โซ่อุปทานหัตถกรรมจักรสานกระเป๋าผักตบชวา

โซ่อุปทานหัตถกรรมจักรสานกระเป๋าผักตบชวา

Source: ผศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย ศฤงคารินทร์

ฉบับนี้เราได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เตือนใจ สมบูรณ์วิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ทำวิจัยโซ่อุปทานของหัตถกรรมจักรสานกระเป๋าผักตบชวาเพื่อการส่งออกมาร่วมแชร์ข้อมูล

มักมีการกล่าวถึงการบริหารจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม แม้ว่าจะมีโรงงานผลิตรายเดียวและ ซัพพลายเออร์ไม่กี่รายในโซ่อุปทานนั้น เรายังพบว่ามีประเด็นปัญหาหลายด้านในโซ่อุปทานภายในโรง งานผลิตและโซ่อุปทานระหว่างโรงงานผลิตกับซัพพลายเออร์ อีกด้านหนึ่งของการประยุกต์การบริหาร จัดการโซ่อุปทานของสินค้าจากหัตถกรรมจักรสานผักตบชวาเพื่อการส่งออก กรณีศึกษาที่น่าสนใจของ
สินค้ากลุ่มแม่บ้านในหมู่บ้านจังหวัดชัยนาท 13 กลุ่ม รวมกันผลิตสินค้าจากผักตบชวา เป็นโซ่อุปทานซึ่งมีการรวบรวมวัตถุดิบผักตบชวาจากหลายแหล่งมาที่ศูนย์กลางโดยมีกลุ่มบ้านอ้อยเป็นศูนย์กลาง แล้วกระจายผักตบชวาสำหรับการผลิตไปยังหลายคนในหลายหมู่บ้าน เพื่อถักสานเป็นผลิตภัณฑ์ตามแบบ แล้วทำการขนส่งกลับมาศูนย์ ซึ่งต้องรวบรวมให้ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพและเวลาตามที่ตกลงกับลูกค้าซึ่งจ้างผลิตเพื่อการส่งออก สินค้าที่มียอดการสั่งซื้อมากคือกระเป๋ามีปริมาณมากกว่า 2,000 ใบต่อเดือน แต่ผลิตได้ 700 ใบ/เดือน และทางกลุ่มไม่มีความมั่นใจในการรับจำนวนมากขึ้น เนื่องจากเป็นงานที่มีหลายขั้นตอนและใช้เวลานาน ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ เราได้นำโจทย์นี้ มาวิเคราะห์โดยใช้หลักการบริหารจัดการโซ่อุปทาน ทำให้ลดเวลาจาก 7 วัน/ใบ เป็น 1 วัน/ใบ ลดลง 85.7% ทำให้สามารถผลิตได้มากขึ้นและส่งมอบให้ลูกค้าส่งออกได้ตามความต้องการ

การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ
1. การล่าช้าของงาน โดยมักเลื่อนกำหนดส่งเนื่องจากเวลาที่ใช้ในการผลิตกระเป๋านาน 7 วัน ต่อ 1 ใบ รวมทั้งเกิดปัญหาสีกระเป๋าไม่ได้คุณภาพจากกระบวนการย้อมที่ต่างคนต่างย้อม

2 ความสูญเปล่าในการใช้วัตถุดิบ โดยมีการจ่ายวัตถุดิบโดยไม่มีการวัดเทียบสัดส่วนการใช้วัตถุดิบกับกระเป๋า การเอาวัตถุดิบไปเป็นการคาดการณ์ ในจำนวนเผื่อที่มากกว่าจำนวนต้องการไปมาก

3. ความล่าช้าในการตอบสนองลูกค้า และความเสียหายในการทำงาน ที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารระหว่าง แม่บ้านกับลูกค้าและเครือข่าย จากการเติบโตของความต้องการและจำนวนงานที่ทำมีมากขึ้น การกระจายงานมีจำนวนมาก การบันทึกข้อมูลมีการบันทึกทุกอย่างไว้ด้วยกันหมดเป็นรายวัน การนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผน และการติดตามงานเป็นไปได้ยาก ขาดระบบการใช้การบันทึกที่ช่วยในการติดต่องานเข้า ออก การผลิต

1. โครงสร้างโซ่อุปทาน
ผู้ส่งวัตถุดิบ จัดหาผักตบชวาส่งครั้งละ 100-200 กิโลกรัม เฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง โดยทั่วไป จะมาส่ง วัตถุดิบผ้าจะสั่งตามจำนวนคำสั่งซื้อของลูกค้า ใช้เวลา 5 วัน หูกระเป๋า (หูไม้ หูหวาย หูยาง) สั่งตามจำนวนที่ใช้ ใช้เวลา 10 วัน สีย้อมผ้า สีย้อมกก และลูกปัด จะสั่งตามจำนวนที่ใช้ ลูกค้าของกลุ่มส่วนใหญ่จะสั่งซื้อแล้วมารับสินค้าเอง

2. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภายในและภายนอก
ทางกลุ่มจะกระจายผักตบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ยังไม่ย้อมและไม่มีการทำเส้น พร้อมทั้งเส้นถักที่ยังไม่ย้อมให้ทางกลุ่มและหมู่ที่จะนำไปทำกระเป๋า หลังจากนั้นผู้ทำกระเป๋าแต่ละคนจะรับวัตถุดิบผักตบชวาไปทำเส้น ตัดเส้นและย้อมสีเอง แล้วจะทำการสานเป็นกระเป๋า การทำงานนี้ใช้เวลาการผลิตทั้งหมด 1 อาทิตย์ต่อ 1 ใบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผักตบชวาที่เป็นวัตถุดิบมักเกิดของเหลืออยู่ตามบ้าน สีที่ย้อมมีความแตกต่างกันในแต่ละบ้านทำให้การผลิตใช้เวลานานและมีผักเหลือตามบ้าน การขนส่งเริ่มจากแต่ละหมู่บ้านจะรับผักตบชวาไป แล้วนำกระเป๋ากลับมา ปัญหาจากการขนส่งส่วนมากเกิดกับหมู่บ้านที่อยู่ไกล สินค้าเสียหายจากการขนส่ง

3. กระบวนการทางธุรกิจ

ขั้นตอนการทำงานในกรณีที่กลุ่มออกแบบกระเป๋าใหม่เสนอให้ลูกค้านั้น เริ่มจากการส่งแบบให้ลูกค้า ลูกค้าจะใช้เวลาพิจารณาแบบประมาณ 3 เดือน อาจมีการแก้ไขปรับปรุงแบบตามความต้องการของลูกค้า เมื่อตกลงแบบได้ลูกค้าจะสั่งซื้อ ทางกลุ่มจะต้องกำหนดวันส่งแล้วแจ้งให้ลูกค้าทราบ เมื่อตกลงวันส่งได้ จะต้องกระจายงานตามกลุ่มหมู่บ้านต่างๆ แล้ววางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ในการวางแผนและจัดหาวัตถุดิบ จากนั้นจึงเริ่มผลิตกระเป๋าเมื่อสมาชิกผลิตเสร็จจะนำมาส่งให้กลุ่มหมู่บ้าน แล้วจึงรวมกันส่งให้กลุ่มบ้านอ้อย กลุ่มบ้านอ้อยจะต้องนำกระเป๋าที่รับมาตกแต่ง แล้วเก็บไว้ในคลังสินค้าให้ ได้ปริมาณมาพอจึงให้ลูกค้ามารับสินค้า โดยลูกค้าทยอยมารับจนกระทั้งครบจำนวนที่สั่ง

4. การปรับปรุง

1. ลดงานที่ไม่ได้คุณภาพเนื่องจากสีไม่ได้ โดยให้กลุ่มหมู่บ้านตัดเส้นแล้วให้กลุ่มบ้านอ้อย เป็นผู้ย้อมสีแล้วจึงส่งกลับไปทำกระเป๋า ทำให้ได้สีเดียว แก้ปัญหาสีไม่เหมือน ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการย้อมจากเดิม 20 บาท/ใบ เมื่อปรับปรุงแล้วค่าใช้จ่ายเหลือ 15 บาท/ใบ

2. ลดเวลาในการผลิต โดยแบ่งขั้นตอนการทำงานตามความถนัดของแต่ละคน การทำเส้น ก่อนการย้อมจะให้คนที่ถนัดทำแทนการให้ทุกคนทำ ในงานบางแบบมีการแบ่งงานเป็นการถักกระเป๋าเส้นใหญ่และการถักลาย จากเส้นเล็ก การปรับปรุงในขั้นตอนการย้อมสีรวมแทนต่างคนต่างย้อม และการแบ่งงานถัก ทำให้ช่วยลดเวลาในการผลิตจาก 1 ใบ/สัปดาห์/คน เป็น 2 ใบ/วัน/2คน ทำให้สามารถรับงานได้มากขึ้นส่งผลให้มีรายได้มากขึ้น

3. ลดการสูญเสียวัตถุดิบ โดยวางแผนการใช้วัตถุดิบว่ากระเป๋า 1 ใบใช้ผักตบชวาเท่าไร แล้วแจกผักตบชวาตามจำนวนกระเป๋าที่สมาชิกต้องผลิต จากเดิมต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียวัตถุดิบ 80 บาท/เดือน สามารถประหยัดได้มาก ด้วยการจัดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าเข้าและออก ระหว่างกลุ่มแสดงสภาวะงานการผลิต และปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งงาน

4.1 ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานเพื่อลดเวลาการผลิต และแก้ปัญหาคุณภาพสี

ขั้นตอนการทำงานแบบเดิมนั้นเมื่อจ่ายงานไปยังกลุ่มเครือข่ายแล้ว แต่ละกลุ่มเครือข่ายจะจ่ายงานให้สมาชิก สมาชิกแต่ละคนจะนำผักตบชวาไปตัดเส้นและทำเกลียว สำหรับกระเป๋า 1 ใบ ใช้เวลา 2 วัน จากนั้นจะนำผักตบชวาที่ตัดเส้นและเส้นเกลียวมาย้อมรวมกันที่กลุ่มเครือข่ายใช้เวลาในการย้อมและรอจนแห้งรวม 2 วัน จากนั้นสมาชิกแต่ละคนจะเริ่มสานกระเป๋าโดยการขึ้นโครงใช้เวลา 1 วัน เมื่อขึ้นโครงเสร็จ ก็จะนำเส้นเกลียวมาสานใช้เวลา 1 วัน แล้วจึงใส่หูกระเป๋าใช้เวลา 1 วัน เพื่อเพิ่มผลผลิตจึงได้ทำการแยกขั้นตอนการตัดเส้น การถักเกลียว และการย้อมสีซึ่งอยู่ในกระบวนการเตรียมผลิตออกโดยให้ทำกระบวนการเตรียมผลิตนี้ที่กลุ่มบ้านอ้อย แล้วจึงให้กลุ่มเครือข่ายแต่ละกลุ่มมารับเส้นที่ตัดและเกลียวที่ย้อมสีแล้วเพื่อไปผลิตกระเป๋า ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพสีได้ ส่วนในขั้นตอนการผลิตนั้น ได้ทำการแยกงานออกตามความสามารถของสมาชิกแต่ละคน โดยแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ขึ้นโครง นำเกลียวมาสาน และทำหู สมาชิกในแต่ละกลุ่มเครือข่ายจะแบ่งงานตามความถนัดทำให้เวลาในการผลิตลดลงเป็น 1 วัน/กระเป๋า 1 ใบ/3 คน ถ้าทำการผลิต 1 สัปดาห์จะได้กระเป๋า 7 ใบ/สัปดาห์/3 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากวิธีการทำงานเดิมถึง 4 ใบหรือเพิ่มขึ้น 133% การนำสีมาย้อมรวมแทนการแยกย้อม ทำให้ค่าใช้จ่ายในการย้อมลดลงจาก 20 บาทต่อใบ เป็น 15 บาทต่อใบ
4.2 ประมาณการใช้วัตถุดิบเพื่อลดความสูญเปล่าในการใช้วั ตถุดิบ

ดังนั้นแม่บ้านจึงทำการประมาณวัตถุดิบที่ใช้จริงต่อกระเป๋า 1 ใ บ เท่ากับ 4 ขีด ทำให้ลดปริมาณการใช้วัตถุดิบได้ถึง 2 ขีด/ใบ หรือ 60 กก./260 ใบ และใช้เกลียวน้อยลงจาก 2 เส้น เป็น 1.96

4.3 จัดระบบการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อช่วยในการทำงานลดความล่าช้าในการตอบสนองลูกค้า และความเสียหายในการทำงาน

การทำงานของกลุ่มแม่บ้านนั้นจะต้องแจกจ่ายงานไปยังกลุ่มต่างๆ จึงต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลที่ดีเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ข้อมูลที่ต้องใช้นั้นต้องเชื่อมโยงระหว่างลูกค้ากับกลุ่มแม่บ้านระหว่างกลุ่มแม่บ้านกับกลุ่มแม่บ้าน และระหว่างกลุ่มแม่บ้านกับผู้จัดหาวัตถุดิบ จึงได้จัดทำแบบฟอร์มเพื่อช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูล กระบวนการทำงานของกลุ่มแม่บ้านเริ่มต้นจากการออกแบบผลิตภัณฑ์และ ส่งไปให้ลูกค้าพิจารณา หลังจากที่ลูกค้าพิจารณาแล้วลูกค้าจะทำการส่งคำสั่งซื้อมาให้กลุ่มแม่บ้าน ทางกลุ่มแม่บ้านจะนำคำสั่งซื้อมาทำการวางแผนผลิตและวางแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบโดยจะต้องวางแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบตามปริมาณที่ต้องใช้ เมื่อมีวัตถุดิบพร้อมแล้วทางกลุ่มจะทำการผลิตโดยการจัดงานให้กลุ่มเครือข่ายเพื่อทำการผลิต เมื่อผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วจะนำมาเก็บยังคลังสินค้าเพื่อรอการจัดส่ง
ผลที่ได้รับ(ดัชนีชี้วัด)
(ดัชนีชี้วัด)
การปรับปรุงงานได้ดำเนินการแล้วในส่วนของการปรับปรุงการล่าช้าของงานและลดความสูญเปล่า
ตารางที่ 1 ผลการปรับปรุง

ก่อน หลัง การเปลี่ยนแปลง
เวลาในการผลิตกระเป๋า 7 วัน/ใบ 1 วัน/ใบ ลดลง 6 วัน/ใบ
ลดลง 85.7%
ต้นทุนการผลิต 260 บาท/ใบ 245 บาท/ใบ ลดลง 15 บาท/ใบ
สำหรับการแก้ปัญหาความล่าช้าในการตอบสนองลูกค้า และความเสียหายในการทำงาน ได้มีการวางรุปแบบเอกสารที่ใช้ในแต่ละกระบวนทำงานของกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งอยู่ในระหว่างการนำไปใช้ซึ่งสามารถติดตามและวัดผลโดยใช้ค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) ในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การจัดการและดัชนีชี้วัดสำหรับการสื่อสาร
ด้าน ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) รายละเอียด
การวางแผน – เปอร์เซ็นต์ของจำนวนครั้งในการขาดวัตถุดิบในการผลิต – (จำนวนคำสั่งซื้อที่ขาดวัตถุดิบภายใน 1 เดือน/จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดภายใน 1 เดือน) X 100
การจ่ายงาน / และการติดตามงาน – ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งสินค้าเร่งด่วน – จำนวนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งสินค้าเร่งด่วน/เดือน
การสื่อสาระหว่างกลุ่มแม่บ้านกับลูกค้า
– เปอร์เซ็นต์จำนวนคำสั่งซื้อที่ผิดพลาดอันเกิดการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับลูกค้า
– ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับลูกค้า – (จำนวนคำสั่งซื้อที่ผิดพลาดอันเกิดการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับลูกค้าภายใน 1 เดือน/จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดภายใน 1 เดือน) X 100

– จำนวนค้าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างแม่บ้านกับลูกค้า
การสื่อสาระหว่างกลุ่มแม่บ้านกับเครือข่าย
– เปอร์เซ็นต์จำนวนคำสั่งซื้อที่ผิดพลาดอันเกิดการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับเครือข่าย
– ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับเครือข่าย – (จำนวนคำสั่งซื้อที่ผิดพลาดอันเกิดการสื่อสารระหว่างแม่บ้านกับเครือข่ายภายใน 1 เดือน/จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดภายใน 1 เดือน) X 100

– จำนวนค้าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารที่ผิดพลาดระหว่างแม่บ้านกับเครือข่าย

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *