สุขภาพ : ‘เส้นเลือดขอด’ หญิงเสี่ยงกว่าชาย 3 เท่า “เส้นเลือดขอด” หนึ่งในปัญหาที่ทำให้กลุ้มใจโดยเฉพาะในคุณผู้หญิง เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นในคุณผู้หญิงมากกว่าคุณผู้ชายถึง 3 เท่าเลยทีเดียว แต่ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับการหาทางรักษา หากสามารถเข้าใจกลไกและสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอดอย่างถ่องแท้ เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของลิ้นเล็กๆ ในหลอดเลือดดำ ที่ไม่สามารถสกัดกั้นการไหลย้อนของเลือดได้ จึงทำให้เลือดเกิดการคั่งอยู่ในหลอดเลือดส่วนปลาย ได้แก่ส่วนที่อยู่ใกล้ผิวหนัง ทำให้เห็นเป็นเส้นเลือดที่โป่งพองเป็นก้อน หรือเป็นเส้นเลือดฝอยแตกคล้ายแผนที่หรือใยแมงมุมนั่นเอง เส้นเลือดขอดมักพบมากในผู้ที่ต้องใช้ขารับน้ำหนักตัวมากหรือคนที่ต้องยืนนานๆ คนอ้วน หญิงตั้งครรภ์ คนที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ หรือเกิดจากกรรมพันธุ์ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดดำแดงที่ขา อักเสบอุดตัน หรือบางคนโชคไม่ดีอาจมีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง หรืออุ้งเชิงกรานไปกดหลอดเลือดดำ เป็นต้น ตำแหน่งที่พบบ่อยๆ ของการเกิดเส้นเลือดขอด คือ บริเวณน่อง ขาพับ โคนขา และบริเวณระหว่างตาตุ่มขึ้นไปถึงสะโพก ซึ่งลักษณะดังกล่าวทำให้เรียวขาดูไม่เรียบและไม่สวยงาม ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นมากขึ้น และอาจมีอาการเจ็บปวดในบริเวณนั้นๆ ได้ โดยอาการของเส้นเลือดขอดมีตั้งแต่เป็นน้อยๆ ไปจนเรียกว่าระยะรุนแรง คือ ผิวหนังบริเวณที่มีเส้นเลือดขอดแตกเป็นแผลอักเสบเรื้อรังมีน้ำเหลือง รักษาหายยาก และอาจมีเลือดออกรุนแรงได้ ส่วนใหญ่แล้วเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเส้นเลือดขอดได้ แต่สามารถช่วยให้เกิดน้อยลงได้ เช่น ในคนอ้วน รีบลดน้ำหนักตัวด่วน เพื่อลดแรงกดน้ำหนักลงที่เท้าและขา และเหมือนเป็นการยิงนกครั้งเดียว ได้นกมากกว่า 2 […]
Read MorePosts in category โรคอ้วน
สุขภาพ : ลดพุง…ลดโรค
สุขภาพ : ลดพุง…ลดโรค คนที่ลงพุงมากๆ ทางวิชาการหมายถึงคนที่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากการลงพุงเป็นชนิดหนึ่งของโรคอ้วนที่แบ่งตามรูปร่าง คือ อ้วนแบบลูกแพร์ (พบในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไขมันจะสะสมมากที่ตะโพก หน้าท้อง และต้นขา) และอ้วนแบบลูกแอปเปิ้ล (พบมากในผู้ชาย ซึ่งไขมันสะสมมากที่ท้องจนท้องกลมคล้ายลูกแอปเปิ้ล) บางคนอาจคิดว่ารูปร่างไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ความจริงรูปร่างของเราเป็นอย่างไรเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งที่บอกว่าคนๆ นั้นมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง คนที่อ้วนลงพุงแบบลูกแอปเปิ้ล จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ไขมันที่สะสมที่ท้องมีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ซึ่งไม่พึ่งอินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ สูง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ดังนั้นคนที่ลงพุงทั้งหลาย หากไม่ต้องการมีปัญหาสุขภาพอาจต้องปรับพฤติกรรมการกินและวิถีชีวิตบ้างเพื่อความสุขในอนาคต ผู้ที่ลงพุงอาจต้องพิจารณาว่าอาหารที่กินเป็นประจำนั้น ทำให้ได้รับพลังงานมากเกินไปหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นต้องปรับพลังงานที่ได้เหมาะกับกิจกรรมในแต่ละวัน เลือกอาหารที่ไขมันต่ำ มีใยอาหารสูง (เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี) กินไข่เพื่อเป็นแหล่งโปรตีน ฯลฯ อาหารที่ให้ไขมัน ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ได้จากสัตว์ แม้กระทั่งเนื้อแดง ก็ยังมีไขมันซ่อนเร้นที่อาจมองไม่เห็นด้วยตา ดังนั้นหากลดปริมาณเนื้อสัตว์จะช่วยลดไขมันด้วย (อาหารที่ให้ไขมันมากจะให้พลังงานมาก เนื่องจากไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน […]
Read Moreสุขภาพ : นอนไม่พอ เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน
สุขภาพ : นอนไม่พอ เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน คนที่กินแล้วนอน หมายถึงเป็นคนที่นอนมาก มักจะเป็นคนอ้วน เพราะเมื่อกินอาหารจะได้พลังงานและร่างกายก็ควรใช้พลังงานทำกิจกรรมต่าง ๆ หากกินแล้วไม่ใช้จะทำให้อ้วน เพราะสารอาหารส่วนเกินจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกาย ดังนั้น คำกล่าวที่ว่ากินแล้วนอนจะอ้วนเหมือนหมูก็ไม่ผิด อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของการนอนน้อย (วันละน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง) พบว่าคนที่นอนน้อย จะมีน้ำหนักเพิ่ม เป็นโรคอ้วน และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน การศึกษาในหญิง-ชาย จำนวนประมาณ 25,000 คน พบว่า มีคนที่นอนน้อยกว่าคืนละ 7 ชั่วโมง จะมีค่าดรรชนีมวลกายสูงและเป็นโรคอ้วนมากกว่า ส่วนคนที่นอนน้อยกว่าคืนละ 5 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 และคนที่นอนมากกว่าคืนละ 9 ชั่วโมงก็ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือเป็นโรคอ้วนมากขึ้น บางคนไม่ต้องการนอนน้อย แต่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ กรณีเช่นนี้ต้องพยายามหาวิธีการทำให้นอนหลับให้ได้ ซึ่งแต่ละวิธีอาจเหมาะสำหรับบางคนเท่านั้น คนที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ อาจลองทำตามวิธีต่อไปนี้ เช่น ใช้ห้องนอนเพื่อการนอนเท่านั้น เข้านอนเป็นเวลา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนก่อนนอน หลีกเลี่ยงการงีบในช่วงดูทีวีตอนหัวค่ำ หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือหรือดูทีวีเรื่องที่ตื่นเต้น ออกกำลังกายเป็นประจำ หรืออาจดื่มนมอุ่น ๆ นวดตามตัวหรือฟังดนตรีเบา […]
Read Moreสุขภาพ : ฝึกเด็กกินให้เป็น ลดอ้วน ลดโรค ลดสิ้นเปลือง
สุขภาพ : ฝึกเด็กกินให้เป็น ลดอ้วน ลดโรค ลดสิ้นเปลือง ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวล้ำ จนสื่อโทรทัศน์และอินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกมุมในบ้าน ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป ผลกระทบที่เห็นกันได้ชัดๆ คือเด็กไทยยุคใหม่ รับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆ จากตะวันตกที่ส่งผ่านสื่อทั้งหลายเข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะการบริโภค ที่เกิดการลอกเลียนแบบ ถูกค่านิยมผิดๆ ครอบงำ โดยมองว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย คือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และยังคิดว่าเป็นอาหารเสริมค่านิยมของตัวเอง ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านี้ แทบจะไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ เลย แป้งที่เป็นวัตถุดิบก็ขัดสีเอาเส้นใย และวิตามินออกหมด น้ำตาลก็ฟอกขาว แถมด้วยสารแต่งสี แต่งกลิ่น กับผงชูรส ผนวกกับกระบวนการทอดในน้ำมันซ้ำๆ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง คือการกินอาหารขยะ ขณะนั่งดูทีวีหรือเล่นคอมพิวเตอร์ แล้วไม่ออกกำลังกาย ไม่ยอมช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ทำให้เป็นโรคอ้วน และบ่อเกิดของอีกสารพัดโรค เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร ซึ่งพบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โรคอ้วนของเด็กไทยนับวันจะยิ่งเลวร้ายลงเรื่อยๆ เฉพาะเด็กกรุงเทพฯ มีน้ำหนักเกินถึง 14% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กญี่ปุ่นแล้ว เด็กไทยมีอัตราอ้วนสูงกว่ามาก ด้วยความตระหนักถึงปัญหานี้ เทศบาลนครเชียงราย จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาความร่วมมือเพื่อจัดระเบียบความปลอดภัยด้านอาหารบริเวณโรงเรียนสังกัดเทศบาล […]
Read Moreสุขภาพ : กินไขมันสูงเสี่ยงอ้วนไม่พอ…ยังเสี่ยงโง่ด้วย
สุขภาพ : กินไขมันสูงเสี่ยงอ้วนไม่พอ…ยังเสี่ยงโง่ด้วย สกว.-นักวิจัยพบความเสี่ยงกินอาหารไขมันสูง ไม่ใช่แค่อ้วน หรือเบาหวาน แต่ยังเสี่ยงกระทบต่อการใช้สมองเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วย อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าต้องกินไขมันมากแค่ไหน หรือนานแค่ไหนจึงจะส่งผลเสียดังกล่าว รศ.ดร.ทพญ.สิริพร ฉัตรทิพากร อาจารย์ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าหน่วยวิจัยสรีรวิทยาระบบประสาท ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา ทั้งนี้ โรคอ้วนมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นภาวะดื้อต่ออินซูลินในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคที่มีชื่อว่า “โรคเบาหวานชนิดที่ 2” ซึ่งเนื้อเยื่อไขมันเพิ่มมากขึ้นจากโรคอ้วนนั้นจะมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งภาวะดื้อนี้จัดเป็น “กลุ่มอาการเมตาบอลิซึม” ที่สามารถอธิบายถึงปัญหาสุขภาพหลายอย่างที่มีเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการเกิด “โรคเบาหวาน” และ “โรคหัวใจ” เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเคยมีการศึกษาพบว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีการแสดงความผิดปกติของการคิดและการเรียนรู้ต่างๆ เกิดขึ้น ดังเช่น มีผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจหลายด้านที่แย่ลง เมื่อเทียบกับเพื่อนๆ ที่ไม่เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวานมาก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีรายงานความผิดปกติของโรคอ้วนในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้ความเข้าใจ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีผู้ใดศึกษาว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง จนทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตัวรับอินซูลินในระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และหน่วยความจำ […]
Read Moreระวัง…โรคอ้วนลงพุงมฤตยูร้ายทำลายสุขภาพ
“ระวัง…โรคอ้วนลงพุงมฤตยูร้ายทำลายสุขภาพ” • อาหาร พร้อมแนะวิธีกินต้านโรค-เสริมสุขภาพ “น้ำมันเมล็ดชา” มีใช้ในราชวงศ์ซ้องของจีนมากว่า 2,300 ปี โดยได้มีการบันทึกคุณสมบัติด้านสุขภาพไว้ว่าช่วยลดคอเลสเตอรอล ปัจจุบันมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการวิจัยถึงคุณสมบัติที่ดีของน้ำมันเมล็ดชา พบว่าน้ำมันเมล็ดชามีสัดส่วนกรดไขมันชนิดต่างๆ ในปริมาณที่ดีไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก คือ มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวในรูปของกรดโอเลอิกสูงถึง 88% มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งในรูปของโอเมกา 6, 3 เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยวิตามินเอ บี ดี และอีสูง ซึ่งวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือสารแคททีชิน ซึ่งเป็นสารโพลีฟีนอลที่ช่วยลดการออกซิเดชั่นของแอลดีแอล จึงช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน และป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ และน้ำมันเมล็ดชา สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น น้ำสลัด ผัด ทอด หรือการหมัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันจะต้องเลือกชนิดและอ่านฉลากข้อมูลโภชนาการให้ละเอียด รวมทั้งรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยมากๆ และต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยจึงจะช่วยส่งเสริมสุขภาพ ลดความเสี่ยงโรคร้าย และห่างไกลภาวะอ้วนลงพุง วิธีการกินต้านโรค-เสริมสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง รวมถึงโรคร้ายอื่นๆ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกิน […]
Read Moreโรคอ้วน กำจัดได้ แค่ใส่ใจการกิน
โรคอ้วน กำจัดได้ แค่ใส่ใจการกิน • อาหาร สลากบอกแคลอรี่ในเมนูอาหาร…อาวุธสำคัญรับมือโรคอ้วน “อ้วน” เป็นคำที่ไม่มีใครที่อยากจะถูกเรียก แต่ก็ยังเห็นคนส่วนใหญ่อ้วนๆ กันทั้งนั้น อาจเป็นเพราะอาหารการกินที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ ทั้งรสชาติ สีสัน รูปร่างหน้าตาที่ชวนน้ำลายไหล ทำให้อดที่จะซื้อหามากินไม่ได้ ตามใจปากกันจนลืมคิดไปว่าปริมาณพลังงานที่ได้รับจากอาหารที่หยิบใส่ปากไปแต่ละมื้อนั้น มันมากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญมาใช้ประโยชน์ได้หมด สุดท้ายก็สะสมไว้ในร่างกายจนก่อเกิดเป็นไขมันส่วนเกินจน “อ้วน” นั่นเอง การจะลดความอ้วนหรือลดน้ำหนักตัวเองนั้น มีวิธีการอยู่มากมายหลายวิธี โดยส่วนใหญ่ที่ได้ผลคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังมีอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามนั่นคือการควบคุมปริมาณแคลอรี่ได้รับจากอาหารและเครื่องดื่มที่เรารับประทานเข้าไปแต่ละมื้อ…แต่คนส่วนมากกลับมักทำไม่ได้ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ คือไม่ทราบว่าสิ่งที่กำลังจะรับประทานเข้าไปนั้น ให้พลังงานเท่าไร จะมีสักกี่คนที่ต้องการจะควบคุมน้ำหนักและสามารถคาดคะเนได้เองว่าอาหารหรือเครื่องดื่มที่เรากินเข้าไปนั้นให้พลังงานเท่าไหร่ และวันนี้จะสามารถกินได้อีกเท่าไหร่ สุดท้ายเลยใช้สายตาและความรู้สึกเป็นตัวชี้วัดพลังงานของอาหาร ส่งผลให้อ้วนลงพุงอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีความพยายามที่จะผลักดัน ให้มีการแสดงปริมาณแคลอรี่หรือพลังงานไว้ที่เมนูอาหาร อย่างที่นิวยอร์ก ซึ่งเป็นประเทศแรกที่มีกฎหมายบังคับใช้ให้ร้านอาหารต้องแสดงสลากระบุปริมาณแคลอรี่ของอาหารแต่ละรายการไว้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับลูกค้า และขณะนี้เมืองใหญ่อันดับ 2 ของอเมริกา อย่างลอสแอนเจลีสหรือแอลเอก็กำลังเตรียมนำมาตรการในทำนองเดียวกันนี้ มาใช้บ้างเพื่อจัดการกับโรคอ้วน ที่ทราบกันดีว่านำมาสู่ปัญหาสุขภาพสำคัญ ๆ หลายอย่าง อาทิ โรคหัวใจ หลอดเลือด สมองและเบาหวาน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวคร่าชีวิตประชาชนชาวอเมริกันในอันดับต้น ๆ ทั้งสิ้น ว่ากันว่า…..คนแอลเอใส่ใจเรื่องขนาดเส้นรอบเอวเป็นอย่างมาก ถึงขนาดกับมีการขนานนามกันว่าแอลเอคือมหานครแห่งการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย แต่ก็ต้องแปลกใจ!!! เมื่อแนวโน้มของโรคอ้วนกลับเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ […]
Read Moreอ้วน หนัก หนา ปรมาโรคาถามถึง
“อ้วน หนัก หนา ปรมาโรคา”ถามถึง • อาหาร • เรื่องเด่น ย้ำอย่ากินตามใจปาก เลี่ยงอาหารขยะ ออกกำลังกายบ่อยๆ “อ้วน หนัก หนา ปรมาโรคา” เป็นชื่อเรื่องของบทความที่เคยเขียนเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ปัจจุบันโรคอ้วนก็ยังเป็นปัญหา และเป็นปัญหามากขึ้นถึงขั้นระบาดไปทั่วโลก ทำให้โรคที่ตามมากับความอ้วน เช่น โรคเบาหวาน พลอยเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกด้วย องค์การอนามัยโลกกำลังเป็นห่วงในเรื่องนี้มาก การที่โรคอ้วนระบาดเนื่องจากว่าคนเราทุกวันนี้มีกินกันมาก แต่ไม่ได้กินดีอยู่ดีตามที่ควรจะเป็น แต่เป็นการกินผิดๆ กินอาหารขยะกันมากมาย โดยเฉพาะเด็กๆ ถูกพ่อค้ามอมเมา เยาวชนตกเป็นเหยื่อนักการตลาด มีโฆษณาอาหารขยะในสื่อเป็นประจำ ที่ประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา เขามีกลุ่มคนผู้หวังดีต่อชาติร่วมมือกันต่อต้านอาหารขยะ มีการรณรงค์หลายรูปแบบ รวมทั้งการล็อบบี้ผู้แทนราษฎรให้ออกกฎหมายคุ้มครองเยาวชน ห้ามขายอาหารขยะในโรงเรียน ฯลฯ ในขณะที่รัฐบาลไทยยังไม่ได้ลงมือทำอะไรกับอาหารขยะ คนไทยที่รักสุขภาพทั้งหลายจึงควรลงมือทำกันเองไปก่อน โดยงดการกินอาหารขยะ พยายามลดน้ำหนัก การลดน้ำหนักที่ได้ผลที่สุดคือการลดอาหาร เช่น ลดปริมาณที่กินในมื้อเย็นลง ร่วมกับการออกกำลังกาย ไม่ใช่การออกกำลังกายอย่างเดียวแต่ไม่ควบคุมอาหาร การออกกำลังกายจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวเอาไว้ไม่ให้ขึ้น การลดอาหารที่ดีอีกวิธีหนึ่ง คือ กินอาหารมังสวิรัติที่ถูกวิธี อาหารมังสวิรัติมีผลดีหลายอย่าง […]
Read Moreผลวิจัยชี้เด็ก กทม.เสี่ยง “อ้วน” เกือบครึ่ง
ผลวิจัยชี้เด็ก กทม.เสี่ยง “อ้วน” เกือบครึ่ง • คุณภาพชีวิต • เรื่องเด่น ผู้ชาย-ลูกโทนถูกตามใจรับสารอาหารเกินควร น.ส.นริสรา พึ่งโพธิ์สภ นิสิตปริญญาเอกแห่งวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 7 เปิดเผยถึงผลวิจัย “ภาวะโภชนาการเกิน หรือ ภาวะอ้วน” ว่า ภาวะดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่แอบแฝงในความจ้ำม่ำของเด็กเกือบทุกสังคมทั่วโลก โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการเกิน และแสวงหาแนวทางควบคุมภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนอายุ 9-12 ปี ในกรุงเทพมหานคร พบว่าเกือบครึ่งหนึ่ง คือ ร้อยละ 49.3 มีภาวะโภชนาการเกิน และพบปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน อาทิ เพศ ระยะเวลาทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อย ระยะเวลาทำกิจกรรมที่ใช้แรงปานกลาง รายได้ของครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง แบบอย่างที่ดีในการดูแลโภชนา การและสุขภาพของผู้ปกครอง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่โรงเรียน การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา น.ส.นริสรากล่าวอีกว่า เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกิน ได้แก่ เด็กวัยเรียน ผู้ชาย ผู้เป็นลูกคนเดียวและลูกคนสุดท้อง เนื่องจากครอบครัวไทยส่วนใหญ่จะทุ่มเทให้ความรัก ตามใจลูกคนสุดท้อง หากเป็นลูกคนเดียวมักจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าลูกในลำดับอื่นๆ เด็กมักถูกตามใจให้กินดีอยู่ดี จนอาจทำให้ได้รับสารอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย […]
Read Moreโรคอ้วน’ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์
โรคอ้วน’ ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ • คุณภาพชีวิต ควบคุมน้ำหนักตนเอง ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชาติ ทางการแพทย์มีวิธีการอย่างคร่าวๆ ในการตรวจสอบว่าคุณมีปริมาณไขมันในร่างกายมากน้อยเพียงใด ซึ่งเรียกวิธีการวัดนี้ว่า ดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว (ในหน่วยกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (ในหน่วยเมตร) ยกกำลังสอง หากดัชนีมวลกายหรือค่า BMI ที่คำนวณได้มีค่าระหว่าง 25 – 29.9 ถือว่ามีน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) และค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไปถือว่าเป็นโรคอ้วน (Obesity) ปัจจุบันประเทศทั่วโลกต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับโรคอ้วนกันมาก อาจสังเกตจากเอกสารขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO เรื่อง “ยุทธศาสตร์โลกด้านอาหาร กิจกรรมทางกายและสุขภาพ (Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health)” ซึ่งรณรงค์ให้ประเทศทั้งหลายส่งเสริมการบริโภคอาหารให้เหมาะสมควบคู่กับการออกกำลังกาย ไทยเราเองก็ขานรับข้อเสนอแนะดังกล่าวด้วยแผนยุทธศาสตร์แก้ปัญหาโรคอ้วนคนไทย พ.ศ. 2551 – 2554 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าโครงการรณรงค์ […]
Read More