โภชนาการ : อาหารบำบัดโรคไต ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังนานๆ มักปวดและทรมานจนอาจเกิดอาการเครียด นอกจากนี้ยังเกิดภาวะขาดอาหารได้ เพราะผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อยลง หรือมีอาการบวม เนื่องจากอาการคั่งของของเสียในร่างกายมากขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรกำหนดปริมาณอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อรักษาและยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานยิ่งขึ้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับพลังงาน 35-40 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังต้องการสารอาหารโปรตีนสูงกว่าคนธรรมดา คือประมาณ 1.2-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ขณะที่คนทั่วไปควรได้รับโปรตีนวันละ 0.8-1.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งอาหารจำพวกโปรตีนที่แนะนำให้ผู้ป่วยทานควรเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประมาณร้อยละ 60 เนื่องจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นเป็นโปรตีนชนิดที่มีกรดอะมิโนครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้ป่วยควรทานต้องเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมันเพื่อหลีกเลี่ยงไขมันที่มาจากสัตว์ ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวและมีโคเลสเตอรอลสูงด้วย เนื้อสัตว์ที่สุกแล้วประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ ให้โปรตีนประมาณ 7 กรัม และให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี่ ทั้งนี้ผู้ป่วยควรทานเนื้อสัตว์วันละประมาณ 9 ช้อนโต๊ะต่อวัน ถ้าผู้ป่วยต้องการดื่มนมแทนเนื้อสัตว์ก็ได้ แต่ควรดื่มนมชนิดพร่องมันเนย ที่มีไขมันต่ำแทนนมสดพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ 240 มิลลิกรัม จะได้โปรตีน […]
Read MorePosts tagged โรคไต
สุขภาพ : เมื่อ “ไตวายเฉียบพลัน”
สุขภาพ : เมื่อ “ไตวายเฉียบพลัน” ไตวายฉับพลันคือมีการทำงานของไตลดลงเป็นเวลารวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน โดยจะรู้ได้ด้วย ตรวจพบว่ามีค่า BUN และ Creatinine สูงขึ้นในเลือดนั่นเอง เมื่อมีไตวายฉับพลัน ถ้ามีการรักษาที่ถูกต้องไตอาจจะกลับสู่ภาวะปกติในเวลาประมาณ 3 วัน ในไตวายฉับพลันมีภาวะหนึ่งเรียกว่า Pre renal หมายถึงไตวายจากการที่เลือดไปเลี้ยง ไตลดลง เช่นมีภาวะตกเลือด หรือช็อคและทำให้ความสามารถในการขับของเสีย ลดลงอย่างมาก ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีปัสสาวะน้อย แต่เนื่องจากยังไม่มีการทำลายท่อไต ถ้ารักษาด้วยการให้สารน้ำให้พอและแก้ภาวะเลือดไปเลี้ยงไตลดลงนี้ได้ ไตจะกลับปกติ ในเวลาเพียง 24-72 ชั่วโมงเท่านั้น และจะมีปัสสาวะออกตามปกติ แต่ถ้ารักษาไม่ทันจะมีการทำลายของท่อไตด้วย แม้จะให้สารน้ำก็ไม่ทัน ไม่สามารถเพิ่มปัสสาวะได้ และก็ไม่อาจทำให้ไตปกติได้ในช่วงสั้นแต่ถ้ารักษาได้ดี และไตไม่เสียหายรุนแรง ก็อาจหายปกติได้ในเวลาประมาณ 1สัปดาห์ ถึง 3 เดือน ถ้าเกิน 3 เดือนไปแล้วยังไม่ปกติถือว่ามีภาวะ ไตวายเรื้อรังเกิดขึ้น สาเหตุของไตวาย 1. มีภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ไต เช่นผู้ป่วยมีอุบัติเหตุ เสียเลือด ช็อค หรือมีภาวะหัวใจวาย ร่างกายจะมีกลไกลดเลือดไปเลี้ยงที่ไต ทำให้ไตวายได้ 2. […]
Read Moreกองทุนสุขภาพ : สปส.เชื่อมระบบไอทีใช้สิทธิข้ามกองทุนได้
กองทุนสุขภาพ : สปส.เชื่อมระบบไอทีใช้สิทธิข้ามกองทุนได้ สปส.จัดทำระบบไอทีเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตนป่วยเป็น ‘โรคเอดส์-ไต’ เข้ากับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เอื้อผู้ประกันตนออกจากกองทุนใช้สิทธิข้ามกองทุนได้ทันที ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 55 นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ทั้ง 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและกองทุนสวัสดิการข้าราชการดำเนินการขยายสิทธิการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์และไตเพื่อความเท่าเทียมกันทั้ง 3 กองทุน ว่า ทางสปส.ได้จัดทำระบบไอทีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์และไตเข้ากับระบบข้อมูลของกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์และไต ซึ่งออกจากกองทุนประกันสังคม เช่น กรณีผู้ประกันตนเกษียณอายุจากการทำงานในสถานประกอบการก็สามารถข้ามสิทธิไปใช้บริการรักษาพยาบาลกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้เลย เลขาธิการสปส. ยังกล่าวถึงกรณีที่นายจ้างส่งเงินสมทบล่าช้า ทำให้ลูกจ้างไม่สามารถใช้สิทธิเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมได้ว่า ปัญหานี้ไม่กระทบต่อการใช้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของลูกจ้างเพราะนับตั้งแต่วันที่นายจ้างหักเงินเดือนลูกจ้างเพื่อส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้างก็สามารถใช้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลได้ยกเว้นกรณีลูกจ้างลาออกแล้วไม่ได้แจ้งต่อสปส. จะทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิรักษาพยาบาลของลูกจ้าง “นายจ้างมีหน้าที่จะต้องหักเงินเดือนลูกจ้าง และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม หากนายจ้างไม่จ่ายก็ไม่กระทบ เพราะสปส.ให้สิทธิในการรักษาพยาบาลลูกจ้างอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม นายจ้างรายใดไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้แก่ลูกจ้าง ทางสปส.จะไปเช็คบิลกับนายจ้างทีหลัง ซึ่งตามกฎหมายประกันสังคมมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” นายจีรศักดิ์ […]
Read Moreกองทุนสุขภาพ : ‘ผู้ป่วยไต-เอดส์’ 3 กองทุนรับบริการเดียว
กองทุนสุขภาพ : ‘ผู้ป่วยไต-เอดส์’ 3 กองทุนรับบริการเดียว ‘ผู้ป่วยไต-เอดส์’ 3 กองทุนรับบริการมาตรฐานเดียว เจ็บป่วยรักษาต่อเนื่องแม้เปลี่ยนสิทธิ ผู้ป่วยไตความสามารถในการกรองปัสสาวะน้อยกว่า 15 ซีซีต่อนาทีมีสิทธิฟอกเลือด ผู้ป่วยเอดส์ซีดีโฟร์ต่ำกว่า 350 เซลล์ต่อลบ.มม.รับยาต้านไวรัส รอ’ปู’พิจารณารอบสุดท้าย คาดดีเดย์ 1 ต.ค. 2555 นี้ เมื่อเวลา 14.30 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมร่วมผู้แทนจาก 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงแรงงาน กรมบัญชีกลาง สำนักงานประกันสังคม(สปส.)และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ว่า เป็นการสรุปครั้งสุดท้ายเรื่องการบูรณาการการจัดระบบริการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายของทั้ง 3 กองทุนที่มีประมาณ 264,052 คนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา หากได้รับความเห็นชอบคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 “เรื่องที่ประชาชนกังวลมากคือหากเจ็บป่วยเป็นโรคไตหรือผู้ป่วยเอดส์ หรือติดเชื้อเอชไอวีแล้วมีการเปลี่ยนสิทธิประกันสุขภาพจะทำอย่างไร เช่น บุตรข้าราชการ เมื่ออายุครบ 20 ปีแต่ยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาจะต้องใช้สิทธิจากงกองทุนไหน หรือลูกจ้างที่ถูกให้ออกจากงานพ้น 6 […]
Read Moreกองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีบำบัดทดแทนไต
กองทุนสุขภาพ : สิทธิประโยชน์สิทธิประกันสังคม กรณีบำบัดทดแทนไต กรณีการบำบัดทดแทนไต ด้วยคณะกรรมการการแพทย์ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอัตราหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2554 โดยปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีการบำบัดทดแทนไต สำหรับผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1) ค่าฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในอัตราไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 4,500 บาทต่อสัปดาห์ สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ส่วนเกินอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกันตน (กรณีผู้ประกันตนเป็นไตหลังจากการเป็นผู้ประกันตน) 2) ค่าเตรียมเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมพร้อมอุปกรณ์ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ส่วนเกินอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกันตน 3) ค่าตรวจรักษาและค่าน้ำยาล้างช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ในอัตราไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ส่วนเกินอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกันตน 4) ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์ในอัตราไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี สำหรับค่าบริการทางการแพทย์ส่วนเกินอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ประกันตน 5) กรณีผู้ประกันตนที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนการเป็นผู้ประกันตนที่ยื่นขอใช้สิทธิให้มีสิทธิดังนี้ 5.1 กรณีล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร ค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้าออกช่องท้องพร้อมอุปกรณ์และค่ายาฉีดเพิ่มเม็ดเลือดแดง (Erythropoietin) ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายอยู่ 5.2 กรณีผู้ประกันตนได้รับการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวรแล้วล้มเหลว […]
Read Moreไตล้มเหลว
เป็นความล้มเหลวไตคืออะไร Kidneys เป็นคู่ของอวัยวะตั้งอยู่หลังท้อง. พวกเขาแบคทีเรียกรองและเกลือเสริมและน้ำจากร่างกาย. Kidneys หยุดทำงานเมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการกรองช่วยให้พวกเขาถูก. ในไตล้มเหลวแบคทีเรียเหล่านี้และดีเกลือสร้างและสามารถมีผลเสียในหัวใจ, สมอง, ปอดและอวัยวะอื่นๆ. นี้ยังอาจทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงหรือตาย. คุณได้รับไตล้มเหลวอย่างไร ไตล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว (วัน) หรือช้า (เดือนหรือปี). ป่วยจำนวนมากอาจทำให้เกิด kidneys จะไม่รวมถึงโรคเบาหวานและความดันเลือดสูง. คนส่วนใหญ่มีความล้มเหลวไตเรื้อรังต้องใช้ยาและต้องหลาย dialysis. บางคนมีความล้มเหลวไตมากป่วยและต้องอยู่ในโรงพยาบาล. ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของเวลาเป็นเพราะปฏิกิริยาแพ้รุนแรงถึงยา. นี้เรียกว่าโรคไตอักเสบ interstitial (กล่าวว่า in-ter-STI-nef shul-ข้าวไร-tus). วิธีการแพทย์ของฉันจะบอกถ้ามีความล้มเหลวไต? แพทย์จะตรวจอาการและประวัติการรักษาของคุณ. เลือดและตรวจปัสสาวะเป็นประโยชน์ยัง. ถ้าการทดสอบเหล่านี้ไม่ชัดเจนแพทย์อาจจำเป็นต้องทำอัลตราซาวด์หรือใช้ biopsy ของไต. Biopsy เป็นที่ชิ้นเล็กๆของไตจะถูกลบและตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์. จะล้มเหลวของไตได้ดีกว่า คนส่วนใหญ่ด้วยโรคไตอักเสบ interstitial ได้ดี. Kidneys พวกเขาเริ่มทำงานตามปกติหลังจากสองสามสัปดาห์. บางคนอาจต้องปีเพื่อให้ได้ดีกว่า. สุขภาพก่อนหน้านี้ของคุณรุนแรงของการเจ็บป่วยของคุณและผลลัพธ์ของการ biopsy ไต (ถ้ามี) จะช่วยให้แพทย์ของท่านคาดว่าต้องใช้เวลานานเพื่อให้คุณได้ดี. ว่าเป็นโรคไตอักเสบถือว่า interstitial? แพทย์ของคุณจะใช้จำนวนขั้นตอนในการปฏิบัติต่อคุณ. นี้อาจรวมถึง: หยุดยาที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่อาจ kidneys […]
Read Moreไตและทางเดินปัสสาวะทำงานผิดปกติและโรค
ระบบปัสสาวะทำความสะอาดเลือดและร่างกาย rids น้ำส่วนเกินและของเสียในรูปของปัสสาวะ. เรื่องปัสสาวะประกอบด้วยสอง kidneys สอง ureters (อยู่ในไตแต่ละข้าง), ท่อปัสสาวะที่ไหลจากไตลงในถุง (ถุงเก็บ) และ ท่อปัสสาวะ. กล้ามเนื้อจะช่วยควบคุมการปล่อยของปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ. ไตรองเท้าเมล็ดรูปอวัยวะ, ตั้งอยู่ที่ด้านล่างของ ribcage ในด้านขวาและซ้ายของด้านหลัง. แม้ว่าร่างกายจะมีสองไต แต่คุณก็ยังสามารถทำงานกับไตข้างเดียวได้ในกรณีที่ไตอีกข้างเสียหาย. ไตได้รับเลือดจาก aorta, กรองและส่งกลับไปที่หัวใจที่มีสมดุลของสารเคมีและน้ำเพื่อใช้ทั่วร่างกาย. ปัสสาวะที่สร้างขึ้นโดยไตจะย้ายออกจากร่างกายผ่านทางเดินปัสสาวะ. ไตควบคุมปริมาณและคุณภาพของชนิดภายในร่างกาย. พวกเขายังผลิต ฮอร์โมน และ วิตามิน ที่กิจกรรมเซลล์โดยตรงในอวัยวะมาก renin ฮอร์โมนเช่นช่วยควบคุมความดันเลือด. เมื่อ kidneys จะไม่ทำงานอย่างเหมาะสมเสียและของเหลวสามารถสร้างระดับอันตรายการสร้างชีวิตเป็นขู่สถานการณ์. ในสารสำคัญ kidneys ช่วยควบคุมมีโซเดียม, โพแทสเซียม, คลอไรด์, ไบคาร์บอเนต (HCO3-) pH, แคลเซียมฟอสเฟตและแมกนีเซียม. โรคและเงื่อนไขที่มีผลต่อไต ในสหรัฐอเมริกาโรคไตเป็นต้นเหตุที่เก้าของการตาย โรคเบาหวาน และ ความดันเลือดสูง สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของไตล้มเหลวเรื้อรังมี. หากคุณมีโรคเบาหวานหรือความดันเลือดสูงคุณมีความเสี่ยงมากขึ้นของการพัฒนาโรคไต. (สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูที่ ที่เกี่ยวข้องกับเพจอื่นในเว็บ.) โรคใดๆที่มีผลต่อเรือเลือดรวมถึงโรคเบาหวานความดันเลือดสูงและ atherosclerosisสามารถทำให้เสียความสามารถ kidneys […]
Read Moreการป้องกันและรักษาโรคไต
ไตมี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลัง ใต้ชายโครง บริเวณบั้นเอว มีรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง ยาวประมาณ 12เซนติเมตร ไต – ประกอบด้วยหลอดเลือดฝอยมากมาย เรียกว่า “หน่วยไต” ( nephron ) – หน่วยไตจะลดจำนวน และเสื่อมสภาพตามอายุไข ไตทำหน้าที่อะไร ? 1 กำจัดของเสีย 2 ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย 3 รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย 4 รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย 5 รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย 6 ควบคุมความดันโลหิต 7 สร้างฮอร์โมน 1 กำจัดของเสีย ได้แก่ ยูเรีย ครีเอดินิน – เมื่อร่างกายได้รับสารอาหาร […]
Read Moreความรู้เรื่องไต
หน้าที่ของไต 1. ควบคุมสมดุลของน้ำ 2. ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ ที่สำคัญได้แก่ sodium, potassium, phosphorus, calcium, magnesium 3. ควบคุมสมดุลกรดด่าง 4. กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยเฉพาะ nitrogen waste products ที่เกิดจากโปรตีน 5. สร้างฮอร์โมน ได้แก่ 5.1 erythropoietin (EPO) กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูก 5.2 renin ควบคุม ความดันโลหิต 5.3 calcitriol (vitamin D) ควบคุมสมดุลของแคลเซี่ยม กายวิภาคของไต Scanning electron micrograph of a glomerulus Scanning electron micrograph of […]
Read Moreสารพัดอาการที่ต้องบำรุงไต
สารพัดอาการที่ต้อง “บำรุงไต” • คุณภาพชีวิต สารพัดอาการที่ต้อง “บำรุงไต” ชี้ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ อ่อนเพลียเรื้อรัง ต้องระวัง คุณวัลลิภาอายุเพียง 34 ปี แต่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและมึนศีรษะเป็นประจำมาร่วมปี เธอไปตรวจร่างกายผลออกมาปกติดีทุกอย่าง จึงได้แต่คำแนะนำว่าอย่าเครียดและยาปลอบใจว่าจะช่วยบำรุงร่างกายกลับมาทานที่บ้าน แต่อาการต่างๆ ก็ไม่เห็นจะทุเลาลง นอกจากนี้ เธอยังมีสารพัดอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย ขี้หนาว นอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เท้าบวม ผิวหน้าหมองคล้ำและผมร่วงเป็นต้น… จริงๆ แล้วสารพัดอาการของคุณวัลภิภา หากวินิจฉัยตามหลักการแพทย์จีนคือเกิดจากภาวะไตอ่อนแอ ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะของการแพทย์จีนได้มีการบันทึกในตำราการแพทย์จีนมาแล้วนับพันปี และไม่ใช่โรคไตในความหมายของการแพทย์ตะวันตก หากหมายถึง สภาพไตกำลังเสื่อมลง ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้ไตขับน้ำส่วนเกินและของเสียออกจากร่างกายลดลง เกิดผลกระทบต่อดุลยภาพของอิเล็กโทรเลต์และความเป็นกรดด่างในร่างกาย รวมทั้งเกิดภาวพร่องฮอร์โมนสำคัญหลายชนิดที่สร้างขึ้นจากไตและต่อมหมวกไตด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้จะนำไปสู่อาการผิดปกติของอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย หากไม่มีการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะแก่ก่อนวัยและพัฒนากลายเป็นโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเกาต์ โรคภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น หรืออาจพัฒนากลายเป็นโรคไตและไตวายได้ในที่สุด ไตคือรากฐานของชีวิต… ไต […]
Read More