กล่าวโทษคนผิด : วิธีแก้ปัญหาที่ไม่พอเพียง!

กล่าวโทษคนผิด : วิธีแก้ปัญหาที่ไม่พอเพียง!
ครั้งล่าสุดที่ท่านถูกกล่าวโทษ ท่านรู้สึกอย่างไร ข้อคิด: คำกล่าวโทษเป็นเหมือนดาบหรือลูกธนูที่คม แต่ปราชญ์นำการรักษามาให้
เช้าวันจันทร์หลังจากวันหยุดยาว “น้ำจากไหนท่วมโกดังเก็บของนี่” เพ็ญศรีตะโกนด้วยความตกใจจึงรีบวิ่งไปรายงานหัวหน้า “ผู้จัดการค่ะ เกิดเรื่องใหญ่แล้วค่ะ น้ำท่วมโกดัง ของข้างในเสียหายหมดเลยค่ะ ต้องเป็นฝีมือสมศักดิ์แน่เลยค่ะชอบลืมปิดปั๊มน้ำ” น้ำเสียงของเธอขาดเป็นห้วงๆ ด้วยความเหนื่อยพร้อมกล่าวโทษคนอื่นไปด้วยโดยไม่รู้ตัว
“วันนี้เราจะไม่โทษว่าใครผิด แต่จะช่วยกันคิดว่าน้ำที่ท่วมเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกันโดยเริ่มที่ตัวเราก่อน” วรรณฤดีเรียกประชุมฉุกเฉินและรีบหาทางแก้ปัญหาโดยให้ทุกคนร่วมคิดร่วมแก้ไข
“เพราะข้อผิดอาจไม่ได้มีอยู่ในคนๆ เดียวหรือในที่ๆ เดียว และถ้าแต่ละคนมองว่าตนเองสามารถจะแก้ไขข้อผิดอะไรได้บ้าง แล้วลงมือทำทันที ปัญหาก็จะไม่ยืดเยื้อและลดผลกระทบลงได้” ยุทธศักดิ์กล่าวสนับสนุน พลันหวนนึกถึงกระแสการเปลี่ยนตัวนายกฯ ซึ่งไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรแก่บ้านเมืองมากนัก ในเวลาที่เหลืออีกไม่กี่เดือนเราควรหันมาช่วยกันแก้ข้อผิดพลาดจะดีกว่า
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสอนให้เรารู้จักใช้เหตุผลในการตัดสินใจบนฐานความรู้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ผู้บริหารสมัยใหม่จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Analysis & Problem solving) ซึ่งต้องอาศัยการรู้จักติดตามข้อมูลสารสนเทศ การประเมินความเสี่ยงและการคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่ตามมา อันนำมาซึ่งการตัดสินใจอย่างมืออาชีพ
ท่านรับมือกับปัญหาอย่างมืออาชีพมากน้อยเพียงใด ลองใช้ดัชนีการบริหารตรวจสอบดู
ดัชนีการบริหาร
คำชี้แจง : ในช่วงที่ผ่านมา ท่านทำอย่างไรเมื่อเจอปัญหาหรือวิกฤติ กรุณา ?หน้าข้อที่เห็นว่าตรงกับตัวท่าน
? ตั้งสติและสงบใจ ไม่ตื่นตระหนก
? หันมามองปัญหาในด้านบวก
? แยกปัญหาเป็นเรื่องๆ ผู้บริหารสมัยใหม่จำเป็นต้องมีขีดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (Analysis & Problem solving) ซึ่งต้องอาศัยการรู้จักติดตามข้อมูลสารสนเทศ การประเมินความเสี่ยงและการคาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่ตามมา อันนำมาซึ่งการตัดสินใจอย่างมืออาชีพ
แล้วแก้ทีละเรื่อง
? ไม่กล่าวโทษกัน แต่หาสาเหตุและเริ่มแก้ไขในส่วนที่ตนทำได้ก่อน
ข้อเสนอแนะ : หากท่านไม่ได้ ? ในข้อใดข้อหนึ่ง อาจใช้ “ทักษะรับมืออย่างรับผิดชอบ (Responsible coper)” ช่วยได้
ทักษะรับมืออย่างรับผิดชอบ (Responsible coper)
ทักษะนี้เป็นการเผชิญปัญหาอย่างมีสติ ไม่หนีปัญหาแต่เข้าส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ไม่กล่าวโทษผู้อื่นแต่สำรวจสาเหตุเพื่อแก้ข้อผิดพลาดโดยเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน อีกทั้งเรียนรู้จากปัญหาเพื่อพัฒนาตนเองทำให้ช่วยลดผลกระทบและยุติปัญหาไม่ให้ยืดเยื้อ และทำให้บุคคลเติบโตผ่านปัญหา ประกอบด้วย 3 ขั้นดังภาพโมเดลและคำอธิบายถัดไปนี้
โมเดล การเผชิญปัญหาอย่างรับผิดชอบ
1. คลี่คลายความรู้สึก โดยแสดงออกความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในใจ ไม่ละเลย ไม่เก็บกดไว้ แต่ระบายออกในวิธีที่สร้างสรรค์ ได้แก่ พูดกับเพื่อน ร้องเป็นเพลง วาดรูปออกมา เขียนเรื่องราวออกมา ออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้เรียกสติของตนกลับคืนมา และป้องกันผลกระทบจากอารมณ์ด้านลบ เช่น รากขมขื่นจากอารมณ์โกรธที่เก็บกดไว้ เป็นต้น
2. มองอย่างรับผิดชอบ เป็นการคิดแบบพัฒนาตนเองผ่านปัญหา ไม่กล่าวโทษผู้อื่น และคิดใช้เหตุผลเพื่อหาสาเหตุของปัญหาโดยถามว่า “ฉันมีส่วนทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้นบ้างหรือไม่” “ฉันจะมีส่วนช่วยคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างไร” “ปัญหานี้มีเกิดอะไรขึ้น” แทนการถามแบบกล่าวโทษว่า “ปัญหานี้ ใครเป็นคนก่อ” เมื่อทุกคนถามอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ทุกคนยินดีรับผิดชอบที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเองและร่วมมือกันแก้ปัญหาที่สาเหตุ ย่อมทำให้ปัญหาคลี่คลายได้ไม่ยืดเยื้อ
3. ลงมือทำส่วนของตนก่อน เป็นการเริ่มทำจากที่ตนทำได้ก่อนอย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทุกคนพร้อมถึงจะดำเนินการ เพราะปัญหาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เราทำส่วนของเราที่ทำได้ก่อนซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหา และเพิ่มความรู้สึกควบคุมอยู่เหนือปัญหา (Feeling of Control) ซึ่งส่งผลดีในการแก้ปัญหาแบบลูกโซ่ได้ (Positive Chain Reaction)
ปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุด มีอะไรที่ท่านสามารถทำได้เพื่อช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นบ้าง
ที่มา : น.พ.ยุทธนา ภาระนันท์. E-mail : yparanan@hotmail.com

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *