ปุจฉา ทุกปรากฏการณ์ ล้วนผ่านเข้ามาอย่างมีความหมาย วิสัชนา ทุกปรากฏการณ์ ล้วนผ่านเข้ามาอย่างมีความหมาย ในทางพุทธศาสนา เราถือกันว่าโลกนี้ “ไม่มีความบังเอิญ” เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในชีวิตของเรา ล้วนถูกออกแบบมาอย่างมีความหมาย ในมิติใดมิติหนึ่งเสมอ ปัญหาก็คือ เราจะเข้าใจความหมายที่ว่านั้นหรือเปล่า ? คนบางคน กว่าจะเข้าใจความหมายที่เป็น “สารพิเศษ” ที่ถูกส่งมาพร้อมกับบางปรากฏการณ์ ก็ต้องรอให้ผ่านวันเวลาไปแล้วกว่าครึ่งชีวิต แต่คนบางคนสิ้นชีวิตไปแล้วหลายปี คนรุ่นหลังจึงมองเห็นสารพิเศษที่ถูกส่งผ่านตัวเขา เมื่อคานธีเรียนจบกฎหมายใหม่ๆ มาจากอังกฤษ เขาเดินทางไปทำงานที่แอฟริกาใต้ ระหว่างเดินทาง คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง แต่พอโดยสารไปได้เพียงครึ่งทาง เขาถูกพนักงานไล่ลงจากรถไฟเหมือนไม่ใช่คน เหตุผลที่คานธีได้รับการปฏิบัติอย่างปราศจากมนุษยธรรมมีเพียงเรื่องเดียวนั่นก็คือเรื่อง “สีผิว” การถูกไล่ลงจากรถไฟคราวนั้น ทำให้คานธีได้ก้าวขึ้นสู่รถไฟอีกคันหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงชีวิตของคานธีไปอย่างสิ้นเชิง นั่นก็คือ “รถไฟสายอิสรภาพ” เป็นอิสรภาพจากความเขลาของมนุษยชาติ ที่วัดคุณค่าของคนกันที่สีผิว เป็นอิสรภาพจากการที่อินเดียถูกสะกดจากกองทัพของอังกฤษมากว่าร้อยปี และเป็นอิสรภาพจากการถูกพันธนาการเอาไว้ด้วยความกลัวที่คนดำถูกคุกคามโดยคนขาว นับแต่เหตุการณ์ถูกจับโยนจากรถไฟคราวนั้น คานธีเริ่มเกิดการตระหนักรู้ขึ้นมาว่า ตัวเขาเอง ซึ่งได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดีจากตะวันตก ทั้งยังมีสถานภาพทางสังคมเป็นชนชั้นกลางค่อนไปทางชั้นสูงเสียด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังมีรากร่วมทางวัฒนธรรมกับพวกผิวขาว คือ เป็นเนติบัณฑิตจากอังกฤษ เขาเองมีรสนิยมวิไลในการดำเนินชีวิต นิยมสวมสูท ผูกเน็คไท ในขณะทำงาน แต่แล้ว ในวันที่เขาถูกไล่ลงจากรถไฟสายเหยียดผิว วันนั้น […]
Read MorePosts tagged กิเลส
ความว่างที่สร้างความสุข
ปุจฉา ความว่างที่สร้างความสุข วิสัชนา ความว่างที่สร้างความสุข นักปราชญ์ชาวเอเชียกลางคนหนึ่งเล่าว่า มีชายหนุ่มอยู่คนหนึ่ง แกเป็นคนอัตคัตความสุข พยายามแสวงหาความสุขจากวิธีการต่างๆ แต่แล้วก็ยังรู้สึกว่า ไม่ใช่ความสุขแท้ที่ตัวเองต้องการ อยู่มาวันหนึ่ง มีผู้แนะนำว่า ถ้าอยากมีความสุขก็ควรจะมีบ้านเป็นของตัวเอง เพราะในบ้านของเรานั้น เราสามารถเป็นเจ้าของทุกอย่างในบ้านโดยที่ไม่ต้องมีใครมาคอยกวนใจ ซ้ำยังมีอิสระที่จะเสกสรรค์ปั้นแต่งหรือจัดบ้านให้เป็นไปตามความต้องการของตนเองอย่างไรก็ได้ เขาเชื่อตามที่มีผู้แนะนำ จึงตัดสินใจสร้างบ้านขึ้นมาหลังหนึ่ง เมื่อแรกสร้างบ้านนั้น บ้านของเขาหลังใหญ่ทีเดียว พอมีบ้านแล้ว เขามีความสุขมาก เขาเริ่มจัดบ้านตามต้องการ และเริ่มหาข้าวของต่างๆ มากมาย มากองไว้ในบ้านทีละอย่างสองอย่าง จนกระทั่งวันหนึ่ง ห้องว่างๆ ในบ้านของเขาก็หายไป ทุกพื้นที่ในบ้านเต็มไปด้วยข้าวของระเกะระกะ มองไปทางไหนก็รกหูรกตา ทีนี้ชายหนุ่ม เริ่มรู้สึกว่าบ้านของตนเองช่างเป็นสถานที่ที่ไม่น่าอยู่ อากาศก็อุดอู้ เขาเริ่มบ่นกับตัวเองว่าคิดผิดถนัดที่สร้างบ้านขึ้นมา เพราะนึกว่าบ้านจะให้ความสุขได้นานๆ บางวันเขาก็ครุ่นคำนึงว่า น่าจะสร้างบ้านให้หลังใหญ่กว่านี้ จะได้บรรจุอะไรต่อมิอะไรได้เยอะๆ ตามต้องการ ขณะที่เขาเริ่มไม่มีความสุขเพราะบ้านกลายเป็นโกดังเก็บของนั้นเอง ก็มีนักปราชญ์คนหนึ่งผ่านมาแถวนั้น เขาบ่นดังๆ จนปราชญ์คนนั้นได้ยิน นักปราชญ์หนุ่มจึงแนะนำว่า ถ้าเขาอยากให้บ้านเป็นสถานที่แห่งความสุข ก็ไม่เห็นจะยากอะไร เพียงแต่ขนข้าวของทั้งหมดออกมาวางข้างนอกบ้านเสียก็หมดเรื่อง ชายหนุ่มได้ยินเช่นนั้น รีบทำตามทันที เขาเริ่มขนข้าวของซึ่งโดยมากล้วนเป็นสิ่งซึ่งไม่จำเป็น หากแต่เขาเก็บเอาไว้เพราะความละโมภมากกว่าออกมาทิ้งนอกบ้าน ขนอยู่สองวัน จนบ้านว่าง โล่ง […]
Read Moreภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน
ปุจฉา ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน วิสัชนา ภาวะผู้นำ ศักยภาพและศิลปะแห่งการครองใจคน …………………… ว.วชิรเมธี ๑.ใครคือผู้นำ “ผู้นำ” ในทางพระพุทธศาสนาตรงกับคำว่า “นายก” แปลว่า “ผู้ที่มีศักยภาพในการเป็นหัวหน้ามหาชน” หรือ “ผู้ที่มหาชนพอใจในการบทบาทการเป็นผู้นำ” และ/หรือ “ผู้ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลในการดำเนินรอยตาม” หรือ “ผู้ที่อำนวยการให้การทำงานประสบความสำเร็จและทุกคนพอใจ” กล่าวอย่างสั้นที่สุด “ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นและผู้อื่นอยากดำเนินตาม” “ภาวะผู้นำ” ตรงกับคำว่า “นายกภาวะ” (นา-ยะ-กะ-พา-วะ) แปลว่า “คุณสมบัติที่ทำให้เป็นผู้นำ” พระพุทธเจ้า เคยได้รับพระสมัญญานามว่า “โลกนายก” แปลว่า “ผู้นำของชาวโลก” หรือ “ผู้นำของมนุษยชาติทั้งโลก” ดังนั้น การเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ต้องสามารถเป็นผู้นำที่สามารถนำคนได้ทั้งโลก หรือเป็นผู้นำที่มนุษยชาติทั้งโลกให้การยอมรับ แต่การประสบความสำเร็จของการเป็นผู้นำในความหมายอย่างสามัญก็คือ การที่ผู้นำช่วยอำนวยการให้การทำงานประสบความสำเร็จและทุกคนพอใจจนเกิดภาวะ “คนสำราญ งานสำเร็จ” หรือ “งานก็สัมฤทธ์ ชีวิตก็รื่นรมย์” ๒. ผู้นำสำคัญอย่างไร ผู้นำ คือ ผู้กำหนดทิศทาง หรือชะตากรรมขององค์กรที่ตนสังกัด เช่น […]
Read Moreเคล็ดลับแห่งความสุข
ปุจฉา เคล็ดลับแห่งความสุข วิสัชนา เคล็ดลับแห่งความสุข คนส่วนใหญ่มีความเชื่อกันว่า ความ “มี” มีความสุขมากกว่าความ “ไร้” การได้ “เป็น”คนมีชื่อเสียงมีความสุขมากกว่าการเป็นคน”สามัญ” แสนธรรมดา แต่…เมื่อถึงเวลาหนึ่ง หลายคนเริ่มคิดสวนทางกันความเชื่อของคนส่วนใหญ่ เพราะเริ่มค้นพบด้วยตัวเองว่าบางทีความ “มี” นั้นไม่ใช่คำตอบที่ทำให้เราพบกับความสุขแต่อย่างใด และบางทีความ “ไร้” กลับทำให้มีความสุขยิ่งกว่า เช่นเดียวกัน ใครบางคนตะเกียกตะกายที่จะได้เป็นนั่นเป็นนี่ แต่พอได้เป็นแล้วกลับโหยหาความเป็นคนธรรมดาสามัญที่คุ้นชินมาแต่ก่อน เมื่อหลายปีก่อนผู้เขียนได้ชมสารคดีบทสัมภาษณ์ประธานาธิบดีของประเทศติมอร์ตะวันออกแล้วประทับใจมาก นั่นคือ เมื่อนักข่าวซีเอ็นเอ็นคนหนึ่งถามท่านว่า หากเสร็จสิ้นภารกิจรวมประเทศแล้วท่านจะทำอะไรต่อ ท่านตอบด้วยแววตาทอประกายว่า “หลังเสร็จสิ้นหน้าที่การงานในตำแหน่งประธานาธิบดีแล้ว ผมจะกลับบ้านที่ชนบท หลังจากนั้นผมจะทำสวนและปลูกฟักทองครับ” นักข่าวจากตะวันตกทำหน้างงๆ ก่อนจะขำกับคำตอบที่เธอคิดว่าคงเป็นเรื่องล้อเล่นของท่านประธานาธิบดีเป็นแน่ อยู่มาวันหนึ่ง ผู้เขียนเล่าเรื่องนี้ให้กับนักวิชาการคนหนึ่งซึ่งเป็นคนไทยที่มีโอกาสไปทำงานในนามของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ (UN) และได้ใกล้ชิดกับท่านประธานาธิบดีคนนี้พอสมควร เธอได้ฟังแล้วก็นำเรื่องที่ผู้เขียนประทับใจบทสัมภาษณ์ของท่านไปเล่าให้ท่านและภรรยาของท่านฟัง ผลก็คือ ท่านประธานาธิบดีประทับใจและไม่นึกว่าจะมีคนสนใจกับวิธีคิดของท่านอย่างที่ให้สัมภาษณ์ไปแล้วจริงๆ แล้วท่านกับท่านผู้หญิงก็ฝากหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ผู้เขียนเป็นเชิงอนุมทนาที่สนใจในวิธีคิดวิธีทำงานของท่านเอง หนังสืออัตชีวประวัติของท่านประธานาธิบดีผู้นำในการก่อตั้งประเทศใหม่ (ติมอร์ตะวันออก) ที่เขียนโดยท่านผู้หญิงของท่านมาถึงมือผู้เขียนพร้อมลายเซ็น อ่านแล้วก็วางไม่ลง เป็นหนังสือขึ้นหิ้งอีกเล่มหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของผู้เขียน ประเด็นที่นำเรื่องนี้มาเล่าก็เพื่อจะยืนยันให้เห็นว่า ปรารถนาแห่งชีวิตของคนเรานั้น หากกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องการความ “มี” เสมอไป และไม่ใช่ทุกคนต้องการที่จะ “เป็น” เสมอไปจึงจะมีความสุข […]
Read Moreธรรมในงาน งานในธรรม
ปุจฉา ธรรมในงาน งานในธรรม วิสัชนา ธรรมในงาน งานในธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทำให้ดอกบัวบาน ในโลกตะวันตกอย่างหมดจดงดงาม เคยเล่าถึงตัวท่านเองในสมัยที่ยังใช้ชีวิตเป็นนักเรียนน้อยอยู่กับครูบาอาจารย์ว่า ท่านอุทิศตนเจริญจิตภาวนาแทบล้มประดาตาย เดินจงกรมจนทางเดินลึกเป็นร่อง นั่งสมาธินานจนปัสสาวะเป็นเลือด แต่อาจารย์คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงปู่กินรี จันทิโย กลับมีปฏิปทาไปคนละอย่าง หลวงปู่ดูไม่ค่อยวุ่นวายกับจิตภาวนาชนิดเอาเป็นเอาตาย หลวงปู่ปฏิบัติสบายๆ นั่งสลับเดิน ทำอย่างนั้นนิดอย่างนี้หน่อย แล้วก็เปลี่ยนอิริยาบถไปบิณฑบาต กวาดลาน เย็บผ้า ซ่อมบริขาร มองอย่างผิวเผินเหมือนหลวงปู่ไม่สู้ให้ความสำคัญกับจิตภาวนาจนหลวงพ่อชาพลอยเข้าใจไปเองว่า “เราประมาท คิดว่าครูบาอาจารย์จะไปถึงไหนกัน เดินจงกรมก็ไม่เดิน นั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เคยนั่ง คอนแต่จะทำนั่นทำนี่ตลอดวัน แต่เรานี่ปฏิบัติไม่หยุดเลย ถึงขนาดนั้นก็ยังไม่รู้เห็นอะไร ส่วนหลวงปู่ปฏิบัติอยู่แค่นั้น จะไปรู้เห็นอะไรเล่า” คิดเช่นนี้อยู่ไม่นาน พออยู่กับครูบาอาจารย์นานเข้าจึงเริ่มรู้สึก “เรามันคิดผิดไป หลวงปู่ท่านรู้อะไรๆ มากกว่าเราเสียอีก” บทสรุปที่เปลี่ยนไปเกิดจากการได้ความรู้ใหม่ว่า การปฏิบัติธรรมกับรูปแบบในการปฏิบัติธรรมนั้นเป็นคนละเรื่อง บทเรียนอันทรงคุณค่านี้เกิดขึ้นเมื่อหลวงปู่กินรีมอบหมายให้หลวงพ่อชาเย็บจีวรผืนเก่าคร่ำของท่านในวันหนึ่ง “เราเย็บไม่หยุด อยากจะให้มันเสร็จเร็วๆ เดี๋ยวนั้น คิดว่าให้มันเสร็จ จะได้หมดเรื่องหมดราวไป จะได้ภาวนากัน” แล้ววันหนึ่งหลวงปู่กินรีก็สังเกตเห็นความขะมักเขม้นของผู้เป็นศิษย์ จึงถามว่า “ท่านจะรีบไปไหน” […]
Read Moreสรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน
ปุจฉา สรรพสิ่งคือของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็นของฉัน ช่วงที่เหตุการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย คนในประเทศทะเลาะแตกความสามัคคีกัน ผมเกิดความเบื่อหน่ายอย่างมาก ไม่รู้จะช่วยชาติบ้านเมืองได้อย่างไร เลยเลิกสนใจข่าวสารทุกชนิด ตั้งหน้าทำมาหากินสนใจแต่เรื่องปากท้องของตัวเอง การกระทำเช่นนี้เรียกว่าเป็นการ “ปล่อยวาง” หรือไม่ การปล่อยวางต่างจากการวางเฉย ไม่ใส่ใจอย่างไร? วิสัชนา วิสัชนา การปล่อยวางมี ๒ ประเภท (๑) การปล่อยวางด้วยความรู้ (๒) การปล่อยวางความเขลา การปล่อยวางด้วยความรู้เกิดขึ้น เพราะผู้ปล่อยวางนั้น ตระหนักรู้เท่าทันความจริงของโลกและชีวิตว่า ไม่อาจยึดเอาสิ่งใดมาเป็นของตนได้อย่างถาวร เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ (กฎธรรมชาติที่เป็นสากลสำหรับทุกสิ่ง) ที่ว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา” หรือ “ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้” หรือแปลอีกนัยหนึ่งว่า “ไม่แน่ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์” สรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีความไม่เที่ยง คือ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นทุกข์ คือ ไม่สามารถทนอยู่ในลักษณะเดิมตลอดไป ทนอยู่ได้ก็ชั่วครู่ชั่วคราว และสรรพสิ่งล้วนเกิดจากองค์ประกอบที่แตกต่างหลากหลายมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นองค์รวม แต่ก็รวมกันได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ในที่สุดแล้วก็มีอันจะต้องแตกดับ สลาบไป […]
Read Moreอย่าปล่อยให้ความโง่ลอยนวล
ปุจฉา อย่าปล่อยให้ความโง่ลอยนวล วิสัชนา อย่าปล่อยให้ความโง่ลอยนวล เรื่องการสอนอย่างตรงไปตรงมาของหลวงพ่อปัญญายังไม่จบ เพราะยังมีกรณีศึกษาให้อ้างอิงเพื่อประเทืองปัญญากันอีกหลายเรื่อง เช่น ในงานมงคลสมรสของบ่าวสาวคู่หนึ่ง เขามานิมนต์หลวงพ่อปัญญาไปเป็นประธานในการทำบุญและเมื่อถึงเวลาจะต้องสวมแหวนหมั้น แต่ทุกคนก็ยังรีรออยู่ เมื่อถามได้ความว่ากำลังรอฤกษ์ หลวงพ่อปัญญาจึงว่าไม่ต้องรอก็ได้เพราะ “…แหวนมันเป็นรูอยู่แล้ว จะสวมเวลาไหนมันก็เข้าทั้งนั้น แล้วจะหาฤกษ์อะไรนักหนาให้มันช้าไป” คนไทยกับหมอดูเป็นเรื่องที่แยกกันไม่ออก ในบรรดาหมอดูทั้งหลาย “หมอดูพระ” นับว่ามีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างสูง พอ ๆ กับที่น่าหวั่นเกรงเป็นอย่างสูงเหมือนกัน เพราะบางทีท่านไม่ได้ดูหมอเปล่า ๆ แต่ทำอะไรบ้างนอกจากนั้นคงไม่ใช่ภารกิจของหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเน้น “เกร็ดธรรมะ” มากกว่า การวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อหมอดูพระมักสร้างปัญหามากกว่านำไปสู่ปัญญา หลวงพ่อปัญญาจึงว่าอย่างนี้ “เมื่อมาเป็นสมภารวัดชลประทานฯ อาตมามีอุดมการณ์ไว้ว่า วัดนี้จะให้เป็นวัดที่เผยแผ่สัจจธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่าเผยแพร่ธรรมะบริสุทธิ์ ไม่ให้เผยแผ่สิ่งเหลวไหล เช่น หมอดูของขลังโชคลาภอะไรต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสนาจะไม่ให้มี เพราะฉะนั้นวัดนี้จึงไม่มีหมอดู” เมื่อเราเหยียบย่างเข้ามาวัด บางวัดแทนที่จะพบกับความสงบ ผ่อนคลาย สบายใจ ก็มักจะพบกับความหงุดหงิดวุ่นวายเข้ามาแทนที่ เพราะมีเสียงการส่ายเซียมซีดังระงมอยู่ไม่ขาดสาย ความสงบที่ตั้งใจมาแสวงหาก็เลยอันตรธานไปกลายเป็นความรำคาญเข้ามาแทนที่ แล้วเจ้าเซียมซีนี่เกี่ยวอะไรกับพระพุทธศาสนาถึงเข้ามาอยู่ในโบสถ์ในวิหารสร้างความฟุ้งซ่านแก่ผู้มาเยือนอยู่เรื่อย ๆ “ใบเซียมซีเสี่ยงทายตามโบสถ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาอยู่ในโบสถ์ก็เพราะพระอยากได้เงิน แต่กลายเป็นการทำลายพุทธศาสนาไป เพราะคนที่มาสั่นติ้วเกิดเข้าใจผิดคิดว่าหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้เป็นไป […]
Read Moreหลวงพ่อ ‘ไม้บรรทัด’
ปุจฉา หลวงพ่อ “ไม้บรรทัด” วิสัชนา หลวงพ่อ “ไม้บรรทัด” พระธรรมโกศาจารย์ หรือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฎ์ มีศักดิ์เป็น “น้องท่าน” ของท่านพุทธทาสภิขุมหาเถระแห่งสวนโมกขพลาราม ไชยา ทั้งสองท่านเป็นแม่ทัพธรรมที่แยกกันเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยท่านพุทธทาสภิกขุซึ่งเป็นประหนึ่งพี่ชายในทางธรรมมุ่งเผยแผ่ “สัจธรรม” หรือ “โลกุตรธรรม” คำสอนของท่านจึงเหมาะสำหรับปัญญาชนที่มีสติปัญญาสูงและต้องการศึกษาธรรมะเชิงลึกอย่างเรื่องอัตตา อนัตตา สุญตา นิพพาน ปรมัตถธรรม ส่วนท่านปัญญานันทภิกขุมุ่งเผยแผ่ “จริยธรรม” อันเป็นธรรมะภาคปฏิบัติสำหรับประชาชนทั่วไป ธรรมะของท่านปัญญานันทภิกขุจึงใช้ถ้อยคำง่าย ตรงและทันสมัย แทบไม่ต้องตีความ และไม่นิยมอิงคัมภีร์และวิชาการจนดูรุงรังที่กล่าวเช่นนี้มิได้หมายความว่าท่านปัญญานันทภิกขุไม่ศึกษาคัมภีร์ ตรงกันข้ามท่านศึกษาคัมภีร์มาเป็นอย่างดีแล้วจึงนำมาย่อยเสียใหม่ให้งามและง่าย หากจะเปรียบแม่ทัพธรรมทั้งสองท่านนี้กับสุดยอดนักปราชญ์จีน ท่านพุทธทาสภิกขุก็ใกล้เคียงกับเล่าจื๊อผู้เผยแผ่ปรัชญาเต๋าอันลึกซึ้งสุขุมคัมภีรภาพ ส่วนท่านปัญญานันทภิกขุก็ละม้ายกับท่านขงจื๊อผู้มุ่งวางกฎเกณฑ์ระเบียบประเพณีอันดีงามให้กับสังคมจีน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ทำไมท่านปัญญานันทภิกขุหรือหลวงพ่อปัญญาจึงนิยม “สอนตรง” และสอนธรรมะง่าย ๆ แต่เข้าถึงใจคน “…เคยพูดบ่อย ๆ กับเพื่อนฝูงเมื่อสมัยอยู่นครฯ บอกว่าเรามันต้องเทศน์กันจริง ๆ เสียที ที่เทศน์กันอยู่นี่ มันเทศน์เล่น ๆ เทศน์เอาหน้ากัณฑ์ ไม่ค่อยได้สาระ ไม่ได้เทศน์แก้คน ไม่ได้ปรับปรุงจิตใจคนให้มันดีขึ้น ต่อไปนี้ต้องเทศน์จริง […]
Read Moreก้าวข้ามสังคมองคุลิมาล
ปุจฉา ก้าวข้ามสังคมองคุลิมาล วิสัชนา ก้าวข้ามสังคมองคุลิมาล เอ่ยชื่อ “องคุลิมาล” ชาวพุทธทุกคนคงรู้จัก เพราะท่านเป็นคนดังหรือเซเลบแถวหน้าในสมัยพุทธกาล เดิมนั้น องคุลิมาลชื่อ “อหิงสกะ” แต่พอออกจากบ้านไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยตักสิลา ถูกครู “วางยา” ให้ไปล่านิ้วมือคน จึงได้ชื่อใหม่เป็น “องคุลิมาล” แปลว่า “ผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย” เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า อหิงสกะเป็นนักเรียนประเภทเกียรตินิยมเหรียญทอง เรียนอะไรก็ได้ที่หนึ่ง เพื่อนๆ จึง “ริษยา” อาการสืบเนื่องของโรคริษยาก็คือ “เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้” เมื่อทนอยู่ไม่ได้ก็ต้องหาทาง “ทำลาย” บรรดาศิษย์ร่วมสำนักที่ป่วยด้วยโรคริษยา หาทุกวิถีทางมาทำลายอหิงสกะ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงใช้หมัดเด็ด แบ่งกันเป็นคณะทยอยเข้าพบอาจารย์ใหญ่ ใส่ไฟว่า อหิงสกะแอบ “ตีท้ายครัว” อาจารย์ พออาจารย์ถูกเป่าบ่อยๆ ในที่สุดก็ปลิวตามคำเขาว่า จึงคิดยุทธศาสตร์ขึ้นมาว่า จะฆ่าอหิงสกะเอง ก็คงไม่สง่างาม จึงออกอุบายให้อหิงสกะไปตัดนิ้วมือคนให้ได้พันนิ้ว เพื่อนำมาเป็นเครื่องบูชาครูสำหรับวิชาขั้นสุดท้าย ถ้าอหิงสกะทำได้ก็เป็นอันสำเร็จการศึกษา อหิงสกะอิดออด ไม่อยากทำ อาจารย์ก็เป่าว่า ถ้าไม่ทำ ก็เลิกหวังว่าจะสำเร็จการศึกษา อหิงสกะอยากเรียนจบเสียเต็มประดา มองไม่เห็นว่า ถ้าไม่ทำตามที่อาจารย์บอก ก็คงได้แก่ตายคามหาวิทยาลัยแน่ […]
Read Moreความน่าจะเป็นบนเส้นทางธรรม
ปุจฉา ความน่าจะเป็นบนเส้นทางธรรม ในพุทธประวัติเวลาเล่าถึงตอนที่สาวกหรือแม้แต่คนธรรมดาที่ได้ฟังโอวาทของพระพุทธเจ้าแล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง มักจะใช้คำพูดว่าเกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันที ดิฉันสงสัยว่า การเกิดดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระอรหันต์มันเป็นความรู้สึกที่สามารถเปรียบได้กับความรู้สึกแบบไหนในทางโลก และที่ว่าดวงตาเห็นธรรมนั้นเห็นเท่ากับที่พระพุทธองค์ตรัสรู้เลยหรืออย่างไร เคยอ่านว่าคนเหล่านั้นอาจเกิดมาแล้วหลายชาติ แต่บางคนก็ไม่ใช่ทำไมถึงได้บรรลุกันง่ายดายขนาดนั้นคะ วิสัชนา วิสัชนา “ดวงตาเห็นธรรม” เป็นคำเรียกผู้ที่บรรลุ “โสดาปัตติผล” เป็นพระ “โสดาบัน” (ผู้แรกหยั่งลงสู่กระแสพระนิพพาน) ซึ่งถือเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นในสี่ขั้น กล่าวคือ (๑) พระโสดาบัน (๒) พระสกทาคามี (๓) พระอนาคามี (๔) พระอรหันต์ การบรรลุโสดาบันที่ถือว่าเป็นการได้ดวงตาเห็นธรรมนั้น จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ปฏิบัติธรรมตามแนวอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือเจริญสติปัฏฐาน ๔ (ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ต่างชื่อเท่านั้น) เมื่อเกิดอาการเช่นว่านั้น จิตจะสว่างกระจ่างแจ้ง เข้าใจในสัจธรรมพื้นฐานของรูปและนามอย่างชัดเจนว่าเป็นเพียงสิ่งปรุงแต่งที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และแตกดับไปตามธรรมดา ข้อความที่ท่านยกขึ้นมาเป็นบทอ้างอิงประกอบการอธิบายอาการของผู้เกิดดวงตาเห็นธรรมก็คือ จิตจะเกิดการตื่นรู้ว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ, สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ” “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” การได้ดวงตาเห็นธรรมก็คือการเห็น “ไตรลักษณ์” นั่นเอง ที่ว่า “เห็น” นั้น […]
Read More