Tag: สัญญาประกันภัย

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (4)

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (4) 5. ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้เสียหายถึงแม้ว่าผู้เอาประกันซึ่งเป็นคู่สัญญาปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยก็จะยกเหตุนี้ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อบุคคลภายนอกหาได้ไม่ คำพิพากษาฎีกาที่1182/2526 โจทก์เป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนซึ่งทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกัน หากจำเลยที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ได้รับความเสียหายประการใด ก็ชอบที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญาจะอ้างมาเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ ข้อสังเกต บางกรณีการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ แต่ในกรณีที่ผู้รับประกันภัยมีสิทธิปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว บุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ หากสัญญาประกันภัยค้ำจุนมีข้อยกเว้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
Read More

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (3)

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (3) คำพิพากษาที่ 2478/2526 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถ ได้ขับรถของจำเลยที่ 2 โดยประมาทชนรถของโจทก์เสียหาย แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ กับโจทก์ระบุว่าจำเลยที่ 1 ยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และไม่มีหนังสือแสดงการตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ลงในฐานะเป็นพยานเจ้าของรถ สัญญานั้นจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์กับจำเลยที่
Read More

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (2)

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (2) ฎ. 563/2538 กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง เมื่อจำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกซึ่งจำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้ไปใช้ โดยให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของตนเป็นคนขับ แล้วเกิดเหตุละเมิดขึ้น ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัย และหาเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่งไม่ ฎีกาที่ 1564/2538
Read More

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (1)

หลักกฎหมายเรื่องประกันภัยค้ำจุน (1) มาตรา 887 บัญญัติว่า “ อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย อนึ่ง ผู้รับประกันภัยนั้นแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าค่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว” ได้กล่าวมาแล้วว่า สัญญาประกันภัยค้ำจุนเป็นสัญญาประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง ฉะนั้นบทบัญญัติต่างๆซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป หรือเกี่ยวด้วยวินาศภัยต้องนำมาใช้ด้วย ข้อสังเกตเกี่ยวกับประกันภัยค้ำจุน 1. การพิจารณาปัญหาเรื่องประกันภัยค้ำจุน ขั้นแรกควรพิจารณาจากตัวผู้เอาประกันภัยเสียก่อนว่าผู้เอาประกันภัยมีความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกหรือไม่ ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด ผู้รับประกันภัยก็ไม่ต้องรับผิดไปด้วย คำพิพากษาฎีกาที่
Read More

ประกันภัยค้ำจุน

ประกันภัยค้ำจุน ประกันภัยค้ำจุน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ประกันภัยความรับผิด” คือการที่ผู้ประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายจากการกระทำของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ถูกเอาประกันภัยจะต้องรับผิด ประกันภัยค้ำจุนนี้จัดว่าเป็นประกันวินาศภัยอย่างหนึ่ง แต่ต่างกับวินาศภัยธรรมดาตรงที่ วินาศภัยธรรมดามุ่งถึงความเสียหายอันเกิดแก่วัตถุที่เอาประกันภัย แต่ประกันภัยค้ำจุนมุ่งถึงความเสียหายอันเกิดกับบุคคลภายนอกเนื่องมาจากความผิดของผู้เอาประกัน ตัวอย่าง นาย ก. เอาประกันภัยรถยนต์ของตนไว้ในความเสียหายอันเกิดกับรถยนต์ของตนและความรับผิดอันจะเกิดจากบุคคลอื่นเนื่องจากรถยนต์ของตนด้วย ต่อมา นาย ก. ขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนรถของผู้อื่นเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และรถของตนเองเสียหายอีก 5,000 บาท ดังนี้ ถ้าบริษัทผู้รับประกันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแล้ว ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 10,000 บาท
Read More

วิธีปฏิบัติเมื่อรับช่วงสิทธิ

วิธีปฏิบัติเมื่อรับช่วงสิทธิ การรับช่วงสิทธิอาศัยสิทธิตามกฎหมาย ม. 880 และ ม. 226,227 ผู้รับประกันภัยจึงย่อมจะใช้ สิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอกในนามของตนเอง โดยไม่จำต้องให้ผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. ม. 306 ( ฎ 943/2510) ผลของการรับช่วงสิทธิ 1. ผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้ละเมิด ผู้รับประกันคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป ฎ 660/2529 บริษัทประกันโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้น โจทก์จะคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดเสมือนเป็นผู้เสียหายโดยตรงมิได้
Read More

การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นเมื่อใด

การรับช่วงสิทธิจะเกิดขึ้นเมื่อใด ม. 880 วรรคแรก ต้องมีความเสียหายซึ่งเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก และผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์ที่จะเรียกร้องเอาจากผู้ทำละเมิดได้ ฎ 1637/2530 เกิดเหตุไฟไหม้ แม้โจทก์จะได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว แต่เมื่อเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากความประมาทของจำเลยหรือลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิผู้เอาประกันภัยได้ ฎ 987/2537 สินค้าที่เสียหายจากการขนส่งทางทะเล จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งต้องร่วมรับผิดใน ความเสียหายดังกล่าว เมื่อผู้รับประกันได้ชำระแทนให้ผู้รับตราส่งไป จึงรับช่วงสิทธิจากผู้รับตราส่งมาฟ้องเรียกคืนจากจำเลยได้ ฎ 3888/2537 การรับช่วงสิทธิฟ้องเรียกจากผู้ทำละเมิด ไม่อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 867
Read More

หลักว่าด้วยการรับช่วงสิทธิ

หลักว่าด้วยการรับช่วงสิทธิ (Principle of subrogation) เมื่อเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยไว้โดยมีบุคคลภายนอกเป็นผู้ก่อ ผู้เอาประกันภัย มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้ 2 ทาง คือ 1. เรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย 2. ใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหาย ถือเป็นสิทธิที่เกิดโดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้เอาประกันเรียกทางใดทางหนึ่งก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าใช้สิทธิเรียกร้องทั้ง 2 ทาง ก็จะ ได้รับการชดใช้ความเสียหาย 2 ครั้ง ขัดกับหลักการประกันวินาศภัยในฐานะที่เป็นสัญญาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งถ้าผู้เอาประกันภัยได้รับชำระจากผู้ทำละมิดจนครบจำนวนแล้ว จะถือว่าผู้เอาประกันภัยมีความเสียหายอีกต่อไปไม่ได้ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหากำไรของผู้เอาประกันภัยที่ไม่สุจริต
Read More

การใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต

การใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิต ม. 889 บัญญัติว่า “ ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง” ม.890 บัญญัติว่า “ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น จะชำระเป็นเงินจำนวนเดียวหรือเงินรายปีก็ได้สุดแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างคู่สัญญา” สัญญาประกันชีวิต คือสัญญาที่ผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เอาประกันหรือผู้รับประโยชน์หรือผู้สืบสิทธิของเขา โดยมีอยู่ว่าผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้ถูกเอาประกันชีวิตได้ตายภายในระยะเวลาหรือมีชีวิตอยู่จนถึงเวลาที่กำหนดไว้ และผู้เอาประกันชีวิตตกลงจะส่งเงินซึ่งรียกว่าเบี้ยประกันภัยให้กับผู้รับประกันภัยภายในเวลาที่กำหนด ข้อสังเกต ความมรณะที่เป็นหลักในการใช้เงินรวมถึงการที่ศาลมีคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญด้วย ตาม ม.61 ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่ไม่ต้องใช้เงิน ม.895 บัญญัติว่า “ เมื่อใดจะต้องใช้เงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันเกิดขึ้น
Read More

เงื่อนไขต่างๆในกรมธรรม์

เงื่อนไขต่างๆในกรมธรรม์ – ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถขนส่งสินค้าบริษัทไม่ต้องรับผิด (ฎ1006/2518) • ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดถ้าผู้ขับรถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่หรือใบแทนใบอนุญาต (ฎ 1484/2523) • ชาวเดนมาร์กมีใบขับขี่ของประเทศเขาแต่ไม่มีใบขับขี่ของประเทศไทยหรือนานาชาติ บริษัทปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ • ต้องชำระดอกเบี้ยประกันให้บริษัทครบอายุ 1 ปี โดยทางบริษัทให้ผ่อนชำระเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้ต้องชำระทุกงวดโดยไม่มีการพักกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันไม่ปฏิบัติตาม ผู้เอาประกันยินดีจะให้เรียกร้องค่าเคลม ซึ่งบริษัทจ่ายไปนั้นคืนทั้งหมด (ฎ 1114/2512) 2. ไม่ต้องรับผิดโดยผลของกฎหมาย 1. ไม่ต้องรับผิดเพราะความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ ม.879 วรรคแรก
Read More