กฎหมายมรดก เจตนาทำไว้เผื่อตาย

กฎหมายมรดก เจตนาทำไว้เผื่อตาย

เจตนาทำไว้เผื่อตาย

แม้ว่าจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับมรดกจากผู้เป็นบิดาก็ตาม จำเป็นต้องดูข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วยเป็นสำคัญ เพราะการที่ผู้ใดเจตนาจะยกทรัพย์มรดกให้แก่บุคคลใดนั้นเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ส่วนตนทำไว้เผื่อตาย จึงต้องดูเจตนาเป็นสำคัญ แม้ว่าจะเป็นสินสมรสของผู้นั้นยกทรัพย์มรดกส่วนนั้นให้ผู้ใดก็ได้

นี่ก็คือเรื่องราวของคดีความที่เกิดขึ้นในศาลว่า บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับทายาทคนอื่นๆ

นายสินชัย เป็นพนักงานอาวุโสของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง มีภริยาคนแรกชื่อนางปรียา มีบุตรด้วยกัน 2 คน คนโตชื่อนายสหชัย คนรองชื่อนายสหกิจ ผู้เป็นพ่อได้จดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร ภริยาอีกคนหนึ่งชื่อนางชมชื่น จดทะเบียนสมรสกัน มีลูกด้วยกัน 3 คน ชีวิตนี้เป็นอนิจจัง สินชัยถึงแก่กรรมด้วยวัยชรา มีทรัพย์มรดกที่ดิน 2 โฉนด พร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่า 24 ล้านบาท สหชัยทวงสิทธิ์ในฐานะทายาทให้ชมชื่น แบ่งสินสมรสของผู้เป็นบิดาให้แก่ลูกทั้งสอง จำนวน 2 ใน 6 ส่วนของทั้งหมด คิดเป็นเงิน 2 ล้านบาท แต่ได้รับแจ้งจากชมชื่นว่าสามีของเธอทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่เธอคนเดียว

สหชัยจึงฟ้องศาลขอแบ่งทรัพย์มรดกตามสิทธิ์ของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามสัดส่วนที่เขาได้แจ้ง ให้แก่ชมชื่นภริยาของพ่อซึ่งเป็นเจ้าของมรดก

ชมชื่นให้การต่อศาลขั้นต้นว่า มรดกของสินชัยสามีของเธอนั้นทายาทโดยธรรมของสินชัยไม่มีสิทธิ์รับมรดก เพราะว่าสินชัยได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่เธอซึ่งตกเป็นจำเลยแต่ผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องแบ่งปันมรดกให้แก่ผู้ใด ขอให้ยกฟ้อง

สุดท้ายศาลวินิจฉัยว่า คดีนี้มีประเด็นโต้แย้งเรื่องการทำพินัยกรรมหลายประเด็นคือ จำเลยเตรียมการทั้งหมดเพื่อให้เจ้ามรดกลงลายมือชื่อไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงของผู้ตาย ทนายจำเลยเบิกความว่าเป็นผู้ทำพินัยกรรมได้อ่านให้สินชัยฟังแล้วจนพอใจ จึงได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานและพยานอีก 3 คน จึงได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ชื่อ ตวงชัยพยานจำเลยเบิกความว่ามีการตกลงกันไว้แล้วว่า ทรัพย์มรดกยกให้แก่จำเลยและเป็นไปตามเจตนาข้อความตรงตามพินัยกรรม พยานโจทก์สองคนซึ่งเป็นญาติพี่น้องกับผู้ตายเบิกความว่าไม่เชื่อว่าสหชัยทำพินัยกรรมไว้จริง อีกคนว่าไม่ทราบเรื่องไม่เคยเห็นพินัยกรรม ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ตายมีเจตนาทำพินัยกรรมตามเอกสารที่กล่าวอ้าง ฎีกาประเด็นนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่สอง โจทก์ฎีกาว่า พินัยกรรมนี้ไม่มีผู้เขียนพินัยกรรมตามกฎหมาย เห็นว่าสินชัยผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยาน 3 คน และพยานทั้ง 3 คน ได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของสินชัยไว้ถือว่าเป็นการทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม่ว่าจะไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนตามกฎหมาย แต่กฎหมายก็มิได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่สาม โจทก์ฎีกาว่าลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ของสินชัยเจ้ามรดก ข้อนี้ตวงชัย ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และพยานจำเลยอีก 2 คนเบิกความยืนยันว่า สินชัยลงลายมือชื่อต่อหน้าพยาน ส่วนสุพิน พยานโจทก์ซึ่งเป็นพี่ชายของสินชัยเบิกความแต่เพียงว่าลายมือชื่อของสินชัยในพินัยกรรม ไม่ค่อยเหมือนที่เคยเห็นเท่านั้น แต่มิได้ยืนยันว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของสินชัย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า ลายมือชื่อในพินัยกรรมเป็นของสินชัย ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น

ประเด็นที่สี่ โจทก์ฎีกาว่า พินัยกรรมไม่มีผลบังคับเพราะผู้รับประโยชน์ในพินัยกรรมคือ จำเลยอยู่ด้วยในขณะทำพินัยกรรม เห็นว่าไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับประโยชน์อยู่ด้วย ในขณะทำพินัยกรรมจะมีผลให้พินัยกรรมนั้นตกเป็นโมฆะ ฎีกาโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

ประการสุดท้าย โจทก์ฎีกาว่าสินชัยไม่มีสิทธิ์ทำพินัยกรรมยกสินสมรสของตนให้จำเลย เห็นว่าสินสมรสเป็นทรัพย์ที่สินชัยมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย ย่อมมีอำนาจยกสินสมรสส่วนของตน ให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามความประสงค์ตามกฎหมาย ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้นอีกเช่นกัน เห็นชอบตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง พิพากษายืนยัน

ข้อมูล : เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 1216/2540

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *