Category: กฏหมายครอบครัว

กฎหมาย : เมื่อการสมรสสิ้นสุดเกิดการหย่าร้าง

กฎหมาย : เมื่อการสมรสสิ้นสุดเกิดการหย่าร้าง เมื่อแต่งงานกันด้วยความรัก ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากที่จะอยู่คู่กันตลอดไป แต่สถานภาพสมรสย่อมมีวันต้องสิ้นสุดลง ถ้าไม่ใช่ด้วยความตายของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ด้วยเหตุผลมากมายที่ทำให้คู่สมรสต้องหย่าร้างกัน แต่หากปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสยังพอมีทางเยียวยาได้ และยังมีเยื่อใยต่อกัน การแยกกันอยู่ชั่วคราวเป็นทางเลือกหนึ่งที่รองรับชีวิตสมรสที่มีปัญหา ให้คู่สมรสได้พักจิตใจให้สบายสักพัก มีเวลาไตร่ตรองชีวิตที่ผ่านมา ไม่ด่วนตัดสินใจหย่ากัน อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น คู่สมรสที่จะแยกกันควรตกลงกันให้เป็นเรื่องราว จะตกลงด้วยวาจาก็ได้ หรือถ้าให้ดีก็ทำสัญญาต่อกัน การทำสัญญามีผลดีคือ อีกฝ่ายจะนำมาเป็นเหตุฟ้องหย่าโดยอ้างว่าถูกทิ้งร้างไม่ได้ แต่ต้องระวังว่า ถ้าสมัครใจแยกกันอยู่อยู่เกิน 3 ปี่ขึ้นไป และไม่อาจอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็มีสิทธินำมาฟ้องหย่าได้ เหตุที่สามีหรือภริยาฝ่ายที่เดือดร้อนจะนำไปร้องของต่อศาลให้อนุญาตให้แยกกันอยู่ชั่วคราวมี
Read More

กฎหมายมรดก เจตนาทำไว้เผื่อตาย

กฎหมายมรดก เจตนาทำไว้เผื่อตาย เจตนาทำไว้เผื่อตาย แม้ว่าจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกจากผู้เป็นบิดาก็ตาม จำเป็นต้องดูข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วยเป็นสำคัญ เพราะการที่ผู้ใดเจตนาจะยกทรัพย์มรดกให้แก่บุคคลใดนั้นเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ส่วนตนทำไว้เผื่อตาย จึงต้องดูเจตนาเป็นสำคัญ แม้ว่าจะเป็นสินสมรสของผู้นั้นยกทรัพย์มรดกส่วนนั้นให้ผู้ใดก็ได้ นี่ก็คือเรื่องราวของคดีความที่เกิดขึ้นในศาลว่า บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับทายาทคนอื่นๆ นายสินชัย เป็นพนักงานอาวุโสของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง มีภริยาคนแรกชื่อนางปรียา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คนโตชื่อนายสหชัย คนรองชื่อนายสหกิจ ผู้เป็นพ่อได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร ภริยาอีกคนหนึ่งชื่อนางชมชื่น จดทะเบียนสมรสกัน มีลูกด้วยกัน 3 คน ชีวิตนี้เป็นอนิจจัง สินชัยถึงแก่กรรมด้วยวัยชรา
Read More

กฏหมายมรดก

กฏหมายมรดก การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก มาตรา 1599* เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น มาตรา 1600* ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอด ได้แก่ตน มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่
Read More

เรื่องของสินสมรส

เรื่องของสินสมรส ตามกฎหมาย เมื่อชายหญิงตกลงปลงใจเป็นสามีภรรยากัน และผ่านการจดทะเบียนสมรสแล้ว ความผูกพันนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา 2 ลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ส่วนตัว คือ อยู่กินกันแบบสามีภรรยา ต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน และ ความสัมพันธ์ทางด้านทรัพย์สิน ซึ่งแยกเป็น “สินสมรส” และ “สินส่วนตัว” … สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สิน ข้าวของส่วนตัวต่างๆ ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ก่อนเดิม ก่อนแต่งงาน สินสมรส คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาหลังแต่งงาน
Read More

จะหย่าจะแต่ง..ก็ต้องรู้ไว้ ‘สินสมรส-สินส่วนตัว’

จะหย่าจะแต่ง..ก็ต้องรู้ไว้ “สินสมรส-สินส่วนตัว” เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของคนเหล่านั้นหดหายไปได้ หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลาย ทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่าย ในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกัน เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ 1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ 2.
Read More

แฉมีเมียน้อยอาจผิด กฎหมายครอบครัว

แฉมีเมียน้อยอาจผิด กฎหมายครอบครัว เมื่อวันที่ 12 ก.ย. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดเสวนา “การบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550” นายสุวิทย์ ขันธาโรจน์ ผอ.สค. กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขรวบรวมความสูญเสียจากการกระทำความรุนแรง ทั้งค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายทั้งหมด เฉลี่ยปีละ 36,000 ล้านบาท พบว่าสาเหตุความรุนแรงมาจากการหึงหวง สุรา ยาเสพติดความยากจน และจากศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลกว่า
Read More

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (7)

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (7) (2) การเพิกถอนโดยปริยาย เป็นพฤติการณ์ที่กฎหมายถือว่ามีผลเท่ากับเป็นการเพิกถอน ในพฤติการณ์หนึ่งพฤติการณ์ใดดังต่อไปนี้ 2.1 เมื่อผู้ทำได้โอนไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ม.1696 เหตุที่กฎหมายถือว่าพินัยกรรมถูกเพิกถอนเนื่องจากขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายนั้น ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมอีกต่อไป การโอนไปซึ่งทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมซึ่งจะมีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมนั้น ทรัพย์นั้นได้โอนไปโดยสมบูรณ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นแล้ว หากกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนยังไม่ถือว่าพินัยกรรมถูกเพิกถอน เช่น เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่นาย ก. ต่อมาทำสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้ ข. ดังนี้ ขณะที่ยังมิได้ทำการจดทะเบียน โอนให้แก่ นาย ข. เจ้ามรดกได้ตายลงเสียก่อน เช่นนี้ พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่นาย
Read More

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (6)

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (6) การเพิกถอนพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรมโดยผู้ทำพินัยกรรม ภายหลังที่ได้ทำพินัยกรรมขึ้น ผู้ทำพินัยกรรมอาจจะเพิกถอนพินัยกรรมขณะหนึ่งขณะใดก่อนถึงแก่ความตายได้ แต่ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเพิกถอนตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงจะมีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรม ผู้ทำสามารถเพิกถอนพินัยกรรมได้ 2 วิธีใหญ่ ๆ (1) เพิกถอนโดยชัด โดยวิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ 1.1 เพิกถอนโดยการทำพินัยกรรมฉบับใหม่มาเพิกถอนพินัยกรรมฉบับเดิม (ฉบับก่อน) ม.1694 การเพิกถอนวิธีนี้ พินัยกรรมฉบับใหม่ต้องมีข้อความชัดเจนว่า เพิกถอนพินัยกรรมฉบับใด จึงจะจัดได้ว่าเป็นการเพิกถอนวิธีนี้ เช่น ข้าพเจ้าขอเพิกถอนพินัยกรรมของข้าพเจ้าฉบับลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549
Read More

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (5)

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (5) ความสามารถของพยานในพินัยกรรม (ม.1670) ผู้ที่จะเป็นพยานในพินัยกรรมต้องเป็นผู้ที่มิได้ต้องห้ามมิให้เป็นพยานในพินัยกรรม มิเช่นนั้นจะส่งผลให้ผู้นั้นขาดคุณสมบัติการเป็นพยาน โดยจะต้องไม่เป็นบุคคลดังต่อไปนี้ 1. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ เหตุที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นพยานในพินัยกรรมเนื่องจากการเป็นพยานจะมีผลทำให้ผู้นั้นรับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมไม่ได้ดังที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 1653 วรรคแรก “ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้” ดังนั้นจึงควรที่จะต้องบรรลุนิติภาวะเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเองได้ 2. คนวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ 3. บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง ความสามารถของผู้รับพินัยกรรม บุคคลดังต่อไปนี้หากเป็นผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม จะมีผลทำให้บุคคลนั้นรับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ โดยผู้รับพินัยกรรม คือ ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
Read More

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (4)

สิทธิโดยพินัยกรรมในการตกทอดมรดก (4) คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับแบบของพินัยกรรม คำพิพากษาฎีกาที่ 1387/2500 พยานลงชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรม ต่อมาอีก 3 วัน ผู้ทำพินัยกรรมจึงได้ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนต่อหน้าพยานชุดเดิมพินัยกรรมนั้นถูกต้องตาม มาตรา 1656 คำพิพากษาฎีกาที่ 1624/2511 พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้น ผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17
Read More