AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี (จบ) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (จบ) มาถึงตอนสุดท้ายของพลังงานไทยกับเออีซีแล้วครับ ก็มาคุยกันต่อถึงผลเสียต่อภาคอุตสาหกรรมไทยนะครับ ผมเห็นว่า 1.นโยบายภาครัฐอาจให้ความสำคัญต่อการผลิต/การใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทางเลือกอื่นของประเทศเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมลดลงหรือเปลี่ยนไป เนื่องจากคิดว่ายังสามารถนำเข้าพลังงานราคาถูกกว่าจากแหล่งพลังงานที่มีความเชื่อมโยงกันมาใช้ในประเทศได้ 2.แรงขับในการเร่งการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตพลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือกอื่นเพื่อนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอาจลดลงเนื่องจากพลังงานดังกล่าวยังมีต้นทุนที่แพง 3.การเตรียมพร้อมในการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อรองรับการเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน/พลังงานทางเลือกอื่นในภาคอุตสาหกรรมอาจลดลงเนื่องจากต้นทุนจากการใช้พลังงานนำเข้าที่ได้จากธรรมชาติ มีราคาถูกกว่า 4.การโยกย้ายโรงงาน/การขยายโรงงานอุตสาหกรรมหรือการขยายกำลังการผลิตไปยังพื้นที่ที่ใกล้แหล่งพลังงานดังกล่าวอาจทำให้ต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ/ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพื่อการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากระยะทางที่ไกลขึ้น โดยสรุปแล้ว ผมมีข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายภาครัฐว่า รัฐบาลควรยังคงสนับสนุนนโยบายพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียนต่อไป เนื่องจากแม้การเชื่อมโยงพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้านจะสร้างความมั่นคงด้านซัพพลายพลังงานให้ก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ยัง ไม่สามารถมั่นใจได้ตลอดไปเนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระทบเข้ามาทำให้ประเทศเพื่อนบ้านไม่สามารถซัพพลายพลังงานให้ได้ตลอดเวลา เช่น ปัญหากระทบกระทั่งด้านชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน การปิดซ่อมบำรุงวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการผลิต/การส่งพลังงานของประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาภายในของประเทศเพื่อนบ้าน การสงวนพลังงานไว้ใช้ในประเทศของเพื่อนบ้าน เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การพึ่งพาตนเองน่าจะเป็นหนทางที่ประเทศไทยควรยังคงต้องให้ความสำคัญและยึดถือไว้เป็นแนวปฏิบัติ และผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมควรจะยังคงต้องมุ่งมั่น เพิ่มขีดความสามารถของตนเองด้านพลังงานด้วยการยึดหลักการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียนต่อไปเนื่องจากเราคงจะหาพลังงานราคาถูกดังเดิมมาใช้ไม่ได้อีกแล้ว นอกจากนี้ ในการโยกย้ายโรงงาน/การขยายโรงงานอุตสาหกรรมหรือการขยายกำลังผลิตไปยังพื้นที่ที่ใกล้แหล่งพลังงานนั้น ผู้ประกอบการควรต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด ผมเชื่อว่าในวันนี้ รัฐบาลไทยคงได้เร่งกำหนดยุทธศาสตร์ด้านพลังงานไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซี เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปครับ ——————– (รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (จบ) : […]
Read MorePosts tagged เออีซี
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี ตอน 2
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี ตอน 2 รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (2) รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน (2) : โดย … ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com มาคุยกันต่อเรื่องของพลังงานกับเออีซี ที่ค้างไว้ในสัปดาห์ที่แล้วครับ ในส่วนไบโอดีเซล B100 คาดว่าเออีซีจะทำให้เกิดการทะลักเข้ามาของน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เนื่องจากมีต้นทุนถูกกว่าไทย ทำให้ราคาไบโอดีเซลไทยจะถูกลง ในขณะที่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มจะได้รับผลกระทบ กรณีนำเข้า B100 ไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเก็บอากรนำเข้าน้อยอยู่แล้ว ส่วนก๊าซธรรมชาติ ประเมินว่าน่าจะมีผลกระทบน้อย เนื่องจากไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่าเพียงประเทศเดียว ในส่วนการขนส่งก๊าซธรรมชาติต้องพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่พลังงานแอลพีจี (แก๊สหุงต้ม) การเปิดเออีซี จะทำให้แอลพีจีไหลออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากราคาแอลพีจีในประเทศไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน […]
Read MoreAEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี
AEC : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : อนาคตพลังงานไทยในเออีซี : เพียงพอ หรือ ขาดแคลน รู้ทันกระแสเศรษฐกิจและพลังงาน : ความท้าทายแห่งอนาคต ด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (จบ) : โดย … ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่นโยบายและเศรษฐกิจพลังงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) Chodechai.energyfact@gmail.com ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ความท้าทายทางเศรษฐกิจประการหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ เรื่องพลังงาน เพราะหากเราวิเคราะห์ถึงสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย ประเทศไทยมีแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกันอีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการนำเข้าพลังงานสูงถึง 1.237 ล้านล้านบาท สำหรับภาพรวมพลังงานช่วง 9 […]
Read MoreAEC : สรรพากรเตรียมรีดภาษีซื้อผ่านเน็ต หวั่นเปิด AEC รายได้วูบ
AEC : สรรพากรเตรียมรีดภาษีซื้อผ่านเน็ต หวั่นเปิด AEC รายได้วูบ สรรพากรตื่นตัวรับ AEC เล็งให้ผู้ซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตต้องยื่นนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ระบุหากไม่ทำหวั่นรายได้ภาษีวูบ หลังเปิดเสรีอาเซียนตลาดขายสินค้าทางเว็บบูมทั่วโลก แบงก์ชาติเปิดประมูลพันธบัตร ต.ค. วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท อายุ 13 วัน นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจขายสินค้าบนโลกออนไลน์ต้องเตรียมยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยทางกรมฯ จะยังไม่ขึ้นภาษีใดๆ แต่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ให้มีความทันสมัยรองรับเออีซี เช่น เมื่อเปิดเสรีอาเซียนก็จะมีการทำการค้าข้ามชาติเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ คืออีก 1-2 ปี จะทำให้ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกใช้บริการในประเทศหรือเลือกจากต่างประเทศก็ได้ เช่น การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ดังนั้น ถ้าสินค้าต่างประเทศราคาถูกกว่าและดีกว่าก็จะไหลทะลักเข้ามาในประเทศ แล้วกรมสรรพากรจะเก็บภาษีอย่างไร เนื่องจากแตกต่างจากการซื้อขายสินค้าในประเทศที่เก็บจากการซื้อการขายได้ง่าย ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้สั่งการให้กรมสรรพากรไปดูวิธีการ ซึ่งทางกรมฯ มีการคิดแนวทางปฏิบัติเอาไว้บ้าง เช่น การให้ผู้ซื้อเป็นผู้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนในบางกรณี อย่างที่เรามีอยู่ตอนนี้ คือ ภ.พ.36 แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร คือ จ่ายค่าบริการบางอย่างไปเมืองนอกก็ต้องมีการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเราอาจจะขยายตัวนี้ไปยังบริการตัวอื่นๆ […]
Read MoreAEC : เปิดวิสัยทัศน์’นคร ศิลปอาชา’ พัฒนาแรงงานรองรับเออีซี
AEC : เปิดวิสัยทัศน์’นคร ศิลปอาชา’ พัฒนาแรงงานรองรับเออีซี การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ของไทยใน 3 ปีข้างหน้า ทำให้รัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ต้องลุกขึ้นมาเตรียมพร้อมพัฒนาเยาวชนและแรงงานไทยกันขนานใหญ่ โดยเฉพาะกำลังแรงงานและแรงงานไทยกว่า 38 ล้านคน จะต้องได้รับการพัฒนาทั้งด้านทักษะฝีมือ ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นจุดอ่อนสำคัญที่ทำให้เสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ซึ่งหน่วยงานเป็นเสมือนทัพหน้าดูแลภารกิจสำคัญนี้คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) สังกัดกระทรวงแรงงาน ปัจจุบันมี ”นายนคร ศิลปอาชา” อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดี กพร.หมาดๆ เป็นผู้นำทัพและเป็นการคืนถิ่นกลับมารั้งเก้าอี้ในคำรบสอง “ผมต้องขอบคุณรัฐบาลและนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความไว้วางใจให้ผมกลับมานั่งเป็นอธิบดีกพร.เป็นครั้งที่ 2 การกลับมาครั้งนี้ผมตั้งใจว่าจะมาอุดช่องโหว่งานด้านต่างๆ ของ กพร.จากที่ผมได้พบเห็นเมื่อครั้งเป็นอธิบดี กพร.ในสมัยแรก และไม่หนักใจกับภารกิจในการพัฒนาแรงงานไทยเพื่อรองรับการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศ และการเตรียมความพร้อมแรงงานไทยเข้าสู่เออีซี แต่ผมมองว่าเป็นโจทย์ท้าทายซึ่งต้องทำให้สำเร็จให้ได้” อธิบดี กพร.เผยความรู้สึกถึงของการคืนถิ่น อธิบดีนคร ฉายภาพถึงการบ้านที่ รมว.แรงงานฝากไว้กับ กพร.ว่า “การพัฒนาทักษะฝีมือ ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน” ถือเป็นการบ้านชิ้นใหญ่ที่ ”รัฐมนตรีเผดิมชัย” ฝากไว้ให้ […]
Read Moreพลังงาน : ผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินมัณฑะเลย์
พลังงาน : ผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินมัณฑะเลย์ กฟผ.อินเตอร์ฯ ผนึกราชบุรีโฮลดิ้ง และพรีไซซเพาเวอร์ ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ หลังการพัฒนาพื้นที่ทวายไม่ชัดเจน เตรียมเดินทางเจรจาพันธมิตรท้องถิ่น มั่นใจได้ข้อสรุปก่อนสิ้นปีนี้ เชื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตหลังเปิดรับเออีซี แหล่งข่าวจากบริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ โดยการชักชวนจากบริษัท พรีไซซ เพาเวอร์ โปรดิวเซอร์ จำกัด ซึ่งมีพันธมิตรดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าในเมียนมาร์ ให้เข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น หลังจากรัฐบาลเมียนมาร์เปิดรับนักลงทุน ทำให้บริษัทและพันธมิตรรายอื่นๆ สนใจเข้าไปลงทุน เพราะถือเป็นโอกาสในการขยายงานประกอบกับการพัฒนาพื้นที่ทวายยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสำเร็จได้เมื่อใด อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวมีโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ที่จะพัฒนาขึ้นอยู่แล้ว ดังนั้น การเลือกลงทุนทำโรงไฟฟ้าในพื้นที่มัณฑะเลย์และย่างกุ้ง น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ก่อน เพราะยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอีกมาก ที่สำคัญโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว อยู่ใกล้ประเทศไทยสามารถขายไฟฟ้ากลับมาในไทยได้ หรือหากในสัญญาระบุว่าไม่ต้องการให้ขายไฟฟ้าออกนอกประเทศ ก็เชื่อว่าจะสามารถป้อนให้กับพม่าได้ทั้งหมด เพราะปัจจุบันพม่ากำลังเป็นประเทศที่จะเติบโต และเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมาก หลังจากที่เปิดประเทศมากขึ้น ดังนั้นความต้องการใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นตามด้วย อีกทั้ง กฟผ.อินเตอร์ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้า และโครงการดังกล่าวตรงกับนโยบายการขยายลงทุนโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้านของ […]
Read MoreAEC : อคส.โชว์แผน 4 ปีรับเออีซีบูม
AEC : อคส.โชว์แผน 4 ปีรับเออีซีบูม ยิ่งนานวันการตรวจสอบทุจริตโครงการ”หอมแดง” กำลังกลายเป็นคดีมีความร้อนแรงไม่แพ้โครงการทุจริตรับจำนำข้าว และสังคมกำลังจับตาท่าทีของคณะกรรมการบริหาร หรือบอร์ด องค์การคลังสินค้า หรือ (อคส.) รัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นแม่งานหลักในโครงการดังกล่าวว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการทำงานของ พ.ต.ต.ศราวุฒิ สกุลมีฤทธิ์ ผู้อำนวยการ อคส.หรือไม่ “ฐานเศรษฐกิจ” มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ พ.ต.ท.ไพโรจน์ ปัญจประทีป ประธานบอร์ด อคส. ถึงเรื่องดังกล่าว ตลอดจนทิศทางการดำเนินงาน ของ อคส.ทั้งภารกิจตอบสนองนโยบายรัฐบาล อาทิ การรับจำนำข้าวเปลือก การแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หอมแดง และอื่นๆ รวมถึงทิศทางธุรกิจเชิงพาณิชย์ของ อคส.เองเพื่อให้สามารถพึ่งตัวเองได้ในระยะยาว ดังรายละเอียด ตั้งชุดทำงานบริหารความเสี่ยง สืบเนื่องจากกรณีทุจริตโครงการแทรกแซงราคาหอมแดง ฤดูการผลิต 2554/55 ที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านมา มีผลให้ทางบอร์ดบริหาร อคส. ได้ตั้งคณะทำงานชุดบริหารความเสี่ยงขึ้นมา เพื่อดูแลสินค้าเกษตรที่เน่าเสียง่าย เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิมเหมือนกรณีหอมแดง พร้อมกับจัดทำเป็นคู่มือปฏิบัติงานแจกทั้งในส่วนของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนการตรวจสอบผู้อำนวยการ อคส. นั้นยังไม่มีความคืบหน้า เพราะคณะกรรมการชุดตรวจสอบโครงการแก้ไขปัญหาหอมแดงฤดูการผลิตปี […]
Read MoreAEC : ‘ซัยโจ เด็นกิ’ขยายกำลังผลิตพร้อมรับเออีซี
AEC : ‘ซัยโจ เด็นกิ’ขยายกำลังผลิตพร้อมรับเออีซี “ซัยโจ เด็นกิ” เตรียมพร้อมรับตลาดเออีซี ปี 56 ควักทุนเกือบ 400 ล้านบาท ขยับไลน์ผลิตเครื่องปรับอากาศเพิ่มเป็น 5 แสนเครื่องต่อปี ตั้งเป้าปีถัดไปจะโตถึง1 ล้านเครื่อง พร้อมรุกคืบงานวิจัยและพัฒนาศึกษาลู่ทางลงทุนนอกบ้าน โฟกัสอีก 5 ปี สัดส่วนผลิตป้อนตลาดส่งออกจะเพิ่มเป็น 65% ชี้แนวโน้มตลาดพรีเมียมโตมากขึ้น นายสมศักดิ์ จิตติพลังศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศภายใต้แบรนด์ซัยโจ เด็นกิ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2556 ว่าจะลงทุนเพิ่มอีกจำนวน 390 ล้านบาท สำหรับใช้ในการขยายเครื่องจักรพร้อมสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ใกล้เคียงโรงงานแรก ในย่านงามวงศ์วาน จำนวน 250 ล้านบาท ลงทุนขยายสำนักงานอีก 80 ล้านบาท และใช้ในการวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศ จำนวน 60 ล้านบาท […]
Read MoreAEC : นายกฯถกครม.เวียดนามดันค้าข้าวอาเซียน
AEC : นายกฯถกครม.เวียดนามดันค้าข้าวอาเซียน ประชุมครม.ไทย-เวียดนาม เน้นผนึกกำลังเรื่องข้าว 5 ประเทศอาเซียน ตั้งสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม ร่วมมือความมั่นคงด้านอาหาร-พลังงาน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” ถึงการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ว่า รัฐบาลได้ให้ทุกกระทรวงเตรียมแนวทางต่างๆ รองรับ ลงลึกในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ โดยมีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับจังหวัดในระดับภูมิภาค มีการเชื่อมโยงคมนาคม คุณภาพชีวิต และความมั่นคง ซึ่งการเตรียมตัวจะต้องทำทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั้งนี้ไทยมีสินค้าบริการมีของดีอยู่แล้วในการพัฒนาต่อยอดและประชาสัมพันธ์ หากส่วนใดมีจุดอ่อนจะมีการแก้ไขเพื่อให้เกิดความแข็งแรงเกิดศักยภาพ ทั้งนี้ จะประชุมอย่างต่อเนื่อง ผ่าน 8 ยุทธศาสตร์ อาทิ การดูภาคผลิตต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ไปประเมินความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการลดเรื่องความเหลื่อมล้ำ เช่น การคุ้มครองแรงงาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก น้ำ อากาศ ให้มีการเชื่อมโยงยังแหล่งผลิตต่างๆ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องดูในส่วนความพร้อมภาครัฐ จากนั้นไปดูภาคการผลิตในเรื่องภาษา ปริมาณตลาดแรงงานซึ่งต้องพัฒนาฝีมือ หลักสูตรการศึกษา การอำนวยสะดวกทางการค้า ต้องปรับปรุงให้ทันสมัย และปกป้องผลประโยชน์ของชาติไปด้วย การเสริมสร้างความมั่นคงในแนวชายแดน […]
Read MoreAEC : “บุญทรง”จีบพม่าร่วมมือค้าข้าว พร้อมดันนักลงทุนไทยปักฐานผลิตรับเปิดเออีซี
AEC : “บุญทรง” จีบพม่าร่วมมือค้าข้าว พร้อมดันนักลงทุนไทยปักฐานผลิตรับเปิดเออีซี “บุญทรง”ใช้โอกาสประชุม JTC ไทย-พม่า ดึงร่วมมือค้าข้าวตลาดโลก ดันราคาให้สูงขึ้น หลังตกลงเวียดนาม กัมพูชา และลาวเรียบร้อยแล้ว เล็งดันนักลงทุนไทยตั้งฐานการผลิตสินค้าเกษตร ประมง สิ่งทอ ยานยนต์ ยาง พร้อมเชื่อมโยงโลจิสติกส์ เชื่อมถนน รถไฟ เปิดจุดผ่านแดนเพิ่ม หวังใช้ประโยชน์จาก AEC ให้มากที่สุด นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commission: JTC) ระหว่างไทย-พม่า ครั้งที่ 5 ในวันที่ 2 พ.ย.2555 ที่กรุงเทพฯ หลังจากที่ว่างเว้นการประชุมมานานกว่า 2 ปี ซึ่งไทยจะใช้โอกาสนี้ เจรจากับนายอู วิน มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พม่า เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการค้าข้าวกับพม่า หลังจากที่ได้มีการเจรจากับเวียดนาม กัมพูชา และลาว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว […]
Read More