การคิดแบบองค์รวม
การคิดแบบองค์รวม
ว่าที่ร้อยตรีคันศร คงยืน
การคิดแบบองค์รวม เป็นการคิดในเทอมของความสัมพันธ์เชื่อมโยงและบริบทแวดล้อมในทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างชุมชนที่ยั่งยืนตามธรรมชาติอันเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่า ได้แก่ พืชสัตว์ จุลินทรีย์ โดยคิดให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายกับระบบนิเวศ ระบบสังคม ระบบทั้งหลายเหล่านี้จะต้องบูรณาการเป็นองค์รวมซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดไม่สามารถที่จะลดรูปเป็นส่วนเล็กย่อย
แทนที่จะมองจักรวาลเหมือนเครื่องจักร ที่ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐาน นักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบว่าในโลกวัตถุสุดท้ายแล้วจะอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้ นั่นคือ ดาวเคราะห์เป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตเป็นระบบที่ปรับความสมดุลย์ของตัวเองได้ การมองร่างกายมนุษย์
เป็นเหมือนเครื่องจักรและแยกจิตออกไปจากร่างกาย จะต้องแทนด้วยระบบที่รวมไม่เฉพาะสมอง ภูมิคุ้มกัน เซลล์แต่รวมถึงจิตอันเป็นองค์ประกอบ การคิดทางจิต การวิวัฒนาการ ไม่ได้หมายถึงการแข็งขันเพื่อการอยู่รอดอีกต่อไปแต่จะอยู่ในรูปของการพึ่งพาอาศัยกันและกันที่มีแรงผลักดันในการสร้างสรรค์และคิดสิ่งใหม่ๆ
การมององค์รวมเชิงนิเวศ ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางการศึกษาอย่างลึกซึ้งในศตวรรษที่ ๒๑ คงจะเป็นประสบการณ์ของการเรียนรู้ที่จะเอาชนะสิ่งแปลกแยกไปจากโลกธรรมชาติ จำเป็นต้องมีหลักสูตรที่สอนเด็กๆถึงความจริงอันเป็นรากฐานของชีวิต ที่ของเสียจากสปีชี่หนึ่งเป็นอาหารให้อีกสปีชี่หนึ่ง ในเรื่องนี้เป็นวงจรชีวิตที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยเครื่อข่ายของสิ่งมีชีวิต ( web of life ) ซึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ เป็นตัวขับเคลื่อนทางนิเวศทั้งหมด เน้นความหลากหลายทางธรรมชาติ ที่ยืนยันถึงลักษณะที่ดี จากชีวิตที่เริ่มต้นเมื่อ ๓ พันล้านปีมาแล้วนั้นไม่ได้เข้ายึดดาวเคราะห์โลกโดยการแข่งขันต่อสู้รบราฆ่าฟันแต่โดยการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการสอนความรู้ใหม่เช่นนี้ ที่ซึ่งเป็นภูมิปัญญาโบราณจะเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดทางการศึกษาในศตวรรษนี้
ถอดความจากบทความ language of nature เขียนโดย บริจิต ขับประ ( หัสชัย สิทธิรักษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๐ )
มิติร่างกาย มิติจิตใจ
สรีระที่เปลี่ยนไปจาก -การจัดเวลาให้เหมาะสม
-ความเครียด -การบริหารความเครียด
-อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป -reactive vs analytical mind
-mentor ด้านสุขภาพตัวเอง
มิติสังคม
-การเปลี่ยนแปลงด้าน
-เศรษฐกิจสังคม
-ระบบบริหาร การทำงาน
-ผู้มีส่วนร่วมกับตัวเรา
-เปลี่ยนเจ้านายใหม่
-เปลี่ยนลูกน้องใหม่
-ครอบครัวใหม่
การศึกษาและการพัฒนาประเทศแบบองค์รวมเพื่อประชาธิปไตย ความเป็นธรรม และความยั่งยืน
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่คับแคบนำไปสู่การจัดการศึกษาอย่างคับแคบ การที่ชนชั้นนำมองการศึกษาแบบแยกส่วนอย่างคับแคบว่า คือการพัฒนาทักษะคนให้เป็นเครื่องมือไปทำ งาน รับใช้เศรษฐกิจ/ธุรกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม นำไปสู่การจัดการศึกษาแบบแพ้คัดออกเพื่อคัดคนส่วนน้อยไปทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การศึกษาแบบนี้ช่วยทำให้ เศรษฐกิจ/ธุรกิจเติบโตได้บางส่วน แต่เป็นการเติบโตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ/ธุรกิจของคนส่วนน้อยในระยะสั้น มากกว่าเป็นการเจริญงอกงามเพื่อประโยชน์ทุกด้านของคนส่วนใหญ่ในระยะยาว การศึกษาในแนวนี้ยังเน้นการส่งเสริมความรู้ทางวิชาชีพแบบแยกส่วนและความฉลาดแบบเห็นแก่ตัว ซึ่งทำให้สังคมมีปัญหาความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและขัดแย้งกันมากขึ้นด้วย
ชนชั้นนำไทยซึ่งสามารถครอบงำให้ประชาชนส่วนใหญ่คิดตามในกรอบคิดเดียวกับพวกเขาได้ มองว่าการศึกษาเป็นการลงทุนสร้างทรัพยากรกำลังคนให้มีความรู้และทักษะด้านต่างๆ ไปทำ งานแข่งขันทางธุรกิจกับคนของประเทศอื่น เพื่อพัฒนาให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเจริญ เติบโตขึ้น (มีผลผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น) และพวกเขามองการศึกษาในฐานะเป็นเครื่องมือไปบรรลุเป้าหมายคือ การเพิ่มปริมาณผลผลิต แทนที่จะมองแบบเชื่อมโยงเป็นระบบองค์รวมว่า การศึก ษาคือการพัฒนาคนให้มีความรู้ ครูฉลาดทางอารมณ์ มีบุคลิกนิสัย และจิตสำนึกที่ดีเพื่อสามารถไปพัฒนาตัวเองให้ใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ มีความสุข แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองที่เป็นประชาธิปไตย สังคมวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองแบบอารยชน
การศึกษาแบบองค์รวมเป็นเรื่องที่กว้างกว่าแค่การฝึกอบรมทักษะทรัพยากรคนเพื่อไปทำงานรับใช้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต การที่นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษาเน้นเรื่องการแข่งขันเพื่อเอาชนะของปัจเจกชนมากเกินไป ทำให้เกิดความโน้มเอียงที่มีผลเสีย เช่น ทำให้ผู้ได้เรียนระดับสูงหยิ่งผยองในความรู้ทักษะของตนเอง มีนิสัยแข่งขันมุ่งเอาชนะเพื่อประโยชน์ตัวเอง มากกว่าเป็นคนที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้จักการปรับตัว การร่วมมือกันเพื่อประโยชน์ของกลุ่มหมู่คณะ ชุมชนและประเทศ
การมองเรื่องการศึกษาแบบแยกส่วนอย่างแคบๆทำให้ชนชั้นนำไทยเน้นการพัฒนาเชิงปริมาณเช่นขยายโรงเรียน การสั่งซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การเรียนการสอน การส่งคนไปเรียนต่างประเทศ การเน้นการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และวิชาที่เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน ซึ่งแม้จะมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่การเน้นเรื่องนี้มากเกินไป ทำให้นำไปสู่ความคิดแบบสุดโต่งที่มองคนเป็นแค่ “ทรัพยากรการผลิต” อย่างหนึ่ง เหมือนอยู่ในกลุ่มเดียวกับเครื่องจักรพลังงาน วัตถุดิบ ( วิทยากร เชียงกูล สิงหาคม 27, 2007 )
การศึกษาแบบองค์รวมสำหรับเยาวชนไทย
ท่านพุทธทาสเคยกล่าวถึงการศึกษาโดยทั่วไปว่าเป็น “การศึกษาแบบหมาหางด้วน” เพราะเป็นการศึกษาที่ให้ความรู้และประสบการณ์เพื่อออกไปประกอบกาชีพหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเท่านั้น ไม่ได้สอนให้คนเลิก ลด ละ ความเห็นแก่ตัว มีแต่สอนให้คนกอบโกยและคดโกง เพื่อเอาประโยชน์เข้าตัวยิ่งเรียนมากรู้มาก ยิ่งเอาเปรียบคนอื่นมาก เห็นแก่ตัวมาก
ในฐานะที่เป็นครู – อาจารย์ มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาการให้ลูกศิษย์ลูกหาในสถาบันการศึกษาเป็นเวลานานพอสมควร ลองมานั่งนึกตรึกตรองถึงนัยยะที่ช่อนแฝงอยู่ในวาทะของท่านพุทธทาส ก็อดที่จะเห็นด้วยกับท่านไม่ได้ เพราะว่าเท่าที่รับรู้และสังเกตดู ครู – อาจารย์ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เพียงแค่ “สอนหนังสือ” ตามหลักสูตรที่แต่ละสถาบันการศึกษากำหนดไว้เท่านั้น ไม่ได้ “สอนคน” ให้รู้จักเสียสละ รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น และลดความเห็นแก่ตัวลง ยิ่งดูการวัดดผลประเมินผลด้วยแล้วยิ่งไม่มีเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือศีลธรรมเลย มีแต่เพียงการวัดผลประเมินความรู้ความเข้าใจในเชิงวิชาการเท่านั้น การศึกษาในสารบบของสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา จึงเป็นการให้การศึกษาแบบหมาหางด้วนอย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้จริงๆ คือให้ความรู้ความเข้าใจเชิงวิชาการเพียงอย่างเดียว ละเลยเรื่องคุณธรรมจริยธรรมโดยสิ้นเชิง โดยปล่อยให้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ใครทำใครได้ ใครไม่ทำก็ไม่ได้ไปโน้น จึงกลายเป็นว่าสถาบันการศึกษามีหน้าที่เพียงผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนตลาดแรงงานเพียงสถานเดียว ไม่ได้มีส่วนสร้างคนดีมีคุณธรรมใหักับสังคมและประเทศชาติเท่าที่ควร
โดยปรัชญาแท้จริงของการศึกษาแล้วจะต้องเน้นการศึกษาแบบองค์รวม(HOLISTIC EDUCATION) ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ มันสมอง(HEAD) จิตใจ(HEART) และอวัยวะในการทำงาน(HANDS) มันสมองมีไว้สำหรับวิชาการ จิตใจมีไว้สำหรับคุณธรรมจริยธรรม และอวัยวะในการทำงานมีไว้สำหรับประสบการณ์ภาคปฎิบัติ การศึกษาที่ดีที่ถูก ต้องเป็นตัวขับเคลื่อนพัฒนาทั้ง 3 ส่วนนี้ เพื่อเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ครบถ้วนในทุกด้าน มีทั้งไอคิว (IQ-ความเก่งด้านวิชาการ) อีคิว (EQ-ความเก่งด้านอารมณ์) และเอ็มคิว (MQ-ความเก่งด้านศีลธรรม) ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของปริยัติศึกษา(การศึกษาเชิงทฤษฎี) และปฏิบัติศึกษา (การศึกษาเชิงปฏิบัติ) เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาศีล สมาธิ และปัญญา หรือไตรสิกขาในพระพุทธศาสนานั้นเอง
ดังนั้นหากเป้าหมายของการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณลักษณะครบถ้วนทั้งภูมิความรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา และภูมิฐานแล้วไซร้ สถาบันการศึกษาทั้งหมดในประเทศไทยจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนามันทั้งสมอง จิตใจ และความสามารถทางด้านกายภาพของผู้เรียนทั้ง 3 ด้าน ไปพร้อมๆ กันเพื่อหลีกหนีสภาพการศึกษาแบบ “หมาหางด้วน” อย่างที่ท่านพุทธทาสเคยตั้งข้องสังเกตเอาไว้ และเพื่อเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพให้กับสังคมประเทศชาติสืบไปวิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) last update: 14:57 3-Apr-2007 by Mr. Knowledge
การวิเคราะห์แบบองค์รวมในทางสังคมการคิดใหม่ต่อหลักการและแนวคิดทั่วไปในการวิเคราะห์:
หลักการพื้นฐานโดยทั่วไปในกระบวนการรับรู้ในการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ต่างจากปิระมิดที่มียอดแหลมตั้งบนพื้น ถ้าเปรียบพื้นดินเหมือนความรับรู้อันกว้างใหญ่ไพศาลในจักรวาลโดยมีปลายแหลมของยอดปิระมิดที่เป็นบริเวณที่มนุษย์ทำความเข้าใจต่อโลกและสรุปเป็นหลักการ
เมื่อมีการต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆขององค์ความรู้ ฐานที่เล็กแต่ส่วนบนมีการแตกแขนงไปไม่สิ้นสุดย่อมล่องลอยอยู่บนฟ้าและในที่สุดก็ล้มลงสัมผัสความเป็นจริงยังพื้นดินและสร้างพื้นฐานใหม่.นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมจึงต้องมีการคิดใหม่ในเรื่องหลักการก็เพื่อหารากฐานที่ถูกต้องในการต่อยอดหลักพื้นฐานในการคิด….ที่มีหลายรูปแบบเช่น -แบบแยกส่วนย่อย, -แบบการสรุปรวบยอด และ-แบบบูรณาการ
ในแบบบูรณาการจะเห็นว่ามีฐานของปิระมิดหลายๆปิระมิดแห่งสหวิชาหลายๆสาขาที่เอาปลายแหลมตั้งไว้หลายๆบนดินแดนแห่งความรู้อันเป็นรากฐานการต่อยอดขึ้นไป จากหลายๆฐานที่เกี่ยวโยงกัน
หากแต่ว่า กระบวนทัศน์แบบองค์รวม( holistic paradigm )ที่นำเสนอนี้เป็นแบบวิธีคิดอีกแบบ ที่ขยายกรอบอ้างอิงให้กว้างขึ้น เช่นกรอบมิติในการอ้างอิง โดยสรุปเป็นกรอบกว้างๆเรียกว่า มิติแห่งองค์รวมพหุภาพ
องค์รวมพหุภาพ หมายถึง องค์รวมอันประกอบเป็นเอกเทศของสิ่งหนึ่งสิ่งใดในการตรวจวัด และสัมพันธ์กับสิ่งที่ตรวจวัด
การวิเคราะห์ทุนอันเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจการเมืองเช่นกันมีรากฐานในการวิเคราะห์ดังได้กล่าวมาแล้วคือ
-การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีแบบเสรีนิยม
-การวิเคราะห์บนรากฐานทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสต์
-การวิเคราะห์ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม
ผู้เขียนจะเน้นหนักเฉพาะทุนแห่งระบอบธรรมาธิปไตย เช่นระบบทุนแบบ ethical capital อันเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ ของโครงสร้างชั้นบนในระบอบรัฐแห่งธรรมาธิปไตย
Ethical capital หรือ ทุนแบบมีศีลธรรม ( ทุนในอุดมคติของระบบที่กลไกกลางการแลกเปลี่ยนศักยภาพของทุนเกิดดุลยภาพ) ซึ่งมีความหมายครอบคลุมที่กว้างขวาง อันรวมไปถึงรูปการจิตสำนึกต่างๆที่เป็นศักยภาพแห่งทุนที่ดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ รวมถึงศาสนา ความเชื่อทางจิตวิญญาณต่างๆของผู้คน
รวมไปถึงจุดอ่อนต่างๆของระบอบทุนภายใต้กรอบกลไกแลกเปลี่ยนแบบเสรีนิยม และแบบสังคมนิยม
ทุน : หน่วยย่อยพื้นฐานเศรษฐกิจ – การเมือง
ระบอบเศรษฐกิจการเมืองใดๆล้วนแล้วมิอาจแยกออกจากการพัฒนาไปของระบอบทุนในโลก ทุน อันถือเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานหนึ่งในทางเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมและเป็นรากฐานสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่างๆของผู้คนในสังคมที่ก่อเกิดรูปการจิตสำนึกต่างๆการทำความเข้าใจในการพัฒนาไปของทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปของสังคม วัฒนธรรม การเมือง ที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ไปของทุน
ทุน คือ เกิดจากแรงงาน และผลจากแรงงานได้สร้างมูลค่าส่วนเกินและจากการสะสมทุนที่เกิดจากแรงงานส่วนเกิน ก่อให้เกิดชนชั้นใหม่คือชนชั้นนายทุน ที่มีอำนาจผูกขาดควบคุมปัจจัยการผลิตต่างๆ จึงก่อให้เกิดทฤษฎีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้นและก่อเกิดรัฐแห่งสังคมนิยมขึ้น
ขณะที่อีกแนวคิดหนึ่ง ยึดถือความมีเสรีภาพแห่งทุน และก่อให้เกิดความมั่งคั่งและใหญ่โตของทุนที่เป็นปัจเจกชนขนาดใหญ่ขึ้นจนไปสู่การข้ามชาติและไร้รัฐ
ในแนวคิดที่นำเสนอ จะพิจารณาทุนในอีกแง่มุมหนึ่ง เพื่อนำเสนอว่าทุนแห่งรัฐธรรมาธิปไตยเกิดขึ้นได้อย่างไร
รัฐแห่งธรรมาธิปไตย ก็คือรัฐที่มีกระบวนการจัดความสัมพันธ์ของระบอบทุนอย่างมีดุลยภาพที่มีการเคลื่อนที่ ( ที่มา หนังสือพิมพ์สยามรัฐสมาชิก : kontai – 7/12/2007 – 04:39 )