สิทธิชนพื้นเมืองในกระบวนการยุติธรรมมาเลเซีย สมชาย ปรีชาศิลปกุล* เกริ่นนำ นับตั้งแต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ประเด็นเรื่องสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองที่อยู่ในรัฐต่างๆ ได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น การก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติ และพร้อมกับได้มีการประกาศกฎบัตรออกมารับรองสิทธิชนพื้นเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือว่า พัฒนาการของสิทธิชนพื้นเมืองในหลายประเทศเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาล ดังในประเทศแคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และได้ทำให้มีการบัญญัติกฎหมาย และการจัดตั้งองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาสิทธิของชนกลุ่มดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่าสิทธิในที่ดินตามจารีตประเพณีของชนพื้นเมืองได้ขยายตัว แม้ในประเทศที่ใช้ระบบการจดทะเบียนเอกสารสิทธิในที่ดิน (Torrens system) ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยก็ได้ใช้ระบบนี้เช่นเดียวกัน คำพิพากษาที่ได้แปลและเรียบเรียงนี้เป็นคำพิพากษาของประเทศมาเลเซีย อันเป็นข้อพิพาทระหว่างชนพื้นเมืองกับหน่วยงานของรัฐ โดยชนพื้นเมืองที่ครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนเป็นผลให้ต้องอพยพออกจากพื้นที่เหล่านี้ และมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตอย่างรุนแรงต่อชนพื้นเมือง คดีนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นคดีแรกที่ชนพื้นเมืองในประเทศมาเลเซีย ได้ฟ้อง