ดีกรีแห่งความทุกข์ ไอคิวและอีคิวที่ถูกทำลาย

ดีกรีแห่งความทุกข์ ไอคิวและอีคิวที่ถูกทำลาย

จาก หมอชาวบ้าน ปีที่ 26 ฉบับที่ 308 หน้า 17-21

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

ข้าพเจ้าขอสมาทานในสิกขาบท ตั้งใจที่จะงดเว้นจากการประทุษร้าย สติสัมปฤดี
โดยการดื่มสุราและเสพของมึนเมาทุกชนิด อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

นี่คือคำสมาทานศีลข้อที่ 5 ที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกยึดถือปฏิบัติ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า สุรา เหล้าและแอลกอฮอล์ ดังนี้

สุรา : เหล้า หรือน้ำเมาที่ได้จากการกลั่น

เหล้า : น้ำเมาที่กลั่นหรือหมักแล้ว

แอลกอฮอล์ : สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย เกิดขึ้นจากการหมัก สารประเภทแป้งและน้ำตาล ผสมยีสต์ เป็นองค์ประกอบของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการมึนเมา

จากคำ จำกัดความของสุรา เหล้า และแอลกอฮอล์ ล้วนเกี่ยวกับความมึนเมา ขาดสติสัมปชัญญะที่จะประคองตนเองในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่เจริญก้าวหน้า

เข้าทำนอง สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดเกิดปัญหา

เข้าทำนอง ร่างกายเป็นทุกข์ จิตใจเป็นทุกข์ ครอบครัวและสังคมเป็นทุกข์

ท่านผู้อ่านและคนใกล้ชิดจะทุกข์อย่างไรโปรดพิจารณาด้วยสติ และเพิ่มดีกรีแห่งความสุขกันดีกว่า

คนไทยดื่มเหล้าสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก

องค์การ อนามัยโลก เปิดเผยข้อเท็จจริงว่า การดื่มแอลกอฮอล์เกินควรเป็นสาเหตุของการตายและความพิการทั่วโลก ประมาณร้อยละ 4 ของการตายและความพิการทั่วโลกเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งมากกว่ายาเสพติด ถึง 5 เท่า ร้อยละ 30 ของการตายจากมะเร็งหลอดอาหาร โรคตับ โรคชัก อุบัติเหตุจราจรฆาตกรรมและการบาดเจ็บโดยเจตนา มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่บั่นทอนสุขภาพร่างกายให้เสื่อมลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสติปัญญาและสุขภาพจิตของผู้ดื่มและก่อปัญหาสังคมอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ได้แก่ การเมาแล้วขับ ซึ่งเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรมากกว่าร้อยละ 50 ของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมด การก่อความรุนแรงต่อครอบครัวและการก่ออาชญากรรม
ถึงแม้จะยอมรับกันโดยทั่วไปว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และสังคม แต่แนวโน้มการดื่มแอลกอฮอล์ของคนไทยกลับเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 2.6 แสนคนต่อปี
องค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2543 คนไทยดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ต่อหัวเท่ากับ 13.59 ลิตร สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากโปรตุเกส สาธารณรัฐไอร์แลนด์ บาฮามาร์ และสาธารณรัฐเช็ก ตามลำดับ
การดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ของคนไทยมีอัตราการเพิ่ม 0.29 ลิตรต่อคนต่อปี ซึ่งคิดเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีอัตราการเพิ่มเพียง 0.14 ต่อคนต่อปี
ใครบ้างที่ดื่มแอลกอฮอล์

ร้อยละ 35 ของคนไทยวัยเกิน 11 ขวบดื่มแอลกอฮอล์
จากการ สำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติครั้งล่าสุด พ.ศ. 2546 พบว่าคนไทยดื่มสุรา 18.61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 35.46 ของประชากรอายุ 11 ขวบขึ้นไป แยกเป็นชาย 15.51 ล้านคน หรือ ร้อยละ 60.80 ของเพศชายอายุ 11 ขวบขึ้นไป เป็นหญิง 3.95 ล้านคนหรือร้อยละ 14.51 ของเพศหญิงอายุ 11 ขวบขึ้นไป
ชายวัยทำงานดื่มหนักที่สุด

กลุ่ม ที่ดื่มแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานชาย อายุ 25-44 ปี จำนวน 8.84 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 74.64 ของประชากรเพศชายในวัยเดียวกัน (จำนวน 10.50 ล้านคน)

นักดื่มขาประจำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ใน กลุ่มผู้ที่ดื่มตั้งแต่ 1-2 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่ดื่มประจำ พบว่าในเพศชายดื่มประจำในปี พ.ศ. 2546 มีอัตราร้อยละ 43.9 ของเพศชายที่ดื่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 39.3 ในปี พ.ศ. 2544

นักดื่มหญิงเพิ่มปีละหลายแสนคน
จาก ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี พ.ศ. 2543 พบว่าจำนวนผู้หญิงที่ดื่มสุรามีประมาณ 2.84 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากรเพศหญิง) ในขณะที่ปี พ.ศ. 2544 อัตราการดื่มสุราของผู้หญิงเท่ากับ 2.3 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 9.8 ซึ่งภายใน 2 ปี เพิ่มขึ้นถึง 5.4 แสนคน
นักดื่มหญิง 1 ใน 4 ไม่ยอมเลิกแม้ตั้งครรภ์
จากการ สอบถามผู้หญิงวัยเกิน 15 ปี ที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่าร้อยละ 23.3 หรือประมาณ 1 ใน 4 ยังไม่เลิกดื่มแอลกอฮอล์ โดยร้อยละ 7.6 ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ระบุว่ายังคงดื่มเป็นประจำ ขณะที่อีกร้อยละ 10.4 ระบุว่าดื่มนานๆ ครั้ง นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าผู้หญิงในเมืองมีอัตราการเลิกดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้ง ครรภ์น้อยกว่าผู้หญิงชนบท

แอลกอฮอล์กับวัยรุ่น
วัยรุ่นไทยเป็นนักดื่มมากขึ้น

– วัยรุ่นเพศชายวัย 11-19 ปี ที่ดื่มแอลกอฮอล์มีจำนวนประมาณ 1.06 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.23 ของประชากรในกลุ่มอายุนี้
– ปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วงก็คือ นักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับ ปวช. ที่ดื่มแอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 50 เริ่มดื่มเมื่ออายุต่ำกว่า 15 ปี ทั้งนี้ผู้ชายเริ่มต้นดื่มในอายุที่น้อยกว่าผู้หญิง
– นักเรียนมัธยมปลายจนถึงอุดมศึกษาประมาณ 1 ใน 3 ของนักเรียนทั้งหมดยอมรับว่าตนเองเป็น “คนดื่มแอลกอฮอล์” และนักเรียน ปวส. มีประสบการณ์การดื่มมากที่สุดเมื่อเทียบกับนักเรียนชั้นอื่นๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 88.3 ของนักเรียนชาย และร้อยละ74.4 ของนักเรียนหญิง
– ในช่วงเวลาเพียง 7 ปี (พ.ศ. 2539-2546) กลุ่มผู้หญิงวัย 15-19 ปี เป็นกลุ่มที่น่าจับตามากที่สุด เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเกือบ 6 เท่า คือจากร้อยละ 1.0 เป็นร้อยละ 5.6 และในกลุ่มหญิงวัยนี้เป็นผู้ดื่มประจำถึง ร้อยละ 14.1
– เด็กที่เริ่มดื่มแอลกอฮอล์ก่อนอายุ 13 ปี มีโอกาสติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนโต ในทางตรงข้าม หากเริ่มดื่มในวัย 21 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงในการเกิดปัญหาจากการดื่มในลักษณะต่างๆ จะลดลงถึงร้อยละ 70

เพื่อน ครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น

– การดื่มครั้งแรกของนักเรียนชายที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ นอกจากความอยากลอง แล้วยังมีอิทธิพลมาจากพ่อแม่ที่ยอมให้ดื่มอีกด้วย
– ความอยาคุณ้และอยากลองและเพื่อน คืออิทธิพลที่สำคัญของการดื่มครั้งแรกของวัยรุ่นชาย ส่วนผู้หญิงมีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือแฟนเป็นปัจจัยสำคัญ
– ครอบครัวที่ขาดพ่อแม่ มีความเสี่ยงสูงต่อพฤติกรรมการดื่ม เช่นเดียวกับครอบครัวที่พ่อแม่ดื่ม ทั้งนี้ นักเรียนชาย ร้อยละ 79.8 และนักเรียนหญิงร้อยละ 80.7 ที่เคยดื่มแอลกอฮอล์ ให้ข้อมูลว่าบิดาดื่มแอลกอฮอล์
– โฆษณาสร้างความเข้าใจผิดแก่วัยรุ่นจำนวนมาก เช่น นักเรียนชายเห็นว่า การดื่มแอลกอฮอล์ต่างประเทศเป็นเครื่องแสดงความทันสมัย ขณะที่นักเรียนหญิงบอกว่า ดื่มแอลกอฮอล์ของต่างประเทศแล้วไม่เมา

แอลกอฮอล์ สามารถซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารและกระจายเข้าสู่กระแสเลือด ภายใน 5 นาที ก่อนส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆ ภายใน 10-30 นาที ทั้งนี้สามารถตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดได้ภายในเวลา 5 นาที หลังจากเริ่มดื่ม

ไอคิวและอีคิวถูกทำลาย

ไอคิว สติปัญญา
IQ ความสามารถทางสติปัญญาที่ลูกน้อยแต่ละคนจะมีมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ พันธุกรรมการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ โดยการสัมผัส โอบกอด พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เพื่อให้จุดเชื่อมต่อที่เรียกว่า ซินแนปส์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองพัฒนาได้เต็มที่

อีคิว อารมณ์

EQ ความฉลาดทางอารมณ์ หรือวุฒิภาวะทางอารมณ์ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพดี อารมณ์ดี ควบคุมสถานการณ์ได้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสมองส่วนที่เรียกว่าอะมิกดาลา เป็นสมองที่ก่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ หากคนเราไม่มีสมองส่วนนี้จะกลายเป็นคนที่ไม่รู้จักอารมณ์คนอื่น ไม่รู้จักกลัว ไม่รู้จักโกรธ เกลียด ไม่ร้องไห้ การเลี้ยงดูลูกด้วยการให้ความรัก ความอบอุ่น ยอมรับและรับรู้ความรู้สึกของลูก สอนให้ลูกมีทักษะในการเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย

สาร เคมีและแอลกอฮอล์ส่งผลให้ผู้ดื่มรู้สึกผ่อนคลาย ครึ้มอกครึ้มใจ สนุกสนานรื่นเริงได้จริง ทว่าในระยะยาวเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่บั่นทอนสุขภาพร่างกายให้ เสื่อมโทรมลงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสติปัญญา และสุขภาพจิตของผู้ดื่มและก่อให้เกิดปัญหาด้านบุคลิกภาพและสังคมระยะยาวด้วย

ไอคิวลดเพราะแอลกอฮอล์

มีงาน วิจัยในประเทศไทยที่ระบุว่า การดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้ผู้ดื่มมีระดับเชาวน์ปัญญา ลดลงโดยพบว่ากลุ่มผู้เริ่มดื่มในช่วงอายุ 20-29 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยเรียนจนถึงเริ่มต้นทำงานและเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว เกิดเชาวน์ปัญญาเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่เริ่มดื่มในกลุ่มอายุอื่นๆ

ก่อให้เกิดโรคจิต
จากการ ศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทางจิตของแต่ละประเทศมีสาเหตุมาจากแอลกอฮอล์ คนติดแอลกอฮอล์จึงมักมีจิตใจและอารมณ์อ่อนไหว ความอดทนต่อภาวะเครียดหรือกดดันลดน้อยลง ขาดสมาธิ นำไปสู่บุคลิกภาพภาพเสื่อมโทรมในที่สุด

โรคจิต จากการดื่มมีด้วยกันหลายอาการ และมักรักษาให้หายขาดได้ยาก ได้แก่ โรคประสาทหลอน โรคหวาดระแวง โรคความจำเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคหวาดกลัวผิดปกติ เป็นต้น ทั้งนี้ เกิดจากการดื่มสามารถเกิดขึ้นได้กับนักดื่มทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย

ผลักดันให้ก่อความรุนแรง

เนื่อง จากแอลกอฮอล์สามารถละลายไขมันได้ดี จึงสามารถผ่านทำนบที่กั้นระหว่างกระแสเลือดกับเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี ผลที่เกิดขึ้นในทันทีก็คือ กดการทำงานของสมอง โดยเฉพาะส่วนที่พัฒนามามาก นั่นคือสมองส่วนที่ควบคุมความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำให้สมองส่วนอื่นๆ เพิ่มอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรม ส่งผลให้ผู้ดื่มขาดความยับยั้งชั่งใจดังเช่นที่มีภาวะปกติ จนทำให้สามารถก่อความเดือดร้อนและอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นโดยง่าย

การ เติบโตในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความรุนแรงเพราะคนในครอบครัวดื่ม แอลกอฮอล์ จะทำให้เด็กในครอบครัวนั้นสะสมความรุนแรงในบุคลิกภาพ มีโอกาสเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพและพฤติกรรมการดื่มเหมือนพ่อแม่

*******************************************

ที่มาของข้อมูล: จาก หมอชาวบ้าน ปีที่ 26 ฉบับที่ 308 หน้า 17-21

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *