กฎหมาย : เมื่อการสมรสสิ้นสุดเกิดการหย่าร้าง
|กฎหมาย : เมื่อการสมรสสิ้นสุดเกิดการหย่าร้าง
เมื่อแต่งงานกันด้วยความรัก ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากที่จะอยู่คู่กันตลอดไป แต่สถานภาพสมรสย่อมมีวันต้องสิ้นสุดลง ถ้าไม่ใช่ด้วยความตายของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ด้วยเหตุผลมากมายที่ทำให้คู่สมรสต้องหย่าร้างกัน แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสยังพอมีทางเยียวยาได้ และยังมีเยื่อใยต่อกัน การแยกกันอยู่ชั่วคราวเป็นทางเลือกหนึ่งที่รองรับชีวิตสมรสที่มีปัญหา ให้คู่สมรสได้พักจิตใจให้สบายสักพัก มีเวลาไตร่ตรองชีวิตที่ผ่านมา ไม่ด่วนตัดสินใจหย่ากัน
อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น คู่สมรสที่จะแยกกันควรตกลงกันให้เป็นเรื่องราว จะตกลงด้วยวาจาก็ได้ หรือถ้าให้ดีก็ทำสัญญาต่อกัน การทำสัญญามีผลดีคือ อีกฝ่ายจะนำมาเป็นเหตุฟ้องหย่าโดยอ้างว่าถูกทิ้งร้างไม่ได้ แต่ต้องระวังว่า ถ้าสมัครใจแยกกันอยู่อยู่เกิน 3 ปี่ขึ้นไป และไม่อาจอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็มีสิทธินำมาฟ้องหย่าได้
เหตุที่สามีหรือภริยาฝ่ายที่เดือดร้อนจะนำไปร้องของต่อศาลให้อนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวมี 3 กรณีคือ
1. ไม่สามารถอยู่กินด้วยกันสามีภริยาโดยปกติสุขได้
2. การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างมาก
3. การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุกอย่างมากของทั้งคู่
การแยกกันอยู่ชั่วคราวนี้ ก็ยังมีสถานะเป็นภริยากันอยู่จึงไม่อาจไปมีสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับผู้อื่น ถ้าอีกฝ่ายจับได้สามารถอ้างเหตุฟ้องหย่าได้ทันที
1. การหย่า
สามีของสุมิดาแอบกุ๊กกิ๊กกับหญิงอื่นเป็นประจำ สุมิดาทราบข้อเท็จจริงนี้แล้ว จะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าสามีได้หรือไม่
คำตอบคือ ได้ เพราะตามกฎหมาย หากสามีร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ก็เป็นเหตุให้ภริยาสามารถฟ้องหย่าได้
การหย่า หมายถึงการที่สามีภริยาไม่สามารถอยู่กินด้วนกันได้อีกต่อไป กฎหมายบัญญัติเงื่อนไขในการย่าเอาไว้อย่างชัดเจนเพราะการหย่าเป็นการสิ้นสุดสถาบันครอบครัว และมีผลต่อสิทธิในด้านทรัพย์สินของทั้งสองฝ่าย การหย่าตามกฎหมายมี 2 ประเภทคือหย่ากันด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย กับหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือ “ฟ้องหย่า”
* การหย่ากันโดยความยินยอมต้องเป็นการหย่าด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย มิได้ถูกบังคับ หรือทำสัญญาหย่ากันไว้อย่างหลอกๆเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเจ้าหนี้ฟ้องหรือยึดทรัพย์ที่เป็นสินมารส
* การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือการฟ้องหย่า ในบางกรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจไม่ยอมหย่า หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการใช้ชีวิตคู่ ซึ่งถ้าหากมีการใช้ชีวิตคู้ตอไปอาจทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งประสบปัญหา หรือทำให้ชีวิตสมรสไม่ราบรื่นได้คู่สมรสก็ไปร้องขอต่อศาล โดยสาเหตุที่นำมาฟ้องหย่าต้องเข้าตาม “เหตุหย่า” ที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น
2. เหตุหย่าตามที่กฎหมายบัญญัติ
ถ้าพฤติกรรมหรือการกระทำใดเข้าลักษณะดังต่อไปนี้จึงจะสามารถฟ้องหย่าได้
1. สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
2. สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
* ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
* ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
* ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร เมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ตัวอย่างเช่น ภริยาชอบเล่นการพนันจนเป็นนิสัย สามีติดยาเสพย์ติด หรือสามีแอบมีเพศสัมพันธ์กับสาวใช้ ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ฟ้องหย่าได้
3. เหตุหย่าเพราะทำร้าย ทรมารร่างกายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง
เหยียดหยามซึ่งกันและกัน เช่น ด่าทอ ทะเลาะวิวาททุบตีกันจนเป็นเหตุให้บาดเจ็บบาดเจ็บสาหัส หรือสามีเป็นชาดิสม์ ต้องทำให้ภริยาหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น สามีและภริยาทะเลาะกัน สามีด่าภริยาและพ่อแม่ของภริยาว่า “เธอรู้มั้ย พ่อมารักเธอนะ เฮงซวย ชั้นอยู่บ้านนี้ไม่ได้แล้ว “ เช่นนี้ ถือว่าสามีหมิ่นประมาณเหยียดหยามภริยาและพ่อแม่ของภริยาอย่างร้ายแรง ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ หรือสามีทำร้ายภริยาบาดเจ็บสาหัสถึงขนาดน้ำหล่อเลี้ยงไหลออกกรูจมูกและดั้งจมูกแตกร้าว ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
4. เหตุหย่าโดยสามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างไปเป็นเวลาเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ การละทิ้งร้าง หมายถึงสามีภริยาเจตนาที่จะแยกกันอยู่โดยไม่ได้ติดต่อกันเลย หรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน แต่ยังติดต่อกันอยู่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นจงใจละทิ้งร้าง
การละทิ้งร้างนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาของสามีหรือภริยาที่ต้องการแยกกันอยู่โดยไม่ต้องการจะกลับมาอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาอีก เช่น ภริยาออกจากบ้านที่เคยอยู่กินกับสามีไปอยู่ที่อื่น ไม่กลับมาตามคำร้องของสามี ทั้งยังบอกให้สามีจัดการเรื่องหย่าด้วย เมื่อทิ้งร้างไปเป็นเวลาเกิน 1 ปี สามีมีสิทธิฟ้องหย่าได้
หรือในกรณีที่สามีกลับไปอยู่บ้านเดิมของตนเองซึ่งอยู่ห่างบ้านภริยาไม่ไกลนัก โดยไม่ยอมไปมาหาสู่และไม่ส่งเสียเลี้ยงดูภริยาเลยเป็นเวลาเกิน 1 ปี ภริยาถือเป็นเหตุหย่าได้ถึงแม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลกันก็ตาม แต่กาสามีหรือภริยาไปเรียนต่อต่างประเทศหรือไปราชการต่างประเทศ แม้จะเป็นเวลาเกิน 1 ปี ถ้ายังมีการติดต่อกันไม่ว่าจะเป็นทางจดหมายหรือทางโทรศัพท์หรือโดยวิธีการอื่นใด ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้าง
5. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกิน 1 ปี โดยอีกฝ่ายหนึ่งต้องมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้น และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้แต่ถ้าคำพิพากษานั้นยังไม่ถึงที่สุด คือยังสามารถอุทธรณ์หรือฎีกาได้ก็ยังไม่สามารถฟ้องหย่า
6. เหตุหย่าเพราะสามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปีเป็นการสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แตกต่างจากเหตุหย่าเนื่องด้วยการจงใจละทิ้งร้างกันไปเกิน 1 ปีซึ่งไม่ว่าจะเป็นความสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปโดยทีอีกฝ่ายหนึ่งไม่เต็มใจ
7. เหตุหย่าเนื่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่เป็นเวลานานเกิน 3 ปี โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ การสาบสูญนั้นต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในเรื่องนี้และมีคำสั่งศาลให้คนสาบสูบ
8. เหตุหย่าเพราะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะอีกฝ่ายหนึ่งสามีและภริยาต่างมีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะซึ่งกันและกันดังนั้นหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกทุกข์ได้ยาก ไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ฝ่ายที่มีรายได้ก็ควรจะช่วยเหลือตามหน้าที่ ถ้าไม่ช่วยเหลือ อีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องหย่าได้
9. เหตุหย่าเพราะกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างร้ายแรง หมายถึงการที่ฝ่ายหนึ่งแสดงพฤติกรรมที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมากจนกระทั่งอีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ไหวและต้องฟ้องหย่า ส่วนอย่างไรถึงจะเรียกว่าเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล เช่น การที่ภริยาขู่จะฆ่าสามี หรือสามีขู่จะเอาน้ำกรดมาสาดหน้าภริยา
10. เหตุหย่าเพราะคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกลงเป็นผู้วิกลจริตความวิกลจริตที่จะเป็นเหตุฟ้องหย่าได้ต้องเข้าเงื่อนไข 3 ประการคือ
➢ วิกลจริตทีติดต่อกันเป็นเวลาเกิน 3 ปี หมายความว่าถ้าในระยะ 3 ปีดังกล่าวยังสามารถรักษาให้หายได้ก็ไม่ถือว่าเป็นความวิกลจริตต่อเนื่องกัน
➢ ความวิกลจริตนั้นยากที่จะหายได้
➢ ความวิกลจริตนั้นถึงขนาดที่จะไม่สามารถทนอยู่ร่วมกันต่อไปได้อีก
11. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เหตุหย่ากรณีนี้เป็นเพราะวสามีหรือภริยาประพฤติตนไม่เหมาะสม เช่น เล่นการพนันหรือดื่มสุรา จนต้องมีการทำทัณฑ์บนไว้เป็นหนังสือว่าจะไม่ประพฤติเช่นนั้นอีก ต่อมาหากเกิดประพฤติผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้อีกฝ่ายสามารถฟ้องหย่าได้
12. สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยต่ออีกฝ่ายหนึ่ง และโรคนั้นมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
13. สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ เช่น สามีประสบอุบัติเหตุทำให้อวัยวะเพศขาดหาย ภริยาถือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้
3. ผลจากการหย่าโดยความยินยอม
ถ้าแต่งงานถูกต้องตามกฎหมาย แล้ววันหนึ่งเกิดมีปัญหาแตกร้าวกับคู่สมรส การหย่ากันอาจเป็นวิธีที่อาจจะดีที่สุด ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างไป ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกันอีก แต่ความจริงยังไม่จบแค่นั้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีเรื่องทรัพย์สินและเรื่องลูกมาเกี่ยวข้อง
ปัญหาเรื่องงทรัพย์สิน
การหย่าโดยความยินยอมมีผลนับตั้งแต่เวลาจดทะเบียนหย่า พึงตระหนักว่า แม้คู่สมรสจะทำหนังสือยินยอมหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่คราบใดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันตามกฎหมาย ก็ยังไม่ถือว่าหย่าขาดกันแล้ว ข้อตกเรื่องการแบ่งทรัพย์สินต้องไปด้วยกันกับข้อตกลงในการหย่า หากยังไม่มีการจดทะเบียนหย่า ทรัพย์สินนั้นยังคงเป็นสินสมรสตามเดิม และเช่นเดียวกัน หากจดทะเบียนหย่ากันเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเกิดเปลี่ยนใจมาอยู่กินด้วยกันอีกโดยไม่จดทะเบียนสมรส ก็ยังไม่มีฐานะเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย
หากมีการหย่าโดยความยินยอม ทรัพย์สินของสามีภริยาก็ต้องจัดการแบ่งตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า ส่วนการแบ่งทรัพย์สินและความรับผิดในหนี้นั้น แล้วแต่คู่สมรสจะตกลงกันแบ่งเท่าไดก็ได้ หากตกลงกันได้ หากตกลงกันได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งสินมารสในส่วนเท่ากันตามที่กฎหมายกำหนด เช่น สามีอาจจะยก 2 ใน 3 ส่วนของสินสมรสให้แก่ภริยาก็ได้ หรืออาจแบ่งกันตามกฎหมายกำหนด คือ สินส่วนตัวแต่ละฝ่ายต่างได้ของตนเองไป สินสมรสแบ่งทรัพย์สินกันในเวลาเดียวกับที่จดทะเบียนหย่าเลยก็ได้เหมือนกัน
ปัญหาเรื่องลูก
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ลูกจะอยู่กับพ่อหรือแม่ ใครจะเป็นฝ่ายที่ใช้อำนาจปกครองลูก ใครจะเป็นผู้จ่ายเงินค่าเลี้ยงดู ฝ่ายที่ไม่ได้อยู่กัยลูกจะมีโอกาสได้พบเจอกันบ้างไหม
* อำนาจปกครอง
อำนาจปกครองบุตรเป็นอำนาจที่สำคัญ เวลาที่ยังดีๆ กันอยู่พ่อแม่จะใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน นอกจากจะมีอำนาจในการปกครองดูแลโดยทั่วไปแล้ว ยังหมายถึงการจัดการการทรัพย์สินของลูกด้วย แต่พอหย่ากัน ต้องแยกกันอยู่ กฎหมายจึงให้คู่สมรสทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด
หากไม่ได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ศาลจะเป็นผู้ชี้ขาด เช่น อาจตกลงให้พ่อเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองลูกชาย และแม่เป็นผู้ใช้อำนาจครองลูกสาว
ข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองนี้จะต้องทำเป็นหนังสือเพื่อความชัดเจนและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง อย่าลืมว่าการใช้อำนาจปกครองเป็นคนละเรื่องกับการอุปการะเลี้ยงดู การตกลงอุปการะเลี้ยงดูบุตรยังไม่ถือว่าเป็นการตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครอง
* การอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ถึงแม้ว่าจะหย่าร้างกันแล้ว แต่ความเป็นพ่อแม่ก็ยังอยู่เหมือนเดิม และมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูลูกเช่นเดิม ในเรื่องกฎหมายกำหนดให้ทั้งคู่ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าง่า แต่ละฝ่ายจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรก็ได้ หรือจะช่วยกันออกทั้งสองฝ่ายก็ได้ เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ จะต้องกำหนดให้ชัดเจนไว้ในสัญญา หากไม่ได้กำหนด ศาลจะเป็นผู้กำหนด
* สิทธิในการติดต่อกับบุตร
ถึงแม้ว่าตกลงกันแล้ว หรือศาลพิศาลพิพากษาให้ฝ่ายใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ได้ขาดความสัมพันธ์ในฐานะพ่อแม่ของลูก กฎหมายยังคงให้สิทธิแก่ฝ่ายที่ไม่ได้อำนาจปกครองบุตรในการที่จะติดต่อกับลูกได้ตามสมควร เช่น มารับไปค้างที่บ้านโทรศัพท์มาพูดถามสารทุกข์สุกดิบ ขออนุญาตปับที่โรงเรียนในบางวัน หรือพาไปเที่ยวในวันสุดสัปดาห์ ตามแต่กำหนดกันไว้
การติดต่อนี้จะต้องทำอย่างสมเหตุสมผล ไม่กระทบกระเทือนจ่ออำนาจของฝ่ายที่ใช้อำนาจปกครอง หรือมีส่วนที่จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อำนาจปกครองกับบุตร มิเช่นนั้นผู้ใช้อำนาจปกตรองสามารถสั่งห้ามการติดต่อได้
4 . ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
ถ้าคู่สมรสไม่อาจตกลงกันได้ จนถึงขั้นต้องฟ้องหย่ากัน ฝ่ายที่ต้องการหย่าสามารถฟ้องศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาให้หย่าได้ การหย่าจะมีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้หย่าได้ และกรณีเช่นนี้ ปัญหาเรื่องทรัพย์สินและเรื่องลูกมักจะตามมามากกว่าการหย่าด้วยความยินยอม
ปัญหาเรื่องทรัพย์สิน
กรณีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล กฎหมายกำหนดให้แบ่งทรัพย์สินกันตามจำนวนที่มีในวันฟ้องหย่า ทรัพย์สินใดที่ได้มาหลังจากการฟ้องอย่าย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินของฝ่ายที่ได้รับมานั้นกฎหมายกำหนดให้ชายหญิงได้ส่วนแบ่งในสินสมรสเท่ากัน และจะต้องรับผิดชอบในหนี้ร่วมในสัดส่วนที่เท่ากัน
กฎหมายยังกำหนดให้คู่สมรสฝ่ายที่ฟ้องหย่า สามารถเรียกค่าทำแทนได้ จากเหตุฟ้องหย่าดังนี้
1 สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ
2 ทำร้าย ทรมานร่างกายหรือจิตใจ หมิ่นประมาทหรือเหยียดยามคู่สมรส หรือบุพการีของคู่สมรสอย่างร้ายแรง
3 จงใจละทิ้งร้างคู่สมรสไปเกิน 1 ปี หรือ
4 ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส หรือท้าการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรงถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในฐานที่เป็นสามีหรือภริยาของอีฝ่าย
ค่าทดแทนนี้อาจเรียกได้จากบุคคลภายนอกเช่น เหตุอย่าอันเกิดจากภริยามีชู้หรือสามีมีภริยาน้อย ฝ่ายที่ฟ้องหย่าอาจเรียกค่าทดแทนได้จากชายชู้ หรือจากภริยาน้อยได้
นอกจากค่าทดแทน คู่สมรสฝ่ายโจทก์ยังสามารถเรียกร้อง “ค่าเลี้ยงชีพ” ได้อีกด้วย ค่าเลี้ยงชีพเป็นเงินหรือประโยชน์อย่าอื่นที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องรับผิดชอบเมื่อมีการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลกฎหมายกำหนดให้จ่ายค่าเลี้ยงภายใต้เงื่อนไข 2 ประการคือ
1 ศาลพิพากษาให้หย่าโดยคู่สมรสฝ่ายจำเลยเป็นผู้ติดต่อแต่เพียงผู้เดียว เช่น ภริยามีชู้ หรือสามีประพฤติชั่ว หรือมีภริยาน้อย
2 การหย่านั้นทำให้คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ผิดต้องยากจนลง อันเนื่องจากไม่มีรายได้จากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส
ทั้งนี้กฎหมายให้อยู่ในดุลยนิจของศาลที่จะให้หรือไม่ให้ก็ได้ โดยศาลอาจกำหนดให้ตามฐานะการเงินของทั้งสองฝ่าย ตามความสามารถของผู้ให้ และตามฐานะของผู้รับ
นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการหย่าขาดกันเพราะเหตุวิกลจริตหรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง คู่สมรสอีกฝ่ายจะต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริตหรือฝ่ายที่เป็นโรคติดต่อนั้น โดยคำนึงถึงความสามารถทางการเงินของผู้ให้เช่นกัน
ปัญหาเรื่องลูก
* อำนาจปกครองบุตร
ในกรณีการฟ้องหย่า นั้นแสดงว่าคู่สมรสแทบไม่อาจตกลงเรื่องใดๆกันได้อยู่แล้ว รวมทั้งเรื่องลูกด้วย ดังนั้นศาลจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองลูกคนใด โดยคำนึงถึงประโยชน์และความสุขของเด็กเป็นสำคัญ ไม่ได้ให้ตกลงกันเองเหมือนกับกรณีหย่าโดยความยินยอม และหากศาลให้อำนาจปกครองบุตรกับใครไปแล้วถ้าต่อมาภายหลัง ไม่ว่าจะพ่อหรือแม่ประพฤติตนไม่เหมาะสม ศาลมีสิทธินาจ หรืออาจสั่งให้บุคคลนอกเป็นผู้ปกครองบุตรก็ได้
* การอุปการะเลี้ยงดูบุตร
กรณีฟ้องหย่า ศาลจะเป็นผู้กำหนดว่า ทั้งพ่อหรือแม่ หรือฝ่ายใดหนึ่งจะออกเงินจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใดโดยพิจารณาจากความสามารถทางการเงินของทั้งสองฝ่าย
* สิทธิในการติดต่อกับบุตร
ใช้หลักการเดียวกับการหย่าโดยความยินยอม คู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีอำนาจปกครองหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้หย่า ย่อมมีสิทธิติดต่อกับลูกได้ตามควรแกพฤติการณ์