โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคพยาธิใบไม้ตับ
คุณภาพชีวิต
เหตุจากกินอาหารสุๆดิบๆ

พยาธิเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

โรคพยาธิใบไม้ตับ มีสาเหตุมาจากพยาธิ ที่มีชื่อเรียกว่า พยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) ซึ่งมีรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ ส่วนหัวและท้ายเรียวมน ขนาด ยาว 5-10 มม. กว้าง 0.7-1.5 มม. สีแดงเรื่อคล้ายสีโลหิตจางๆ ในประเทศไทยพบมากทั้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ พบน้อยมาก

สาเหตุของของโรค

โรคพยาธิใบไม้ตับมีสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทน้ำจืดปรุงดิบ หรือสุกๆ ที่มีตัวอ่อนของพยาธิปนเปื้อน เช่น ปลาร้า ก้อยปลา ปลาหมกไฟ ฯลฯ เมื่อคน แมว หรือสุนัข ซึ่งเป็นแหล่งรังโรคถ่ายอุจจาระปนเปื้อนแหล่งน้ำ จะทำให้เกิดการแพร่ระบาด โดยมีหอยและปลาน้ำจืด เช่น ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาตะเพียน เป็นตัวช่วยให้พยาธินี้เจริญต่อไป

วงจรชีวิต

พยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่ในท่อน้ำดีของตับทั้งของคนและสัตว์รังโรค เมื่อพยาธิออกไข่ ไข่จะออกมาในลำใส้ และปนออกมากับอุจจาระลงแหล่งน้ำ หอยพาหะ เช่น หอยไซ (Bithynia sp) จะกินไข่นี้เข้าไปเจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ในหอย ตัวอ่อนระยะต่อมาจะออกจากหอยไปเจริญต่อในปลาเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ เมื่อคนกินปลาที่ปรุงไม่สุก ตัวอ่อนนี้จะเจริญเป็นพยาธิตัวเต็มวัยในท่อน้ำดีของตับ

ระยะเวลาตั้งแต่คนกินตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิเข้าไปจนเจริญเป็นตัวเต็มวัยและตรวจพบไข่ในอุจจาระใช้เวลาประมาณ 4-8 สัปดาห์ คลิกเพื่อดูรูปวงจรชีวิตพยาธิใบไม้ตับที่นี่ครับ

อาการ

ระยะแรกๆมักจะไม่มีอาการ เมื่อมีพยาธิสะสมมากๆเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ออกร้อนบริเวณหน้าท้อง ถ้าปล่อยไว้นานๆ จะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ดีซ่าน ตับโต มีไข้ ระยะสุดท้ายของโรค ผุ้ป่วยจะผอมซีด บวม บางรายเป็นโรคตับแข็ง มีน้ำในช่องท้องหรือท้องมาน บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตายได้

การวินิจฉัย

ผู้ป่วยและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธินี้ ควรได้รับการตรวจอุจจาระเพื่อหาไข่พยาธิทุกปี

การป้องกัน

กินอาหารที่สะอาดและปรุงสุกด้วยความร้อน

ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

การรักษา

ควรพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและหายขาด

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *