Tag: Applicative Thinking

‘เลิกกลัวผิด’ ไม่พอให้คิดสร้างสรรค์

“เลิกกลัวผิด” ไม่พอให้คิดสร้างสรรค์ นอกจากความเข้าใจผิด 3 ข้อที่พูดถึงในตอนที่ผ่านมาคือ คนที่เข้าใจผิดว่า 1.ความคิดสร้างสรรค์เป็นพรสวรรค์เฉพาะคนเรียนกันไม่ได้ 2. ความคิดสร้างสารค์มักได้มาจากคนที่ไม่ชอบทำตามกฎระเบียบ และ 3. ถ้าจะคิดสร้างสรรค์ต้องใช้สมองซีกขาว วันนี้เรามาต่อกันด้วยความเข้าใจผิดข้อที่ 4 คือ คนจะคิดสร้างสรรค์ได้ถ้าได้รับการปลดปล่อยและไม่กลัวผิด ระบบการตัดสินเป็นส่วนที่สำคัญมากในการศึกษาของเราซึ่งเน้นเรื่อง “คำตอบที่ถูกต้องมีคำตอบเดียว” ผลจากระบบการศึกษาเช่นนี้ทำให้ผู้คนไม่ค่อยกล้าคิดกล้าพูด เพราะกลัวคิดผิดและกลัวพูดผิดซึ่งจะทำให้ดูแย่มากในสายตาของทุกคน มีคนนำจุดนี้มาใช้การฝึกอบรมด้านความคิดสร้างสรรค์โดยปลดปล่อยผู้คนให้มีอิสระเต็มที่ไม่ต้องกลัวผิดหรือกลัวถูกตำหนิ จะคิดอะไรออกมาก็ได้ จุดที่เป็นความเข้าใจผิดสำคัญคือ ความคิดที่ว่าการปลดปล่อยให้คนคิดได้อย่างไม่กลัวผิดเท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ต้องทำอะไรอยางอื่นอีกแล้ว เดี๋ยวคนก็คิดสร้างสรรค์ได้เอง บางบริษัทจึงหาใครสักคนเข้ามา “ปลดปล่อย”
Read More

คิดให้แตกต่าง – เรียนรู้จากอุตสาหกรรมอื่น

คิดให้แตกต่าง – เรียนรู้จากอุตสาหกรรมอื่น มองมุมใหม่ : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ pasu@acc.chula.ac.th กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เนื้อหาสัปดาห์นี้ยังคงสืบเนื่องจากสองสัปดาห์ที่ผ่านมานะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการคิดให้แตกต่าง ซึ่งแรกเริ่มนั้นก็มาจากความแตกต่างระหว่าง Leader กับ Manager โดยเฉพาะท่านที่อยากจะเป็น Leader ก็คงจะต้องหัดคิดให้แตกต่างจากผู้อื่น และแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจในการคิดให้แตกต่างนั้นก็คือ การเริ่มต้นอย่ายึดติดกับความสำเร็จที่ผ่านมา หรือสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันครับ ท่านผู้อ่านอย่าเป็นเหมือนกับ Ken
Read More

Creativity is Essential

Creativity is Essential คนพูดวลีนี้คือ อาจารย์ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ซึ่งเป็นคนชอบคิดสร้างสรรค์ ดิฉันเริ่มรู้จักท่านจากการอ่านหนังสือของท่านเพื่อทำรายงาน แล้วติดใจแนวคิดของท่าน จนศึกษาเจาะลึกเรื่องความคิดสร้างสรรค์อย่างจริงจังและทำวิทยานิพนธ์ด้านนี้ เมื่อได้อ่านหนังสือของท่านแล้วก็ศรัทธาชื่นชมแนวคิดที่ท่านอยากให้ผู้คนหันมาคิดในทางสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามใหม่ๆ กัน ท่านคิดหาวิธีที่ทำให้คนไม่ต้องถกเถียงกันว่าใครถูกใครผิดเพื่อจะได้ลดความขัดแย้งลงได้ทั้งในบริษัท ในครอบครัว และในสังคม โดยได้ข้อสรุปที่ทุกคนยอมรับในเวลาที่กระชับไม่เสียเวลาพูดวกไปวนมาเพราะท่านมีทิศทางให้คิดร่วมกันทีละแนว เทคนิคนี้เรียกง่ายๆ ว่า เทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบแบบซิกส์แฮ็ท ดิฉันมีโอกาสไปเรียนกับอาจารย์ เดอ โบโน ที่ประเทศมอลตาซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของท่าน และที่อื่นบ้างรวมสิบครั้ง ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มเติมเสมอ
Read More

จับแก่นให้ได้…ไอเดียก็มา

จับแก่นให้ได้…ไอเดียก็มา ถ้าท่านสนใจฝึกฝนเพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ของตนเองแล้ว สิ่งแรกที่ท่านจำเป็นต้องมีไว้เป็นทุนในส่วนลึกของจิตใจและความคิด คือ การคิดทางบวก (Positive Thinking) หรือคิดบวก ซึ่งมีผลต่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์ สรุปก็คือ ถ้าท่านคิดบวกจะเปิดใจพอรับสิ่งใหม่ๆ ใส่ตัวเสมอ ท่านจะมองเห็นความสดใสและโอกาสที่ดีและกล้าคิดกล้าทำในสิ่งที่ดีงามแม้จะแตกต่างจากคนอื่นบ้าง ผลก็คือ ท่านจะฝึกคิดสร้างสรรค์ได้ง่าย การคิดทางลบทำให้คนไม่คิด ไม่มีแรงใจจะคิด ดูถูกดูแคลนดูหมิ่นตัวเองว่าคงไม่มีทางคิดได้ จนบางครั้งฉุนเฉียวและโมโหตัวเองจนพาลรู้สึกหงุดหงิดกับคนอื่นรอบข้าง โกรธเหตุการณ์ที่ต้องบีบให้ตนเองคิดไม่พอใจคนรอบข้างรู้สึกตัวเหมือนคล้ายๆ มีคนจงใจแกล้งให้ตนเองต้องเสียหน้า เสียฟอร์ม เพราะการที่คิดไม่ออกคงต้องอับอายขายหน้าแทบแทรกแผ่นดินหนี ต่อไปนี้ใครจะมานับถือเคารพยกย่องอีก คนคงมองอย่างเหยียดหยาม โอ๊ย… น่ากลัวไปหมด หากคิดทางลบก็จะพาให้คิดบั่นทอนและทำร้ายความรู้สึกของตนเอง
Read More

ทิ้งการคิดทางลบให้ได้

ทิ้งการคิดทางลบให้ได้ ถึงวันนี้ในวงการธุรกิจโดยเฉพาะผู้บริหารต่างรู้ซึ้งว่า จำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้ คิดเร็ว คิดคล่อง และคิดได้ทันการ ไม่ว่าจะเป็นการคิดกลยุทธ์ คิดวางแผน คิดแก้ปัญหา คิดปรับปรุงงาน คิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มนวัตกรรม หรือคิดเพิ่มประสิทธิภาพ ผู้บริหารธุรกิจยุคใหม่รู้ความจริงเหล่านี้มากขึ้น ผิดกับเมื่อก่อนที่มองไม่เห็นความจำเป็นของความคิดสร้างสรรค์ว่ามีต่อความมั่นคงและความก้าวหน้าของงานมากแค่ไหน ผู้บริหารธุรกิจและนักธุรกิจรวมถึงคนทำงาน ถามกันว่า ถ้าอยากพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนเองจะเริ่มได้อย่างไร พอดิฉันบอกไปก็จะมีข้อโต้แย้งว่าคงยาก ลำบาก ด้วยเหตุผลมากมาย ซึ่งล้วนฟังขึ้น และเห็นได้ชัดว่าเป็นไปไม่ได้ ดิฉันจึงค่อยๆ มองเห็นภาพความคิดในใจของคนได้ชัดเจนมากขึ้นๆ จนพบว่า อุปสรรคใหญ่ของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งรวมไปถึงความสุขในการดำเนินชีวิต
Read More

การคิดเชิงระบบ Systems Thinking

การคิดเชิงระบบ Systems Thinking   **ดร.พรพรรณ  ภูมิภู การคิดเชิงระบบหมายถึงอะไร Systems Thinking  การคิดเชิงระบบหมายถึงการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ  และมีส่วนประกอบย่อยๆ  โดยอาศัยการคิดใด รูปแบบโดยตรง  และโดยทางอ้อม ทฤษฎีระบบ ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ  (The Universe)   รวมทั้ง สิ่งเล็ก ใหญ่เพียงใด ล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบ มีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยการผลิต ความเป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลายๆ
Read More

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 7

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 7 ประโยชน์ของการคิดเชิงประยุกต์ 1. เห็นสิ่งที่พึงพอใจ ต้องการ “บางส่วน” มาใช้ ใช้วิธีการตั้งเป้าหมายให้ชัด แล้วค่อยสกัดสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเมื่อเราเห็นสิ่งหนึ่งในบริบทหนึ่ง และเกิดความรู้สึกพึงพอใจอันนำไปสู่ความปรารถนาที่จะนำสิ่งนั้นมาใช้บ้าง สิ่งที่เราควรทำ ไม่เพียงมีความตั้งใจจะทำตามเท่านั้น แต่ต้องมี “เป้าหมายที่ชัดเจน” ด้วยว่าต้องการนำมาใช้เพื่อประโยชน์อะไร โดยตอบคำถามเหล่านี้ – จะนำสิ่งนั้นมาเพื่อตอบสนองเป้าหมายอะไร – ถ้าต้องการทำให้เป้าหมายสำเร็จต้องทำอย่างไร – ตอบสนองเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือไม่
Read More

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 6

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน  6   การคิดเชิงประยุกต์โดยใช้หลักการทดแทน 1.       เราจะนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างไร การขยายศักยภาพของสิ่งที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้ “ทดแทน” ในการแก้ปัญหา จะช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องตัวไม่ติดกับการที่ต้องพยายามหาสิ่งที่มีบทบาทหน้าที่เช่นนั้นอย่างเดียวในการแก้ปัญหา แต่สามารถยืดหยุ่นในการหาสิ่งต่าง ๆ มาทดแทนได้ แต่การที่เราจะค้นหาว่าอะไรเหมาะสมในการทดแทนนั้น เราจำเป็นต้องมีความสามารถในการเทียบเคียงคุณสมบัติของสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ และสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมลงตัวพอดีกับเป้าหมายของการแก้ปัญหา ตัวอย่าง การแก้ปัญหาแสงสว่าง 2.       เราจะค้นหาสิ่งที่เหมาะสมมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างไร การตอบคำถามนี้ จะต้องเป็นการแก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การค้นหาว่าปัญหาที่แท้จริง หรือ
Read More

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 5

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน  5   การคิดเชิงประยุกต์ 1.       คิดจากซ้ายไปขวา การคิดจากซ้ายมาขวา หมายถึง การคิดเชิงกระจายออก หรือการคิดที่เน้นจำนวนความคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งนั้นให้ได้มากที่สุด เพื่อตอบคำถามว่า “สิ่งนั้นสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง” มุ่งหมายให้สามารถคิดออกมาให้ได้มากที่สุดในการนำสิ่งนั้นไปใช้ประโยชน์ อันเป็นการขยายบทบาทหน้าที่ของสิ่งนั้น จากเดิมสู่การทำหน้าที่ใหม่ โดยการขยายขอบเขตความคิดของเราไม่ให้ยึดติดอยู่กับกรอบความเคยชินต่อบทบาทหน้าที่ของสิ่งนั้น  ซึ่งเป็นการตอบคำถาม “จะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร” ซึ่งมีเทคนิคการคิดหลายแบบ อาทิเช่น –          เทคนิคระดมความคิดประยุกต์ เทคนิคนี้คล้ายกับเทคนิคการระดมสมองที่นำไปใช้ในการคิดเชิงสร้างสรรค์ แตกต่างกันที่จะคิดเกี่ยวกับของสิ่งเดียวหรือเรื่อง ๆ
Read More

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 4

การคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking) ตอน 4 เหตุผลของการคิดเชิงประยุกต์ 1. การคิดเชิงประยุกต์ช่วยลดข้อจำกัดในการแก้ปัญหาของสมอง นักจิตวิทยาพบว่า คนเรามักจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หรือแก้ปัญหาผิด ไม่ใช่เพราะปัญหานั้นยากเกินไป แต่เพราะขาดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ ไม่สามารถพิจารณาปัญหานั้นในแง่มุมที่ต่างไปจากเดิม สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก มีสิ่งขัดขวางการแก้ปัญหาที่สำคัญในความคิดของคน นั่นคือ เรามักจะยึดการมองเห็นสิ่งนั้นเป็นครั้งแรก เราเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไรในครั้งแรก เรามักคิดว่าจะเป็นเช่นนั้นในครั้งต่อ ๆ ไปด้วย อันอาจเป็นเหตุให้เข้าใจผิดเพราะมองอย่างยึดติดเพียงบางด้านเท่านั้น คนที่ความคิดไม่ยึดติดกับบทบาทหน้าที่จะคิดเชิงประยุกต์ได้ดี เพราะมีมุมมองที่หลากหลาย สามารถประยุกต์สิ่งๆ เดียวให้สามารถปรับใช้ได้ในหลาย ๆ บริบทอย่างเหมาะสม
Read More