การทำอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปน้ำผลไม้ ตอนจบ


แนวโน้มของตลาดในอนาคต

ตลาดน้ำผลไม้ภายในประเทศที่มีแนวโน้มที่ดีในอนาคตคือ ตลาดน้ำผลไม้ที่มีความเข้มข้น 50% ซึ่งจัดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากมีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์มากกว่าประเภทอื่น ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดกลางที่มีความสนใจทำตลาดผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ถือว่าเป็นตลาดมีความต้องการในการบริโภคสูง อย่างไรก็ตามก็ต้องระวังจำนวนคู่แข่งทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนเครื่องดื่มแปรรูปจากผลไม้ที่มีความต้องการในตลาดต่ำกว่าประเภทอื่น ๆ และไม่ควรทำตลาดคือ ตลาดน้ำผลไม้ที่มีความเขัมข้นต่ำ ซึ่งจัดว่ามีอัตราการเติบโตน้อยที่สุด(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2544)

แนวโน้มของเครื่องดื่มแปรรูปจากผลไม้จะขยายตัวได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 5-10 ต่อปี ด้วยปัจจัยทางการตลาดหลายด้าน เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขยายต่าง ๆ การที่ผู้ประกอบการหลายรายในประเทศขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความหลากหลายของชนิดสินค้าทั้งในด้านรสชาติ ขนาดบรรจุและด้านราคา เป็นต้น ประกอบกับกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภคที่ยังคงอยู่อย่างต่อเนื่อง และภาวะความเร่งรีบของวิถีชีวิตปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคไม่มีเวลา ดังนั้นคาดว่าแนวโน้มของเครื่องดื่มแปรรูปจากผลไม้ทุกชนิด เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะขาม น้ำลิ้นจี่ จะมีแนวโน้มที่ดี อย่างไรก็ตามการแข่งขันจะทวีความรุนแรงขึ้นทั้งด้านราคาและที่ไม่ใช่ราคา เช่น การแข่งขันในลักษณะการออกสินค้าใหม่ ๆ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

ด้านการนำเข้าน้ำผลไม้จากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้บริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีพ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าน้ำผลไม้จากต่างประเทศเท่ากับ ร้อยละ 22.91, 30.66 และ 41.11 ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

สำหรับแนวโน้มตลาดส่งออกน้ำผลไม้ของไทยโดยรวมแล้วจะมีการผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่ยังคงชะลอตัวอยู่ โดยในปี พ.ศ. 2544 มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2543 เท่ากับร้อยละ 9.77 ส่วนในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายตัวการส่งออกน้ำผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่คงไม่สูงมากนัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังไม่ค่อยดีนัก

ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดที่ควรระวัง

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแปรรูปจากผลไม้เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตที่ดี เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบ แต่เนื่องจากมีปัญหาบางประการที่ควรแก้ไขเพื่อพัฒนาให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแปรรูปจากผลไม้ให้เติบโตในอนาคตดังนี้
1. ด้านวัตถุดิบ คือปัญหาด้านความไม่แน่นอนของวัตถุดิบภายในประเทศ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีผักและผลไม้หลากหลายและสามารถหาบริโภคได้ตลอดปีก็ตาม แต่วัตถุดิบมักขึ้นอยู่กับภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้นราคาผลผลิตยังไม่คงที่ในปีใดๆด้วย ดังนั้นการกำหนดปริมาณวัตถุดิบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกำลังการผลิตและแผนการตลาดจึงทำได้ยาก

2. นโยบายของภาครัฐ เช่น การออกมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) กับผู้ประกอบการ และการนำมาตรฐานโรงงานและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาทิ ISO 9002, ISO 18000 และ HACCP ก็อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมบางส่วน โดยอาจส่งผลให้ผู้ผลิตบางรายต้องปิดกิจการลง โดยเฉพาะในส่วนของตลาดน้ำผักและผลไม้เจือจาง (ที่มีความเข้มต่ำกว่า 15%) ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้เป็นผู้ผลิตรายย่อยยังไม่มีระบบการตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่ดีพอ

3. ปัญหาข้อจำกัดในตลาดต่างประเทศ : ซึ่งสามารถแยกเป็นประเด็นหลักๆได้ ดังนี้
ปัญหาการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักเพียงไม่กี่แห่ง เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำผักและผลไม้ของไทยนั้นมีอัตราความเสี่ยงทางการตลาดค่อนข้างสูง เนื่องจากหากประเทศกลุ่มประเทศเหล่านั้นพยายามใช้มาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆ อาทิ การตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากสหภาพยุโรป หรือกับประเทศไทยขึ้นมา ก็จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการส่งออกน้ำผักและผลไม้ของไทย เพราะมีตลาดอื่นรองรับน้อย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม ประเทศไทยควรพยายามขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ อาทิ กลุ่มประเทศแถบ Latin-America ประเทศกลุ่มเอเซีย อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง และประเทศแถบตะวันออกกลาง
จากเงื่อนไขภายใต้องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ AFTA , NAFTA และ WTO ที่พยายามจะเปิดเขตการค้าเสรีในภูมิภาคต่างๆ นั้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันในแต่ละกลุ่มการค้าและการแข่งขันภายในกลุ่มการค้าเดียวกันอย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาภายในประเทศได้ก็อาจทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของไทยลดลง

ข้อเสนอแนะ
1) ควรจะมีการวางแผนการปลูกผลผลิตผลไม้เพื่อให้เพียงพอหรือไม่เกินความต้องการของตลาด ทำให้ทราบผลผลิตที่แน่นอนเพื่อวางแผนในการผลิตผลไม้แปรรูปได้โดยไม่ต้องเผชิญกับภาวะผลผลิตขาดตลาดหรือล้นตลาดซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาของผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นลงยากต่อการวางแผนการตลาดในอนาคต
2) รัฐบาลควรให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการในการออกมาตรฐานการผลิตที่ดี (GMP) กับผู้ประกอบการ และการแนะนำความรู้ทางด้านมาตรฐานโรงงานและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาทิ ISO 9002, ISO 18000 และ HACCP ในด้านข้อมูล ขั้นตอนการปฏิบัติและการสนับสนุนทางด้านการเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหา แต่ยังขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล
3) ควรมีการขยายตลาดส่งออกให้กว้างขึ้นเพื่อป้องกันการถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในสหภาพยุโรปที่มีมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบภาษีและไม่ใช้ภาษี และควรมีการให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการในเรื่องของกฎระเบียบการนำเข้าของประเทศที่เป็นตลาดที่สำคัญในสินค้าน้ำผลไม้ของประเทศไทย

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนด้านการผลิตสินค้า

1) ชื่อหน่วยงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9
เบอร์โทรศัพท์ 038-784064-7
บทบาท เป็นแกนกลางในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ใน พื้นที่รับผิดชอบ 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และจังหวัดสระแก้วโดยร่วมมือและให้การสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน

2) ชื่อหน่วยงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ที่อยู่ ส่วนบริหารเงินทุน สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย
อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ชั้น 4) ในบริเวณกระทรวง อุตสาหกรรม
ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กทม.
เบอร์โทรศัพท์ (02) 2488098, 2024475-6, 2450140 โทรสาร
บทบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว
และตามระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริม
เสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว
Website http://www.dip.go.th

3) ชื่อหน่วยงาน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
เบอร์โทรศัพท์ 0-2617-2280 271-3700, 617-2111, 278-0047 โทรสาร 0-2271-3204
บทบาท ให้บริการทางการเงินเพื่อสนับสนุนผู้ส่งออก และนักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่าง ประเทศ
อีเมล์ info@exim.go.th Website http://www.exim.go.th/

4) ชื่อหน่วยงาน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.)
เบอร์โทรศัพท์ 0-2201-3700-10 โทรสาร 0-2201-3723 – 24
บทบาท ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมและธุรกิจ SMEs บริการ ให้บริการเงินกู้แก่
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 100 ล้านบาท
อีเมล์ sifc@sifc.co.th Website http://www.sifc.co.th/index.asp

5) ชื่อหน่วยงาน บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เบอร์โทรศัพท์ 0-2253-7111, 253-9666 โทรสาร 0-2253-9677
บทบาท ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กิจการอุตสาหกรรมภาคเอกชนตั้งแต่
เริ่มโครงการจนกระทั่งกิจการเจริญเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงโดยมุ่งเน้น
อุตสาหกรรมที่ช่วยพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
อีเมล์ info@ifct.co.th Website http://www.ifct.co.th

6) ชื่อหน่วยงาน กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
เบอร์โทรศัพท์ 0-2511-5066-77, 512-0093-0104 โทรสาร 0-2512-1079, 513-1917
บทบาท ส่งเสริมผู้ประกอบการผลิตและผู้ส่งออกให้สามารถใช้ศักยภาพการผลิตและการตลาด
ได้อย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก
เสริมสร้างภาพลักษณ์และค่านิยมสินค้าไทยทั้งในและต่างประเทศรวมทั้ง
มุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะของศูนย์กลางการผลิต การค้าและ
การแสดงสินค้าระดับนานาชาติ
Website http://www.depthai.go.th/

Supplier ที่สนับสนุนด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์หลักในการผลิตสินค้า

ประเภทเครื่องจักร ระดับราคา(บาท) ที่อยู่ ชื่อบุคคลที่ติดต่อ โทรศัพท์ โทรสาร
1) บ.โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จก. 25,000 80/312-314 ม. 6 ถ.บางขุนเทียน คุณภาณุวัฒน์ 0-2899-8834 0-2899-8348
แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. 10150 0-2899-8939

2) บ.โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จก. 630,000 80/312-314 ม. 6 ถ.บางขุนเทียน คุณภาณุวัฒน์ 0-2899-8834 0-2899-8348
แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. 10150 0-2899-8939

3) บ.โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จก. 80,000 80/312-314 ม. 6 ถ.บางขุนเทียน คุณภาณุวัฒน์ 0-2899-8834 0-2899-8348
แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. 10151 0-2899-9149
บ.พลาสแทรป จก. 14/13-14 ม.10 แขวงบางบอน ฝ่ายขาย 0-2451-1453-5 0-2451-1456
เขตบางบอน กทม. 10150 0-2894-4081-2

4) บ.โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จก. 80/312-314 ม. 6 ถ.บางขุนเทียน ฝ่ายขาย 0-2899-8834 0-2899-8348
แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. 10150 0-2899-8939

5) บ. เคลียร์แพค(ไทยแลนด์) จก. 58/6 ซ.มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คุณสยาม 0-2692-1525-6 0-2692-1355
ถ.วิภาวดีรังสิต ดินแดง กทม. 10320

6) บ. เยอรมัน เอ็นจิเนียริ่ง 947/161 อาคารบางนาคอมเพล็ก
คุณรุจิรา 0-2361-9082-7 0-2361-9087
แอนด์ แมชชินเนอรี่ จก. หมู่ 12 ถ.บางนาตราด กม.13 บางนา กทม. 10260
7) บ. เอกเซส อินดัสเตรียล เทคโนโลยี จก.
284 ซ.โรงเรียนญี่ปุ่น ถ.พระราม 9
คุณธานุรักษ์ วิรัตนพงษ์ 0-2319-9961-3 0-2319-9960

8) บ. โอนเนอร์ ฟูดส์ บางกะปิ กทม. 10320 ฝ่ายขาย 0-2899-8834 0-2899-8348
แมชชีนเนอรี่ จก. 80/312-314 ม.6 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ
9) บ. ไทยอาซาโก้ จก. 620/77-78 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง
ฝ่ายขาย 0-2294-6329-31 0-2294-6332 เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
10) บ. ยูโรแพค จก. 566 อาคารร่วมฤดี เพลินจิต
0-2651-4995-8 0-2251-2350 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
11) บ. แอโรเอเชีย อินเตอร์แพค จก. 7/561 ถ.รัชดาภิเษก วัดท่พระ คุณบุศริน 0-2458-1612-3 0-2457-6441 บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600
12) ห้างอ. เครื่องบด 91 ถ.พลับพลาไชย แขวงป้อมปราบฯ
คุณไตรภพ 0-2224-2435 0-2225-8662 เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100
13) บ.เซอร์วิเทค เอ็นจิเนียริ่ง จก. 11,000 – 102/121-5 ถ.เสรีไทย แขวงคันนายาว
0-2517-4832 1,000,000 เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
14 ) บ.โอนเนอร์ ฟู้ดส์ แมชชีนเนอรี่ จก. 80/312-314 ม. 6 ถ.บางขุนเทียน
คุณภาณุวัฒน์ 0-2899-8834 0-2899-8348 แขวง แสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม. 10150 0-2899-8939
15) บ. ไทยอาซาโก้ จก. 620/77-78 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง
ฝ่ายขาย 0-2294-6329-31 0-2294-6332


Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *