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและขึ้นสู่แท่นรับฟังกล่าวรายงาน”
การบรรยายต้องรักษาเวลา
การจบการบรรยายให้ลงให้สวย เปิดโอกาสให้ถาม
การตอบคำถาม ถ้าไม่รู้ ก็ตอบว่าไม่รู้ แล้วจะค้นคว้าข้อมูลมาให้ อย่าเดา
เทคนิคการบรรยายให้มีประสิทธิภาพ
– ตั้งวัตถุประสงค์ของการบรรยาย
– กำหนดประเด็นของเนื้อหา
– อธิบายวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น
– กำหนดเนื้อหา และตัวอย่างสำคัญของแต่ละประเด็น
– การบรรยายแบบจูงใจผู้ฟัง
– การเชื่อมต่อประเด็น
– การสรุปประเด็น
การเตรียมตัวต้องพิมพ์งานนำเสนอในรูปเอกสารสำรองเพื่องานนำเสนอในรูปดิจิตอลไฟล์ผิดพลาด

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *