การจูงใจ (Motivation)
|
การจูงใจ (Motivation) |
||
ู่ ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของงานคือการรู้วิธีจูงใจคนให้ทำงานอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละศิลปะในการจูงใจขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ และผู้บริหาร การรู้ถึงจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้องก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำ มาพิจารณาเสมอก่อนมอบหมายให้ไปทำงาน หากมอบหมายผิดคนย่อมส่งผลให้งานล้มเหลว เมื่อเลือกคนได้แล้วจะทำอย่างไรที่เขาจะทุ่มเทศักยภาพของเขาให้กับการทำงานได้เต็มที่เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารอย่างยิ่ง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ปัจจัยอะไรที่จะสามารถจูงใจคนประเภทไหนจึงจะได้ผล
โดยทั่วไปความต้องการของมนุษย์ตามความหมายของMaslow The hiarichy of need มีลำดับขั้นคือ ขั้นต้น คือ การยังชีพเพื่อความอยู่รอด(Survive) ต่อมาคือความปลอดภัยและมั่นคง(Secure) ต่อมาคือการเป็นที่ยอมรับของสังคม(Social Acceptance) ต่อมาคือชื่อเสียงเกียรติยศ(Honor,Dignity) และขั้นสุดท้ายคือการเป็นตัวตนของตัวเอง(Self Actualization) นิสัยแต่ละคนมีความแตกต่างในความต้องการ ดังนั้นผู้บริหารต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน และถูกกาละเทศะจึงจะได้ผล การสร้างอิทธิพล(Influence)ต่อคนเพื่อผลของงาน สามารถใช้ทั้งด้านบวก(Positive Reinforcement) และด้านลบ(Negative Reinforcement)ขึ้นกับลักษณะของบุคคลนั้น • คนมักได้ ต้องใช้ ผลประโยชน์ตอบแทน ผู้นำที่พยายามสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่น อย่าลืมที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองด้วย หาไม่แล้วการมุ่งแต่จูงใจผู้อื่นจะเป็นไปด้วยความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ เปรียบได้กับ“เครื่องจักรที่ไม่ดีจะผลิตสินค้าคุณภาพ ดีได้อย่างไร” |
||
ที่มา : น.พ.สมชัย ตั้งพร้อมพันธ์ http://get.ksbrhospital.com/ |