กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารหรือบัตรที่ทางราชการออกให้แก่ผู้ถือ อันเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ถือบัตรมีสัญชาติไทย มีชื่อตัว ชื่อสกุลว่าอะไร เกิดเมื่อไร และอยู่ที่ไหน เพื่อให้ประโยชน์ในการแสดงตนในการติดต่อหน่วยราชการ ธนาคาร ธุรกิจเอกชน ตอลดจนการใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นที่นิยมใช้ถ้อยคำในการชักชวนไปใช้สิทธิ์ว่า “ไม่มีชื่อ ไม่มีบัตร” เป็นต้น หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชนมีกำหนดในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ดังนี้
1. หลักเกณฑ์ของผู้ที่จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน
1.1 ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
1.2 อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์
1.3 มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่นั้น
2. การขอมีบัตรประตัวประชาน บุคคลผู้ใดเมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ให้ไปติดต่อที่อำเภอ ที่ฝ่ายทะเบียน
ราษฎรและบัตรประจำตัวประชานหรือสำนักงานเขตที่งานทะเบียน หมวดบัตรประจำตัวประชาชน และถ้าอยู่ในเขตเทศบาลให้ไปติดต่อที่สำนักงานเทศบาลนั้น โดยสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านและสูติบัตรไปด้วย แล้วแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะให้กรอกข้อความในแบบคำขอมีบัตร และออกใบรับคำขอมีบัตร (ใบเหลือง) เพื่อถือแทนบัตรประจำตัวประชาชนและเจ้าหน้าที่จะนัดไปรับบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงในภายหลัง บัตรประจำตัวประชาชนมีอายุใช้ได้ 6 ปีนับแต่วันออกบัตร เว้นแต่บัตรที่ยังใช้ได้อยู่ในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครอบ 70 ปีบริบูรณ์ ก็คงให้ใช้ไปตลอดชีวิต
3. ความผิดและอัตราโทษของผู้ฝ่าฝืน
3.1 ไม่ยืนคำขอมีบัตรภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ โทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3.2 ไม่ขอเปลี่ยนบัตรใหม่เมื่อบัตรหมดอายุภายใน 90 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
3.3 ไม่ขอทำบัตรใหม่ในกรณีที่บัตรหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญภายใน 90 วัน นับแต่วันที่บัตรนั้นสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด โทษปรับไม่เกิน 200 บาท เช่นเดียวกัน
3.4 ไม่ขอเปลี่ยนบัตรใหม่ในกรณีที่ผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล โทษปรับไม่เกิน 200 บาทเช่นกัน
3.5 ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรหรือใบรับ (ใบเหลือง) เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ โทษปรับไม่เกิน 100 บาท (ควรจะพกบัตรอยู่เสมอ)
4. บุคคลผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน มี 25 ประเภท เช่น ภิกษุ สามเณร นักพรต
นักบวช และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น