กลยุทธ์การผลักดันองค์กรของคุณสู่มาตรฐานที่เหนือคู่แข่งด้วย Business Intelligence Competency Centre (BICC) ตอนที่ 2

กลยุทธ์การผลักดันองค์กรของคุณสู่มาตรฐานที่เหนือคู่แข่งด้วย Business Intelligence Competency Centre (BICC) ตอนที่ 2

ขั้นตอน 5 ประการของโมเดลพัฒนาการ

การเข้าใจในโมเดลดังกล่าวจะไล่ระดับของความเข้าใจตั้งแต่ บุคคลากร กระบวนการ ระบบโครงสร้าง และวัฒนธรรมองค์กรถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นพื้นฐานของ BICC ซึ่งจะสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้แก่องค์กรของคุณต่อไป ความสามารถในการสร้าง BICC นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับความพร้อมขององค์กรของคุณ แต่เกิดจากวัตถุประสงค์ของการสร้าง Intelligence ที่จะสามารถกำหนดโครงสร้างของ BICC ของคุณได้ต่อไป
พื้นฐานในการดำเนินการ BICC บางแห่งอาจเริ่มจากระบบสนับสนุนขั้นต้นเท่านั้น แต่แซสมีข้อแนะนำเพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มเติมมุมมองเพื่อการริเริ่ม Business Intelligence อย่างสมบูรณ์แบบ ได้แก่
• โปรแกรม Business Intelligence:การเลือกว่าระบบโปรแกรม BI ใดที่สมควรต้องถูกใช้งานควบคู่ไปกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
• การให้บริการข้อมูล: คุณภาพของข้อมูล (Data Quality) ระบบการจัดการ และนโยบายจะถูกควบคุมโดย BICC
• การได้มาซึ่งข้อมูล: การรวบรวมข้อมูล (Data Integration) และจัดเก็บข้อมูล (Storage)
• การวิเคราะห์ขั้นสูง
• การสนับสนุน: การสนับสนุน และบริการที่ดีเลิศสำหรับผู้ใช้งานทางธุรกิจ
• การผึกอบรม: การจัดการความเปลี่ยนแปลง การบริหารโครงการ และกระบวนการผสมผสานการผึกอบรมเพื่อส่งมอบผลลัพธ์ Intelligence ให้มีประสิทธิภาพ
• การบริหารจัดการสัญญากับผู้ให้บริการระบบ

พื้นฐานของ BICC
เนื่องจาก BICC ถือเป็นเป้าหมายที่เป็นกลยุทธ์ระดับองค์กร จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมทั้ง 2 ส่วนหน่วยงานในการทํางานควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเทคโนโลยี และหน่วยงานทางธุรกิจ และควรต้องขึ้นตรง รายงานผลกับผู้บริหารระดับสูงสุด ไม่ว่าจะเป็น CFO CIO หรือแม้แต่ CEO ที่สำคัญที่สุด BICC ควรกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างองค์กร ที่มีหน้าที่ในการผสมผสานบทบาทเชิงธุรกิจเข้ากับคนไอที บทบาทเชิงธุรกิจดังกล่าวได้แก่ ผู้วิเคราะห์ธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม และ ผู้จัดการโครงการ ส่วนตัวอย่างของบทบาทเชิงเทคโนโลยีได้แก่ ผู้ควบคุมด้านเทคนิค ผู้ดูแลเหมืองข้อมูล นักออกแบบคลังข้อมูล ที่ปรึกษาด้านคลังข้อมูล และนักพัฒนาแอพพลิเคชั่น เป็นต้น
นอกเหนือจากหน้าที่เหล่านี้แล้วเรายังต้องการความชำนาญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงและสื่อสารความเปลี่ยนแปลงนั้นออกไปเพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการสร้าง Intelligence BICC ควรได้รับการควบคุมการทำงานโดยบุคลากรซึ่งได้รับการระบุว่าจะกลายเป็นผู้บริหารในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่า BICC จะสามารถทำงานในฐานะจุดเริ่มต้นของการสร้างแนวคิดและแนวทางปฏิบัติสำหรับพวกเขาเหล่านั้นเพื่อให้ได้รับภาพรวมขององค์กรทั้งหมดอย่างครบถ้วน
ขนาดของ BICC มีความหลากหลายตั้งแต่ขนาดจำนวน 12 คนไปจนถึงนับร้อยๆ คน ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท อาทิเช่น บริษัทประกันภัยชั้นนำในแอฟริกาใต้ได้ตั้ง BICC สำหรับคนจำนวน 10 ถึง 20 คน โดยในความพยายามที่จะสร้าง Intelligence แก่องค์กรนั้น บริษัทดังกล่าวได้ปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อสนับสนุนความพยายามในการบริหารระบบจัดการข้อมูลใหม่ ส่วนในประเทศญี่ปุ่น NTT DoCoMo ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านการโทรคมนาคมระดับโลกได้สร้าง BICC ซึ่งประกอบไปด้วยพนักงานกว่า 100 คน องค์กรทั้งสองต่างได้ทำการตัดสินใจซึ่งจะส่งผลระยะยาวต่อธุรกิจว่าการสร้าง Intelligence คือหัวใจหลักสำคัญที่ต้องได้รับความสำคัญเป็นอันดับแรกหลังจากนั้นจึงค่อยมุ่งสร้างองค์กรให้เกื้อหนุนการทำงานของ Intelligence ต่อไป
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม หากคุณเข้าใจถึงข้อกำหนดพื้นฐานทางธุรกิจและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของคุณโดยมี Intelligence ที่องค์กรของคุณต้องการเป็นสิ่งผลักดัน คุณก็จะสามารถเห็นได้อย่างกระจ่างชัดว่าคุณต้องทำอะไรต่อไปเพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณด้วยการใช้ BICC เป็นบันไดสนับสนุนการตัดสินใจ และเมื่อด้วย BICC คุณจะสามารถยกระดับองค์กรของคุณให้เติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงทั้งในด้าน กระบวนการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร บุคลากร และโครงสร้างทั้งหมด ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มรายรับทางธุรกิจที่เป็นเป้าหมายสำคัญของทุกองค์กรให้แก่บริษัทของคุณอีกด้วย

ที่มา : http://www.sas.com/

Tags:

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *