การบริหารจัดการซัพพลายเชน

การบริหารจัดการซัพพลายเชน
Source: iTransport

ความเข้าใจเบื้องต้นว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์นั้น หมายถึงเรื่องการขนส่งและ
คลังสินค้าเป็นหลัก ทำให้หลายๆ องค์กรเสียโอกาสในการศึกษาและพัฒนาระบบโลจิสติกส์
ของตนเอง แท้จริงแล้วทุกองค์กรล้วนมีระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่ค่อย
ให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุง แต่มักให้ความสำคัญเฉพาะศักยภาพในการผลิตและ
ศักยภาพในการทำตลาด ในการแข่งขันยุคใหม่นี้ต้องอาศัยระบบโลจิสติกส์ที่ดีเพียงพอ ไม่
เฉพาะเพื่อการลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นอาวุธและเขี้ยวเล็บให้
องค์กรในการสร้างความแตกต่างในการแข่งขันอีกด้วย การพัฒนาและขายผลิตภัณฑ์จึงต้องมี
การพัฒนา service package แนบไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรวดเร็วในการส่งมอบ ความ
สามารถในการผลิตและส่งมอบแบบต่อเนื่องและทันเวลาในปริมาณที่ต้องการเท่านั้น ความ
หลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น หรือการตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างทัน
ท่วงที

การปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ขององค์กร เช่น การลดขั้นตอนในการสื่อสารและดำเนินงาน
ระหว่างหน่วยงาน การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ สินทรัพย์ และทรัพยากร การลด
ปริมาณสินค้าคงคลัง การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุง
ระบบการผลิตให้สามารถสร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้นในอัตราต้นทุนที่แข่ง
ขันได้ การพัฒนาปรับปรุงในเรื่องเหล่านี้สามารถลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องสูญเสียไป โดยไม่
ก่อให้เกิดมูลค่าใดๆ แก่สินค้าและลูกค้าได้อีกมาก อย่างไรก็ตามความมีประสิทธิภาพของ
องค์กรเราเพียงองค์กรเดียวไม่สามารถรับรองได้ว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายก่อนถึงมือผู้บริโภคจะ
เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีราคาถูก พ่วงแถมด้วยบริการที่เป็นเลิศที่จะแข่งขันกับผลิตภัณฑ์
ของคู่แข่งได้ ในยุคนี้จึงต้องเป็นการแข่งขันกันระหว่างซัพพลายเชนเรากับซัพพลายเชนของคู่
แข่ง

การบริหารระบบโลจิสติกส์ของซัพพลายเชนต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่
เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้อง
ถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กร
อื่นๆ ในซัพพลายเชน การพัฒนาศักยภาพของซัพพลายเชนนั้น นอกจากระบบการประสานงาน
ที่ดีภายในองค์กรแต่ละองค์กรแล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงาน
ระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลักได้แก่

1) ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers (Supply-management
interface capabilities) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ใน
การส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ประสิทธิภาพของ
ระบบโลจิสติกส์ในการแข่งขันเชิงรุก เพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว ตอบ
สนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

2) ศักยภาพในการประสานระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
(Demand-management interface capabilities) เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้
บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการ
ขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขัน คุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความ
รวดเร็ว การมีสินค้าพร้อมจำหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที่สมบูรณ์สอดคล้องตาม
ความต้องการของลูกค้า และการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือ
สอบถามและร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวก ศักยภาพในการบริการยังหมายถึง ความ
สามารถในการให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อในเรื่องของ
ปริมาณ สถานที่ ชนิด ได้ในระยะเวลากระชั้นชิดมากขึ้น ตลอดจนความสามารถในการผลิต
และส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาด
หมายขึ้น

3) ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management
capabilities) ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัท
ข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT
พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระดับองค์กรและระหว่าง
องค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางแผนกลยุทธ์เลยทีเดียว ระบบสื่อสารที่ดีทำให้
เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดำเนินงานได้มาก เมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมัก
ได้เปรียบคู่แข่งในท้องถิ่นเสมอ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสารได้แก่ ระ
ดับเทคโนยี เช่น hardware, software การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับ
การใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกัน ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ ข้อมูลด้านยุทธศาสตร์ ข้อมูลทาง
การเงิน หรือข้อมูลในระดับเทคนิค และความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ เช่น ความรวด
เร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความรวดเร็วในการดำเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และการจัดวางรูปแบบ
ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที

ผลประโยชน์ที่น่าจะเห็นได้ชัดเจนจากการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของซัพพลายเชน
คือความรวดเร็วในการผลิตและส่งมอบสินค้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการลงทุนใน
ระบบโลจิสติกส์ลดลง จากการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก คลังสินค้าหรือรถขนส่งร่วมกัน หรือ
ซัพพลายเชนอาจหันไปใช้ประโยชน์จากผู้ให้บริการภายนอก (3rdPL) สำหรับบริการขนส่งและ
โลจิสติกส์ ที่จะเข้ามาช่วยประสานความต้องการขนส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง การกระจาย
และการส่งมอบสินค้า ของแต่ละองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น โดย
เฉพาะอย่างยิ่งกับแนวการบริหารงานแบบ Just-in-time ที่แต่ละองค์กรต้องมีการส่งมอบสินค้า
ในปริมาณเท่าที่ผู้รับต้องการเท่านั้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่น่าจะคุ้มค่าที่แต่ละองค์กรจะลงทุนและ
บริหารด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชนคงต้องมีกลไกให้มี
การร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหาร
ระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม (cross-functional team) ที่
ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผนหาจุด
อ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาพรวม จะช่วยสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้รวดเร็วและ
เป็นรูปธรรม ความแตกต่างกันระหว่างองค์กรทั้งในเรื่องวัฒนธรรม แนวความคิด ขนาดองค์กร
แนวทางการปฏิบัติงาน และเทคโนโลยี จะได้มีการปรับให้สอดคล้องกันมากขึ้นตามลำดับ
เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกันคือความสามารถในการแข่งขันและความพึงพอใจของลูกค้าเรานั่น
เอง

References :
Mentzer, Min, and Bobbit (2004) Toward a unified theory of logistics, International
Journal Physical Distribution & Logistics Management, Vol.34 No. 8, 2004 pp. 606-
627

Stock, Greis, and Karsarda (1989) Logistics, strategy and structure, A conceptual
framework, International Journal Physical Distribution & Logistics, Vol. 29 No. 4,
1989 pp. 224-239

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *